ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 07:01:01 am »โปรดมิจฉาเป็นเนื้อนาบุญ
พูดถึงการเสียสละของท่านแล้ว ใคร ๆ ได้ฟังก็ถึงแก่น้ำตาคลอเบ้า ด้วยปลื้มปิติ ไม่คิดว่าสุปฏิปันโนภิกษุเช่นท่านนี้ ยังมีอยู่ในโลกอันสับสนวุ่นวายนี้ มีเรื่องของท่านอีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ การเดินทางไปไหนมาไหนมักจะต้องไปทางเรือ เพราะสะดวกกว่าทางอื่น เรือแจวของวัดจึงต้องมีประจำ และเรือแจวลำนี้ผูกติดกับสะพานหน้าวัดอยู่เป็นประจำ ตกดึกคืนหนึ่ง ขโมยมาย่องหมายจะลักเอาไป หลวงพ่อท่านนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ท่านทราบดี ท่านก็รีบลงมาแก้เชือกให้ขโมยคนนั้น แล้วบอกว่า “เอาไปเถอะนะ ฉันหาใหม่ได้ ถ้าไม่มีสตางค์ คืนนี้ตีสี่ไปที่พระพุทธฉายจำลอง เทวดานางไม้ตรงนั้นเขาจะสงเคราะห์ให้ จงเอาไปเถิด จะได้ตั้งตัว แล้วเลิกเป็นโจรเสีย เพราะการอทินนาของวัดเป็นบาปหนัก หลวงพ่อไม่อยากให้บาปตกแก่เธอเลย” ขโมยคนนั้นได้ยินท่านพูด ถึงกับร้องไห้แล้วก้มลงกราบถวายเรือคืนแต่โดยดี
ต่อมาไม่นาน ขโมยคนนี้ได้มาขอบวชกับหลวงพ่อจง และมานะพยายามปฏิบัติจนสำเร็จอภิญญา ภายในเวลาพรรษาเดียว หลวงพ่อจงได้เรียกมาพบแล้วบอกว่า “โลกีย์วิชาเธอได้แล้วถึงอรูปพรหม และมีอภิญญา 4 นับจากนี้ เธอจะอยู่ในหมู่ฝูงชนไม่ได้ ขอให้เธอจงเข้าป่าไป ให้ชาวป่าและรุกขเทวดาท่านสงเคราะห์ จงทำวิปัสสนาญาณประหารกิเลสให้แจ้งชัด จงอยู่เอกาอย่าวิตกกังวล ตกดึกจะมีครูที่ไม่ใช่มนุษย์มาสอนเธอ ชาติภพของเธอจะสิ้นสุดลงในสามพรรษาข้างหน้า ไปเถิดลูกเอ๋ย” พระทรงอภิญญารูปนั้นฟังแล้วน้ำตาไหลอาบแก้ม ปลื้มปิติในความเมตตาของหลวงพ่อ และตื้นตันใจที่ตนเลือกพระอาจารย์ร่ำเรียนกรรมฐานไม่ผิดองค์เลย หลังจากกราบลาหลวงพ่อจงแล้ว พระอภิญญาองค์นั้นก็เข้าป่าไป และไม่ได้ออกมาอีกเลยจนบัดนั้น
ฤทธิ์ยักษ์เฝ้าทรัพย์
เมื่อราวปี พ.ศ.2470 ท่านสมภารวัดหนึ่งในละแวกใกล้เคียงกับวัดหน้าต่างนอก ไปรื้อวิหารของวัด ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่ มีลายแทนใบหนึ่งระบุว่า มีสมบัติพระทองคำซ่อนอยู่ใต้วิหารนี้ สมภารเกิดความโลภ จึงสั่งให้พระลูกวัดช่วยกันรื้อพระวิหาร เพื่อหวังขุดเอาพระทองคำไปขาย พอวิหารถูกรื้อเสร็จ ท่านสมภารวัดก็ถึงกับล้มป่วยมีอาการเพียงหนักมาก บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของสมภารรูปนั้นก็พากันมากราบไหว้ หลวงพ่อจงถึงวัดหน้าต่างนอก พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า สมภารวัดมีอาการประสาทหลอน ร้องโวยวายคล้ายถูกผีหลอกตลอดเวลา หลวงพ่อจงจึงรีบเดินทางไปยังวัดนั้น ขณะยังเดินไปไม่ถึงวัดดี หลวงพ่อจงก็บอกแก่พระลูกวัดที่มาตามท่านว่า “สมภารไม่ได้โดนผีหลอกดอก ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นอะไรด้วย แต่ยักษ์ที่เฝ้าพระวิหารทำเข้าแล้ว ไปรื้อวิหารโดยไม่ประสงค์จะสร้างให้ดีกว่าเก่า เป็นเพราะอยากได้สมบัติใต้วิหาร มันถึงเป็นเช่นนี้”
พอไปถึงวัด ท่านเห็นสมภารเอะอะโวยวายฟังไม่ได้ศัพท์ มีอาการดิ้นพรวดพราด หลวงพ่อจงเดินเข้าไปใกล้แล้วบริกรรมอยู่ครู่หนึ่ง สมภารวัดรูปนั้นถึงกับล้มตึงแน่นิ่งไป บรรดาพระลูกวัดเห็นดังนั้น ก็รีบเข้าไปประคอง ปากก็ละล่ำละลักขอให้หลวงพ่อช่วย ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ฟื้น พอจะเอ่ยปากพูดต่อ หลวงพ่อจงท่านเอามือป้องคล้ายจะบอกว่าไม่ต้อง ท่านหยุดนิดหนึ่งจนสมภารฟื้น แล้วพูดขึ้นว่า “พรุ่งนี้เช้าตั้งเครื่องสังเวย ขอขมาลาโทษเขาเสียนะ เขาเอาจริง เวลานี้เขามาอยู่ที่นี่ด้วย เขาถามฉันว่า ท่านรื้อวิหารต้องการขุดสมบัติใช่ไหม เขาให้ท่านรับปาก ท่านต้องเลิกหาสมบัติ และวิหารนั้นจะต้องสร้างใหม่ให้สวยงามและใหญ่กว่าเก่า ท่านทำได้ไหม ถ้าท่านทำไม่ได้ เขาจะเอาชีวิตท่าน”
สมภารวัดหน้าซีดเหมือนไก่ต้ม รีบพยักหน้าหงึก ๆ เหงื่อกาฬแตกพลั่กเป็นเม็ดโต ๆ รีบรับปากแต่โดยดี พอวันรุ่งขึ้นก็รีบจัดตั้งเครื่องสังเวยขอขมาลาโทษ แล้วจัดการสร้างวิหารให้งามใหญ่กว่าเดิม
หลวงพ่อจง เดินไปวัดบางนมโค
