ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:37:09 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่กบ
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2010, 10:13:10 pm »



ประวัติ หลวงปู่เจือ ปิยสีโล วัดกลางบางแก้ว

สุดยอดพระเกจิอาจารย์เรืองนามเมืองเจดีย์ใหญ่ในอดีต มิพักต้องกล่าวถึงเกียรติคุณของ หลวงปู่บุญ ขันธโชติ และ หลวงปู่เพิ่ม ปุญญวสโน แห่งสำนักวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

แม้บูรพาจารย์ทั้ง 2 ท่าน จะล่วงลับดับสังขารไปแล้ว แต่วิทยาคมอันเรืองอิทธิฤทธิ์ของท่านยังเลื่องลือขจรไกลไป ทั่วสารทิศอย่างไรก็ดี เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่บุญและหลวงปู่เพิ่ม สำนักวัดกลางบางแก้ว ได้ปรากฏนาม หลวงปู่เจือ ปิยสีโล ศิษย์เอกสายตรงหลวงปู่เพิ่ม เป็นทายาทสืบทอดวิทยาคม ปัจจุบัน หลวงปู่เจือ ปิยสีโล สิริอายุ 82 พรรษา 56 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

อัตโนประวัติหลวงปู่เจือ

เกิด ในสกุล เนตรประไพ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 ที่บ้านท้ายคุ้ง ต.ไทยยาวาส อ. นครชัยศรี จ.นครปฐม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแพและนางบู่ เนตรประไพ ในช่วงวัยเยาว์ ศึกษาเล่าเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดประชานาถ (วัดโคกแขก) แล้วมาช่วยครอบครัวทำนาหาเลี้ยงชีพ

กระทั่งอายุได้ 26 ปี จึงกราบลาบุพการีเข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกลางบางแก้ว โดยมีพระครูพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญญวสโน) เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, พระธรรมธรมูล วัดกลางบางแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูพุทธไชยศิริ (ผูก) วัดใหม่สุประดิษฐาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังอุปสมบท อยู่จำพรรษาที่วัดกลางบางแก้ว ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก

พ.ศ.2504 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระฐานานุกรมพระสมุห์ ของพระพุทธวิถีนายก(เพิ่ม)

พ.ศ.2528 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว และเป็นพระกรรมวาจาจารย์

แม้นเคยได้รับเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว แต่ท่านปฏิเสธ ทั้งที่เพียบพร้อมทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ

หลวงปู่เจือ เป็นศิษย์สายตรงวัดกลางบางแก้ว เริ่มจากเป็นพระลูกวัดศิษย์อุปัฏฐากรับใช้สนองงานของหลวงปู่เพิ่ม โดยมีหน้าที่คอยจัดสร้างเบี้ยแก้ตามคำสั่งของหลวงปู่เพิ่ม ประกอบพิธีกรรมตั้งแต่เริ่มบรรจุปรอท ใช้ตะกั่วหุ้มหอยเบี้ย ลงอักขระเลขยันต์ ถักเชือกหุ้มหอยเบี้ยด้วยมือ

เมื่อทำสำเร็จจะนำไปขอบารมีให้หลวงปู่เพิ่มปลุกเสกอีกครั้ง ก่อนจะนำออกแจกจ่ายลูกศิษย์ กล่าวได้ว่า หลวงปู่เจือ ได้สืบทอดวิธีจัดสร้างเบี้ยแก้ อันเป็นสุดยอดวิชาของหลวงปู่บุญและหลวงปู่เพิ่มไว้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

สรรพคุณหรือพุทธคุณเบี้ยแก้หลวงปู่เจือ เป็นที่ร่ำลือในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม และป้องกันคุณไสยต่างๆ สามารถกันถูกกระทำย่ำยี กันคุณผี คุณไสยเวท อาถรรพณ์ ยาสั่ง ฝังรูปฝังรอย ผีเข้าเจ้าสิง กันไข้ป่าสารพัด ผีป่า ผีโป่ง ผีเปิ่ง ผีปอบกองกอย กันจิตคิดวิกลด้วยโรคอุปาทาน กันมนต์ยาดำย่ำยีด้วยเล่ห์กลมายาสารพัด เป็นต้น

นอกจากการสร้างเบี้ยแก้อันลือลั่นแล้ว หลวงปู่เจือ ยังสร้างยาจินดามณี อันเป็นวิชาที่สืบทอดตำรับของวัดกลางบางแก้วอย่างสมบูรณ์อีกหนึ่งขนาน

