ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 15, 2024, 08:34:07 am »Rise & Fall : การเกิดขึ้นและล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลา
โพสต์โดย วัชรสิทธา
บทความโดย วิจักขณ์ พานิช
ชัมบาลา คือดินแดนในตำนาน โลกพระศรีอาริย์ สังคมในอุดมคติ มณฑลการตื่นรู้ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ฝึกตนบนหนทางแห่งความเปิดกว้างและกล้าหาญ
ตำนานชัมบาลาถูกปลุกให้มีชีวิตโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้วางรากฐานพุทธธรรมในโลกตะวันตก แทนที่จะพาผู้คนย้อนเวลากลับไปหาอดีต ตรุงปะมองเห็นความเป็นไปได้ในการค้นพบชัมบาลา ในบริบทโลกสมัยใหม่ ในปัจจุบันขณะที่เรากำลังมีชีวิตอยู่
ในปี 1970 ตรุงปะเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นวางรากฐานการส่งผ่านจิตวิญญาณพุทธธรรมให้แก่ศิษย์ชาวตะวันตก เขาเลือกใช้แนวทาง “ไตรยาน” อันประกอบด้วยหินยาน มหายาน และวัชรยาน ฝึกนักเรียนของเขาตั้งแต่สมถะ-วิปัสสนา ไปจนการปฏิบัติสาธนาและการภาวนาไร้รูปแบบขั้นสูงอย่าง มหามุทรา – ซกเช็น เมื่อมีประสบการณ์บนเส้นทางพุทธธรรมหนักแน่นและมั่นคงมากพอ ในปี 1976 ตรุงปะจึงเริ่มถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาออกมาอย่างเป็นระบบ
ในมุมมองของตรุงปะ เส้นทางจิตวิญญาณสามารถถูกสื่อสารพ้นไปจากกรอบคิดทางศาสนา ย้อนกลับไปหารากกำเนิดของภูมิปัญญานักรบโบราณ อย่างในทิเบต อเมริกันอินเดียนส์ หรือนักรบซามูไรของญี่ปุ่น การภาวนาเป็นหัวใจในวิถีการฝึกตนของผู้กล้า เปรียบได้กับหนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ แม้จะยังคงมีกลิ่นอายของคำสอนพุทธศาสนา แต่คำสอนชัมบาลานำเสนอภาษาของประสบการณ์ เปิดจินตนาการใหม่ให้การปฏิบัติธรรม เชื่อมต่อสภาวะการตื่นรู้ภายใน กับโลกศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าทึ่ง
ธรรมะอันเป็นสากล
ธรรมะในชัมบาลา คือการเชื่อมสมดุล ดิน-ฟ้า นักรบชัมบาลาฝึกดำรงอยู่อย่างผ่อนคลายในเนื้อในตัว การประสานกาย-จิต เปลือยเปล่าในพื้นที่ว่างระหว่างฟ้า-ดิน ดำรงตนอย่างเปิดเผยและสง่างาม “Shape of the Warrior” การตั้งแกนตรงด้วยท่าทีที่องอาจของนักรบ วิถีภาวนาแบบนักรบชัมบาลาให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการนั่งภาวนาในพุทธศาสนา ตรงที่แสดงออกถึงความเปิดกว้างและกล้าเผชิญต่ออะไรก็ตามที่อยู่ตรงหน้า ดังนิยามของนักรบที่ว่า ” The warrior is the one who is not afraid of space” – นักรบคือคนที่ไม่เกรงกลัวพื้นที่ว่าง
การดำรงอยู่ตรงนั้น ณ วินาทีนั้นอย่างมั่นใจ มาจากการที่นักรบฝึกที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติของ “ฺBasic Goodness” หรือ ความดีพื้นฐาน เปิดหัวใจที่ทั้งอ่อนโยนและกล้าหาญ หัวใจแห่งความเศร้าที่จริงแท้ “Genuine Heart of Sadness” พร้อมให้โลกเข้ามาสะกิดและสั่นสะเทือนในใจนั้นได้อย่างไม่ขัดขืน หัวใจที่อ่อนโยนและวางใจในความดีพื้นฐานนี้เองที่ทำให้นักรบชัมบาลามี Primordial Confidence “ความมั่นใจเดิมแท้” การวางใจสูงสุดใน “The Great Eastern Sun” ความตื่นรู้ที่ดำรงอยู่ในตนเองและในสรรพสิ่งอย่างไม่มีเงื่อนไข นักรบปลุกพลังอำนาจภายในตน พลังม้าลม “Wind Horse” ที่พานักรบขึ้นขี่ความกลัว เปิดช่องสัญญาณ สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ด้วยการใส่ใจและชื่นชมในรายละเอียดเล็กๆ ของสิ่งนั้นๆ อย่างที่เป็น พลังภายในเข้าไปปลุกเสกพลังศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เกิดเป็นมณฑลแห่งพลัง “Drala” นักรบกลายร่างสู่สัตว์วิเศษทั้งสี่แห่งความมั่นใจเดิมแท้ “The Four Dignities” อันได้แก่ เสือ มังกร สิงโตหิมะ และครุฑ
