ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 14, 2024, 04:45:53 pm »ศิลปะกับพุทธะ : บทสะท้อนว่าด้วยการปั้นพระพุทธรูป – ถิง ชู
เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนเลยว่าเราใกล้ชิดกับพระได้ จะเป็นพระสงฆ์ พระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า ความสัมพันธ์เดียวที่เรามีกับพระทั้งสามคือ เอาไว้กันผี ยิ่งตอนเราไปเรียนคอร์สวาดทังก้าที่วัชรสิทธา ก็ไปเพราะอยากวาดทังก้าเป็น ไม่ได้คิดว่าคนบาปหนาอย่างเราจะสามารถวาดรูปพระเจ้าที่มีความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงฟังดูตลกมากที่ต่อมาวันหนึ่ง เราจะปั้นพระพุทธรูป เราเนี่ยนะ จะมีความชอบธรรมมากพอที่จะปั้นอะไรที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์
เรื่องนี้ได้ปลุกอะไรบางอย่างในตัวเราขึ้นมา ซึ่งก็คือความหมายที่เราใช้มองตัวเอง และความหมายที่เราใช้มองพุทธะและมองศิลปะ ทั้งศิลปะและพุทธะเป็นสิ่งที่เราต้องบากบั่นเพื่อได้มา? หรือมันเป็นของเราทุกคนอยู่แล้วโดยชอบธรรมแต่กำเนิด? แล้วต้องบากบั่นถึงระดับไหนถึงจะครอบครองมันได้ แล้วใครเป็นคนกำหนดว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว? เราตั้งคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อบอกให้ไม่ต้องบากบั่น ไม่ต้องมีวินัยในการฝึกปฏิบัติ แต่หมายความว่า มือ แขน และเท้าของเราจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้วเหรอ ถ้าเราไม่ฝึกมันให้แข็งแรงเหมือนของนักกีฬาโอลิมปิค?
ตอนนี้เราปั้นพระพุทธรูปเพราะเรารู้แล้วว่าพุทธะเป็นของเราเอง มันคือการที่เราประคองตัวเราอย่างซื่อตรงและเรียบง่ายที่สุด โดยไม่มีทั้งเรื่องเล่าของอัตตาใดๆ หรือการยืนยันจากภายนอกใดๆเป็นที่ยึดเหนี่ยวไว้ เรา คือเจ้าของตัวเองอย่างแท้จริง ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกลมหายใจเข้าออกของเราเองที่ทำให้ให้เรายังมีชีวิตมาถึง ณ วินาทีนี้ ความเมตตาเกื้อกูลทั้งหมดที่เรามอบให้ตัวเราเอง แม้บางครั้งจะรุนแรงและไม่อ่อนโยน แต่ก็ยังอุ้มชีวิตตัวเองไว้อยู่ และด้วยความตระหนักรู้นี้ เราจึงเห็นความสัมพันธ์ของเรากับสรรพสิ่งที่ก็ช่วยประคองโอบอุ้มเรามาเช่นกัน ที่หากไม่มีเขาก็ไม่มีเรา และหากไม่มีเราก็อาจไม่มีเขาเช่นกัน การปั้นพระพุทธรูป จึงเป็นการยืนยันว่า ไม่ว่าวันนี้เราจะแย่แค่ไหน เราจะยังมีพื้นที่ให้ตัวเองเป็นได้ และปั้นจนเสร็จได้
ศิลปะสำหรับเราก็ไม่ต่างจากการภาวนา หรือพูดสั้นๆ มันคือเรื่องเดียวกัน การที่เราประคองพื้นที่หนึ่งๆ ให้มันเปิดกว้างมากพอ ให้มันลื่นไหลมากพอ ให้การตัดสินของเรามีน้อยนิดที่สุด ให้เกียรติกับสุนทรียะที่หลากหลายและแปลกใหม่ ให้ตัวเราเป็นภาชนะในการไหลผ่านของพลังงานสร้าง และพอเสร็จสิ้นกระบวนการ พื้นที่หรือความหมายของชีวิตก็จะกว้างใหญ่มากขึ้นหลายครั้งที่เราเห็นความหมายของศิลปะที่ถูกให้คะแนน หรือถูกทำไว้เพื่อบ่งบอกสถานะที่ตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดว่าใครมีรสนิยมกับสุนทรียะหรือไม่ เราจะรู้สึกอึดอัด ในทางเดียวกัน หลายครั้งที่เราเห็นความหมายของพุทธะถูกใช้เป็นสถานะเพื่อตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกทำให้เป็นสิ่งสูงส่งจากพื้นฐานธรรมดาของเราทุกคน ถูกใช้จากคนกลุ่มหนึ่งในการชี้ขาดคุณค่าความดีของสังคมที่ทุกคนควรทำตาม เราก็รู้สึกอึดอัดไม่แพ้กัน
หากการภาวนาคือการขยายเขตแดนในใจเราให้เปิดกว้างต่อทุกสภาวะในตัวเราอย่างไม่ตัดสินและอ่อนโยน จนมันกลายเป็นท่าทีเดียวกันกับที่เรามีต่อสรรพสัตว์ภายนอก การทำงานศิลปะก็คือการขยายเขตแดนให้ครอบคลุมทุกสิ่ง ที่แม้กระทั่งหญิงค้าบริการหรือคนชายขอบอื่นๆ ก็มีพื้นที่และหนทางในสุนทรียะของเขาเองได้
พุทธะทั้ง 50 ชิ้นนี้ จึงเป็นทั้งการภาวนาและการแสดงออกทางศิลปะของเรา ในรูปนี้คือองค์ต้นแบบที่เราจะเก็บไว้บูชาเอง ทุกครั้งที่เราเห็นความบกพร่องและความสวยงามในองค์นี้ มันก็ย้ำเตือนให้เราบูชาความเป็นธรรมชาติของเราทุกคน
บทสะท้อนการปั้นพุทธะในฐานะผลงานทางศิลปะ โดย ถิง ชู
ติดต่ามผลงานพระพุทธรูปสไตล์ถิงชูได้ที่เพจ Ting Chu Studio
จาก https://www.vajrasiddha.com/tingchubuddha/
เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนเลยว่าเราใกล้ชิดกับพระได้ จะเป็นพระสงฆ์ พระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า ความสัมพันธ์เดียวที่เรามีกับพระทั้งสามคือ เอาไว้กันผี ยิ่งตอนเราไปเรียนคอร์สวาดทังก้าที่วัชรสิทธา ก็ไปเพราะอยากวาดทังก้าเป็น ไม่ได้คิดว่าคนบาปหนาอย่างเราจะสามารถวาดรูปพระเจ้าที่มีความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงฟังดูตลกมากที่ต่อมาวันหนึ่ง เราจะปั้นพระพุทธรูป เราเนี่ยนะ จะมีความชอบธรรมมากพอที่จะปั้นอะไรที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์
เรื่องนี้ได้ปลุกอะไรบางอย่างในตัวเราขึ้นมา ซึ่งก็คือความหมายที่เราใช้มองตัวเอง และความหมายที่เราใช้มองพุทธะและมองศิลปะ ทั้งศิลปะและพุทธะเป็นสิ่งที่เราต้องบากบั่นเพื่อได้มา? หรือมันเป็นของเราทุกคนอยู่แล้วโดยชอบธรรมแต่กำเนิด? แล้วต้องบากบั่นถึงระดับไหนถึงจะครอบครองมันได้ แล้วใครเป็นคนกำหนดว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว? เราตั้งคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อบอกให้ไม่ต้องบากบั่น ไม่ต้องมีวินัยในการฝึกปฏิบัติ แต่หมายความว่า มือ แขน และเท้าของเราจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้วเหรอ ถ้าเราไม่ฝึกมันให้แข็งแรงเหมือนของนักกีฬาโอลิมปิค?
