ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 04:09:14 pm »

ทามะอยู่หมู่บ้านนี้รึเปล่าเนี่ย เผื่อจะจำได้ว่าเคยยืมเงินพี่ไป 555+
:14:  :17:
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 12:14:41 pm »

บ้านตะค้ออยู่หนใด?
 ปัจจุบัน “หมู่บ้านตะคร้อ” เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์  ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๘ หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ ๑๓,๐๐๐ คน จากจำนวนครัวเรือนประมาณ ๓,๐๐๐ ครัวเรือน สำหรับชื่อของหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนบริเวณนี้ มีต้นตะคร้อซึ่งผลมีรสเปรี้ยว ขึ้นอยู่มาก คนโบราณจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “โคกตะคร้อ” ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านตะคร้อ”

 ส่วนประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตะคร้อนั้น  มีหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุหลายอย่างที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของหมู่บ้านรอย ต่อสามจังหวัดแห่งนี้ มีชาวบ้านพบโครงกระดูกของคนโบราณ ภาชนะดินเผา อาวุธ เคียว กะพรวนม้าโบราณ สุสานโบราณ และสิ่งของอื่นๆ อีกจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วหมู่บ้านและรอบๆ หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกพักทัพ” “โคกพญาสั่ง” และ “หนองแร้ง หนองกา” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน เคยมีชาวบ้านขุดพบโครงกระดูก ภาชนะดินเผา และอาวุธโบราณจำนวนมาก

 จากการสืบค้นหลักฐานต่างๆ ทั้งจากทางด้านภูมิศาสตร์ โบราณคดี โบราณวัตถุ สันนิษฐานว่า น่าจะเคยมีการเคลื่อนทัพใหญ่มาพักทัพที่บริเวณหมู่บ้านตะคร้อแห่งนี้ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นช่วงใดสมัยใด และบริเวณนี้น่าจะเคยถูกใช้เป็นเส้นทางติดต่อกันทั้งทางน้ำและทางบกระหว่าง เมืองเก่า “ศรีเทพ” ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และเมืองเก่า “ไพศาลี” ที่บ้านหนองไผ่ ต.สำโรงชัย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ (อยู่ห่างจากหมู่บ้านตะคร้อไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร) ซึ่งทั้งสองเมืองเคยเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของอาณาจักรละโว้ เมื่อครั้งที่ขอมยังเรืองอำนาจ ตั้งแต่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ทางด้านภูมิศาสตร์ หมู่บ้านตะคร้อตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของ ๓ จังหวัดคือ ทางทิศตะวันออกมีเขตติดต่อกับ ต.ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ทางทิศใต้มีเขตติดต่อกับ อ.หนองม่วง และ อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี และทางด้านทิศตะวันตกเป็นเขต อ.ไพศาลี ซึ่งติดต่อกับ อ.ตากฟ้า และ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ส่วนทางด้านทิศเหนือติดกับเทือกเขาสอยดาว ซึ่งทอดตัวยาวเป็นระยะทางกว่า ๒๐ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บ้านหนองไผ่และบ้านพระบาท ต.สำโรงชัย อ.ไพศาลี ไปจนถึง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์


เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tkOARUnedrE&feature=channel[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=frqcVEYmMzw[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHu5InyRgWI&feature=channel[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=4wIjR5NPMsk&feature=channel[/youtube]

 :46: :46: ชอบแบบดู เพราะพี่ไม่ชอบอ่าน  :46: :46: :46:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 08:11:15 pm »

 :06: เรื่องนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลครับ ถ้ามีจริงและจำได้หมดนี่ วุ่นเลยนะครับ 55
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 06:45:18 pm »

หมู่บ้านนะไม่ใช่คน :06:
ข้อความโดย: (〃ˆ ∇ ˆ〃)
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 04:42:29 pm »

ทามะอยู่หมู่บ้านนี้รึเปล่าเนี่ย เผื่อจะจำได้ว่าเคยยืมเงินพี่ไป 555+
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 03:28:44 pm »

