ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 09:56:20 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ
ขอบคุณครับพี่กบ
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 06:30:01 pm »

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=BVBJ7uSFs6E&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=iRnkpNbgiw0&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_0mfV8hqIpQ&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=BaWbwKiWNmc&feature=related[/youtube]


[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=NcM27sKX7VI&feature=related[/youtube]
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 06:28:01 pm »



ประวัติหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ถือกำเนิดที่ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔ เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ ๑๘ปี
ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จ.ระนอง โดยมีพระระณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี
พ.ศ.๒๔๗๔

หลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ ๑ ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม ๔ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแผ่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป

เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ

พ.ศ.๒๔๗๕ หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ

ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๗๖ หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่าเป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธ
ทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

ใน พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์ และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์ และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม “ภิกขุปัญญานันทะ”

ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ “เมตตาศึกษา” ที่วัดเจดีย์หลวง
จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย

วัดชลประทานรังสฤษฏ์

ใน พ.ศ.๒๕๐๒ ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่
ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ “วัดชลประทานรังสฤษฏ์” ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ จนถึงปัจจุบัน

หลวงพ่อได้ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย

โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน ๘๐ ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย

หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วย
คุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า “ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย” ในปัจจุบัน

ผลงานและเกียรติคุณ

งานด้านการปกครอง

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๙

เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๘

พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

งานด้านการศึกษา

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทาน
รังสฤษฏ์
พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล
ประถม มัธยมศึกษา

พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชล
ประทานรังสฤษฏ์ เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์

งานด้านการเผยแผ่

พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๐๒ เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระ และวันอาทิตย์
ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นประธานมูลนิธิ “ชาวพุทธมูลนิธิ” จังหวัดเชียงใหม่

เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุ
โทรทัศน์

เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์

เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน

พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา

พ.ศ.๒๕๒๕ รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นผู้ริเริ่ม “ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน” ในโรงเรียนต่างๆ ใน
กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ

พ.ศ.๒๕๓๖ จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริก

การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ

พ.ศ.๒๔๙๗ เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมนี

เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิคาโก สหรัฐอเมริกา

งานด้านสาธารณูปการ

พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระ
ภิกษุผู้บวชใหม่
พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม

เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์

พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์

งานด้านสาธารณประโยชน์

พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา
จ.พระนครศรีอยุธยา

พ.ศ.๒๕๓๔ บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่

พ.ศ.๒๕๓๗ บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง
จ.พัทลุง

บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต

เป็นประธานหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี

บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด

งานพิเศษ

พ.ศ.๒๕๐๓ เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์

เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย
เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น

พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ ๗ ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)

พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภา
ศาสนาโลก ๑๙๙๓ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)

งานด้านวิทยานิพนธ์

ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

ทางสายกลาง
คำถามคำตอบพุทธศาสนา

คำสอนในพุทธศาสนา

หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์

รักลูกให้ถูกทาง

ทางดับทุกข์

อยู่กันด้วยความรัก

อุดมการณ์ของท่านปัญญา

ปัญญาสาส์น

ชีวิตและผลงาน

มรณานุสติ

ทางธรรมสมบูรณ์แบบ

๗๒ ปี ปัญญานันทะ

เกียรติคุณที่ได้รับ

พ.ศ.๒๕๒๐ ได้รับรางวัล “สังข์เงิน” จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับรางวัล “นักพูดดีเด่น” ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคม
ฝึกพูดแห่งประเทศไทย

พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา
เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ ๒ รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)

พ.ศ.๒๕๒๔ ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษา
ศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พ.ศ.๒๕๓๔ ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยา
ลัยศรีนครินทรวิโรจน์

พ.ศ.๒๕๓๖ ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๕๓๖ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและ
ศาสนา) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมณศักดิ์ที่ได้รับ

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้น
สามัญ ที่ “พระปัญญานันทมุนี”
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ “พระราชนันทมุนี”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ “พระเทพวิสุทธิเมธี”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ “พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะ
เจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ “พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลา
จารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี”


พระอุโบสถกลางน้ำ งานชิ้นสุดท้ายที่ยังทำไม่เสร็จ


ปณิธานสุดท้ายที่ท่านตั้งใจทำในชีวิตก็คือ การสร้างพระอุโบสถกลางน้ำที่วังน้อย อยุธยา โดยพระอุโบสถกลางน้ำจะเป็นสถานที่ที่เป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของผู้สนใจในหลักธรรมะ

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000119807