ตอนนี้เราปั้นพระพุทธรูปเพราะเรารู้แล้วว่าพุทธะเป็นของเราเอง มันคือการที่เราประคองตัวเราอย่างซื่อตรงและเรียบง่ายที่สุด โดยไม่มีทั้งเรื่องเล่าของอัตตาใดๆ หรือการยืนยันจากภายนอกใดๆเป็นที่ยึดเหนี่ยวไว้ เรา คือเจ้าของตัวเองอย่างแท้จริง ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกลมหายใจเข้าออกของเราเองที่ทำให้ให้เรายังมีชีวิตมาถึง ณ วินาทีนี้ ความเมตตาเกื้อกูลทั้งหมดที่เรามอบให้ตัวเราเอง แม้บางครั้งจะรุนแรงและไม่อ่อนโยน แต่ก็ยังอุ้มชีวิตตัวเองไว้อยู่ และด้วยความตระหนักรู้นี้ เราจึงเห็นความสัมพันธ์ของเรากับสรรพสิ่งที่ก็ช่วยประคองโอบอุ้มเรามาเช่นกัน ที่หากไม่มีเขาก็ไม่มีเรา และหากไม่มีเราก็อาจไม่มีเขาเช่นกัน การปั้นพระพุทธรูป จึงเป็นการยืนยันว่า ไม่ว่าวันนี้เราจะแย่แค่ไหน เราจะยังมีพื้นที่ให้ตัวเองเป็นได้ และปั้นจนเสร็จได้
ศิลปะสำหรับเราก็ไม่ต่างจากการภาวนา หรือพูดสั้นๆ มันคือเรื่องเดียวกัน การที่เราประคองพื้นที่หนึ่งๆ ให้มันเปิดกว้างมากพอ ให้มันลื่นไหลมากพอ ให้การตัดสินของเรามีน้อยนิดที่สุด ให้เกียรติกับสุนทรียะที่หลากหลายและแปลกใหม่ ให้ตัวเราเป็นภาชนะในการไหลผ่านของพลังงานสร้าง และพอเสร็จสิ้นกระบวนการ พื้นที่หรือความหมายของชีวิตก็จะกว้างใหญ่มากขึ้นหลายครั้งที่เราเห็นความหมายของศิลปะที่ถูกให้คะแนน หรือถูกทำไว้เพื่อบ่งบอกสถานะที่ตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดว่าใครมีรสนิยมกับสุนทรียะหรือไม่ เราจะรู้สึกอึดอัด ในทางเดียวกัน หลายครั้งที่เราเห็นความหมายของพุทธะถูกใช้เป็นสถานะเพื่อตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกทำให้เป็นสิ่งสูงส่งจากพื้นฐานธรรมดาของเราทุกคน ถูกใช้จากคนกลุ่มหนึ่งในการชี้ขาดคุณค่าความดีของสังคมที่ทุกคนควรทำตาม เราก็รู้สึกอึดอัดไม่แพ้กัน
หากการภาวนาคือการขยายเขตแดนในใจเราให้เปิดกว้างต่อทุกสภาวะในตัวเราอย่างไม่ตัดสินและอ่อนโยน จนมันกลายเป็นท่าทีเดียวกันกับที่เรามีต่อสรรพสัตว์ภายนอก การทำงานศิลปะก็คือการขยายเขตแดนให้ครอบคลุมทุกสิ่ง ที่แม้กระทั่งหญิงค้าบริการหรือคนชายขอบอื่นๆ ก็มีพื้นที่และหนทางในสุนทรียะของเขาเองได้
พุทธะทั้ง 50 ชิ้นนี้ จึงเป็นทั้งการภาวนาและการแสดงออกทางศิลปะของเรา ในรูปนี้คือองค์ต้นแบบที่เราจะเก็บไว้บูชาเอง ทุกครั้งที่เราเห็นความบกพร่องและความสวยงามในองค์นี้ มันก็ย้ำเตือนให้เราบูชาความเป็นธรรมชาติของเราทุกคน
บทสะท้อนการปั้นพุทธะในฐานะผลงานทางศิลปะ โดย ถิง ชู
ติดต่ามผลงานพระพุทธรูปสไตล์ถิงชูได้ที่เพจ Ting Chu Studio
จาก https://www.vajrasiddha.com/tingchubuddha/