บ้านตะค้ออยู่หนใด?
 ปัจจุบัน “หมู่บ้านตะคร้อ” เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์  ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๘ หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ ๑๓,๐๐๐ คน จากจำนวนครัวเรือนประมาณ ๓,๐๐๐ ครัวเรือน สำหรับชื่อของหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนบริเวณนี้ มีต้นตะคร้อซึ่งผลมีรสเปรี้ยว ขึ้นอยู่มาก คนโบราณจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “โคกตะคร้อ” ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านตะคร้อ”

 ส่วนประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านตะคร้อนั้น  มีหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุหลายอย่างที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของหมู่บ้านรอย ต่อสามจังหวัดแห่งนี้ มีชาวบ้านพบโครงกระดูกของคนโบราณ ภาชนะดินเผา อาวุธ เคียว กะพรวนม้าโบราณ สุสานโบราณ และสิ่งของอื่นๆ อีกจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วหมู่บ้านและรอบๆ หมู่บ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า “โคกพักทัพ” “โคกพญาสั่ง” และ “หนองแร้ง หนองกา” ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้าน เคยมีชาวบ้านขุดพบโครงกระดูก ภาชนะดินเผา และอาวุธโบราณจำนวนมาก

 จากการสืบค้นหลักฐานต่างๆ ทั้งจากทางด้านภูมิศาสตร์ โบราณคดี โบราณวัตถุ สันนิษฐานว่า น่าจะเคยมีการเคลื่อนทัพใหญ่มาพักทัพที่บริเวณหมู่บ้านตะคร้อแห่งนี้ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นช่วงใดสมัยใด และบริเวณนี้น่าจะเคยถูกใช้เป็นเส้นทางติดต่อกันทั้งทางน้ำและทางบกระหว่าง เมืองเก่า “ศรีเทพ” ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ และเมืองเก่า “ไพศาลี” ที่บ้านหนองไผ่ ต.สำโรงชัย อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ (อยู่ห่างจากหมู่บ้านตะคร้อไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร) ซึ่งทั้งสองเมืองเคยเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของอาณาจักรละโว้ เมื่อครั้งที่ขอมยังเรืองอำนาจ ตั้งแต่เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ทางด้านภูมิศาสตร์ หมู่บ้านตะคร้อตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของ ๓ จังหวัดคือ ทางทิศตะวันออกมีเขตติดต่อกับ ต.ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ทางทิศใต้มีเขตติดต่อกับ อ.หนองม่วง และ อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี และทางด้านทิศตะวันตกเป็นเขต อ.ไพศาลี ซึ่งติดต่อกับ อ.ตากฟ้า และ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ส่วนทางด้านทิศเหนือติดกับเทือกเขาสอยดาว ซึ่งทอดตัวยาวเป็นระยะทางกว่า ๒๐ กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บ้านหนองไผ่และบ้านพระบาท ต.สำโรงชัย อ.ไพศาลี ไปจนถึง อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์


เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=tkOARUnedrE&feature=channel[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=frqcVEYmMzw[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHu5InyRgWI&feature=channel[/youtube]
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=4wIjR5NPMsk&feature=channel[/youtube]
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 03:26:19 pm »

หมู่บ้านตะคร้อ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ หมู่บ้านเดียวระลึกชาติได้กว่าครึ่งร้อย ยิ่งสาวยิ่งต้องตะลึง บางคนตายไปกว่าพันปี กลับชาติมาเกิด บางคนตายไปแล้ว กลับมาเกิดใหม่ จำได้แม้กระทั่งชื่อวัว ควาย สุนัข ที่เลี้ยงไว้ บางรายชาติที่แล้วเป็นผัวเมียกัน ชาตินี้เกิดเป็นแฝด(ชายหญิง) รายล่าสุดเด็กหญิงวัย ๔ ขวบเศษ คนวัย ๕๐ ปี ยอมเรียกแม่อย่างสนิทใจ

