ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 03:24:47 pm »

กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม

ผมเป็นบ่อยๆอันนี้ แต่ไม่ใช่ หสิตุปบาท
แต่เป็นเพราะความบ้าส่วนตัวห้ามเลียนแบบ  :45:
อนุโมทนาครับพี่แป๋ม  :13:  :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 03:59:07 pm »

ธรรมะจากหลวงปู่ดูลย์

อเหตุกจิต ๑

อเหตุกจิต ๓ ประการ


๑. ปัญจ ทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ตาม อายตนะ หรือทวารทั้ง ๕ มีดังนี้

ตา ไปกระทบกับรูป เกิด จักษุวิญญาณ คือการเห็น จะห้ามไม่ให้ ตา เห็นรูปไม่ได้
หู ไปกระทบเสียง เกิด โสตวิญญาณ คือการได้ยิน จะห้ามไม่ให้ หู ได้ยินเสียงไม่ได้

จมูก ไปกระทบกับกลิ่น เกิด ฆานะวิญญาณ คือการได้กลิ่น จะห้ามไม่ให้ จมูก รับกลิ่นไม่ได้

ลิ้น ไปกระทบกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ คือการได้รส จะห้ามไม่ให้ ลิ้น รับรู้รสไม่ได้

กาย ไปกระทบกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ คือการสัมผัส จะห้ามไม่ให้ กาย รับสัมผัสไม่ได้

วิญญาณทั้ง ๕ อย่างนี้ เป็นกิริยาที่แฝงอยู่ในกายตามทวาร ทำ หน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ
เป็นสภาวะแห่งธรรมชาติของมันเป็นอยู่เช่นนั้น
ก็แต่ว่า เมื่อจิตอาศัยทวารทั้ง ๕ เพื่อเชื่อมต่อรับรู้เหตุการณ์ภายนอกที่เข้ามากระทบ
แล้วส่งไปยังสำนักงานจิตกลางเพื่อรับรู้ เราจะห้ามมิให้เกิด มี เป็นเช่นนั้น ย่อมกระทำ ไม่ได้

การป้องกันทุกข์ที่จะเกิดจากทวารทั้ง ๕ นั้น เราจะต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๕ ไม่เพลิดเพลินในอายตนะเหล่านั้น
หากจำเป็นต้องอาศัยอายตนะทั้ง ๕ นั้นประกอบการงานทางกาย ก็ควรจะกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในจิต


เช่นเมื่อเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่คิดปรุง ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ไม่คิดปรุง ดังนี้ เป็นต้น 
(ไม่คิดปรุงหมายความว่า ไม่ให้จิตเอนเอียงไปในความเห็นดีชั่ว)

๒. มโนทวารวัชนจิต คือ กิริยาจิตที่แฝงอยู่ที่มโนทวาร มีหน้าที่ผลิตความคิดนึกต่างๆ นานา
คอยรับเหตุการณ์ภายในภายนอกมากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเอาไว้ จะห้ามจิตไม่ให้คิดในทุกๆ กรณีย่อมไม่ได้
ก็แต่ว่าเมื่อจิตคิดปรุงไปในเรื่องราวใดๆ ถึงวัตถุ สิ่งของ บุคคลอย่างไร ก็ให้กำหนดรู้ว่าจิตคิดถึงเรื่องเหล่านั้น
ก็สักแต่ว่าความคิด ไม่ใช่สัตว์บุคคล เราเขา ไม่ยึดถือวิจารณ์ความคิดเหล่านั้น

อเหตุกจิต ๒

ทำความเห็นให้เป็นปกติ ไม่ยึดถือความเห็นใดๆ ทั้งสิ้น จิตย่อมไม่ไหลตามกระแสอารมณ์เหล่านั้น ไม่เป็นทุกข์

๓. หสิตุปบาท คือ กิริยาที่จิตยิ้มเอง โดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม หมายความว่าไม่อยากยิ้มมันก็ยิ้มของ
มันเอง กิริยาจิตอันนี้มีเฉพาะเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น ในสามัญชนไม่มี

สำหรับ อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ มีเท่ากันในพระอริยเจ้าและในสามัญชน นักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
เมื่อตั้งใจปฏิบัติตนออกจากกองทุกข์
ควรพิจารณา อเหตุกจิต นี้ให้เข้าใจด้วย เพื่อความไม่ผิดพลาดในการบำเพ็ญปฏิบัติธรรม

อเหตุกจิต นี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทำความเข้าใจให้ได้ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว
เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเป็นอันตราย
ต่อการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไม่เข้าใจใน อเหตุกจิต ข้อ ๑ และ ๒ นี้เอง

อเหตุกจิต ข้อ ๓ เป็นกิริยาจิตที่ยิ้มเองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม เกิดในจิตของเหล่าพระอริยเจ้าเท่านั้น
ในสามัญชนไม่มี เพราะกิริยาจิตนี้เป็นผลของการเจริญจิตจนอยู่เหนือมายาสังขารได้แล้ว จิตไม่ต้องติดข้อง
ในโลกมายา เพราะความรู้เท่าทันเหตุปัจจัยแห่งการปรุงแต่งได้แล้ว เป็นอิสระด้วยตัวมันเอง



 :13: http://www.sookjai.com/index.php?topic=5111.0
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 01:25:44 pm »

 :45: อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 09:04:42 am »





เวทนาเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป   เวทนาไม่เที่ยง   ไม่ควรยึดถือเวทนาว่าเป็นตัวตน
ในสังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค   หาลิททกานิสูตร มีข้อความเกี่ยวกับเวทนาว่า

สมัยหนึ่ง   ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุลใกล้กับสังปวัตตบรรพต   ในอวันตีชนบท  ครั้งนั้นแล   หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่   ฯลฯ   ครั้นแล้ว   ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า

"พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ   พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า   ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะดังนี้   พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ   ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ   ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอแล"

"ดูกรคฤหบดี   ภิกษุในธรรมวินัยนี้   เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมรู้ชัดว่า   รูปอย่างนี้น่าพอใจ   สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ   อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา

อนึ่ง   ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่ารูปอย่างนี้ไม่น่าพอใจ   ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

อีกประการหนึ่ง   ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้ว   ย่อมรู้ชัดว่า   รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา   อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุวิญญาณและผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา

ดูกรคฤหบดี  อีกประการหนึ่ง   ภิกษุฟังเสียงด้วยหูแล้ว...   สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
   ย่อมรู้ชัดว่าธรรมารมณ์อย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาฯ

ดูกรคฤหบดี   ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ   ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น   เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ   ด้วยประการอย่างนี้แลฯ"

ถ้าสติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทางทวารต่างๆ ก็จะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม   เราจะรู้ลักษณะของจิตและเวทนาประเภทต่างๆ   เราจะรู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งและไม่ใช่ตัวตน   เราจะรู้จากการปฏิบัติว่า ไม่ใช่มีแต่จิตที่มีโลภะ  โทสะ   โมหะ  เกิดร่วมด้วย และจิตที่มีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วยเท่านั้น   แต่ยังมีอเหตุกจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย    บางคนอาจจะไม่สนใจที่จะรู้เรื่องการเห็น   การได้ยิน   และสภาพธรรมอื่นๆที่ปรากฏทางทวารต่างๆ    อย่างไรก็ตาม   การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าจิตซึ่งได้ยินเสียงมีลักษณะต่างกับจิตที่ชอบหรือไม่ชอบเสียง   และจิตเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยต่างๆกัน   ธรรมใดที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง   ธรรมนั้นสามารถพิสูจน์ได้ด้วยการเจริญสติระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ



คัดลอกจากหนังสือ  "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน"
โดย  Nina Van Gorkom
แปลโดย  ดวงเดือน  บารมีธรรม

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา


Credit by : http://buddhiststudy.tripod.com/ch8.htm
Pics by : Google
: http://www.sookjai.com/index.php?topic=3802.0

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:59:05 am »





นี่ไม่ใช่ชีวิตจริงๆหรือ   เมื่อเกิดทุกขเวทนาก็โทมนัส เมื่อเกิดสุขเวทนาก็โสมนัส    เราคิดว่าสุขเวทนาเป็นความสุขที่แท้จริง   เราไม่เห็นตามความเป็นจริงว่าชีวิตเป็นทุกข์   เราไม่อยากเห็นความเจ็บป่วย   ความชราและความตาย   ความโศกเศร้าและความสิ้นหวัง   ความไม่ยั่งยืนของสังขารธรรมทั้งหลาย   เราหวังจะมีความสุขในชีวิต   และเมื่อมีทุกข์   เราก็คิดว่าสุขเวทนาจะทำให้ความทุกข์หมดไป    เราจึงยึดมั่นในสุขเวทนา    พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ปฏิจจสมุปบาทว่าเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา   ทุกขเวทนาก็เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาด้วย   เพราะเราต้องการที่จะพ้นจากทุกขเวทนาด้วย   ข้อความในพระสูตรมีต่อไปว่า

"... เขาย่อมเสวยสุขเวทนา   เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลส   เสวยสุขเวทนานั้น   ย่อมเสวยทุกขเวทนา   เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น   และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา   เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น   ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่าเป็นผู้ประกอบด้วยชาติ   ชรา  มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ   ทุกข์  โทมนัส  และอุปายาส   เรากล่าวว่าเป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ   อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก   ไม่รํ่าไร  ไม่รำพัน   ไม่ทุบอกครํ่าครวญ   ไม่ถึงความงมงาย   เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว   ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจฯ ...

ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา   ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น   ถ้าเสวยทุกขเวทนา   ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น   ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา   ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น    ดูกรภิกษุทั้งหลาย   อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้   เราเรียกว่า   เป็นผู้ปราศจากชาติ  ชรา   มรณะ  โสกะ  ปริเทวะ  ทุกข์   โทมนัส  และอุปายาส   เราย่อมกล่าวว่าเป็นผู้ปราศจากทุกข์...."



"ไม่ใช่มีแต่จิตที่มีโลภะ โทสะ โมหะเกิดร่วมด้วย และจิตที่มีโสภณเหตุเกิดร่วมด้วยเท่านั้น
แต่ยังมีอเหตุกจิตซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีเหตุ เกิดร่วมด้วย"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:57:04 am »





เมื่อพระอรหันต์รู้โผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์หรืออิฏฐารมณ์ที่กระทบกาย   ก็จะมีแต่ทุกขเวทนาหรือสุขเวทนาเกิดร่วมกับกายวิญญาณจิตเท่านั้น   พระอรหันต์ไม่มีอกุศลจิตหรือกุศลจิตเกิดต่อจากวิบากจิตเลย   ท่านมีแต่กิริยาจิต (จิตที่ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล)    ในสังยุตตนิกาย   สฬายตนวรรค  สัลลัตถสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว   ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง   ทุกขเวทนาบ้าง   อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง   ทุกขเวทนาบ้าง   อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ในชน 2 จำพวกนั้น  อะไรเป็นความพิเศษ   เป็นความแปลก   เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ"


"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐานฯ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย   ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับอันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว   ย่อมเศร้าโศก  รํ่าไร  รำพัน   ทุบอก  ครํ่าครวญ   ย่อมถึงความงมงาย   เขาย่อมเสวยเวทนา 2 อย่าง  คือ   เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ... อนึ่งเขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น   ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น   ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา    เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว   ย่อมเพลิดเพลินกามสุข   ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ   ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข   และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่   ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง ... "




"ไม่ใช่แต่สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาเท่านั้นที่เป็นปัจจัย ให้เกิดตัณหา
ทุกขเวทนาก็เป็นปัจจัย ให้เกิดตัณหาด้วย"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:49:05 am »





อเหตุกวิบากจิตซึ่งเห็น   ได้ยิน  ได้กลิ่น  และลิ้มรส เกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา   ไม่ว่าจะเป็นอกุศลวิบากจิตหรือกุศลวิบากจิต   จิตที่ไม่พอใจในอารมณ์นั้นอาจเกิดขึ้นทีหลัง   จิตที่ไม่พอใจอารมณ์เป็นสเหตุกะ (ประกอบด้วยเหตุ)   และมีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย   หรือจิตที่ชอบใจอารมณ์นั้นอาจเกิดขึ้นเป็นสเหตุกจิต   มีโสมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาเกิดร่วมด้วย    เรามักคิดว่าทวิปัญจวิญญาณเกิดพร้อมกับความชอบหรือความไม่ชอบในอารมณ์   แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น   จิตชนิดหนึ่งๆเกิดขึ้นต่างขณะกันและเวทนาที่เกิดร่วมกับจิตแต่ละขณะก็เกิดร่วมด้วย   ไม่ควรเลยที่จะยึดถือสภาพธรรมเหล่านี้ว่าเป็นตัวตน

เวทนาที่เกิดกับกายวิญญาณ จิตซึ่งรู้โผฏฐัพพารมณ์ทางกายปสาทนั้นเป็นอุเบกขาเวทนาไม่ได้   จิตดวงนี้เกิดร่วมกับทุกขเวทนาหรือสุขเวทนา   เมื่ออนิฏฐารมณ์กระทบกาย   เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณก็เป็นทุกขเวทนา (ความรู้สึกไม่สบายทางกาย)    เมื่ออิฏฐารมณ์กระทบกาย   เวทนาที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณก็เป็นสุขเวทนา (ความรู้สึกสบายทางกาย)  ทุกขเวทนาและสุขเวทนา เป็น นามธรรม   ซึ่งเกิดกับ กายวิญญาณ 2 ดวง  ที่รู้อารมณ์ ทางกาย    ทั้งเวทนาทางกายและเวทนาทางใจเป็นนามธรรม   แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยที่ต่างกันและต่างขณะกันด้วย   เช่น   เราอาจรู้สึกสบายกายเมื่ออยู่ในที่ๆสะดวกสบาย   แต่แม้กระนั้นเราก็อาจกังวลใจและไม่สบายใจ    ความรู้สึกไม่สบายใจเกิดขึ้นในขณะต่างกัน   สุขเวทนาทางกายเป็นผลของกุศลกรรม   ขณะที่ไม่สุขใจนั้นโทมนัสเวทนาเกิดขึ้นจากการสะสมของโทสะ   โทมนัสเวทนาเป็นอกุศล

มีรูปซึ่งเป็นโผฏฐัพพะกระทบกายปสาททั้งวัน   โผฏฐัพพารมณ์กระทบกายได้ทั่วตัว   ฉะนั้นทุกส่วนของร่างกายเป็นกายทวาร   ขณะใดที่กระทบวัตถุที่แข็งหรืออ่อน   เย็นหรือร้อนกระทบกาย   ขณะที่เคลื่อนไหว   คู้หรือเหยียด   จะมีโผฏฐัพพารมณ์ที่เป็นอนิฏฐารมณ์หรืออิฏฐารมณ์กระทบกายปสาท   บางคนอาจสงสัยว่า   ทุกขณะที่มีการกระทบสัมผัสทางกายนั้น   สุขเวทนาหรือทุกขเวทนาเกิดหรือไม่

บางคนอาจสังเกตุรู้เวทนาทางกายอย่างหยาบ   แต่ไม่ได้สังเกตุเวทนาอย่างละเอียด   เช่น   เวลาที่วัตถุนั้นแข็งไป   เย็นไปหรือร้อนไปหน่อย   ทุกขเวทนาก็เกิดกับกายวิญญาณจิตซึ่งรู้อารมณ์ทางกายทวาร   แต่อาจไม่ได้สังเกตุทุกขเวทนาอย่างบางเบาที่เกิดขึ้น   ถ้ายังไม่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐาน



"สิ่งที่เราเห็นนั้น อาจจะเรียกว่า รูปารมณ์หรือ สี
แต่ก็หมายถึงสิ่งที่ปรากฏทางตานั่นเอง"


"ผลของกรรมที่เป็นนามธรรมเท่านั้นที่เป็นวิบาก 
ฉะนั้น จิตและเจตสิกเท่านั้นที่เป็นวิบากได้
รูปไม่ใช่วิบาก"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:47:11 am »




พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้นต้องมีเหตุปัจจัย   ขณะที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจนั้นก็ต้องมีเหตุปัจจัย   ขณะนั้นเป็นผลของอกุศลกรรม อกุศลวิบากจะเป็นผลของกุศลกรรมไม่ได้   ขณะเห็นสิ่งที่น่าพอใจเป็นกุศลวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม   วิบากจิตที่เกิดขึ้นเมื่ออารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจกระทบกับปสาทหนึ่งในปสาท 5 นั้นเป็น อเหตุกะ    ขณะนั้นไม่มีอกุศลเหตุ (เหตุที่ไม่ดีงาม) หรือโสภณเหตุ (เหตุที่ดีงาม)   เกิดร่วมกับจิต

อเหตุกวิบากจิตที่เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือสิ่งที่น่าพอใจทางตาเป็น จักขุวิญญาณ (จักขุ คือตา)

อเหตุกวิบากจิตที่ได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจหรือเสียงที่น่าพอใจทางหูเป็น โสตวิญาณ (โสต คือหู)

อเหตุกวิบากจิตที่ได้กลิ่นไม่น่าพอใจหรือกลิ่นที่น่ายินดีทางจมูกเป็น ฆานวิญญาณ (ฆาน คือจมูก)

อเหตุกวิบากจิตที่ลิ้มรสที่ไม่น่ายินดีหรือรสที่น่ายินดีทางลิ้นเป็น ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา คือลิ้น)

อเหตุกวิบากจิตที่รู้โผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่าพอใจหรือที่น่าพอใจทางกายเป็น กายวิญญาณ


อเหตุกวิบากจิตที่รู้อารมณ์ทางทวาร 5 นั้นมี 2 อย่าง คือ  อกุศลวิบาก 1  และ กุศลวิบาก 1 ฉะนั้นจึงมีอเหตุกวิบากจิต 5 คู่   ซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยทวาร 5   ยังมีอเหตุกวิบากจิตประเภทอื่นอีกซึ่งจะกล่าวต่อไป อเหตุกวิบากจิต 10 ดวง  ซึ่งเป็น 5 คู่นั้น  ภาษาบาลีเรียกว่า  ทวิปัญจวิญญาณ นั้นมีดังนี้  คือ

1. จักขุวิญญาณ (จิตเห็น)   เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง   เป็นกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง
2. โสตวิญญาณ (จิตได้ยิน)   เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง   เป็นกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง
3. ฆานวิญญาณ (จิตได้กลิ่น)   เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง   เป็นกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง
4. ชิวหาวิญญาณ (จิตลิ้มรส)   เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง   เป็นกุศลวิบากเกิดร่วมกับอุเบกขาเวทนา 1 ดวง
5. กายวิญญาณ เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับทุกขเวทนา 1 ดวง   เป็นกุศลวิบากเกิดร่วมกับสุขเวทนา 1 ดวง


"อเหตุกจิต  มี 18 ดวง  เป็นวิบากจิต  15 ดวง เป็นกิริยาจิต 3 ดวง"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:29:08 am »






อเหตุกจิตมี 18 ดวง   เป็นวิบากจิต 15 ดวง   

เป็นกิริยาจิต  (จิตที่เป็นกิริยา   ไม่ใช่เหตุและไม่ใช่ผล)  3 ดวง
อเหตุกวิบากจิต 7 ดวงเป็นอกุศลวิบากจิต  (ผลของอกุศลกรรม)   
และอเหตุกวิบากจิต 8 ดวงเป็นกุศลวิบากจิต  (ผลของกุศลกรรม)   

ขณะที่รูปารมณ์ซึ่งไม่น่าพอใจกระทบจักขุปสาท   จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็นรูปารมณ์เท่านั้น   
ยังไม่มีความไม่พอใจในรูปารมณ์นั้น     
จักขุวิญาณเป็นอเหตุกวิบากจิต   จิตที่ไม่ชอบรูปารมณ์นั้น   ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง
เป็น สเหตุกจิต (จิตที่ประกอบด้วยเหตุ)   

จิตเห็นไม่ใช่จิตที่คิดนึกถึงรูปารมณ์   จิตที่รู้รูปพรรณสัณฐานของรูปารมณ์และรู้ว่าเป็นอะไรนั้น   
ไม่รู้รูปารมณ์ทางจักขุทวาร   แต่รู้ทางมโนทวาร   เป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง   

เมื่อพูดว่า "เห็น" ก็มักหมายถึงการรู้รูปพรรณสัณฐาน   และรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็นอะไร   
แต่ก็ต้องมีจิตชนิดหนึ่งที่เพียงเห็นรูปารมณ์   และจิตดวงนี้ไม่รู้อะไรอื่นเลย (นอกจากเห็น)   
สิ่งที่เราเห็นนั้นอาจจะเรียกว่า"รูปารมณ์" หรือ "สี"   แต่ก็หมายถึงสิ่งที่ปรากฏทางตานั่นเอง   

ขณะที่กำลังได้ยิน   เรารู้ได้ว่าได้ยินต่างกับเห็น   จิตได้ยินเสียงทางหู   
การรู้ลักษณะที่ต่างกันของสภาพธรรมทั้งหลายบ่อยๆเนืองๆ   จะทำให้รู้สภาพธรรมเหล่านั้นตามความเป็นจริง   
บางคนคิดว่ามีตัวตนที่เห็นและได้ยินพร้อมกันในขณะเดียวกัน แต่จะ รู้ ตัวตนได้ทางทวารไหน   
การยึดถือสภาพธรรมต่างๆว่าเป็นตัวตนเป็นความเห็นผิด

จิตเห็น  จิตได้ยิน   จิตได้กลิ่น  จิตลิ้มรส   จิตรู้โผฏฐัพพะ   ไม่เกิดเมื่อไม่มีเหตุปัจจัย   
สภาพธรรมเหล่านี้เป็นวิบาก   
จักขุปสาท  โสตปสาท ฆานปสาท  ชิวหาปสาท   และกายปสาทก็เป็นรูปที่เกิดเพราะกรรม
(รูปเหล่านี้) เป็นผลของกรรม
 
ผลของกรรมที่เป็น นามธรรม เท่านั้นที่เป็น วิบาก   ฉะนั้น จิตและเจตสิก (นามธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต) เท่านั้น
ที่เป็นวิบากได้   รูปไม่ใช่วิบาก


"อเหตุกจิต เกิดก่อน สเหตุกจิต(กุศลหรืออกุศลจิต)"
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:27:51 am »






บทที่ 8  อเหตุกจิต


  ถ้าต้องการที่จะรู้จักตัวเอง   ก็ไม่ควรที่จะรู้เพียงขณะที่เป็นอกุศลจิตหรือกุศลจิตเท่านั้น   
แต่ควรรู้ขณะจิตอื่นๆด้วย   
เมื่อเห็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีก็ไม่ชอบสิ่งนั้น ขณะที่ไม่พอใจนั้นเป็นอกุศลจิตที่มีโทสะเป็นมูล     
ก่อนไม่พอใจก็ต้องเป็นจิตที่รู้อารมณ์ทางตา   จิตเหล่านี้ไม่ใช่อกุศลจิต   แต่เป็น จิตที่ปราศจากเหตุ
เจตสิกที่เป็นเหตุมี 6 ดวง   เจตสิก 3 ดวง เป็น อกุศลเหคุ   คือ โลภะ  โทสะ  และ โมหะ   
เจตสิก อีก 3 ดวง   เป็นโสภณเหตุ  คือ  อโลภะ อโทสะ  และอโมหะ   

จิตหรือเจตสิกที่มี เหตุเกิดร่วมด้วยเป็นสเหตุกะ เช่น โทสมูลจิตเป็นสเหตุกะ
โทสมูลจิตมีโมหะและโทสะเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย

จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เป็น อเหตุกจิต   
วันหนึ่งๆมีอเหตุกจิตเกิดมากมาย   ขณะที่เห็น  ได้ยิน  ได้กลิ่น  ลิ้มรส   หรือกระทบสัมผัสกายนั้น   
อเหตุกจิตเกิดก่อนสเหตุกจิต (กุศลหรืออกุศลจิต)   เรามักจะสนใจขณะที่พอใจหรือไม่พอใจ   
แต่ก็ควรรู้ขณะจิตอื่นๆด้วย   เราควรรู้ อเหตุกจิต


"จิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ เป็นอเหตุกจิต"