ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 01:48:13 am »




สาธุค่ะน้องเรน....
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 12:29:18 am »

 :13: อนุโมทนาครับน้องฝน
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:55:00 pm »

ปมข้อที่หกคือ ความคิดเห็นที่ผิด เป็นการมองที่ผิด เรามีความคิดเห็นอยู่ 5 ประเภทที่จะบอกได้ว่าเป็นความคิดเห็นที่ผิด

ความคิดเห็นที่ผิดอย่างแรกคือ กายนี้เป็นตัวฉัน ฉันคือกายนี้ ถ้าเธอเข้าใจหรือเชื่อว่าเมื่อเธอตายไปแล้วเธอจะไม่อ ยู่ตรงนั้นอีก และเธอเชื่อว่าก่อนที่จะเป็นกายนี้เธอไม่ได้อยู่ที่ต รงนั้น นั่นคือความคิดเห็นที่ผิด

ความคิดเห็นที่ผิดอย่างที่สองคือ ความเชื่อในความคิดเห็นที่เป็นสองขั้ว การเชื่อว่าฝ่ายขวานั้นตรงกันข้ามกับฝ่ายซ้าย เชื่อว่ามีการเกิด-มีการตาย เชื่อว่ามีข้างนอก-มีข้างใน เชื่อว่ามีการเป็นอยู่-มีการไม่เป็นอยู่ เชื่อว่ามีความเหมือนกัน-มีความต่างกัน ความคิดเห็นที่มองทุกสิ่งออกเป็นสองขั้วที่เป็นคู่ตร งข้ามกัน การมองแบบนี้จะนำความทุกข์มาให้เราทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงพยายามทำให้เรามีความสามารถ ที่จะข้ามพ้นความคิดเห็นที่เป็นคู่ตรงข้ามกันแบบนี้ เพื่อให้เราเข้าสู่ความเป็นอิสระ ความเป็นอิสระที่ข้ามพ้นความคิดเห็นสองขั้วนั่นคือกา รมองทางสายกลาง นั่นจะทำให้เราไม่ติดยึดแบบนี้ นี่เป็นคำสอนที่กว้างและลึกมาก

ความเห็นที่ผิดข้อที่สามคือ การยึดติดอยู่กับความคิดเห็นใดความคิดเห็นหนึ่ง เมื่อมีความคิดเห็นเช่นนี้ นั่นคือจุดจบในความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของเธอ เมื่ออะไรก็ตามที่เธอได้เรียนรู้ ได้ยิน เธอควรจะมีความระมัดระวัง และไม่ควรจะตัดสินไปว่ามันคือความจริงอันสูงสุด เธอควรปล่อยวางเพื่อจะได้ก้าวเข้าไปสู่ความจริงที่สู งขึ้น เมื่อเธอมีปัญญาเห็นชอบในเรื่องหนึ่ง และเธอคิดว่าปัญญาเห็นชอบนั้นเป็นความจริงอันสูงสุดแ ล้ว เธอย่อมไม่สามารถที่จะรับความจริงที่สูงกว่านั้น และเธอก็ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เธอต้องมีความพร้อมที่จะปลดปล่อยความเข้าใจของเธอ ปล่อยวางปัญญาที่ได้รับและความคิดเห็นที่เธอมีอยู่ เหมือนกับเธอเดินขึ้นบันได เมื่อเราเดินขึ้นบันไดไปถึงขั้นที่สี่ เราคิดว่านั่นคือขั้นสูงสุดแล้ว เธอก็จะไม่สามารถเดินขึ้นบันได้ที่สูงขึ้นไปได้อีก เธอต้องปล่อยวางขั้นที่สี่เพื่อที่จะข้ามไปยังขั้นที ่ห้า เมื่อเธอเดินขึ้นไปบนขั้นที่ห้าเธอก็ควรที่จะพร้อมปล ดปล่อยขั้นที่ห้าเพื่อ ที่จะเดินขึ้นไปบนขั้นที่หก เพราะฉะนั้น หากความรู้หนึ่งเป็นอุปสรรคต่อความรู้อื่น เธอควรปลดปล่อยความรู้นั้นเพื่อเข้าไปสู่ความรู้หรือ ความเข้าใจที่สูงขึ้นไป อีกขั้นหนึ่ง นี่คือความหมายของการไม่ติดยึดกับความคิดเห็น ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์มาก เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติหรือควรปฏิบัติ

ความคิดเห็นที่ผิดข้อที่สี่คือ ความเชื่อที่ว่า สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นโดยไม่มีเงื่อนไขปัจจัย นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน กฎที่แท้จริงคือ เมื่อเธอได้มีความคิดเห็นอันใด เธอก็จะได้ผลผลิตจากความคิดเห็นนั้น เมื่อเธอบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความโกรธ เธอก็จะได้รับผลนั้น เมื่อเธอบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งการคิดแบบนี้ เธอก็จะได้รับผลของการคิดเช่นนั้น เมื่อเธอสังเกตสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลึกซึ้ง เธอก็จะเห็นว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะเงื่อนไขเหตุปัจจัยหลายอย่างมา รวมกันที่ทำให้เกิดผล เช่นนั้น แต่ถ้าเธอไม่คิดว่ามันมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ เกิดผลนั้นขึ้นมา เธอคิดว่ามันมีเหตุอย่างเดียวที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นขึ ้นมา นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน

หากเธอไม่เชื่อว่าความทุกข์นั้นเกิด ขึ้นจากวิถีการใช้ชีวิตของเรา นั่นคือความคิดเห็นที่บิดเบือน นั่นก็คือการกระทำที่ผิด ความคิดเห็นที่ผิด เธอคิดว่าความทุกข์มันเกิดขึ้นมาของมันเอง โดยไม่คิดว่ามันมีเหตุมาจากการดำเนินชีวิต นี่คือความคิดเห็นบิดเบือนจากความเป็นจริง

ความเห็นผิดข้อที่ห้าคือ ความเชื่อทางไสยศาสตร์ หากเธอเชื่อว่าการมีพิธีกรรมแบบนี้จะทำให้เธอได้รับก ารปลดปล่อยออกมาจากนรก หรือบาป นั่นคือสิ่งที่เธอยึดติดกับความเชื่อในพิธีกรรม เมื่อเธอเชื่อว่าเธอทานเนื้อสัตว์อะไรก็ได้ยกเว้นเนื ้อวัว เมื่อเธอไม่ทานเนื้อวัวแล้วจะทำให้เธอเป็นนักบุญ หรือเธอทานเนื้ออะไรก็ได้ยกเว้นเนื้อหมู นี่เป็นเช่นเดียวกันกับความคิดต้องห้ามที่เรามีต่อเร ื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดในแง่ไสยศาสตร์เหล่านี้ไม่ช่วยให้เธอเป็นอิสร ะ สิ่งที่จะนำมาซึ่งการปลดปล่อยคือความเข้าใจจนเกิดปัญ ญา ใช่ว่าการสังเกตถึงความคิดต้องห้ามแบบนี้จะทำให้เธอเ ป็นอิสระ นั่นไม่เพียงพอ เธอต้องมองอย่างลึกซึ้งและเข้าใจอย่างแท้จริง เธอถึงจะปลดปล่อยได้

นี่คือความคิดเห็นผิด 5 ประการที่เธอจะต้องปลดปล่อยจากจิตปรุงแต่งของเธอ




ที่มาหมู่บ้านพลัม
ธรรมบรรยายโดย ท่านติช นัท ฮันห์
__________________
http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=123653