เรื่องหลวงพ่อจงเดินไปวัดบางนมโคนี้ บันทึกโดยพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง สมัยที่หลวงพ่อปานท่านยังมีชีวิตอยู่ วัดบางนมโคได้จัดงานฉลองศาลาและมีสวดมนต์เย็น พระอื่นก็มากันครบแล้ว ขาดแต่หลวงพ่อจง หลวงพ่อปานท่านจึงให้หลวงพ่อฤาษีลิงดำผู้เป็นศิษย์พาคนเรือนำเรือเร็วไปรับหลวงพ่อจงมาจากวัดหน้าต่างนอก เมื่อไปถึง ปรากฏว่ามีแขกมารอพบหลวงพ่อจงเพื่อขอให้ท่านรดน้ำมนต์ ท่านก็เลยบอกหลวงพ่อฤาษีลิงดำให้นำเรือกลับไปก่อน อีกสักพักหนึ่งหลังจากท่านรดน้ำมนต์ให้ญาติโยมแล้ว ท่านจะเดินมาที่วัดบางนมโคเอง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เห็นว่าระยะทางจากวัดหน้าต่างนอกไปวัดบางนมโคก็ประมาณสี่กิโลเมตร เรือเร็ววิ่งประมาณสิบนาทีเศษ แต่ถ้าเดินก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง อีกทั้งใกล้เวลาจะเริ่มพิธีแล้ว ท่านจึงจอดเรือรอ แต่หลวงพ่อจงบอกให้ท่านไม่ต้องรอ ให้กลับไปก่อน แล้วท่านจะรีบเดินตามมาให้ทันพิธี
เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำกลับมาถึงวัดบางนมโค ก็ขึ้นไปกราบเรียนหลวงพ่อปาน รายงานท่านว่าหลวงพ่อจงกำลังรดน้ำมนต์อยู่ นิมนต์ให้ท่านมาเรือท่านก็ไม่มา ท่านจะเดินมา อีกสักครู่ท่านคงจะมาถึง
พอหลวงพ่อปาน ได้ฟังก็ยิ้ม หัวเราะชอบใจ บอกว่านี่เจ้าลิงดำ หลวงพ่อจงเล่นตลกกับแกเสียแล้ว แกไปดูบนศาลาสิ ก็เลยกราบท่านแล้วขึ้นไปดูบนศาลา ปรากฏว่าพบหลวงพ่อจงนั่งอยู่หน้าอาสนสงฆ์ นั่งอยู่หน้าพระองค์อื่นทั้งหมด เพราะท่านมีอาวุโสมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำจึงเข้าไปกราบ ท่านจึงถามว่ามานานแล้วรึ ก็กราบเรียนท่านไปว่าเพิ่งมาถึง ไปหาหลวงพ่อปานสักสองนาทีแล้วก็ขึ้นมาบนศาลานี่ เลยมานั่งสงสัยว่าหลวงพ่อจงท่านเดินยังไง คนหนุ่ม ๆ ยังเดินตั้งเกือบชั่วโมง ก็เมื่อไปถึงวัดหน้าต่างนอกตอนนั้น หลวงพ่อจงกำลังจะรดน้ำมนต์ แต่ท่านมาถึงวัดบางนมโคก่อนเรือเร็วของหลวงพ่อฤาษีลิงดำเสียอีก ขณะที่กำลังคิดสงสัยอยู่นั้น หลวงพ่อจงก็ถามว่าแปลกใจรึ ท่านบอกว่าไม่มีอะไรแปลก พระในพระพุทธศาสนาถ้าปฏิบัติถึงขั้นก็เดินเก่งทุกคน ถ้าปฏิบัติยังไม่ถึงก็ยังเดินไม่เก่ง
แก่ได้-หนุ่มได้
ค่ำวันหนึ่ง บรรดาลูกศิษย์ลูกหาพากันมานมัสการหลวงพ่อจง รอกันอยู่ครู่หนึ่งท่านก็ก้าวลงจากกุฎิ พอท่านนั่งลงเท่านั้น บรรดาลูกศิษย์ต่างก็ก้มลงกราบกันสลอน เพราะทุกคนประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ที่หลวงพ่อในค่ำคืนนี้มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง เปลี่ยนแปลงไปจากตอนกลางวันที่เขาเห็นมา เนื้อตัวของท่านขาวผ่อง มีความเนียนคล้ายเป็นประกาย ดูหนุ่มขึ้นมาก
บรรดาลูกศิษย์ต่างก็จ้องมองตะลึงกัน เหมือนไม่เชื่อสายตา ก่อนที่ใครจะพูดอะไรออกมา หลวงพ่อจง ท่านก็เอ่ยขึ้นว่า “อย่าสงสัยไปเลยลูก ร่างกายคนเรามันเป็นอนิจจัง มันจะร้อน จะหนาว มันจะแก่ มันจะหนุ่มเป็นเรื่องของร่างกาย เราอย่างไปเกี่ยวข้อง รักษาจิตให้ดีอย่างเดียวพอแล้ว” หลวงพ่อท่านพูดแค่นี้ ทำให้บรรดาลูกศิษย์ไม่มีใครกล้าถามอะไรต่อไป เพราะเกรงจะเป็นการล่วงเกินท่าน
อิทธิเครื่องมงคล
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ได้สร้างอิทธิเครื่องมงคลไว้มากมายหลายชนิด มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ ดังนี้
1. เสื้อยันต์แดง เสื้อยันต์ของท่านมีชื่อเสียงมาก เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ท่านได้สร้างขึ้นไว้แจกแก่ทหารที่ออกสู่สมรภูมิ ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน เสื้อยันต์ของท่าน ได้ปรากฎเกียรติคุณในสนามรบมาแล้วอย่างโด่งดัง จนกิตติศัพท์แพร่หลายไปทั่วประเทศ และด้วยเหตุนี้ จึงมีประชาชนพากันหลั่งไหลไปรับแจกที่วัดหน้าต่างนอก ตลอดระยะเวลาที่เกิดสงครามอย่างไม่ขาดสาย
2. ผ้ายันต์สิงห์มหาอำนาจ สร้างกันมาแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และสร้างต่อมาอีกหลายรุ่น ผ้ายันต์ของท่านนี้มีคุณวิเศษครบเครื่อง ใช้ได้สารพัด ไม่ว่าคลาดแคล้ว คงกระพัน และทางด้านโชคลาภ เป็นต้น
ประสบการณ์จากทหารและตำรวจชายแดนหลายท่านยืนยันว่า ผ้ายันต์ของหลวงพ่อจงเป็นมหาอุดชั้นหนึ่ง
3. แผ่นยันต์ พิมพ์ด้วยกระดาษสองสี คือตัวยันต์และตัวหนังสือเป็นสีดำ รูปหลวงพ่อบริเวณจีวรพิมพ์ด้วยสีเหลือง แผ่นยันต์นี้สร้างครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 เมื่อคราวสร้างเจดีย์ข้าวเปลือก หลวงพ่อท่านสร้างแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่จะมาร่วมงาน ปรากฎว่าแผ่นยันต์นี้ อำนวยโชคลาภแก่เจ้าของบ้านที่นำไปบูชา ท่านจึงสร้างแจกอีกต่อมาหลายรุ่น บางรุ่นเป็นสีเดียว เช่น สีฟ้า สีดำ แผ่นยันต์นี้นิยมกันมากเมื่อหลังสงครามโลกสงบ ๆ ใหม่ ๆ เพราะนอกจากจะอำนวยโชคลาภดังกล่าวแล้ว ยังป้องกันไฟไหม้ได้ชะงัดนัก