Creation & Completion การรังสรรค์ของมณฑลแห่งการตื่นรู้
ในมณฑลกว้างใหญ่แห่งความเป็นเช่นนั้น
ในการรังสรรค์ของแสงจ้า
ปาฏิหาริย์ของรูป เสียง สัมผัส
ได้กลายเป็นพุทธปัญญาทั้งห้าของเหล่าพุทธะ
นี่คือมณฑลการตื่นรู้ที่ไม่เคยถูกสรรค์สร้าง แต่กลับสมบูรณ์อยู่เสมอ
มันคือมหาปีติ เดิมแท้ และแผ่ซ่านไปรอบทิศ ฮุ่ม
สาธนามหามุทรา รจนาโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
โลกศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลา คือมณฑลการตื่นรู้ที่รังสรรค์ขึ้นจากความว่าง เส้นทางการฝึกตนบนทัศนะไตรยาน เมื่อมาถึงขั้นวัชรยาน ความว่างแสดงออกถึงธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ – สถานที่ให้กำเนิดทุกสภาวะธรรมที่ปรากฏ ในการภาวนาแบบวัชรยานที่เรียกว่า สาธนา ประกอบด้วยสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการรังสรรค์มณฑล (Creation) และ ส่วนการสลายมณฑล (completion)
จากพื้นของความว่าง สะท้อนถึงคุณสมบัติของ Unconditional Goodness ทุกสภาวะธรรมที่ก่อกำเนิดขึ้นในมณฑลนั้น ล้วนสำแดงธรรมชาติของความดีพื้นฐาน แผ่ซ่านวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้อันยิ่งใหญ่ อาณาจักรชัมบาลาก่อกำเนิดขึ้น ไม่ใช่อย่างล่องลอยเพ้อฝัน ทว่าดำรงมั่นอยู่บนสายธรรมประสบการณ์ของเหล่านักรบในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
หลังจากถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาและวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ Secular Enlightenment เชอเกียม ตรุงปะ ก็ได้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลา (Sakyong King) นามว่า “Dorje Dradul of Mukpo” โดยมีท่าน ดิลโก เคียนเซ รินโปเช มาประกอบพิธีอภิเษกให้ เหมือนกับพิธีอภิเษกที่ทำให้กับกษัตริย์ในราชวงศ์ภูฎานตอนขึ้นครองราชย์
ประเทศชัมบาลา ธงชาติ เพลงชาติ ราชวงศ์ และกองทัพ
ในฐานะกษัตริย์แห่งชัมบาลา ตรุงปะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เขาใช้ศักยภาพทั้งทางศิลปะ จิตวิญญาณ และการเป็นผู้นำ รังสรรค์โลกอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลาเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แปรเปลี่ยนสังฆะทางธรรมที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก ให้กลายเป็นประเทศชัมบาลา เสกธงชาติ เพลงชาติ ตราสัญลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ ตรุงปะมีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำประเทศ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ ศูนย์รวมจิตใจ คุรุทางจิตวิญญาณ และผู้นำกองทัพ
คำสอนชัมบาลาในฐานะ Pre-Yana และ 4th Yana
เรจินัลด์ เรย์ ศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า คำสอนชัมบาลา สามารถถูกมองเป็นคำสอนในขั้น Pre Hinayana หรือ Post Vajrayana ก็ได้ ในมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาช่วยเปิดวิสัยทัศน์อันไพศาล ก่อกำเนิดแรงบันดาลใจ สู่การอุทิศตนบนเส้นทางจิตวิญญาณ และในอีกมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาคือผลลัพธ์ของวัชรยาน หากหินยาน มหายาน และวัชรยาน คือยานทั้งสามแห่งการฝึกตน ชัมบาลาก็อาจเปรียบได้กับ “ยานที่สี่” หรือ The Fourth Yana ที่สำแดงถึงพลานุภาพแห่งการตื่นรู้ ไปพ้นกรอบคิดทางศาสนา
กระนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติตามคำสอนชัมบาลา โดยปราศจากรากฐานการฝึกตนผ่านยานทั้งสาม อาจนำไปสู่แนวโน้มของ “วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ” ได้โดยง่าย ดังนั้นในมุมมองของเชอเกียม ตรุงปะ คำสอนชัมบาลา กับ คำสอนพุทธธรรม จำเป็นต้องฝึกฝนไปควบคู่กัน
