ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 12:14:15 am »

 :45: ขอบคุณครับพี่แป๋ม เรื่องดีมากครับผม ผมก็ชอบคนที่ดูแลเราด้วยใจต่อใจครับ :19:
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 01:33:16 pm »

มีนายดีเหมือนมีลาภอันประเสริฐ ฮิ ฮิ :06:
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 08, 2010, 12:16:19 pm »

ขอบคุณครับพี่แป๋ม   :yoyo031:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 12:29:34 am »



       นอกจากนี้ เขายังแนะนำให้คนอื่นๆได้ยึดหลักภาวะผู้นำตามวิถีตะวันออก 7 ประการ ที่มีแต่การให้ด้วยความรักเป็นหลัก อาทิ สำนึกต่อหน้าที่ คือ ต้องมีความรับผิดชอบด้วยใจและกายมากกว่าคนทั่วไป ถึงจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้, มีสัจจะ คือ คนที่เชื่อถือได้ พูดคำไหนคำนั้นไม่ทรยศหักหลัง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามผลประโยชน์เฉพาะหน้า จึงจะสามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ใต้บังคับบัญชาได้, กตัญญู คือ ความกตัญญูรู้คุณต่อทุกคน แม้แต่ลูกน้องของตนเอง อย่าลืมว่าการไม่ลืมบุญคุณคนและพยายามตอบแทนกลับให้เป็นปกติวิสัย จะทำให้ทุกคนอยากช่วยเหลือ
       
       “ที่สำคัญความรู้จักอ่อนน้อม คือ การไม่โอ้อวดยโสโอหัง เพราะคนเก่งจริงจะไม่กลัวว่าผู้อื่นจะไม่รู้ถึงความเก่งของตน ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ดังตัวอย่างที่อยากชี้ให้เห็น หัวหน้าบางคนไม่ยอมให้อภัยในความผิดเล็กๆ น้อยๆ ของลูกน้อง ทำให้ลูกน้องหวาดกลัวไม่กล้าคิดทำอะไร ลูกน้องเก่งๆ ก็จะค่อยๆ หนีหาย เพราะทำอะไรผิดพลาดหัวหน้าก็ไม่ให้โอกาสแก้ไขปรับปรุง” ก่อศักดิ์กล่าว
       
       เป็นที่ทราบกันดีสำหรับ ก่อศักดิ์ ไม่ได้เขียนเรื่องที่หนักจนจะต้องติดตามตลอด หากแต่เป็นสำนวนเบาๆที่เข้าใจได้ไม่ยาก เนื้อหาอ่านสนุก มีการสอดแทรกหลักการและปรัชญาดีๆของไทย และจีน รวมถึงข้อแนะนำด้านการปฏิบัติตัวและปรับทัศนคติในการใช้ชีวิตโดยที่ผู้อ่านไม่รู้สึกว่าถูกสั่งสอน นอกจากนี้ CEOกับความรัก ยังเป็นครั้งแรกที่ก่อศักดิ์เผยให้ผู้อ่านได้รับรู้เรื่องราวความรักในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย



 :07:  http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9520000153979
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 06, 2010, 12:21:13 am »



ความรักในแบบฉบับซีอีโอ “ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์”


       จากความสำเร็จของหนังสือเล่มต่างๆ ที่ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ CEO บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหาร เซเว่น อีเลฟเว่น บรรจงถ่ายทอดตกผลึกความคิดจากชีวิตการทำงานตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในรูปแบบตัวอักษรสู่มือนักอ่าน ล่าสุดออกผลงานเล่มที่ 8 “CEO กับความรัก” ซึ่งจะทำให้เราได้รู้ว่าคนๆ หนึ่งกว่าจะเติบโตมาเป็นซีอีโอ สามารถดูแลลูกน้องกว่า 85,000 คนได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ต้องอาศัยหลายๆ อย่างมาประกอบกัน การเป็นเจ้านายที่ต้องดูแลลูกน้องนับแสน กับการเติบโตของธุรกิจที่ขยายสาขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซีอีโอคนนี้มีวิธีในมุมของความรักตามแบบฉบับหนุ่มใหญ่วัยใกล้ 60 ที่ไม่ใช่ความรักแบบหวานเยิ้ม แต่เป็นรักในมุมบวก ระหว่าง “เจ้านาย” กับ “ลูกน้อง” มาถ่ายทอดให้หลายๆ คนได้นำไปเป็นแบบอย่าง
       
       ในงานเปิดตัวหนังสือ CEO กับความรัก ก่อศักดิ์ได้ให้คำนิยามความรักของเขาคือ การที่อยากเห็นคนที่เรารักมีความสุข อยากเป็นผู้ให้ เปรียบเทียบได้กับความรักของพ่อแม่ที่มีแต่ให้กับลูก เป็นการให้ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน ถ้าเป็นความอยากได้นั้นไม่ใช่รักของแท้ แต่เป็นความเห็นแก่ตัว
       
       ก่อศักดิ์ บอกว่า เราทุกคนสามารถมีความสุขกับการทำงานได้ตลอด 24 ชม. ถ้าเราไม่มองว่าการทำงานคือการขายแรงงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงชีวิต แต่เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ชีวิต แล้วชื่นชมส่วนที่ดีของเพื่อนร่วมงาน ก็จะทำให้การทำงานเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต แค่นี้เราก็จะมีความสุข
       
       “ผมเชื่อว่าบริษัทเราเต็มไปด้วยคนที่มีความสามารถ แม้จะมากบ้างน้อยบ้าง หรือมีความสามารถแตกต่างกันไปคนละด้านตามความถนัด ซึ่งเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่คนที่มีความสามารถเมื่อได้ทำงานร่วมกัน แทนที่จะทำให้งานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่กลับกลายเป็นว่า ประสิทธิภาพการทำงานด้อยลง เพราะคนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นคุณค่าของคนอื่น เหมือนการขับเคลื่อนองค์กร ก็เหมือนกับการขับรถยนต์ ทุกชิ้นส่วนมีความสำคัญเหมือนกันหมด เพราะทุกคนคือคนสำคัญ” ซีอีโอซีพีออลล์ กล่าว

       
       สิ่งที่ ก่อศักดิ์ เน้นย้ำกับพนักงานตลอดเวลาคือ ไม่ว่าจะเป็นเพียงแม่บ้าน หรือพนักงานขับรถ ทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเองเท่าเทียมกัน ทำให้พนักงานรู้สึกมีกำลังใจในการทำงาน