4. ปลาตะเพียนเงิน-ตะเพียนทอง ปลานี้หลวงพ่อจงท่านสร้างเป็นคู่ ตัวเมียกับตัวผู้ เดินอักขระขอม ปั๊มนูนไม่เหมือนกัน ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ.2490 เศษ ๆ ได้มีผู้เคยพบปลาตะเพียนคู่นี้ในกุฎิท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศนฯ ซึ่งท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2495 เข้าใจว่า หลวงพ่อจงมอบให้แก่ท่านเจ้าคุณโดยเฉพาะ ปลาตะเพียนคู่ เป็นเครื่องรางที่ชาวจีนนับถือกันอย่างมากมายมาช้านาน เครื่องถ้วยชามของชาวจีนเก่า ๆ มักจะทำเป็นปลากลับหัว อันหมายถึง บ่อเกิดของชีวิตแห่งโชคลาภ การปลุกเสกปลาตะเพียนของหลวงพ่อจงนี้ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน กล่าวคือ ท่านปลุกเสกแล้วให้ลูกศิษย์ปล่อยลงที่ท่าน้ำหน้าวัดคู่หนึ่ง ปรากฎว่า ปลาตะเพียนที่เป็นโลหะตั้งตัวตรงแบบปลาจริง ๆ และไม่จมน้ำด้วย และที่น่าประหลาดไปกว่านั้นก็คือ ปลาตะเพียนของหลวงพ่อจง ลอยทวนน้ำ ไม่ใช่ลอยตามน้ำ และเป็นที่ร่ำลือกันว่า ปลาตะเพียนของท่านว่ายน้ำได้
ทุกงานพิธี
เนื่องจากคุณธรรมอันวิเศษที่หาได้ยากของหลวงพ่อจง มีกิตติศัพท์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง งานปลุกเสกเครื่องมงคลในกรุงเทพที่ใหญ่ ๆ ทุกงาน หลวงพ่อจงจะต้องได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป และถือว่าเป็นพระเถราจารย์ที่ขาดเสียมิได้ ด้วยคุณธรรมอันสูงส่งของท่านดังนี้ วิทยาคมที่ปรากฎชัดส่วนมากคือ แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม และมหาลาภ แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จะสร้างเครื่องมงคลครั้งใด ก็ต้องมีบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นิมนต์หลวงพ่อจงมาร่วมปลุกเสกด้วยทุกครั้งไปมิเคยขาด
มนต์กำกับ
เกี่ยวกับเครื่องรางของขลังซึ่งท่านปลุกเสกเวทวิทยาคม กระทำภาวนาด้วยบุญฤทธิ์อธิษฐาน อันเป็นพลังจิตแกร่งกล้าในแนวที่ให้ความนิยมกันมากนั้น ส่นมากแรก ๆ ท่านก็ใช้แนวทางความรู้อันที่เรียกมาจากท่านพระครูโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ผู้เป็นปรมาจารย์องค์แรกของท่าน แต่ต่อมาเมื่อท่านได้ศึกษารอบรู้ในหลักการ อันเป็นกฎเกณฑ์ของผู้จะไต่เต้าเข้าหาความสำเร็จในอภิญญา อันเป็นพุทธวิธีชั้นสูงสุด
จากนั้นมา ท่านก็ใช้ความรอบรู้อันเกิดจากภูมิปฏิภาณของผู้ใกล้เป็นสัพพัญญูเยี่ยงท่าน ผู้เป็นองค์อรหันต์แต่โบราณกาลมานั้น เข้าบำเพ็ญธรรมกิจ เพื่อให้บรรลุผลในทางอิทธิบารมี จนสามารถอาจดลบันดาลให้ผลดี ตามความต้องการของบุคคลที่เป็นคนดีสมมโนรสปรารถนา ดังนั้น ก็สามารถพูดได้ว่า วิทยาอาคมของท่านมิใช่ในแนวทางไสยศาสตร์ หลวงพ่อจงเมื่อให้นิ่งของปลุกเสกของท่านแก่ผู้ใด ท่านจะต้องบอกเตือนสติด้วยการให้คติเสมอว่า ขอให้รักษาตัว รักษาใจไว้ให้จงดี ศีลธรรมอย่าลืม หากหมั่นบูชาพระ รำลึกถึงพระ และหมั่นศรัทธาปฏิบัติพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นนิตย์แล้ว ยากนักจะมีโพยภัยเหล่าใดเบียดเบียนบีฑาราวี ขอให้ท่องไว้ในใจเสมอว่า เวรย่อมมีขึ้นเฉพาะเมื่อได้มีการก่อเวร มีหนี้ก็หนีไม่พ้น จะต้องชดใช้เขาในเวลาหนึ่ง คนเราไม่ทำบาปพึงไว้ใจได้ว่า ต้องไม่มีบาปใดติดตามสนองปองผลาญ จงหมั่นแจกจ่ายเมตตาอย่าให้ขาดสาย คงต้องได้กุศลแรงกว่ากุศลอื่นใดหลายเท่านัก
เหนือยอดฉัตร
มีเรื่องเล่าลือกันมาเรื่องหนึ่งซึ่งพูดถึงกันมาก เรื่องมีว่า ครั้งหนึ่ง ณ ตำบลบางช้าง บรรดาเกจิอาจารย์มากหลาย มีท่านโอภาสี หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อปาน หลวงพ่อเจิ่น ท่านพระอาจารย์ฟ้อน หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อจง ฯลฯ ได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีสงฆ์ ในงานพิธีนั้นเขาได้เอาไม้ไผ่มาจักตอกสลับเป็นรูปฉัตรเจ็ดชั้น รูปลักษณ์คล้ายเจดีย์ยอดสูงเรียว สูงราวสักสองวาเห็นจะได้ เจ้าของบ้านผู้นิมนต์พระสงฆ์ไป ได้เกิดกระทำพิธีขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วอาราธนาขอให้เหล่าเกจิอาจารย์ปีนขึ้นไปบนยอดฉัตร ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์มาประทานพรให้เจ้าของพิธี อันนี้จะเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่อย่างไร เมื่อเขาอาราธนานิมนต์ สงฆ์เหล่านั้นท่านก็อีหลักอีเหลื่อ แต่บางองค์เห็นว่าจะกระทำมิได้ เพราะไม่ไผ่สานถักเป็นรูปฉัตรสูงตั้งสองวานั้นมีลักษณะแบบบาง ตามรูร่องที่ทำไว้ให้เหยียบไม่มั่นคง อาจงอหักหรือล่มล้มลงมา มีอันตรายโดยง่ายด้วย
ซึ่งต่างองค์ต่างก็ปฏิเสธ มีหลวงพ่อเดิมเห็นว่าควรรับนิมนต์ ไม่ควรขัดอัธยาศัยของเจ้าของบ้าน แต่ดูเหมือนติดจะคิดลองดีหลวงพ่อจง ซึ่งขณะนั้นต่างมีชื่อโด่งดังในทางคล้ายคลึงกัน พร้อมกับถามหลวงพ่อจงว่า “หากท่านเห็นด้วย เราทั้งสองควรรับนิมนต์เป็นผู้แทนสงฆ์อื่นเสียด้วยก็จะดี จะได้เสร็จกิจไป เพราะเคยได้ยินว่าท่านก็มีพลังจิตในทางทำตัวเบาเยี่ยม”
พลางก็ชี้ฉัตรด้านข้างเป็นสัญญานว่าให้หลวงพ่อจงไปที่นั่น ส่วนหลวงพ่อเดิมเอง ยึดเอาฉัตรที่ตั้งตรงหน้าตั้งท่าป่ายปีนขึ้นไป
ควรทราบเสียก่อนว่า อันฉัตรที่ทำด้วยไผ่สานนี้ไม่มีที่เกาะจับ แม้จะสอดเท้าเข้ารูที่เว้นเป็นช่องไว้ก็จะสอดเข้าได้เพียงปลายนิ้วเท้าเท่านั้น ฝ่ายหลวงพ่อจงไม่ว่าอะไร หัวร่อ หึ หึ หึ ออกเดินดุ่มไปหาฉัตรที่ห่างออกไปราวสามวาทันที
หลวงพ่อเดิมสอดปลายเท้าเข้ารู มือเพียงแตะฉัตรก้าวอย่างแผ่วเบาปราดขึ้นไปท่ามกลางผู้คนรอบ ๆ ชะเง้อมองอย่างตื่นเต้น พลางปรายตามองดูหลวงพ่อจง แต่แล้วก็ต้องตะลึง เพราะหลวงพ่อเดิมขึ้นไปได้ราวห้าศอก หลวงพ่อจงขึ้นไปยืนคร่อมยอดฉัตรซะแล้ว
ดับไฟป่า
เรื่องราวเกี่ยวกับความเก่งกาจ แผลง ๆ ซึ่งบุคคลและสงฆ์อื่นยากจะทำได้ ยังมีเรื่องพิลึกพิลั่นมาเล่าลือสืบเนื่องกันอีกมาก หลายกระทงความ ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจง ท่านไปปัตตานี และสงขลา ตามคำอาราธนาให้ไปประกอบพิธีมงคลทางพุทธศาสนา มีกลุ่มคนนอกศาสนาสติไม่ใคร่เรียบร้อย มักชอบตลบตะแลงลิ้นพ่นหาว่าพระสงฆ์ไทยไม่ดีจริงไม่เก่งจริง (ไม่รู้วาในทางใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเป็นในทางสำแดงอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่ง) กล่าวท้าทายกระทำว้าวุ่นหลายครั้งครา ต่อภิกษุสงฆ์ไทยหลายองค์ วันที่เกิดกรณีนี้ พอดีหลวงพ่อจง ต้องเดินทางผ่านสวนยางพาราของเขาไป ซึ่งไม่ห่างจากบริเวณทางที่รถกำลังจะต้องหยุด เห็นมีไฟป่าลุกลามปามเข้าหาสวนยางกำลังคุโชนระบาด ส่วนตัวมนุษย์นอกศาสนานั้นก็เดินทางไปในรถโดยสาร (รถขนหินของกรมทางฯ) ขบวนนั้นไปด้วย เขาร้องเอ็ดตะโรและคร่ำครวญต่าง ๆ นานา ว่าฉิบหายแล้ว ฉิบหายแน่
หลวงพ่อจง เห็นเป็นการน่าเวทนา จึงพูดว่า ไม่ฉิบหายน่า พูดแล้วท่านก็ปีนขึ้นไปขนยอดกอไผ่จีนข้างที่ทำการกรมทาง เอายอดไผ่มาอมในปาก สะบัดไปแล้วร้อง ดับ..ดับ...ดับ.. ซึ่งอีกสิบนาทีต่อมา ไฟป่าก็ดับโดยอัศจรรย์ ทำให้มนุษย์นอกศาสนาตะลึงจังงัง และแต่นั้นมา หมอนั่นไม่กล้ากระทำวุ่นวาย ท้าทายใครต่อใครในพุทธศาสนาอย่างคนปากพล่อยสามหาวอีก พร้อมทั้งมีจิตใจหันไปเคารพศรัทธาเลื่อมใสต่อภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งสืบไปในระยะหลังของชีวิต
สอนสั่งครั้งสุดท้าย
ครั้นต่อมาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2508 หลวงพ่อจงได้ล้มป่วยลงเป็นอัมพาตทางด้านขวาของร่างกายหมดความรู้สึก แต่ใบหน้าของท่านยังอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใสมาก ท่านมีอาการยิ้มแย้มเหมือนไม่รับทราบความเจ็บป่วยนั้น ลูกศิษย์ลูกหาพากันห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง ได้ตามนายแพทย์จากกรุงเทพฯไปรักษา ท่านพยายามห้ามปรามอย่างไรก็ไม่เป็นผล ท่านบอกแก่ลูกศิษย์ว่า “ตามหมอมาก็ไม่มีประโยชน์ ป่วยคราวนี้ไม่มีวันหาย อย่าห่วงเลยนะ มันจะเจ็บ มันจะป่วย มันจะตาย ไปห้ามมันไม่ได้ ลูก ๆ ทุกคนจงจำไว้ เวลาจะเจ็บ เวลาจะป่วย เวลาจะตาย อย่าเอาจิตไปเกาะเกี่ยวเวทนา จะได้ไม่เกิดทุกข์”
นี่คือคำสั่งสอนครั้งสุดท้ายของ หลวงพ่อจง พุทธัสสโร ที่ให้ลูกศิษย์เห็นถึงคุณวิปัสสนาญาณชั้นสูง ถึงสังขารุเปกขาญาณ จากนั้นมา ท่านก็นอนนิ่ง นาน ๆ จะหายใจสักครั้ง ทราบจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า ท่านเข้าสมาบัติอนุโลมปฏิโลมตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวันอังคาร ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง อันเป็นวันมาฆบูชา
ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 เวลา 01.55 น. ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบเหมือนคนนอนหลับ ท่ามกลางความโศกสลดในมวลหมู่ลูกศิษย์ที่นั่งเฝ้าโดยใกล้ชิดทั้งหลายนั่นเอง.........