ผู้สืบทอด ในระบอบการเมืองของอาณาจักรชัมบาลา
อาจกล่าวได้ว่า เชอเกียม ตรุงปะ ปกครองอาณาจักรชัมบาลาด้วยพลังวิเศษแห่งธรรมะ เพื่อสานต่อพันธกิจนี้ให้คงอยู่ เขาได้แต่งตั้งผู้สืบทอดไว้ 2 คน คนแรกคือ “Vajra Regent” โอซิล เท็นซิน (โธมัส ริช) ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม และ “Sawang” ปัจจุบันคือ ศากยัง มีพาม ลูกชายคนโตของตรุงปะ ทายาทธรรมฝั่งชัมบาลา
ในการเลือกทายาทธรรมทั้งสอง ตอกย้ำความแยกขาดจากกันไม่ได้ของคำสอนพุทธธรรมกับคำสอนชัมบาลา ทั้งในแง่ของการปกครอง จำเป็นต้องมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ระหว่างกษัตริย์และผู้นำชุมชนทางจิตวิญญาณ สังคมแห่งการตื่นรู้ต้องไม่ติดอยู่กับความเป็นพุทธจนเกินไป และไม่ติดอยู่ในอุดมคติจนล่องลอยเกินไปเช่นเดียวกัน
ในคำสอนชัมบาลา กล่าวถึง “ลำดับชั้นตามธรรมชาติ” Natural Hierachy และ “ราชวงศ์อันเป็นสากล” Universal Monarch ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคารพในปัญญาญาณเดิมแท้ของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง ครู กับ ศิษย์ ไม่อาจเท่าเทียมกันในแบบประชาธิปไตยได้ ครูย่อมมีอำนาจเหนือศิษย์ กระนั้นก็สามารถใช้อำนาจนั้นในหนทางที่เอื้อให้ศิษย์เติบโตและส่งเสริมศักยภาพให้กับศิษย์ได้ เช่นเดียวกันกับในแง่ปกครอง ต้องให้อำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดแก่กษัตริย์ผู้ปกครองเช่นกัน ทั้งนี้พึงตระหนักว่า อำนาจ ทั้งในทัศนะของพุทธและของชัมบาลา คืออำนาจที่มาจากธรรมะ ที่เปิดกว้างต่อความเห็นต่าง ความท้าทาย และความโกลาหลอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งไม่ได้หมายความว่า อนาคตของชัมบาลา จะขึ้นอยู่กับคนคนเดียว เพราะสูงสุดแล้ว “ทุกคนคือผู้สืบสายธรรม… ทุกคนคือนักรบชัมบาลา”
อาณาจักรชัมบาลาหลังยุคก่อตั้ง
เชอเกียม ตรุงปะ จากโลกนี้ไปเมื่อเมษายน ปี 1987 เขาได้ทิ้งมรดกธรรมไว้มากมาย รวมถึงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของชัมบาลา ที่ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัดบนโลกนี้ในช่วงเวลาที่ตรุงปะมีชีวิตอยู่ ความท้าทายคือ แล้วเราจะสืบต่อความรุ่งโรจน์นั้นต่อไปอย่างไร?
ความท้าทายแรกเกิดขึ้นเมื่อ Vajra Regent (ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม) เสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ ทำให้สายสืบทอดพุทธธรรมของเชอเกียม ตรุงปะ ไม่มีผู้สืบต่อสายธรรมอย่างเป็นทางการ เหลือแต่ “สว่าง” ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลาคนต่อไป นามว่า “ศากยัง มีพาม” ธรรมาจารย์ชาวทิเบตให้คำแนะนำว่า ควรรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ ศากยัง มีพาม ดูแล จึงกลายเป็นว่าทั้งสายพุทธธรรมและสายชัมบาลา ถูกปกครองโดยผู้นำคนเดียวเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
บางคนอาจมองว่า ก็ไม่เห็นแปลกอะไร ในเมื่อสมัยผู้ก่อตั้งก็เป็นเช่นนั้น อีกทั้ง ศากยัง มีพาม ก็เป็นถึงลูกชายของคุรุผู้ยิ่งใหญ่ ที่เพิ่งได้รับการค้นพบว่าเป็น คุรุมีพาม ผู้ยิ่งใหญ่ กลับชาติมาเกิดด้วยแล้ว เขาจึงควรได้รับอำนาจทั้งหมดในการปกครอง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ศากยัง มีพาม ไม่ได้รับการถ่ายทอดคำสอนพุทธธรรมอย่างเข้มข้นเป็นระบบ จากเชอเกียม ตรุงปะ ในฐานะศิษย์ใกล้ชิด เหมือนศิษย์ชาวตะวันตกคนอื่นๆ
อีกนัยหนึ่ง การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จมาสู่ ศากยัง มีพาม เสมือนหนึ่งการมองข้ามความสำคัญของ สายพุทธธรรม ที่เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดสู่ศิษย์ชาวตะวันตก หรือกระทั่งไม่ไว้ใจการสืบต่อสายธรรมในหมู่ศิษย์ชาวตะวันตก ด้วยนั่นเอง
ความเสื่อมสลายของอาณาจักรชัมบาลา
ในปี 2004 เรจินัลด์ เรย์ ได้ขอแยกตัวจากชัมบาลา ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาไม่ได้รับอนุญาตจาก ศากยัง มีพาม ให้ถ่ายทอดคำสอนวัชรยานที่ได้รับจากเชอเกียม ตรุงปะ แก่กลุ่มลูกศิษย์ของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่า อำนาจการมอบคำสอนวัชรยาน อยู่ที่ศากยัง มีพาม เพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นทิศทางการนำเสนอคำสอนของ ศากยัง มีพาม ยังมีความแตกต่างจากเชอเกียม ตรุงปะ มากขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการแตกหักในชุมชนอย่างรุนแรง บ้างก็กล่าวหาว่า เรจินัลด์ เรย์ เป็นคนทรยศ บ้างก็ว่า ศากยัง มีพาม ไม่เคารพอำนาจการสืบทอดพุทธธรรมที่เชอเกียม ตรุงปะ มอบไว้ให้กับศิษย์ใกล้ชิด
ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือรอยร้าวในชุมชน เกิดคำถาม ความสงสัย ความไม่ไว้วางใจ และความไม่ปรองดอง ท้าทายต่อสันติภาพในอาณาจักรชัมบาลา ซึ่งในแง่มุมนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของ ศากยัง มีพาม ในฐานะผู้นำโดยตรง
หลายปีต่อมา มีพายุลูกใหญ่โหมเข้าซัดชุมชนชัมบาลาอีกครั้ง ศากยัง มีพาม ถูกเปิดโปงถึงพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่น ที่เขากระทำความรุนแรงต่อศิษย์ใกล้ชิด ทั้งความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ ระหว่างกระบวนการพิสูจน์ความจริง เขาถูกเรียกร้องจากชุมชนให้ลงจากอำนาจ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรชัมบาลาก็อยู่ในสถานะที่ปราศจากผู้นำอย่างสิ้นเชิง
องค์กรชัมบาลาเริ่มประสบปัญหาทางการเงินและเข้าสู่ภาวะล้มละลาย สมาชิกจำนวนมากเดินออกจากสังฆะ ศูนย์ปฏิบัติธรรมหลายแห่งต้องปิดตัว และทรัพย์สินจำนวนมากถูกขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้สิน
อนาคตของชัมบาลา
การเกิดและการล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลาในช่วงชีวิตของเชอเกียม ตรุงปะ และทายาทธรรมรุ่นแรก สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏขึ้นจากความว่าง และสลายกลับคืนสู่ความว่าง
อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่รังสรรค์ขึ้นมาจากวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้ จะยังดำรงอยู่ในใจผู้คนที่อุทิศตนให้กับสัจธรรมแห่งความจริงแท้และกล้าหาญได้หรือไม่? พันธกิจในการนำพาสรรพสัตว์ออกจากความมืดมิดจะยังคงดำเนินต่อไปได้หรือเปล่า? เหล่านักรบผู้มาก่อนได้มอบปัจฉิมโอวาทล้ำค่า ว่าบนเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ นักรบพึงดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาทเสมอ ไม่มียกเว้น
ชัมบาลาในฐานะองค์กรอาจกำลังอยู่ในช่วงเวลายากลำบาก ทว่าชัมบาลาในฐานะคำสอน ยังดึงดูดผู้คนให้เข้ามาสู่เส้นทาง ที่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีนักรบผู้กล้า ประกาศก้องให้เห็นแล้วว่า ชัมบาลาสามารถเกิดขึ้นได้จริงตรงหน้า แม้เป็นเพียงวาบเดียว ก็สว่างจ้า ตราตรึง
และในส่วนลึกที่สุด ชัมบาลาในฐานะอาณาจักรใจ จะดำรงอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่มีอะไรมาทำลายได้
…แล้วทุกอย่างก็กลับมาสู่จุดเริ่มต้น
อนาคตของชัมบาลา ขึ้นอยู่กับเราทุกคน ที่นี่ และตรงนี้
เหล่านักรบ ที่แม้หัวใจแตกสลลาย จะยังคงวางใจในความดีพื้นฐานของมนุษย์
และไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น พวกเขาจะยังเชื่อมั่นว่า the Great Eastern Sun always arises.