ยาจินดามณี หรือ ยาวาสนา (ยาต่ออายุ) เป็นยาที่สำเร็จด้วยสมุนไพรและปลุกเสกด้วยมหาพุทธาคม ต้องรวบรวมตัวยาตามตำรับคัมภีร์ที่โบราณาจารย์ระบุไว้ตามสูตร การผสมบดยาต้องใช้พระสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์หรือฆราวาสนุ่งขาวห่มขาว สมาทานศีล รักษาศีลอุโบสถ ผสมยาอยู่ในอุโบสถ ปริมณฑลวงสายสิญจน์ การตำบด ปั้นตัวยา ต้องบริกรรมภาวนาพระคาถาตลอด และต้องให้เสร็จตามฤกษ์ที่กำหนดด้วย

ยาจินดามณี ใช้อธิษฐานทำน้ำมนต์ อาบ กิน ป้องกันและปัดเสนียดจัญไร บูชาติดตัวไว้จะเป็นเสน่ห์ เมตตามหานิยม เจริญด้วยโชคลาภ หญิงมีครรภ์รับประทาน 3 เม็ดคลอดลูกง่าย มีผิวพรรณวรรณะผุดผ่องใส สติปัญญาดี

นอกจากนี้ หลวงปู่เจือ ยังได้สร้างวัตถุมงคลไว้แจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์อีกหลายแบบหลายรุ่น เช่น เหรียญเสมาหลวงปู่เจือ รุ่น 1 พ.ศ. 2534 เนื้อเงิน เนื้อกะไหล่ทอง รูปหล่อลอยองค์ รูปเหมือนบูชา พระพิฆเนศวรบูชา พระกริ่งนเรศวรตรึงไตรภพ พระพิมพ์ปรกโพธิ์เนื้อผง พระนางพญาสะดุ้งกลับเนื้อผงขมิ้นเสก และเนื้อดินเผา พระพิมพ์เศียรโล้น พระพิมพ์ซุ้มแหลม พระขุนแผนเคลือบ เหรียญหล่อหลวงปู่เจือ พระปิดตา เนื้อผง ผ้ายันต์และยาจินดามณี

ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 ตรงกับวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 82 ปี คณะศิษย์ได้จัดงานบุญถวายเป็นมุทิตาสักการะ โดยจัดสร้างวัตถุมงคลพระผงเนื้อยาวาสนาจินดามณี รุ่นแรก เป็นพระผงพิมพ์นางพญาสะดุ้งกลับพิมพ์เจ้าสัว พิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่ และพิมพ์พระปิดตา เนื้อผงยาจินดามณีที่นำมาจัดสร้างประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามตำรับของวัดกลางบางแก้ว เมื่อวันเพ็ญกลางเดือนสิบสอง ปีที่ผ่านมา โดยประกอบพิธีกรรมภายในอุโบสถวัดกลางบางแก้ว โดยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จทรงเป็นประธานในการประกอบพิธีสร้างยาจินดามณีดังกล่าว

หลวงปู่เจือ ดำเนินชีวิตด้วยความมักน้อยสันโดษ ไม่ยินดียินร้ายในลาภสักการะทั้งหลายทั้งปวง เคร่ง ครัดในศีลาจารวัตร ส่งผลให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์ตลอดทั้งพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ความเรียบง่ายของหลวงปู่เจือ เห็นได้อย่างชัด เจน เมื่อมีชาวบ้านไปขอบูชาเบี้ยแก้ที่กุฏิ แล้วให้ท่านประสิทธิ์ประสาท หลวงปู่เจือจะเมตตาทำให้ทุกคน บางคนให้ท่านปลุกเสก ลงเหล็กจาร ท่านจะเมตตาตั้งใจทำอย่างดีเป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น

ตลอดชีวิตในช่วงที่ครองตนอยู่ในเพศบรรพชิตของหลวงปู่เจือ ท่านได้เคยปรารภว่า เจอมาทั้งความสำเร็จและอุปสรรคขัดขวาง ทั้งจากทางตรงและทางอ้อม ทั้งมนุษย์และสัตว์ที่เรียกได้ว่ามารผจญ แต่ท่านก็ยึดหลักยึดมั่นจนฟันฝ่ามาได้ คือ ทนเอา อดทน อดกลั้น รวมทั้งแนวความคิดรับสืบทอดมาจากครูบาอาจารย์ ท่านได้นำมาสั่งสอนแก่ลูกศิษย์ว่า ให้มีความเพียร ขยัน อดทน

หลวงปู่เจือ จึงนับเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีวัยวุฒิอาวุโสรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่สมถะเรียบง่าย มักน้อย สัน โดษ มีความเป็นอยู่แบบพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เมตตาบารมีสูง เป็นพระเถระที่ควรแก่การกราบไหว้โดยแท้.