พูดถึงการเสียสละของท่านแล้ว ใคร ๆ ได้ฟังก็ถึงแก่น้ำตาคลอเบ้า ด้วยปลื้มปิติ ไม่คิดว่าสุปฏิปันโนภิกษุเช่นท่านนี้ ยังมีอยู่ในโลกอันสับสนวุ่นวายนี้ มีเรื่องของท่านอีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ การเดินทางไปไหนมาไหนมักจะต้องไปทางเรือ เพราะสะดวกกว่าทางอื่น เรือแจวของวัดจึงต้องมีประจำ และเรือแจวลำนี้ผูกติดกับสะพานหน้าวัดอยู่เป็นประจำ ตกดึกคืนหนึ่ง ขโมยมาย่องหมายจะลักเอาไป หลวงพ่อท่านนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ท่านทราบดี ท่านก็รีบลงมาแก้เชือกให้ขโมยคนนั้น แล้วบอกว่า “เอาไปเถอะนะ ฉันหาใหม่ได้ ถ้าไม่มีสตางค์ คืนนี้ตีสี่ไปที่พระพุทธฉายจำลอง เทวดานางไม้ตรงนั้นเขาจะสงเคราะห์ให้ จงเอาไปเถิด จะได้ตั้งตัว แล้วเลิกเป็นโจรเสีย เพราะการอทินนาของวัดเป็นบาปหนัก หลวงพ่อไม่อยากให้บาปตกแก่เธอเลย” ขโมยคนนั้นได้ยินท่านพูด ถึงกับร้องไห้แล้วก้มลงกราบถวายเรือคืนแต่โดยดี
ต่อมาไม่นาน ขโมยคนนี้ได้มาขอบวชกับหลวงพ่อจง และมานะพยายามปฏิบัติจนสำเร็จอภิญญา ภายในเวลาพรรษาเดียว หลวงพ่อจงได้เรียกมาพบแล้วบอกว่า “โลกีย์วิชาเธอได้แล้วถึงอรูปพรหม และมีอภิญญา 4 นับจากนี้ เธอจะอยู่ในหมู่ฝูงชนไม่ได้ ขอให้เธอจงเข้าป่าไป ให้ชาวป่าและรุกขเทวดาท่านสงเคราะห์ จงทำวิปัสสนาญาณประหารกิเลสให้แจ้งชัด จงอยู่เอกาอย่าวิตกกังวล ตกดึกจะมีครูที่ไม่ใช่มนุษย์มาสอนเธอ ชาติภพของเธอจะสิ้นสุดลงในสามพรรษาข้างหน้า ไปเถิดลูกเอ๋ย” พระทรงอภิญญารูปนั้นฟังแล้วน้ำตาไหลอาบแก้ม ปลื้มปิติในความเมตตาของหลวงพ่อ และตื้นตันใจที่ตนเลือกพระอาจารย์ร่ำเรียนกรรมฐานไม่ผิดองค์เลย หลังจากกราบลาหลวงพ่อจงแล้ว พระอภิญญาองค์นั้นก็เข้าป่าไป และไม่ได้ออกมาอีกเลยจนบัดนั้น
ฤทธิ์ยักษ์เฝ้าทรัพย์
เมื่อราวปี พ.ศ.2470 ท่านสมภารวัดหนึ่งในละแวกใกล้เคียงกับวัดหน้าต่างนอก ไปรื้อวิหารของวัด ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่ มีลายแทนใบหนึ่งระบุว่า มีสมบัติพระทองคำซ่อนอยู่ใต้วิหารนี้ สมภารเกิดความโลภ จึงสั่งให้พระลูกวัดช่วยกันรื้อพระวิหาร เพื่อหวังขุดเอาพระทองคำไปขาย พอวิหารถูกรื้อเสร็จ ท่านสมภารวัดก็ถึงกับล้มป่วยมีอาการเพียงหนักมาก บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของสมภารรูปนั้นก็พากันมากราบไหว้ หลวงพ่อจงถึงวัดหน้าต่างนอก พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า สมภารวัดมีอาการประสาทหลอน ร้องโวยวายคล้ายถูกผีหลอกตลอดเวลา หลวงพ่อจงจึงรีบเดินทางไปยังวัดนั้น ขณะยังเดินไปไม่ถึงวัดดี หลวงพ่อจงก็บอกแก่พระลูกวัดที่มาตามท่านว่า “สมภารไม่ได้โดนผีหลอกดอก ไม่ได้เจ็บป่วยเป็นอะไรด้วย แต่ยักษ์ที่เฝ้าพระวิหารทำเข้าแล้ว ไปรื้อวิหารโดยไม่ประสงค์จะสร้างให้ดีกว่าเก่า เป็นเพราะอยากได้สมบัติใต้วิหาร มันถึงเป็นเช่นนี้”
พอไปถึงวัด ท่านเห็นสมภารเอะอะโวยวายฟังไม่ได้ศัพท์ มีอาการดิ้นพรวดพราด หลวงพ่อจงเดินเข้าไปใกล้แล้วบริกรรมอยู่ครู่หนึ่ง สมภารวัดรูปนั้นถึงกับล้มตึงแน่นิ่งไป บรรดาพระลูกวัดเห็นดังนั้น ก็รีบเข้าไปประคอง ปากก็ละล่ำละลักขอให้หลวงพ่อช่วย ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็ฟื้น พอจะเอ่ยปากพูดต่อ หลวงพ่อจงท่านเอามือป้องคล้ายจะบอกว่าไม่ต้อง ท่านหยุดนิดหนึ่งจนสมภารฟื้น แล้วพูดขึ้นว่า “พรุ่งนี้เช้าตั้งเครื่องสังเวย ขอขมาลาโทษเขาเสียนะ เขาเอาจริง เวลานี้เขามาอยู่ที่นี่ด้วย เขาถามฉันว่า ท่านรื้อวิหารต้องการขุดสมบัติใช่ไหม เขาให้ท่านรับปาก ท่านต้องเลิกหาสมบัติ และวิหารนั้นจะต้องสร้างใหม่ให้สวยงามและใหญ่กว่าเก่า ท่านทำได้ไหม ถ้าท่านทำไม่ได้ เขาจะเอาชีวิตท่าน”
สมภารวัดหน้าซีดเหมือนไก่ต้ม รีบพยักหน้าหงึก ๆ เหงื่อกาฬแตกพลั่กเป็นเม็ดโต ๆ รีบรับปากแต่โดยดี พอวันรุ่งขึ้นก็รีบจัดตั้งเครื่องสังเวยขอขมาลาโทษ แล้วจัดการสร้างวิหารให้งามใหญ่กว่าเดิม
หลวงพ่อจง เดินไปวัดบางนมโค
เรื่องหลวงพ่อจงเดินไปวัดบางนมโคนี้ บันทึกโดยพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง สมัยที่หลวงพ่อปานท่านยังมีชีวิตอยู่ วัดบางนมโคได้จัดงานฉลองศาลาและมีสวดมนต์เย็น พระอื่นก็มากันครบแล้ว ขาดแต่หลวงพ่อจง หลวงพ่อปานท่านจึงให้หลวงพ่อฤาษีลิงดำผู้เป็นศิษย์พาคนเรือนำเรือเร็วไปรับหลวงพ่อจงมาจากวัดหน้าต่างนอก เมื่อไปถึง ปรากฏว่ามีแขกมารอพบหลวงพ่อจงเพื่อขอให้ท่านรดน้ำมนต์ ท่านก็เลยบอกหลวงพ่อฤาษีลิงดำให้นำเรือกลับไปก่อน อีกสักพักหนึ่งหลังจากท่านรดน้ำมนต์ให้ญาติโยมแล้ว ท่านจะเดินมาที่วัดบางนมโคเอง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เห็นว่าระยะทางจากวัดหน้าต่างนอกไปวัดบางนมโคก็ประมาณสี่กิโลเมตร เรือเร็ววิ่งประมาณสิบนาทีเศษ แต่ถ้าเดินก็ใช้เวลาเกือบชั่วโมง อีกทั้งใกล้เวลาจะเริ่มพิธีแล้ว ท่านจึงจอดเรือรอ แต่หลวงพ่อจงบอกให้ท่านไม่ต้องรอ ให้กลับไปก่อน แล้วท่านจะรีบเดินตามมาให้ทันพิธี
เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำกลับมาถึงวัดบางนมโค ก็ขึ้นไปกราบเรียนหลวงพ่อปาน รายงานท่านว่าหลวงพ่อจงกำลังรดน้ำมนต์อยู่ นิมนต์ให้ท่านมาเรือท่านก็ไม่มา ท่านจะเดินมา อีกสักครู่ท่านคงจะมาถึง
พอหลวงพ่อปาน ได้ฟังก็ยิ้ม หัวเราะชอบใจ บอกว่านี่เจ้าลิงดำ หลวงพ่อจงเล่นตลกกับแกเสียแล้ว แกไปดูบนศาลาสิ ก็เลยกราบท่านแล้วขึ้นไปดูบนศาลา ปรากฏว่าพบหลวงพ่อจงนั่งอยู่หน้าอาสนสงฆ์ นั่งอยู่หน้าพระองค์อื่นทั้งหมด เพราะท่านมีอาวุโสมาก หลวงพ่อฤาษีลิงดำจึงเข้าไปกราบ ท่านจึงถามว่ามานานแล้วรึ ก็กราบเรียนท่านไปว่าเพิ่งมาถึง ไปหาหลวงพ่อปานสักสองนาทีแล้วก็ขึ้นมาบนศาลานี่ เลยมานั่งสงสัยว่าหลวงพ่อจงท่านเดินยังไง คนหนุ่ม ๆ ยังเดินตั้งเกือบชั่วโมง ก็เมื่อไปถึงวัดหน้าต่างนอกตอนนั้น หลวงพ่อจงกำลังจะรดน้ำมนต์ แต่ท่านมาถึงวัดบางนมโคก่อนเรือเร็วของหลวงพ่อฤาษีลิงดำเสียอีก ขณะที่กำลังคิดสงสัยอยู่นั้น หลวงพ่อจงก็ถามว่าแปลกใจรึ ท่านบอกว่าไม่มีอะไรแปลก พระในพระพุทธศาสนาถ้าปฏิบัติถึงขั้นก็เดินเก่งทุกคน ถ้าปฏิบัติยังไม่ถึงก็ยังเดินไม่เก่ง
แก่ได้-หนุ่มได้
ค่ำวันหนึ่ง บรรดาลูกศิษย์ลูกหาพากันมานมัสการหลวงพ่อจง รอกันอยู่ครู่หนึ่งท่านก็ก้าวลงจากกุฎิ พอท่านนั่งลงเท่านั้น บรรดาลูกศิษย์ต่างก็ก้มลงกราบกันสลอน เพราะทุกคนประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ที่หลวงพ่อในค่ำคืนนี้มีผิวพรรณเปล่งปลั่ง เปลี่ยนแปลงไปจากตอนกลางวันที่เขาเห็นมา เนื้อตัวของท่านขาวผ่อง มีความเนียนคล้ายเป็นประกาย ดูหนุ่มขึ้นมาก
บรรดาลูกศิษย์ต่างก็จ้องมองตะลึงกัน เหมือนไม่เชื่อสายตา ก่อนที่ใครจะพูดอะไรออกมา หลวงพ่อจง ท่านก็เอ่ยขึ้นว่า “อย่าสงสัยไปเลยลูก ร่างกายคนเรามันเป็นอนิจจัง มันจะร้อน จะหนาว มันจะแก่ มันจะหนุ่มเป็นเรื่องของร่างกาย เราอย่างไปเกี่ยวข้อง รักษาจิตให้ดีอย่างเดียวพอแล้ว” หลวงพ่อท่านพูดแค่นี้ ทำให้บรรดาลูกศิษย์ไม่มีใครกล้าถามอะไรต่อไป เพราะเกรงจะเป็นการล่วงเกินท่าน
อิทธิเครื่องมงคล
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ได้สร้างอิทธิเครื่องมงคลไว้มากมายหลายชนิด มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ตะกรุด แผ่นยันต์มหาลาภ และกันไฟ ดังนี้
1. เสื้อยันต์แดง เสื้อยันต์ของท่านมีชื่อเสียงมาก เมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ท่านได้สร้างขึ้นไว้แจกแก่ทหารที่ออกสู่สมรภูมิ ในคราวสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน เสื้อยันต์ของท่าน ได้ปรากฎเกียรติคุณในสนามรบมาแล้วอย่างโด่งดัง จนกิตติศัพท์แพร่หลายไปทั่วประเทศ และด้วยเหตุนี้ จึงมีประชาชนพากันหลั่งไหลไปรับแจกที่วัดหน้าต่างนอก ตลอดระยะเวลาที่เกิดสงครามอย่างไม่ขาดสาย
2. ผ้ายันต์สิงห์มหาอำนาจ สร้างกันมาแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และสร้างต่อมาอีกหลายรุ่น ผ้ายันต์ของท่านนี้มีคุณวิเศษครบเครื่อง ใช้ได้สารพัด ไม่ว่าคลาดแคล้ว คงกระพัน และทางด้านโชคลาภ เป็นต้น
ประสบการณ์จากทหารและตำรวจชายแดนหลายท่านยืนยันว่า ผ้ายันต์ของหลวงพ่อจงเป็นมหาอุดชั้นหนึ่ง
3. แผ่นยันต์ พิมพ์ด้วยกระดาษสองสี คือตัวยันต์และตัวหนังสือเป็นสีดำ รูปหลวงพ่อบริเวณจีวรพิมพ์ด้วยสีเหลือง แผ่นยันต์นี้สร้างครั้งแรกในปี พ.ศ.2490 เมื่อคราวสร้างเจดีย์ข้าวเปลือก หลวงพ่อท่านสร้างแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ที่จะมาร่วมงาน ปรากฎว่าแผ่นยันต์นี้ อำนวยโชคลาภแก่เจ้าของบ้านที่นำไปบูชา ท่านจึงสร้างแจกอีกต่อมาหลายรุ่น บางรุ่นเป็นสีเดียว เช่น สีฟ้า สีดำ แผ่นยันต์นี้นิยมกันมากเมื่อหลังสงครามโลกสงบ ๆ ใหม่ ๆ เพราะนอกจากจะอำนวยโชคลาภดังกล่าวแล้ว ยังป้องกันไฟไหม้ได้ชะงัดนัก
4. ปลาตะเพียนเงิน-ตะเพียนทอง ปลานี้หลวงพ่อจงท่านสร้างเป็นคู่ ตัวเมียกับตัวผู้ เดินอักขระขอม ปั๊มนูนไม่เหมือนกัน ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ.2490 เศษ ๆ ได้มีผู้เคยพบปลาตะเพียนคู่นี้ในกุฎิท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศนฯ ซึ่งท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2495 เข้าใจว่า หลวงพ่อจงมอบให้แก่ท่านเจ้าคุณโดยเฉพาะ ปลาตะเพียนคู่ เป็นเครื่องรางที่ชาวจีนนับถือกันอย่างมากมายมาช้านาน เครื่องถ้วยชามของชาวจีนเก่า ๆ มักจะทำเป็นปลากลับหัว อันหมายถึง บ่อเกิดของชีวิตแห่งโชคลาภ การปลุกเสกปลาตะเพียนของหลวงพ่อจงนี้ ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน กล่าวคือ ท่านปลุกเสกแล้วให้ลูกศิษย์ปล่อยลงที่ท่าน้ำหน้าวัดคู่หนึ่ง ปรากฎว่า ปลาตะเพียนที่เป็นโลหะตั้งตัวตรงแบบปลาจริง ๆ และไม่จมน้ำด้วย และที่น่าประหลาดไปกว่านั้นก็คือ ปลาตะเพียนของหลวงพ่อจง ลอยทวนน้ำ ไม่ใช่ลอยตามน้ำ และเป็นที่ร่ำลือกันว่า ปลาตะเพียนของท่านว่ายน้ำได้
ทุกงานพิธี
เนื่องจากคุณธรรมอันวิเศษที่หาได้ยากของหลวงพ่อจง มีกิตติศัพท์แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง งานปลุกเสกเครื่องมงคลในกรุงเทพที่ใหญ่ ๆ ทุกงาน หลวงพ่อจงจะต้องได้รับนิมนต์มาร่วมพิธีด้วยทุกครั้งไป และถือว่าเป็นพระเถราจารย์ที่ขาดเสียมิได้ ด้วยคุณธรรมอันสูงส่งของท่านดังนี้ วิทยาคมที่ปรากฎชัดส่วนมากคือ แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม และมหาลาภ แม้กระทั่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) จะสร้างเครื่องมงคลครั้งใด ก็ต้องมีบัญชาให้ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นิมนต์หลวงพ่อจงมาร่วมปลุกเสกด้วยทุกครั้งไปมิเคยขาด
มนต์กำกับ
เกี่ยวกับเครื่องรางของขลังซึ่งท่านปลุกเสกเวทวิทยาคม กระทำภาวนาด้วยบุญฤทธิ์อธิษฐาน อันเป็นพลังจิตแกร่งกล้าในแนวที่ให้ความนิยมกันมากนั้น ส่นมากแรก ๆ ท่านก็ใช้แนวทางความรู้อันที่เรียกมาจากท่านพระครูโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ผู้เป็นปรมาจารย์องค์แรกของท่าน แต่ต่อมาเมื่อท่านได้ศึกษารอบรู้ในหลักการ อันเป็นกฎเกณฑ์ของผู้จะไต่เต้าเข้าหาความสำเร็จในอภิญญา อันเป็นพุทธวิธีชั้นสูงสุด
จากนั้นมา ท่านก็ใช้ความรอบรู้อันเกิดจากภูมิปฏิภาณของผู้ใกล้เป็นสัพพัญญูเยี่ยงท่าน ผู้เป็นองค์อรหันต์แต่โบราณกาลมานั้น เข้าบำเพ็ญธรรมกิจ เพื่อให้บรรลุผลในทางอิทธิบารมี จนสามารถอาจดลบันดาลให้ผลดี ตามความต้องการของบุคคลที่เป็นคนดีสมมโนรสปรารถนา ดังนั้น ก็สามารถพูดได้ว่า วิทยาอาคมของท่านมิใช่ในแนวทางไสยศาสตร์ หลวงพ่อจงเมื่อให้นิ่งของปลุกเสกของท่านแก่ผู้ใด ท่านจะต้องบอกเตือนสติด้วยการให้คติเสมอว่า ขอให้รักษาตัว รักษาใจไว้ให้จงดี ศีลธรรมอย่าลืม หากหมั่นบูชาพระ รำลึกถึงพระ และหมั่นศรัทธาปฏิบัติพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เป็นนิตย์แล้ว ยากนักจะมีโพยภัยเหล่าใดเบียดเบียนบีฑาราวี ขอให้ท่องไว้ในใจเสมอว่า เวรย่อมมีขึ้นเฉพาะเมื่อได้มีการก่อเวร มีหนี้ก็หนีไม่พ้น จะต้องชดใช้เขาในเวลาหนึ่ง คนเราไม่ทำบาปพึงไว้ใจได้ว่า ต้องไม่มีบาปใดติดตามสนองปองผลาญ จงหมั่นแจกจ่ายเมตตาอย่าให้ขาดสาย คงต้องได้กุศลแรงกว่ากุศลอื่นใดหลายเท่านัก
เหนือยอดฉัตร
มีเรื่องเล่าลือกันมาเรื่องหนึ่งซึ่งพูดถึงกันมาก เรื่องมีว่า ครั้งหนึ่ง ณ ตำบลบางช้าง บรรดาเกจิอาจารย์มากหลาย มีท่านโอภาสี หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อปาน หลวงพ่อเจิ่น ท่านพระอาจารย์ฟ้อน หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อจง ฯลฯ ได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีสงฆ์ ในงานพิธีนั้นเขาได้เอาไม้ไผ่มาจักตอกสลับเป็นรูปฉัตรเจ็ดชั้น รูปลักษณ์คล้ายเจดีย์ยอดสูงเรียว สูงราวสักสองวาเห็นจะได้ เจ้าของบ้านผู้นิมนต์พระสงฆ์ไป ได้เกิดกระทำพิธีขึ้นอย่างหนึ่ง แล้วอาราธนาขอให้เหล่าเกจิอาจารย์ปีนขึ้นไปบนยอดฉัตร ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสวรรค์มาประทานพรให้เจ้าของพิธี อันนี้จะเป็นกิจของสงฆ์หรือไม่อย่างไร เมื่อเขาอาราธนานิมนต์ สงฆ์เหล่านั้นท่านก็อีหลักอีเหลื่อ แต่บางองค์เห็นว่าจะกระทำมิได้ เพราะไม่ไผ่สานถักเป็นรูปฉัตรสูงตั้งสองวานั้นมีลักษณะแบบบาง ตามรูร่องที่ทำไว้ให้เหยียบไม่มั่นคง อาจงอหักหรือล่มล้มลงมา มีอันตรายโดยง่ายด้วย
ซึ่งต่างองค์ต่างก็ปฏิเสธ มีหลวงพ่อเดิมเห็นว่าควรรับนิมนต์ ไม่ควรขัดอัธยาศัยของเจ้าของบ้าน แต่ดูเหมือนติดจะคิดลองดีหลวงพ่อจง ซึ่งขณะนั้นต่างมีชื่อโด่งดังในทางคล้ายคลึงกัน พร้อมกับถามหลวงพ่อจงว่า “หากท่านเห็นด้วย เราทั้งสองควรรับนิมนต์เป็นผู้แทนสงฆ์อื่นเสียด้วยก็จะดี จะได้เสร็จกิจไป เพราะเคยได้ยินว่าท่านก็มีพลังจิตในทางทำตัวเบาเยี่ยม”
พลางก็ชี้ฉัตรด้านข้างเป็นสัญญานว่าให้หลวงพ่อจงไปที่นั่น ส่วนหลวงพ่อเดิมเอง ยึดเอาฉัตรที่ตั้งตรงหน้าตั้งท่าป่ายปีนขึ้นไป
ควรทราบเสียก่อนว่า อันฉัตรที่ทำด้วยไผ่สานนี้ไม่มีที่เกาะจับ แม้จะสอดเท้าเข้ารูที่เว้นเป็นช่องไว้ก็จะสอดเข้าได้เพียงปลายนิ้วเท้าเท่านั้น ฝ่ายหลวงพ่อจงไม่ว่าอะไร หัวร่อ หึ หึ หึ ออกเดินดุ่มไปหาฉัตรที่ห่างออกไปราวสามวาทันที
หลวงพ่อเดิมสอดปลายเท้าเข้ารู มือเพียงแตะฉัตรก้าวอย่างแผ่วเบาปราดขึ้นไปท่ามกลางผู้คนรอบ ๆ ชะเง้อมองอย่างตื่นเต้น พลางปรายตามองดูหลวงพ่อจง แต่แล้วก็ต้องตะลึง เพราะหลวงพ่อเดิมขึ้นไปได้ราวห้าศอก หลวงพ่อจงขึ้นไปยืนคร่อมยอดฉัตรซะแล้ว
ดับไฟป่า
เรื่องราวเกี่ยวกับความเก่งกาจ แผลง ๆ ซึ่งบุคคลและสงฆ์อื่นยากจะทำได้ ยังมีเรื่องพิลึกพิลั่นมาเล่าลือสืบเนื่องกันอีกมาก หลายกระทงความ ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจง ท่านไปปัตตานี และสงขลา ตามคำอาราธนาให้ไปประกอบพิธีมงคลทางพุทธศาสนา มีกลุ่มคนนอกศาสนาสติไม่ใคร่เรียบร้อย มักชอบตลบตะแลงลิ้นพ่นหาว่าพระสงฆ์ไทยไม่ดีจริงไม่เก่งจริง (ไม่รู้วาในทางใด แต่สันนิษฐานว่าคงจะเป็นในทางสำแดงอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่ง) กล่าวท้าทายกระทำว้าวุ่นหลายครั้งครา ต่อภิกษุสงฆ์ไทยหลายองค์ วันที่เกิดกรณีนี้ พอดีหลวงพ่อจง ต้องเดินทางผ่านสวนยางพาราของเขาไป ซึ่งไม่ห่างจากบริเวณทางที่รถกำลังจะต้องหยุด เห็นมีไฟป่าลุกลามปามเข้าหาสวนยางกำลังคุโชนระบาด ส่วนตัวมนุษย์นอกศาสนานั้นก็เดินทางไปในรถโดยสาร (รถขนหินของกรมทางฯ) ขบวนนั้นไปด้วย เขาร้องเอ็ดตะโรและคร่ำครวญต่าง ๆ นานา ว่าฉิบหายแล้ว ฉิบหายแน่
หลวงพ่อจง เห็นเป็นการน่าเวทนา จึงพูดว่า ไม่ฉิบหายน่า พูดแล้วท่านก็ปีนขึ้นไปขนยอดกอไผ่จีนข้างที่ทำการกรมทาง เอายอดไผ่มาอมในปาก สะบัดไปแล้วร้อง ดับ..ดับ...ดับ.. ซึ่งอีกสิบนาทีต่อมา ไฟป่าก็ดับโดยอัศจรรย์ ทำให้มนุษย์นอกศาสนาตะลึงจังงัง และแต่นั้นมา หมอนั่นไม่กล้ากระทำวุ่นวาย ท้าทายใครต่อใครในพุทธศาสนาอย่างคนปากพล่อยสามหาวอีก พร้อมทั้งมีจิตใจหันไปเคารพศรัทธาเลื่อมใสต่อภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งสืบไปในระยะหลังของชีวิต
สอนสั่งครั้งสุดท้าย
ครั้นต่อมาในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2508 หลวงพ่อจงได้ล้มป่วยลงเป็นอัมพาตทางด้านขวาของร่างกายหมดความรู้สึก แต่ใบหน้าของท่านยังอิ่มเอิบ ผิวพรรณผ่องใสมาก ท่านมีอาการยิ้มแย้มเหมือนไม่รับทราบความเจ็บป่วยนั้น ลูกศิษย์ลูกหาพากันห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง ได้ตามนายแพทย์จากกรุงเทพฯไปรักษา ท่านพยายามห้ามปรามอย่างไรก็ไม่เป็นผล ท่านบอกแก่ลูกศิษย์ว่า “ตามหมอมาก็ไม่มีประโยชน์ ป่วยคราวนี้ไม่มีวันหาย อย่าห่วงเลยนะ มันจะเจ็บ มันจะป่วย มันจะตาย ไปห้ามมันไม่ได้ ลูก ๆ ทุกคนจงจำไว้ เวลาจะเจ็บ เวลาจะป่วย เวลาจะตาย อย่าเอาจิตไปเกาะเกี่ยวเวทนา จะได้ไม่เกิดทุกข์”
นี่คือคำสั่งสอนครั้งสุดท้ายของ หลวงพ่อจง พุทธัสสโร ที่ให้ลูกศิษย์เห็นถึงคุณวิปัสสนาญาณชั้นสูง ถึงสังขารุเปกขาญาณ จากนั้นมา ท่านก็นอนนิ่ง นาน ๆ จะหายใจสักครั้ง ทราบจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดว่า ท่านเข้าสมาบัติอนุโลมปฏิโลมตลอดเวลา จนกระทั่งถึงวันอังคาร ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง อันเป็นวันมาฆบูชา
ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 เวลา 01.55 น. ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบเหมือนคนนอนหลับ ท่ามกลางความโศกสลดในมวลหมู่ลูกศิษย์ที่นั่งเฝ้าโดยใกล้ชิดทั้งหลายนั่นเอง.........