shambhala trungpa ชัมบาลา วิจักขณ์ พานิช เชอเกียม ตรุงปะ
จาก https://www.vajrasiddha.com/article-risenfall/
วัชรสิทธา
สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
โพสต์โดย วัชรสิทธา
บทความโดย วิจักขณ์ พานิช
ชัมบาลา คือดินแดนในตำนาน โลกพระศรีอาริย์ สังคมในอุดมคติ มณฑลการตื่นรู้ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่ฝึกตนบนหนทางแห่งความเปิดกว้างและกล้าหาญ
ตำนานชัมบาลาถูกปลุกให้มีชีวิตโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้วางรากฐานพุทธธรรมในโลกตะวันตก แทนที่จะพาผู้คนย้อนเวลากลับไปหาอดีต ตรุงปะมองเห็นความเป็นไปได้ในการค้นพบชัมบาลา ในบริบทโลกสมัยใหม่ ในปัจจุบันขณะที่เรากำลังมีชีวิตอยู่
ในปี 1970 ตรุงปะเดินทางไปถึงสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นวางรากฐานการส่งผ่านจิตวิญญาณพุทธธรรมให้แก่ศิษย์ชาวตะวันตก เขาเลือกใช้แนวทาง “ไตรยาน” อันประกอบด้วยหินยาน มหายาน และวัชรยาน ฝึกนักเรียนของเขาตั้งแต่สมถะ-วิปัสสนา ไปจนการปฏิบัติสาธนาและการภาวนาไร้รูปแบบขั้นสูงอย่าง มหามุทรา – ซกเช็น เมื่อมีประสบการณ์บนเส้นทางพุทธธรรมหนักแน่นและมั่นคงมากพอ ในปี 1976 ตรุงปะจึงเริ่มถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาออกมาอย่างเป็นระบบ
ในมุมมองของตรุงปะ เส้นทางจิตวิญญาณสามารถถูกสื่อสารพ้นไปจากกรอบคิดทางศาสนา ย้อนกลับไปหารากกำเนิดของภูมิปัญญานักรบโบราณ อย่างในทิเบต อเมริกันอินเดียนส์ หรือนักรบซามูไรของญี่ปุ่น การภาวนาเป็นหัวใจในวิถีการฝึกตนของผู้กล้า เปรียบได้กับหนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบ แม้จะยังคงมีกลิ่นอายของคำสอนพุทธศาสนา แต่คำสอนชัมบาลานำเสนอภาษาของประสบการณ์ เปิดจินตนาการใหม่ให้การปฏิบัติธรรม เชื่อมต่อสภาวะการตื่นรู้ภายใน กับโลกศักดิ์สิทธิ์อย่างน่าทึ่ง
ธรรมะอันเป็นสากล
ธรรมะในชัมบาลา คือการเชื่อมสมดุล ดิน-ฟ้า นักรบชัมบาลาฝึกดำรงอยู่อย่างผ่อนคลายในเนื้อในตัว การประสานกาย-จิต เปลือยเปล่าในพื้นที่ว่างระหว่างฟ้า-ดิน ดำรงตนอย่างเปิดเผยและสง่างาม “Shape of the Warrior” การตั้งแกนตรงด้วยท่าทีที่องอาจของนักรบ วิถีภาวนาแบบนักรบชัมบาลาให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากการนั่งภาวนาในพุทธศาสนา ตรงที่แสดงออกถึงความเปิดกว้างและกล้าเผชิญต่ออะไรก็ตามที่อยู่ตรงหน้า ดังนิยามของนักรบที่ว่า ” The warrior is the one who is not afraid of space” – นักรบคือคนที่ไม่เกรงกลัวพื้นที่ว่าง
การดำรงอยู่ตรงนั้น ณ วินาทีนั้นอย่างมั่นใจ มาจากการที่นักรบฝึกที่จะสัมพันธ์กับธรรมชาติของ “ฺBasic Goodness” หรือ ความดีพื้นฐาน เปิดหัวใจที่ทั้งอ่อนโยนและกล้าหาญ หัวใจแห่งความเศร้าที่จริงแท้ “Genuine Heart of Sadness” พร้อมให้โลกเข้ามาสะกิดและสั่นสะเทือนในใจนั้นได้อย่างไม่ขัดขืน หัวใจที่อ่อนโยนและวางใจในความดีพื้นฐานนี้เองที่ทำให้นักรบชัมบาลามี Primordial Confidence “ความมั่นใจเดิมแท้” การวางใจสูงสุดใน “The Great Eastern Sun” ความตื่นรู้ที่ดำรงอยู่ในตนเองและในสรรพสิ่งอย่างไม่มีเงื่อนไข นักรบปลุกพลังอำนาจภายในตน พลังม้าลม “Wind Horse” ที่พานักรบขึ้นขี่ความกลัว เปิดช่องสัญญาณ สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ด้วยการใส่ใจและชื่นชมในรายละเอียดเล็กๆ ของสิ่งนั้นๆ อย่างที่เป็น พลังภายในเข้าไปปลุกเสกพลังศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เกิดเป็นมณฑลแห่งพลัง “Drala” นักรบกลายร่างสู่สัตว์วิเศษทั้งสี่แห่งความมั่นใจเดิมแท้ “The Four Dignities” อันได้แก่ เสือ มังกร สิงโตหิมะ และครุฑ
Creation & Completion การรังสรรค์ของมณฑลแห่งการตื่นรู้
ในมณฑลกว้างใหญ่แห่งความเป็นเช่นนั้น
ในการรังสรรค์ของแสงจ้า
ปาฏิหาริย์ของรูป เสียง สัมผัส
ได้กลายเป็นพุทธปัญญาทั้งห้าของเหล่าพุทธะ
นี่คือมณฑลการตื่นรู้ที่ไม่เคยถูกสรรค์สร้าง แต่กลับสมบูรณ์อยู่เสมอ
มันคือมหาปีติ เดิมแท้ และแผ่ซ่านไปรอบทิศ ฮุ่ม
สาธนามหามุทรา รจนาโดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช
โลกศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลา คือมณฑลการตื่นรู้ที่รังสรรค์ขึ้นจากความว่าง เส้นทางการฝึกตนบนทัศนะไตรยาน เมื่อมาถึงขั้นวัชรยาน ความว่างแสดงออกถึงธรรมชาติแห่งตถาคตครรภ์ – สถานที่ให้กำเนิดทุกสภาวะธรรมที่ปรากฏ ในการภาวนาแบบวัชรยานที่เรียกว่า สาธนา ประกอบด้วยสองส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนการรังสรรค์มณฑล (Creation) และ ส่วนการสลายมณฑล (completion)
จากพื้นของความว่าง สะท้อนถึงคุณสมบัติของ Unconditional Goodness ทุกสภาวะธรรมที่ก่อกำเนิดขึ้นในมณฑลนั้น ล้วนสำแดงธรรมชาติของความดีพื้นฐาน แผ่ซ่านวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้อันยิ่งใหญ่ อาณาจักรชัมบาลาก่อกำเนิดขึ้น ไม่ใช่อย่างล่องลอยเพ้อฝัน ทว่าดำรงมั่นอยู่บนสายธรรมประสบการณ์ของเหล่านักรบในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
หลังจากถ่ายทอดคำสอนชัมบาลาและวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของ Secular Enlightenment เชอเกียม ตรุงปะ ก็ได้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลา (Sakyong King) นามว่า “Dorje Dradul of Mukpo” โดยมีท่าน ดิลโก เคียนเซ รินโปเช มาประกอบพิธีอภิเษกให้ เหมือนกับพิธีอภิเษกที่ทำให้กับกษัตริย์ในราชวงศ์ภูฎานตอนขึ้นครองราชย์
ประเทศชัมบาลา ธงชาติ เพลงชาติ ราชวงศ์ และกองทัพ
ในฐานะกษัตริย์แห่งชัมบาลา ตรุงปะยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น เขาใช้ศักยภาพทั้งทางศิลปะ จิตวิญญาณ และการเป็นผู้นำ รังสรรค์โลกอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชัมบาลาเป็นรูปธรรมจับต้องได้ แปรเปลี่ยนสังฆะทางธรรมที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมาก ให้กลายเป็นประเทศชัมบาลา เสกธงชาติ เพลงชาติ ตราสัญลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรม ฯลฯ ตรุงปะมีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะผู้นำประเทศ กษัตริย์แห่งราชวงศ์ ศูนย์รวมจิตใจ คุรุทางจิตวิญญาณ และผู้นำกองทัพ
คำสอนชัมบาลาในฐานะ Pre-Yana และ 4th Yana
เรจินัลด์ เรย์ ศิษย์ของเชอเกียม ตรุงปะ ให้มุมมองที่น่าสนใจว่า คำสอนชัมบาลา สามารถถูกมองเป็นคำสอนในขั้น Pre Hinayana หรือ Post Vajrayana ก็ได้ ในมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาช่วยเปิดวิสัยทัศน์อันไพศาล ก่อกำเนิดแรงบันดาลใจ สู่การอุทิศตนบนเส้นทางจิตวิญญาณ และในอีกมุมหนึ่ง คำสอนชัมบาลาคือผลลัพธ์ของวัชรยาน หากหินยาน มหายาน และวัชรยาน คือยานทั้งสามแห่งการฝึกตน ชัมบาลาก็อาจเปรียบได้กับ “ยานที่สี่” หรือ The Fourth Yana ที่สำแดงถึงพลานุภาพแห่งการตื่นรู้ ไปพ้นกรอบคิดทางศาสนา
กระนั้นก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การปฏิบัติตามคำสอนชัมบาลา โดยปราศจากรากฐานการฝึกตนผ่านยานทั้งสาม อาจนำไปสู่แนวโน้มของ “วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ” ได้โดยง่าย ดังนั้นในมุมมองของเชอเกียม ตรุงปะ คำสอนชัมบาลา กับ คำสอนพุทธธรรม จำเป็นต้องฝึกฝนไปควบคู่กัน
ผู้สืบทอด ในระบอบการเมืองของอาณาจักรชัมบาลา
อาจกล่าวได้ว่า เชอเกียม ตรุงปะ ปกครองอาณาจักรชัมบาลาด้วยพลังวิเศษแห่งธรรมะ เพื่อสานต่อพันธกิจนี้ให้คงอยู่ เขาได้แต่งตั้งผู้สืบทอดไว้ 2 คน คนแรกคือ “Vajra Regent” โอซิล เท็นซิน (โธมัส ริช) ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม และ “Sawang” ปัจจุบันคือ ศากยัง มีพาม ลูกชายคนโตของตรุงปะ ทายาทธรรมฝั่งชัมบาลา
ในการเลือกทายาทธรรมทั้งสอง ตอกย้ำความแยกขาดจากกันไม่ได้ของคำสอนพุทธธรรมกับคำสอนชัมบาลา ทั้งในแง่ของการปกครอง จำเป็นต้องมีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน ระหว่างกษัตริย์และผู้นำชุมชนทางจิตวิญญาณ สังคมแห่งการตื่นรู้ต้องไม่ติดอยู่กับความเป็นพุทธจนเกินไป และไม่ติดอยู่ในอุดมคติจนล่องลอยเกินไปเช่นเดียวกัน
ในคำสอนชัมบาลา กล่าวถึง “ลำดับชั้นตามธรรมชาติ” Natural Hierachy และ “ราชวงศ์อันเป็นสากล” Universal Monarch ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคารพในปัญญาญาณเดิมแท้ของแต่ละบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่าง ครู กับ ศิษย์ ไม่อาจเท่าเทียมกันในแบบประชาธิปไตยได้ ครูย่อมมีอำนาจเหนือศิษย์ กระนั้นก็สามารถใช้อำนาจนั้นในหนทางที่เอื้อให้ศิษย์เติบโตและส่งเสริมศักยภาพให้กับศิษย์ได้ เช่นเดียวกันกับในแง่ปกครอง ต้องให้อำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดแก่กษัตริย์ผู้ปกครองเช่นกัน ทั้งนี้พึงตระหนักว่า อำนาจ ทั้งในทัศนะของพุทธและของชัมบาลา คืออำนาจที่มาจากธรรมะ ที่เปิดกว้างต่อความเห็นต่าง ความท้าทาย และความโกลาหลอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งไม่ได้หมายความว่า อนาคตของชัมบาลา จะขึ้นอยู่กับคนคนเดียว เพราะสูงสุดแล้ว “ทุกคนคือผู้สืบสายธรรม… ทุกคนคือนักรบชัมบาลา”
อาณาจักรชัมบาลาหลังยุคก่อตั้ง
เชอเกียม ตรุงปะ จากโลกนี้ไปเมื่อเมษายน ปี 1987 เขาได้ทิ้งมรดกธรรมไว้มากมาย รวมถึงวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของชัมบาลา ที่ปรากฏขึ้นอย่างแจ่มชัดบนโลกนี้ในช่วงเวลาที่ตรุงปะมีชีวิตอยู่ ความท้าทายคือ แล้วเราจะสืบต่อความรุ่งโรจน์นั้นต่อไปอย่างไร?
ความท้าทายแรกเกิดขึ้นเมื่อ Vajra Regent (ทายาทธรรมฝั่งพุทธธรรม) เสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์ ทำให้สายสืบทอดพุทธธรรมของเชอเกียม ตรุงปะ ไม่มีผู้สืบต่อสายธรรมอย่างเป็นทางการ เหลือแต่ “สว่าง” ที่ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งชัมบาลาคนต่อไป นามว่า “ศากยัง มีพาม” ธรรมาจารย์ชาวทิเบตให้คำแนะนำว่า ควรรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ ศากยัง มีพาม ดูแล จึงกลายเป็นว่าทั้งสายพุทธธรรมและสายชัมบาลา ถูกปกครองโดยผู้นำคนเดียวเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
บางคนอาจมองว่า ก็ไม่เห็นแปลกอะไร ในเมื่อสมัยผู้ก่อตั้งก็เป็นเช่นนั้น อีกทั้ง ศากยัง มีพาม ก็เป็นถึงลูกชายของคุรุผู้ยิ่งใหญ่ ที่เพิ่งได้รับการค้นพบว่าเป็น คุรุมีพาม ผู้ยิ่งใหญ่ กลับชาติมาเกิดด้วยแล้ว เขาจึงควรได้รับอำนาจทั้งหมดในการปกครอง ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว ศากยัง มีพาม ไม่ได้รับการถ่ายทอดคำสอนพุทธธรรมอย่างเข้มข้นเป็นระบบ จากเชอเกียม ตรุงปะ ในฐานะศิษย์ใกล้ชิด เหมือนศิษย์ชาวตะวันตกคนอื่นๆ
อีกนัยหนึ่ง การรวบอำนาจเบ็ดเสร็จมาสู่ ศากยัง มีพาม เสมือนหนึ่งการมองข้ามความสำคัญของ สายพุทธธรรม ที่เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดสู่ศิษย์ชาวตะวันตก หรือกระทั่งไม่ไว้ใจการสืบต่อสายธรรมในหมู่ศิษย์ชาวตะวันตก ด้วยนั่นเอง
ความเสื่อมสลายของอาณาจักรชัมบาลา
ในปี 2004 เรจินัลด์ เรย์ ได้ขอแยกตัวจากชัมบาลา ด้วยเหตุผลที่ว่า เขาไม่ได้รับอนุญาตจาก ศากยัง มีพาม ให้ถ่ายทอดคำสอนวัชรยานที่ได้รับจากเชอเกียม ตรุงปะ แก่กลุ่มลูกศิษย์ของเขา ด้วยเหตุผลที่ว่า อำนาจการมอบคำสอนวัชรยาน อยู่ที่ศากยัง มีพาม เพียงคนเดียวเท่านั้น นอกจากนั้นทิศทางการนำเสนอคำสอนของ ศากยัง มีพาม ยังมีความแตกต่างจากเชอเกียม ตรุงปะ มากขึ้นเรื่อยๆ เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการแตกหักในชุมชนอย่างรุนแรง บ้างก็กล่าวหาว่า เรจินัลด์ เรย์ เป็นคนทรยศ บ้างก็ว่า ศากยัง มีพาม ไม่เคารพอำนาจการสืบทอดพุทธธรรมที่เชอเกียม ตรุงปะ มอบไว้ให้กับศิษย์ใกล้ชิด
ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือรอยร้าวในชุมชน เกิดคำถาม ความสงสัย ความไม่ไว้วางใจ และความไม่ปรองดอง ท้าทายต่อสันติภาพในอาณาจักรชัมบาลา ซึ่งในแง่มุมนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของ ศากยัง มีพาม ในฐานะผู้นำโดยตรง
หลายปีต่อมา มีพายุลูกใหญ่โหมเข้าซัดชุมชนชัมบาลาอีกครั้ง ศากยัง มีพาม ถูกเปิดโปงถึงพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่น ที่เขากระทำความรุนแรงต่อศิษย์ใกล้ชิด ทั้งความรุนแรงทางร่างกายและทางเพศ ระหว่างกระบวนการพิสูจน์ความจริง เขาถูกเรียกร้องจากชุมชนให้ลงจากอำนาจ และหลังจากนั้นเป็นต้นมา อาณาจักรชัมบาลาก็อยู่ในสถานะที่ปราศจากผู้นำอย่างสิ้นเชิง
องค์กรชัมบาลาเริ่มประสบปัญหาทางการเงินและเข้าสู่ภาวะล้มละลาย สมาชิกจำนวนมากเดินออกจากสังฆะ ศูนย์ปฏิบัติธรรมหลายแห่งต้องปิดตัว และทรัพย์สินจำนวนมากถูกขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาชำระหนี้สิน
อนาคตของชัมบาลา
การเกิดและการล่มสลายของอาณาจักรชัมบาลาในช่วงชีวิตของเชอเกียม ตรุงปะ และทายาทธรรมรุ่นแรก สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏขึ้นจากความว่าง และสลายกลับคืนสู่ความว่าง
อาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่รังสรรค์ขึ้นมาจากวิสัยทัศน์แห่งการตื่นรู้ จะยังดำรงอยู่ในใจผู้คนที่อุทิศตนให้กับสัจธรรมแห่งความจริงแท้และกล้าหาญได้หรือไม่? พันธกิจในการนำพาสรรพสัตว์ออกจากความมืดมิดจะยังคงดำเนินต่อไปได้หรือเปล่า? เหล่านักรบผู้มาก่อนได้มอบปัจฉิมโอวาทล้ำค่า ว่าบนเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ นักรบพึงดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาทเสมอ ไม่มียกเว้น
ชัมบาลาในฐานะองค์กรอาจกำลังอยู่ในช่วงเวลายากลำบาก ทว่าชัมบาลาในฐานะคำสอน ยังดึงดูดผู้คนให้เข้ามาสู่เส้นทาง ที่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีนักรบผู้กล้า ประกาศก้องให้เห็นแล้วว่า ชัมบาลาสามารถเกิดขึ้นได้จริงตรงหน้า แม้เป็นเพียงวาบเดียว ก็สว่างจ้า ตราตรึง
และในส่วนลึกที่สุด ชัมบาลาในฐานะอาณาจักรใจ จะดำรงอยู่ตรงนั้นเสมอ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่มีอะไรมาทำลายได้
…แล้วทุกอย่างก็กลับมาสู่จุดเริ่มต้น
อนาคตของชัมบาลา ขึ้นอยู่กับเราทุกคน ที่นี่ และตรงนี้
เหล่านักรบ ที่แม้หัวใจแตกสลลาย จะยังคงวางใจในความดีพื้นฐานของมนุษย์
และไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น พวกเขาจะยังเชื่อมั่นว่า the Great Eastern Sun always arises.
shambhala trungpa ชัมบาลา วิจักขณ์ พานิช เชอเกียม ตรุงปะ
จาก https://www.vajrasiddha.com/article-risenfall/
วัชรสิทธา
สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน