ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 16, 2024, 08:56:16 pm »

กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ : เอกลักษณ์ของพุทธทิเบต ศรัทธาอันเต็มเปี่ยม







ปกติคนไทยจะรู้จักแต่การกราบพระแบบเบญจงคประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการโน้มอวัยวะร่างกายให้ต่ำจนแตะพื้น 5 จุด แต่ในที่นี้จะขอแนะนำให้รู้จักการกราบแบบ "อัษฎางคประดิษฐ์" เป็นท่ากราบแบบนอนราบไปทั้งตัวตามแบบฉบับของชาวธิเบต โดยให้ส่วนสำคัญของร่างกายแตะพื้น 8 จุดหรือ 8 ส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก

สัมผัสกับพื้นดินการกราบสักการะแบบอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ ชากเซล ในภาษาธิเบต มีความหมาย โดยคำว่า ชาก (chag) หมายถึง กายศักดิ์สิทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์

และจิตศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตต์ทั้งหลาย ส่วนคำว่า เซล (tsel) หมายถึงการที่เราอุทิศตนอย่างจริงจังและจริงใจที่จะก้าวตามรอยพระพุทธบาทบน หนทางอันถูกต้องมุ่งสู่การบรรลุเป็นพระโพธิสัตต์หรือพระพุทธเจ้า

วิธีการกราบจะเริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง พนมมือ ที่ระดับหน้าอก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ภายในอุ้งมือเป็นรูปดอกบัว

อันเป็นสัญลักษณ์มีความหมายถึงการฝึกฝนปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันบนวิถีของ เมตตาและปัญญา อุทิศตนมุ่งสู่การรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตทั้งมวล

จากนั้นให้เคลื่อนมือไปยังตำแหน่งกลางกระหม่อม หน้าผาก ลำคอ และหน้าอก อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจักรที่สำคัญในร่างกาย จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมกับเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนลำตัวเหยียดตรงกับพื้น

ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำตัวจะเหยียดออกไป จากนั้นเคลื่อนลำแขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำตัวตามแนวโค้งของวงกลมพร้อม กับค่อยๆ ชันตัวขึ้นบนเข่า ยืดตัวขึ้นกลับสู่ท่ายืนตรงนตอนเริ่มต้น

นักบวชชาวทิเบตจะเดินไปก้มลงกราบแบบไถพรืดไปรอบ ๆ เจดีย์พร้อมกับผ้าที่ใช้รองมือสองข้าง ผลพลอยได้ก็คือ พื้นวันทิเบตจะสะอาดมาก

ที่น่าทึ่งที่สุดคือ การจาริกแสวงบุญของชาวธิเบต ที่เทือกเขาหิมะขาว พวกเขาจะเดินทางไปด้วยวิธีการที่เรียกว่า "เดิน 3 ก้าว กราบหนึ่งครั้ง" เป็นการเดิน 3 ก้าว แล้วก้มลงกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์กับพื้นไหว้ทีหนึ่ง เป็นวิธีการของชาวธิเบตที่จะจารึกแสวงบุญ

ชาวธิเบตใช้วิธีการนี้ในการแสวงบุญทำให้มีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเดินทาง โดยเท้าได้เหมือนคนทุกคน ทั้งขึ้นและลงรวมแล้ว 3,000 กว่ากิโลเมตร

ชาวธิเบตเดินทางจากซินหนงเสี้ยนเป็นอำเภอของเมืองซินหนง กันซือเป็น เขตปกครองตัวเองของมณฑลเสฉวนที่อยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน ติดกับทิเบตกับมณฑลยูนาน รวมการไหว้จนมาถึงที่นี่ได้ทั้งหมด 100,000 ครั้ง คนทิเบตมีพระองค์หนึ่งอยู่ในใจตลอดเวลา
...

พระพุทธศาสนาแบบทิเบต คือพุทธศาสนานิกายวชิรยาน กำเนิดและแพร่หลายในทิเบตโดยตรง ปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ มีเอกลักษณ์เฉพาะเพราะเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน รวมทั้งอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น

ว่ากันว่าตามความเชื่อของชาวทิเบต จะต้องกราบไหว้ในแบบอัษฎางคประดิษฐ์ครบ 100,000 ครั้ง บนเส้นทางจาริกแสวงบุญไปยังนครลาซา ขณะที่นักบวชชาวทิเบตหลายคนเดินทางไปยังเจดีย์พุทธคยา เพื่อกราบไหว้สถานที่ตรัสรู้ให้ได้ 100,000 ครั้งเช่นกัน

นอกจากชาวทิเบตแล้ว ชาวตะวันตกที่นับถือพุทธศาสนานิกายวัชรยานมากมาย ก็เดินทางไปสักการะเจดีย์แห่งนี้ด้วยวิธีการเดียวกัน บางคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์วนรอบองค์มหาเจดีย์ ขณะที่บางคนยึดพื้นที่เล็ก ๆ พอสำหรับตัวเองรอบนอกองค์เจดีย์ ปูผ้าผืนเท่าตัวคนแล้วเริ่มกราบไหว้ด้วยจังหวะสม่ำเสมอราวกับเครื่องจักร

ชาวพุทธไทยไม่เพียงทึ่งกับศรัทธา หากแต่อีกมุมมองของบางคนมองว่า การกราบแบบนี้ผู้แสวงบุญจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมด้วย เพราะการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์นั้นต้องใช้ทุกสัดส่วนของร่างกายรวมทั้งพละกำลังอย่างมหาศาล

ก็ว่ากันว่า การน้อมตัวลงกราบนอนราบไปกับพื้นมีความหมายถึงการที่เรายินดี อุทิศตน พร้อมเข้าสู่วัฏสงสาร เพื่อช่วยสรรพสัตว์อื่น ๆ และเมื่อเรากลับมายืนขึ้นอีกครั้ง มีความหมายถึงเมื่อนั้นเราพร้อมที่จะนำพาสรรพสัตว์อื่น ๆ ให้หลุดพ้นออกมาจากห้วงทุกข์แห่งวัฏสงสารมาด้วยกัน