ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 01:26:15 pm »

อ่านแล้วขนลุกเหมือนกันค่ะ ขอบคุณนะค่ะที่นำมาให้อ่าน
เสียดายวีรบุรุษผู้กล้าไม่น่าจากไปเลย :27:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 11:59:51 am »



         :39:

 :13:  :12:  :07:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:23:12 pm »

 :27:  พึ่งทราบเลยครับเรื่องนี้ ขอบคุณครับผม
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 03:48:59 pm »

อ่านแล้วขนลุก..สุดยอดครับพี่
ธรรมมะอวยพรครับ  :13:
ข้อความโดย: คนชล
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:49:24 am »

ในชีวิตความเป็นครูของสมชาย พูนสวัสดิ์ แห่งโรงเรียนมัธยมเทพา ไม่เคยมีลูกศิษย์คนใดที่ถูกครูตีมากเท่ากับนักเรียนที่ชื่อสมเพียร แซ่เจ่ง

ครูสมชายตั้งกติกาว่าถ้าใครมาสายจะถูกครูเฆี่ยน ปรากฏว่าสมเพียรมาสายทุกวัน แม้จะถูกครูเฆี่ยนทุกวัน ๆ ละสามที แต่สมเพียรก็ยังมาสายไม่หยุด ราวกับไม่รู้จักเข็ดหลาบ เขาทนถูกครูตีทุกวันจนเรียนจบ

๓๐ ปีต่อมา โรงเรียนต้องการทำป้ายโรงเรียนใหม่ให้สมศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการจึงขอให้ครูสมชาย โทรไปหาลูกศิษย์คนนี้ ซึ่งตอนนั้นเป็นตำรวจคุ้มครองเหมืองหินอ่อน ครูสมชายรู้สึกกระอักกระอ่วนใจ เพราะมั่นใจว่าลูกศิษย์คนนี้ไม่มีวันลืมรอยไม้เรียวของครู แต่เมื่อออกปากขอความช่ว ยเหลือ เขากลับตอบทันทีว่า “ได้เลยครับ ไม่มีอะไรขัดข้อง” ครูสมชายถึงกับอึ้งไปเลย จากนั้นก็บอกความในใจว่า “ครูขอโทษนะที่สมัยเรียนครูตีทุกวัน” แต่เขาไม่โกรธครูเลย

แล้วเขาก็เล่าความจริงให้ฟังว่า ตอนนั้นเขาเป็นเด็กวัด ต้องตามหลวงพ่อไปบิณฑบาต หลวงพ่อท่านชรามากจึงเดินช้า กว่าเขาจะกลับถึงวัดและได้กินข้าวก้นบาตรก็ได้เวลาเรียนแล้ว แต่เขายังต้องเก็บข้าวไว้กินตอนเย็น ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็ไม่มีอะไรจะกิน เลยต้องมาสายทุกวัน
ครูสมชายเพิ่งถึงบางอ้อตอนนั้นเอง แล้วเขาก็พูดต่อว่า “อาจารย์ครับ ไม่ต้องเสียใจ ถ้าอาจารย์ไม่เฆี่ยนผม ป่านนี้ผมเป็นโจรไปแล้ว ไม่ได้ใส่เครื่องแบบตำรวจอย่างนี้”

เวลาผ่านไปนานถึง ๓๐ ปี ครูสมชายถึงเพิ่งรู้ว่าลูกศิษย์คนนี้ไม่ได้เกกมะเหรกเกเร หากเพียงแต่ครูถามเขาสักคำว่าทำไมเขามาสายเป็นประจำ ก็คงจะไม่ลงโทษเขามากมายขนาดนั้น

ทางด้านสมเพียร แม้ชีวิตจะดูเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ลำบากยากแค้นแล้วยังไม่วายถูกครูเฆี่ยนทุกวันราวกับเป็นเด็กเหลือขอ แต่เขาก็ไม่ได้ก่นด่าชะตากรรม หากยังขอบคุณครูที่ตีเขาจนได้ดี

น่าเสียดายที่คนที่เห็นความดีของเขานั้นมิใช่ผู้บังคับบัญชาชั้นสูง ไม่เช่นนั้นเขาคงมีชีวิตที่สุขสงบในบั้นปลาย
สมเพียร แซ่เจ่งคนนี้ ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น สมเพียร เอกสมญา คนเดียวกับ “จ่าเพียร”ของชาวบ้านที่บันนังสตา ซึ่งได้รับเลื่อนยศจากพ.ต.อ.เป็นพล.ต.อ.หลังจากที่ชีวิตหาไม่แล้ว   :22:   :13:   :07: