ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:37:46 pm »

 เอามายั่วน้ำลายพี่เลยนะเนี้ยน้องอุ๋ม ว๊า..ดึกป่านนี้แระจะหาทานได้ที่ไหน  :23:
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:31:04 pm »

เอาไปแช่เย็นแล้วออกมากิน จะอร่อยมาก..หิว  :30:
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 07:27:20 pm »

ชอบวุ้นแบบไม่มีกระทิ  :25: :25: :25: :25: :25:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 08:46:12 pm »

 :13: คนชอบทานวุ้นเหมือนกัน สงสัยต้องลองทำไปขายเองแล้ว 555 ขอบใจจ้าน้องอุ๋ม
ข้อความโดย: Plusz
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2010, 07:56:14 pm »


พูดถึงขนมนิ่มๆ ใสๆ อย่างวุ้น หลายคนอาจนึกถึงแต่วุ้นกะทิ หรือหากเป็นสมัยก่อนที่ผู้เฒ่าผู้แก่รู้จักกันดีก็จะเป็นวุ้นไข่ หรือวุ้นสังขยา แต่ไม่ว่าจะเป็นวุ้นอะไร ก็เป็นขนมที่ทำได้ไม่ยาก หาวัสดุอุปกรณ์ในการทำก็ง่าย ราคาไม่แพง อีกทั้งเป็นขนมที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ซึ่งเป็นข้อยืนยันว่าขนมชนิดนี้ทำเมื่อไรก็ขายได้ และวันนี้ทีม "ช่องทางทำกิน" ก็มีข้อมูลเรื่องวุ้นมานำเสนอ เป็น "วุ้นสายรุ้ง" หลากสี...


ในปัจจุบันเราจะพบการทำวุ้นที่ดัดแปลงรูปแบบหลากหลาย อย่างเช่น วุ้นเค้ก  ซึ่งก็เป็นวุ้นกะทิ นิยมทำสลับชั้นแล้วใช้พิมพ์รูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปสัตว์ ระฆัง โบว์ ใบไม้ หัวใจ ตัวอักษร และผลไม้ ดูแล้วสวยงาม

มาโนชญ์ อินทวงษ์ อายุ 46 ปี เป็นเจ้าของร้านขนมไทย-วุ้นสายรุ้งหลากสี ก็ทำวุ้นแบบดัดแปลงรูปแบบเช่นกัน โดยเจ้าตัวเล่าให้ฟังถึงที่มาของอาชีพนี้ว่า ทำอาชีพค้าขายของกินทั้งคาว-หวานมาหลายอย่างแล้ว อาทิ เค้กกระป๋อง แต่จำต้องเลิกเพราะช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ คนตกงาน วัตถุดิบที่ใช้ในการทำขนมขึ้นราคา ขนมที่ทำจะขายราคาเดิมก็ไม่มีกำไร ขายราคาสูงขึ้นคนก็ซื้อยาก ก็หันไปทำขนมกุยช่ายขายตลาดนัดอยู่พักหนึ่ง

ภายหลังก็เริ่มทำวุ้นขาย โดยจากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ได้เรียนรู้ว่าแม้ผลิตภัณฑ์สินค้าชนิดเดียว กัน แต่ถ้าเราทำรูปแบบให้น่าสนใจ ยอดขายก็จะเพิ่มขึ้น ที่สำคัญอีกอย่างคือการบรรจุหีบห่อ เพื่อให้ได้วุ้นที่น่ารับประทาน เป็นที่สะดุดตา ก็จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งวุ้นสามารถแบ่งตลาดจากเค้กได้ อาจเพราะพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยส่วนใหญ่ไม่เหมาะกับนม-เนย

การทำวุ้นสายรุ้งหลากสี มี 2 ชั้นสลับกัน คือตัววุ้น กับหน้ากะทิ

ส่วนผสมหลักของการทำวุ้นเจ้านี้ ตามสูตรประกอบด้วย... ผงวุ้นอย่างดี ตรานางเงือก (1 ซอง บรรจุ 50กรัม), น้ำลอยดอกมะลิ, น้ำตาลทราย, สีผสมอาหาร, กาแฟ, ใบเตยหอม และกลิ่นมะลิ

วัสดุ-อุปกรณ์... ใช้หม้อต้มสแตนเลส (เบอร์ 28), ทัพพีทรงกลมลึก, ช้อนตวง, ถ้วยตวงน้ำ, ถ้วยตวงแห้ง, ช้อนกาแฟ, ไม้พาย, เตาแก๊ส, ถ้วยแบ่ง, แม่พิมพ์วุ้นรูปแบบต่าง ๆ, ผ้าขาวบาง, ที่ปาดส่วนผสม, กระติกเก็บความร้อน, ขวดที่มีฝาบีบได้, ถ้วยหรือกระบอกสำหรับแบ่งวุ้นเพื่อหยอดพิมพ์


ขั้นตอนการทำ วุ้นสายรุ้ง

เริ่มจากทำวุ้นสี นำผงวุ้นที่เตรียมไว้ โรยลงไปในน้ำสะอาด ตามสัดส่วน คือวุ้น 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2 ถ้วยตวง (ถ้าไม่ใช้น้ำ แต่เป็นกะทิ ก็สัดส่วนเหมือนกัน) ถ้าใช้น้ำ (หรือกะทิ) มากกว่านี้ตัววุ้นจะนุ่ม ไม่ค่อยอร่อย

ใส่ผงวุ้นลงไปในน้ำสะอาดประมาณ 1 นาที เพื่อให้วุ้นได้ดูดน้ำให้เต็มที่ ก่อนจะนำขึ้นตั้งไฟ ควรใช้ความร้อนปานกลางค่อนข้างอ่อนในการเคี่ยว เมื่อวุ้นละลายดีแล้ว จังหวะนี้หากต้องการเติมรส-สีสัน กลิ่น ตามที่ต้องการ เช่น รสกาแฟ ก็ให้ใช้กาแฟชงกับน้ำร้อนในปริมาณเข้มข้น เพื่อหยอดใส่ลงในหม้อวุ้น

เช่นเดียวกับใบเตย นำใบเตยมาปั่นแล้วคั้นน้ำเข้มข้นเติมใส่ลงไปในหม้อเคี่ยววุ้น หากเป็นสีสันอื่นๆ ก็ให้ใช้สีผสมอาหารละลายกับน้ำสะอาด และใส่กลิ่นต่างๆ ตามต้องการ ใส่น้ำตาลทราย เมื่อวุ้นเดือดเคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ก็จะได้วุ้นสีใส เตรียมไว้หยอดลงพิมพ์รูปต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ ควบคู่กับการทำวุ้นสี คือการทำส่วนผสมวุ้นกะทิ... ใช้ผงวุ้น, น้ำลอยดอกมะลิ, หัวกะทิ, น้ำตาลทราย และ เกลือ

เริ่มจากผสมผงวุ้นกับน้ำลอยดอกมะลิ ตั้งไฟเคี่ยวจนวุ้นละลายจนหมด จึงใส่น้ำตาลทราย เคี่ยวต่อไปอีกสักครู่จึงใส่หัวกะทิ เกลือ คนให้ส่วนผสมเข้ากัน ตั้งไฟ พอเดือดทั่วใส่กลิ่นมะลิลงไป แล้วยกลง

ตักหยอดวุ้นกะทิสลับกับวุ้นสีที่ทำเตรียมไว้ลงในพิมพ์ เสร็จแล้วปิดท้ายด้วยวุ้นกะทิชั้นบนสุด ก็จะได้วุ้นสายรุ้ง โดยใส่ถ้วยพลาสติกใส ขนาด 180 กรัม จะได้จำนวนประมาณ 20 ถ้วย ขายราคาถ้วยละ 20 บาท

เทคนิคการทำวุ้นสายรุ้ง ให้ออกมาเป็นชั้นๆ สวยงาม คืออย่าทิ้งผิววุ้นให้แห้ง มิฉะนั้นจะหยอดชั้นต่อไปไม่ติดกัน และทำให้แต่ละชั้นหลุดออกจากกัน

มาโนชญ์บอกว่า ลักษณะวุ้นสายรุ้งของที่ร้านจะมีกลิ่นหอม สีสันสวยงาม เนื้อนิ่ม รับประทานง่าย รสชาติกำลังดี สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 4 - 5วัน

**ผู้ที่สนใจอยากมีอาชีพเสริมหรือจะยึดเป็นอาชีพหลัก ด้วย "วุ้น" ก็ลองฝึกทำกันดู แต่หากคิดอยากจะทำขาย เริ่มต้นควรหาตลาดก่อนว่าจะขายยังไง ตรงไหน ดูกลุ่มลูกค้าว่าชอบวุ้นแนวไหน ทั้งนี้ วุ้น-วุ้นสายรุ้งนี้ยังเหมาะที่จะใช้ในงานประชุมสัมมนา ทำบุญเลี้ยงพระ เป็นของฝากของขวัญในเทศกาลงานปีใหม่ โดยใครต้องการจะติดต่อกับเจ้าของ "วุ้นสายรุ้ง" ที่ว่ามา ติดต่อได้ที่ โทร.08-5481-1152, 08-1939-9019

เครดิต:http://women.sanook.com/