ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 16, 2024, 09:24:46 am »

Delicious in Dungeon EP. 1-2 อนิเมะแนวทำอาหาร ว่าด้วยอภิมหามีมของเอลฟ์สาว และก๊วนป่วนสุดพิสดาร

โดย กษาปณ์ หาญดิฐกุล




สิ่งแรกที่ทำให้คนรู้จัก Delicious in Dungeon อาจไม่ใช่เรื่องของการเป็นอนิเมะแนวทำอาหาร หากแต่เป็นมีมของเอลฟ์สาวผมทอง มาร์ซิล ที่ ณ ปัจจุบันออกมาเพียงแค่ 2 ตอนก็ทำให้ใครหลายคนเกิดความสนใจในตัวเธอและซีรีส์เป็นอย่างมาก โดยที่บางครั้งอาจไม่ได้มองด้วยซ้ำว่าแกนหลักของเรื่องนั้นเป็นอย่างไร




Delicious in Dungeon คือผลงานที่ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อเดียวกันของ เรียวโกะ คุอิ ว่าด้วยเรื่องราวของ ไลออส กับกลุ่มนักผจญภัยที่เข้าไปปราบมังกรในดันเจียน แต่เนื่องจากความหิวพวกเขาเลยพลาดท่าโดนมันเล่นงาน จนทำให้น้องสาวอย่าง ฟาริน ถูกจับกิน กระนั้น ก่อนที่เธอจะถูกกลืนอย่างสมบูรณ์ หญิงสาวก็ได้ใช้เวทมนตร์เพื่อพาทุกคนออกมาข้างนอกอย่างปลอดภัย 

 

ไลออสที่ตื่นขึ้นได้พบกับสมาชิกที่เหลืออยู่ ซึ่งประกอบไปด้วย จอมเวทสาวเผ่าเอลฟ์ มาร์ซิล และนักแก้กับดัก ซิลแช็ค ทั้งสามจึงวางแผนกลับเข้าไปข้างในอีกครั้งเพื่อช่วยเหลือฟารินที่ติดอยู่ในท้องของมังกรก่อนที่เธอจะถูกย่อย ทว่าทุกสิ่งอย่างก็ไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด เพราะการเดินทางแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อเสบียง ไลออสเลยผุดไอเดียหนึ่งขึ้นมาแก้ปัญหานั้น นั่นคือการจับมอนสเตอร์มาทำอาหาร 

 

พวกเขาที่กลับไปในดันเจียนได้พบกับ เซนชิ คนแคระมากประสบการณ์ที่เก่งกาจในเรื่องการนำมอนสเตอร์มาทำอาหาร ทั้งหมดพูดคุยกันและตกลงที่จะออกเดินทางร่วมกัน โดยมีเป้าหมายในการช่วยเหลือน้องสาว พลางศึกษาวิธีการทำอาหารจากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไปด้วย





ในระหว่างนั้นเองถึงซีรีส์จะมีความแฟนตาซีอย่างเต็มตัว แต่ก็มันไม่ได้ทอดทิ้งวิธีการนำเสนอที่สมจริง Delicious in Dungeon แบ่งความก้ำกึ่งของสองสิ่งนี้ด้วยการให้ความรู้และความบันเทิงไปพร้อมๆ กัน ซึ่งอนิเมะก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดในส่วนนี้ เพราะเวลาที่ตัวละครเริ่มสาธยายถึงวัตถุดิบในการทำอาหาร งานภาพเหล่านั้นก็น่าจะส่งผลกระทบต่อท้องไส้ของคนดูไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่น่าทึ่งยิ่งกว่าคือ เมนูที่ปรากฏตามท้องเรื่องนั้นทางสตูดิโอเจ้าของผลงานอย่าง TRIGGER ถึงขั้นทำมันออกมาในรูปแบบข้อมูลออฟฟิเชียลด้วย

 

นอกจากการทำอาหารแล้ว ความหลากหลายทางอารมณ์และบทบาทที่แตกต่างกันก็เป็นส่วนช่วยให้การเดินทางของพวกเขาดูมีชีวิตชีวา ไม่ว่าจะเป็น ไลออส อัศวินหนุ่มที่หลงใหลในการลิ้มรสสิ่งต่างๆ มาร์ซิล เอลฟ์สาวรันทดที่ขยันปล่อยมีมอย่างไม่ลดละ แต่ลึกๆ แล้วเธอก็กลัวว่าตัวเองจะเป็นภาระให้กับคนอื่น ซิลแช็ค สมาชิกตัวเล็กที่มีความเป็นผู้ใหญ่ และ เซนชิน คนแคระที่เนิร์ดเรื่องอาหาร ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ เมื่อประกอบร่างกันกลายเป็นปาร์ตี้ พวกเขาก็ยิ่งสร้างสีสันให้แก่เรื่องราวมากขึ้น 

 



 

อีกทั้งการได้สตูดิโอ TRIGGER มารับหน้าที่ผลิตก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยยกระดับจังหวะมุกต่างๆ ภายในเรื่อง และสิ่งที่เด่นชัดเลยคือ พวกเขาเก็บรายละเอียดของเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากเกม RPG ได้อย่างครบถ้วนทุกประการ (เรียวโกะ คุอิ เป็นแฟนตัวยงของเกม Baldur’s Gate)

 

โดยเฉพาะเมื่อนำการเดินทางที่อ้อยอิ่งของก๊วนทำอาหารมาเทียบเคียงกับวลีสุดคลาสสิกในหมู่คนเล่นเกมอย่าง “ต่อให้จะแวะข้างทางแค่ไหน แต่ภารกิจของเราก็ไม่หนีไปไหน” ประโยคนี้ช่างเป็นสิ่งที่เหมาะสมเหลือเกินในการนิยามถึงวิถีชีวิตของพวกเขา เพราะต่อให้สถานการณ์ของน้องสาวจะหน้าสิ่วหน้าขวานเพียงใด แต่การแวะข้างทางก่อนย่อมเป็นสิ่งที่คนรัก RPG ต้องเคยทำ

 

และ เรียวโกะ คุอิ เองก็เข้าใจถึงความรู้สึกนั้น เขาจึงเอามันมาต่อยอดในการเล่าเรื่องราวของตัวเอง ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ความเนิบนาบของตัวละครจะมีท่าทีคล้ายคลึงกับการเล่นเกม RPG ซึ่งในการดัดแปลงเป็นอนิเมะก็ต้องชื่นชมทีมสร้างด้วย ที่สามารถดึงองค์ประกอบส่วนนี้มาใช้งานให้เกิดเป็นรูปธรรมได้จริง



 

แต่ก็มีเรื่องขำขันอยู่อย่างคือ ตัวละครเผ่าเอลฟ์ ที่ในอดีตมักจะถูกวางบทบาทให้มีความสง่างาม แต่ในปัจจุบันกลับเต็มไปด้วยความขาดๆ เกินๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟรีเรน ที่โด่งดังมาจากซีซันที่แล้ว หรือ มาร์ซิล ที่กำลังอยู่ในจุดที่ท็อปฟอร์มในปีนี้ พวกเธอทั้งคู่ต่างก็ทำให้ภาพจำของเอลฟ์มลายหายไปจนหมด ซึ่งบางคนก็ตั้งคำถามแบบติดตลกว่า หากผู้แต่ง The Hobbit และ The Lord of the Rings อย่าง J. R. R. Tolkien มาเห็นเอลฟ์ในยุคนี้เข้า เขาจะรู้สึกอย่างไร คำตอบนั้นคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียว

 



 

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ตลอด 2 ตอนที่ออกมาของ Delicious in Dungeon จะไม่ได้วางโครงเรื่องให้มีฉากแอ็กชันที่หวือหวามากมาย แต่ซีรีส์ก็ทดแทนในส่วนนี้ด้วยฉากทำอาหารที่น่ารับประทานและความตลกของตัวละคร ที่สำคัญ มันเป็นอนิเมะที่คนดูสามารถสัมผัสถึงความสนุกได้อย่างง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องอ่านมังงะมาก่อนอีกด้วย 

จาก https://thestandard.co/delicious-in-dungeon-ep-1-2/

<a href="https://www.youtube.com/v//TqrdGdR1SIQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//TqrdGdR1SIQ</a> 

https://youtu.be/TqrdGdR1SIQ?si=UH9maWDRaBExGtaM


<a href="https://www.youtube.com/v//Ds9_wJLv3ZY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//Ds9_wJLv3ZY</a> 

https://youtu.be/Ds9_wJLv3ZY?si=1SsllGNN0v5Q3rbv