นายธวัชชัย ขำชะยันจะ ผู้ศึกษากรณีการจำอดีตชาติ หรือ ระลึกชาติ ว่า จากการสำรวจศึกษา และเก็บข้อมูล การระลึกชาติได้ของคนในหมู่บ้านตะคร้อ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ พบว่า มีผู้จำอดีตชาติได้ที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า ๕๐ ราย บางรายยังสามารถจำอดีตชาติได้ บางรายมีพยานรู้เห็นจำนวนมาก บางรายมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมสามารถพิสูจน์ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้เท่าที่ทราบมีผู้ที่จำอดีตชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรายล่าสุด คือ ยายเพียร แย้มประดับ ตายไปเมื่อปี ๒๕๓๕  กลับมาเกิดเป็น เด็กหญิงญาณินท์ ศิริมงคล วัย ๔ ขวบ ถึงกับทำให้ลูกหลานของยายเพียร ดีใจ ลูกหลานยายเพียรบางคนถึงกับเรียกเด็กหญิงญาณินท์ว่า "แม่" หรือ "ยาย" โดยทุกวันนี้ลูกหลานยายเพียรรับเด็กหญิงญาณินท์มาเลี้ยงเหมือนญาติคนหนึ่งใน ครอบครัว   

 นายธวัชชัย บอกว่า ในจำนวนผู้ที่ระลึกชาติได้กว่า ๕๐ ราย นายธวัชชัยได้ศึกษาข้อมูลในเชิงลึก ๑๔ ราย มีเรื่องราวในอดีตชาติอันเป็นที่สนใจอย่างยิ่ง และเป็นที่ยอมรับของญาติพี่น้องในอดีตชาติอย่างสนิทใจ ได้แก่ ๑.นายเทเวศน์ เรียบสัมพันธ์ ๒.นายนพพร ใจเร็ว ๓.นายเจษฎา เต็มหัตถ์ ๔.เด็กชายอดิศร สุขโภชน์ ๕.เด็กชายพงศธร ศรชัย ๖.เด็กชายฤทธิไกร โนนน้อย ๗.นางเสงี่ยม นันกลาง ๘.นางสาวส้มลิ้ม คงสะโต ๙.นายธีระพันธ์ วงษ์คำภา ๑๐.เด็กชายวรวัฒน์ เจริญพร้อม ๑๑.นางสุรางคนา มาลา ๑๒.เด็กชายพลวัฒน์ จุลโพธิ์ ๑๓.เด็กชายไพโรจน์ นาดง ๑๔.เด็กชายวัชระ ใจเร็ว  ๑๕.เด็กชายโสภณ ขำพาลี  และ ๑๖.นายอำนาจ อะวิสุ

 นอกจากนี้แล้ว ยังมีเบาะแสและข้อมูลเบื้องต้นของผู้จำอดีตชาติรายอื่นๆ ในหมู่บ้านตะคร้อที่ระลึกชาติได้ คือ ๑. เด็กชายจักรพงษ์  ภู่ชื่น ๒. เด็กชายวรวุฒิ แย้มสัจจา ๓. นายชาญชัย มั่นสติ ๔.เด็กหญิงเกศสุดา กล้าดี ๕. นายเสวก คุ้มตระกูล (คู่แฝดชาย) ๖. นายสุวิทย์  คุ้มตระกูล(คู่แฝดชาย) ๗. นายหนอง นาคตระกูล(คู่แฝดชายหญิง) ๘. นางอำนวย  นาคตระกูล(คู่แฝดชายหญิง) ๙. นายจักรกริช(เตี๋ยว)  กล้าดี ๑๐. นายจำรัส  ศรีบัวแก้ว ๑๑. นายแอ๊ด  สวัสดี ๑๒. นายสมบัติ  บัวทอง ๑๓. เด็กชายบรรจบ(โจ) สร้อยอาภรณ์

 ๑๔. นายวิชัย ใจดี(คู่แฝดชาย) ๑๕.นายวิเชียร ใจดี(คู่แฝดชาย) ๑๖.นายโกมินทร์ พัตตาสิงห์ ๑๗. น.ส.กลอย อวิสุ ๑๘. เด็กชายพรชัย ปัญโญใหญ่ ๑๙. นายสุรศักดิ์ เต็มหัตถ์ ๒๐. น.ส.นงนุช สุขเทพ ๒๑. นายดำเนิน ใจเกื้อ ๒๒. น.ส..จันทร์จิรา(ดำมี่) ไผ่ประการ ๒๓. เด็กชายคิง แซ่เตียว ๒๔. นางแสตมป์ มหิดุลย์ ๒๕. เด็กชายแดง คุ้มตระกูล ๒๖. ลูกสาว นางเนี๊ยะ หงษ์ทอง ๒๗. เด็กชายศักดิ์ดา พุทธรักษา ๒๘. นางน้ำผึ้ง แซ่อ๊วง และ ๒๙. นายของ กล้าดี เป็นต้น

 อย่างไรก็ตาม ในการเก็บรวบรวมคนระลึกชาตินั้น ไม่เฉพาะนายธวัชชัยเท่านั้น ในระดับโลก ก็มี ศ.นพ.เอียน สตีเวนสัน แต่ปัจจุบันท่านเสียชีวิตไปแล้ว ทั้งนี้ท่านทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “การจำอดีตชาติได้” และ “การกลับชาติมาเกิด” มากว่า ๔๗ ปี ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๓  ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ท่านได้พบผู้ที่จำอดีตชาติได้ หรือผู้ที่สืบชาติมาเกิดใหม่ จากชาติและศาสนาต่างๆ ทั่วโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และทวีปเอเชีย (รวมทั้งประเทศไทย) มากกว่า ๓,๐๐๐ ราย ด้วยการสนับสนุนทุนในการศึกษาวิจัยเด็กที่จำอดีตชาติได้จำนวนมหาศาล ถึง ๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ จาก เชสเตอร์ คาร์ลสัน (Chester Carlson) ผู้คิดประดิษฐ์เครื่องถ่ายเอกสารให้พวกเราได้ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสืบหากรณีศึกษา สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลหลักฐานในประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัย

 คณะนี้ ได้เข้ามาสืบหา สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลหลักฐานกรณีศึกษาผู้ที่จำอดีตชาติได้ในประเทศไทยหลายครั้ง ตั้งแต่เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๐๙ จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า ๔๐ ปีแล้ว โดยจะเดินทางเข้ามาติดตามกรณีศึกษาที่เคยเก็บข้อมูลหลักฐานไปแล้ว และมาสืบหา สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลหลักฐานกรณีศึกษาผู้ที่จำอดีตชาติได้รายใหม่ๆ ในประเทศไทย ปีละ ๒-๓ ครั้ง

 ทั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ดร.เจอร์เกน ไคล์ (นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน เคยเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย) ได้เดินทางมาศึกษาค้นคว้าเรื่องเด็กที่จำอดีตชาติได้ในประเทศไทยแทน ศ.นพ.เอียน โดยมี นายสุตทยา วัชราภัย นักวิชาการอิสระสาขาพุทธศาสตร์ และจิตศาสตร์ เป็นผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า บุคคลทั้งสองได้เดินทางไปยังภาคอีสานตอนบน เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่จำอดีตชาติได้ โดยสืบถามข้อมูลจากญาติพี่น้อง พยานที่รู้เห็น หรือตัวเด็กที่จำอดีตชาติได้ (บางคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว) ข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้มีมาก (ระหว่างปี ๒๕๓๕-๒๕๔๑) ค้นคว้ามาได้รวม ๕๐ ราย เฉพาะปี ๒๕๕๐ มี ๘ ราย และมีอีก ๗๐-๘๐ ราย ที่ยังไม่ได้ไปสัมภาษณ์

 ในประเทศไทยนั้น ท่านและคณะศึกษาวิจัยได้เคยมาสืบหา สัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลหลักฐานกรณีศึกษาผู้ที่จำอดีตชาติได้หลายครั้ง โดยความร่วมมือจากคณะคนไทยที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วหลายท่าน ได้แก่ นายแพทย์เชียร สิริยานนท์, อาจารย์นาซิบ สิโรรส, อาจารย์เต็ม สุวิกรม, ศ.ดร.คลุ้ม วัชโรบล เป็นต้น ซึ่งท่านได้เขียนไว้ใน กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgments) ในหนังสือ Reincarnation and Biology  ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี ๒๕๒๐ และยังมีอีกหลายท่าน เช่น คุณประสิทธิ์ การุณยวณิชย์, ดร.บุญย์ นิลเกษ, อาจารย์สุตทยา วัชราภัย ดร.วิเชียร  สิทธิประภาพร อาจารย์ประจำ แขนงวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.นัยพินิจ คชภักดี ผู้อำนวยการโครงการวิจัยชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม สถาบันวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา)