ปาฏิเทสนียะ มี 4 ข้อ
1. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
2. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
3. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
4. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า
[แก้] เสขิยะ สารูป มี 26 ข้อ
1.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
2.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
3.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
4.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
5.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
6.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
7.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
8.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
9.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
10.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
11.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
12.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
13.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
14.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
15.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
16.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
17.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
18.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
19.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
20.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
21.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
22.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
23.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
24.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
25.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
26.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน
โภชนปฏิสังยุตต์ มี 30 ข้อ
คือหลักในการฉันอาหารได้แก่
1.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
2.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
3.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
4.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
5.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
6.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
7.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
8.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
9.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
10.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
11.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
12.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
13.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
14.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
15.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
16.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
17.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
18.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
19.ไม่ฉันกัดคำข้าว
20.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
21.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
22.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
23.ไม่ฉันแลบลิ้น
24.ไม่ฉันดังจับๆ
25.ไม่ฉันดังซูด ๆ
26.ไม่ฉันเลียมือ
27.ไม่ฉันเลียบาตร
28.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
29.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
30.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน
[แก้] ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี 16 ข้อ
1.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
2.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
3.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
4.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
5.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
6.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
7.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
8.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
9.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
10.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
11.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
12.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
13.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
14.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
15.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
16.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง
[แก้] ปกิณสถะ มี 3 ข้อ
1. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
2. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
3. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
[แก้] อธิกรณสมถะ มี 7 ข้อ
1. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
2. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
3. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
4. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
5. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
6. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
7. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
ดึงข้อมูลจาก "
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5_227".
หมวดหมู่: ศีล
หมวดหมู่ที่ซ่อนอยู่: บทความที่รอการตรวจสอบรูปแบบ | หน้าที่ต้องการความช่วยเหลือ