ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 11:28:22 am »

 :13:อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่กบ
หลวงพ่ออลงกต เป็นพระที่จิตใจแข็งแกร่งมากครับ ^^ ขออนุโมทนาหลายๆครั้งครับ
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 06:34:10 am »




พระครูอาทรประชานาถ (ติกขปญโญ ) ชื่อเดิม อลงกต พลมุข เกิดเมื่อ พ.ศ. 2496 ภูมิลำเนาเดิม อยู่ที่จังหวัดราชบุรี บิดารับราชการกรมทางหลวง มารดาเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังวัยเยาว์

ได้รับการศึกษาครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาได้เรียนต่อที่กรุงเทพมหานคร แล้วย้ายที่เรียนไปตามจังหวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง สาเหตุเพราะต้องติดตามโยมบิดาซึ่งเป็นข้าราชการต้องย้ายที่ทำงานไปหลายแห่ง จนเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ต่อมาได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สาขาวิศกรรมศาสตร์ สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีจากนั้นได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย สาขาวิศกรรมเครื่องกลจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แล้วสมัครเข้าทำงานที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ทำงานอยู่ไม่นานก็เบื่อทางโลกจึงลาออกมุ่งศึกษาทางธรรม โดยอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศเมื่อปี พ.ศ. 2522สังกัดธรรมยุติกนิกาย


ใน พ.ศ. 2529 ได้ย้ายมาอุปสมบท และจำพรรษาสังกัดมหานิกายณ วัดเขาสมโภชน์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และเริ่มศึกษาทางธรรมอย่างจริงจังโดยออกธุดงค์ ไปตามเขาและถ้ำต่างๆ หลายจังหวัด เป็นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 ปี จนธุดงค์กลับมาที่จังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ. 2531 พระเถรานุเถระได้ขอให้มาจำพรรษาที่วัด พระบาทน้ำพุ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีเจ้าอาวาส และได้ตั้งพระอาจารย์อลงกต ติกขปัญโญเป็นเจ้าอาวาสมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาได้มีโอกาสไปเยี่ยมผู้ป่วยโรคเอดส์ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯพบว่าผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ถูกทอดทิ้งไม่มีญาติขาดคนคอยดูแลจึงได้ช่วยดูแล มีผู้ป่วยหลายคนต้องเสียชีวิตในอ้อมแขนของท่าน

เมื่อกลับมายังวัดพระบาทน้ำพุ จึงมีความคิดว่า ควรหาสถานที่สำหรับเป็นที่พักพิงของผู้ป่วย โรคเอดส์ในระยะสุดท้ายของชีวิตสักแห่งหนึ่ง ประกอบกับองค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม ( พ.ส.ส. ) มีแนวคิดเช่นเดียว จึงได้ร่วมจัดตั้งโครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยเอดส์ในระยะสุดท้ายขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดยระดมทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่เท่าที่จะหาได้จัดสร้างเรือนพักสำหรับผู้ป่วย โดยขอรับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ จัดตั้งผู้รับบริจาคหาทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยพร้อมทั้งได้ออกแสดงพระธรรมเทศนาไปยังสถานที่ ต่างๆ เพื่อหาทุนทรัพย์สมทบเป็นค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่ายา ค่าของเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ป่วย ฯลฯ

นับว่าเป็นผู้ส่งเสริมให้กับสังคมมีความเสียสละเอื้ออาทรเพื่อมนุษย์ ปลูกจิตสำนึกให้มีความเมตตา และมนุษยธรรม อันนำไปสู่ความคิดตามวิถีทางพระพุทธศาสนาโดยมีพระสงฆ์ แพทย์ พยาบาลอาสาสมัครเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยร่วมกันช่วยควบคุมปริมาณการเผยแพร่โรคเอดส์ ช่วยให้ชุมชนไม่แสดงความรังเกียจ นอกจากนี้ยังได้จัดสาธารณกุศลสงเคราะห์ เช่น ที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุงห่ม และยารักษาโรค ให้กับผู้ป่วยทุกคน แม้กระทั่งการจัดการฌาปนกิจศพ

จากคุณงามความดีในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติเป็นเวลานานทำให้มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมสงเคราะห์แก่พระครูอาทรประชานาถในปี พ.ศ. 2540

การศึกษา
พ.ศ. 2511 ประถมศึกษาปีที่ 7 โรงเรียนนันท-วิทยา อ.เมือง จ.ขอนแก่น
พ.ศ. 2516 มัธยมศึกษาโรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2519 วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับที่ 2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2522 วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเครื่องกล มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
พ.ศ. 2531 นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี

ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2540 สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2542 สาขาพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2544 สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2545 สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย