ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2010, 03:51:33 am »



อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ...
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:38:51 pm »

กรรม  ไม่มีใครแก้กรรมได้

แต่ทำให้กรรมบางกรรม เบาบางลง

และทำให้กรรมบางกรรม เป็นอโหสิกรรม

ด้วย  ทาน  ศีล  ภาวนา  เท่านั้น

.


ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 09:32:43 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ

กรรมเกิดขึ้นแล้วแก้ไม่ได้ครับ จนกว่าจนหมดกรรมนั้นๆไปครับ เป็นความเชื่อของผมนะครับ(ส่วนตัว)
ขอเพียงแค่เราตั้งใจในการทำความดี ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท กรรมในรูปแบบใดๆมา เราก็พร้อมที่จะรับอย่างมีสติครับ
เชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในความดี เชื่อมั่นในศรัทธา เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ก็เพียงพอแล้วครับ
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 04:11:37 pm »

ฟังมาหลายแหล่ง...
เขาว่ากรรม ทำแล้วแก้ไม่ได้ ต้องชดใช้ให้หมดกรรม
อนุโมทนาครับพี่ศศิตา  :13:  :13:
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 10:38:26 am »



สมัยที่กรรมเอาไปทำอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะสแกน แก้ หรือ ตัดให้หายทิ้งไป เคยถามตัวเองหรือไม่ ว่าเราก็กำลังอยู่กับอะไร เชื่อในสิ่งไหน ใช่หรือลวง

“ในชีวิตนี้คุณคิดว่าเรามีเวลาอยู่กันคนละกี่ปี ไม่ถึงร้อย ครึ่งหนึ่งทะเลาะกับเพื่อนบ้าน ครึ่งหนึ่งติดละครน้ำเน่า ครึ่งหนึ่งอิจฉาริษยา ครึ่งหนึ่งก็ไปเล่นการเมือง และอีกครึ่งหนึ่งก็คุ้มดีคุ้มร้าย เล่นคุณไสยฯ แล้วคุณจะเหลือช่วงชีวิตดีๆ สักกี่ปี คุณคิดตัวเองว่ามีเวลาบ้าได้นานขนาดนั้นเชียวหรือ”   

มาทำอะไรที่เป็น “ประโยชน์สูง และประหยัดสุด” ให้คุ้มค่ากับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ดีกว่า

“อย่ามัวแต่ไปตีอก ชกตัว กอดรัด อยู่กับสิ่งที่มันจบไปแล้วเลย”

เหล่านี้คือคำท้าทาย คำถาม และคำชี้ชวน จากท่าน พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตยาลัย, พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสถฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง และ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ผู้ก่อตั้งสาวิกา สิกขาลัย จากวงสนทนาธรรมเรื่อง รู้เช่น เห็นชาติ รู้แจ้งเห็นจริง ซึ่งจัดขึ้นที่เสถียรธรรมสถาน เพื่อไขข้อข้องใจเรื่องเกี่ยวกับ กรรมเก่า กรรมใหม่ ให้ทุกคนรู้เรื่องกรรมให้ถูกต้องแล้วจะได้กลับมามีชีวิตในปัจจุบันที่เป็นอิสระ ไม่ถูกพันธนาการจากความทุกข์ในอดีตอีกต่อไป

๑. รู้เช่น  เห็นชาติ

แม่ชีศันสนีย์ อธิบายว่า “รู้เช่น” ก็คือรู้ ว่าทุกสิ่งมันเป็นเช่นนั้นเอง ทุกอย่างไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้ "เห็นชาติ" ก็คือเห็นชาติของความทุกข์จากการยึดมั่นในอัตตาของเรา ส่วน “รู้แจ้ง” หมายถึง การเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป) และ "เห็นจริง" คือ เห็นการเกิด-ดับ อารมณ์ต่างๆ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคำสอนจากพระโอษฐ์ ของพระพุทธเจ้า ตอบคำถามของ ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ดำเนินรายการ เป็นท่านแรกว่า "พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกรรม คือต้องเข้าใจว่า “กรรม คือการกระทำของจิต” และ “เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม”

และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น ช่อผกาได้ขอให้ ท่าน ว.วชิรเมธี  อธิบายเพิ่มเติมแบบที่ทำให้ดูมีสีสันน่าตื่นเต้นและร่วมสมัยมากขึ้นว่าเป็นอย่างไร ท่านก็อธิบาย ว่ากรรมแบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ

๑) ระดับศีลธรรม เป็นการสอนเรื่องกรรม เพื่อให้เราหันมาทำความดีและหนีความชั่ว "ระดับนี้สนุกมากเหมือนหนังแฟนตาซี" ท่านบอก "มันจะมีคนทำกรรมแล้วก็มีคนรับผลแห่งกรรมนั้น เช่น มีคนหนึ่งทำอะไรไม่ดีไว้ ก็จะมีคนมาลุ้นว่าเดี๋ยวเถอะทำกรรมไม่ดีไว้... เดี๋ยวจะโดน"

๒) ระดับปรมัตถ์ อันนี้เป็นความเข้าใจในระดับที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ท่านสอนให้เราถอดถอนอัตตาหรือความสำคัญว่าเป็นตัวเรา ตัวเขา ตัวฉัน ทิ้งไป

ทั้งสองส่วนนี้ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเข้าใจก่อนว่า จะพูดกันถึงเรื่องกรรมระดับไหน เพราะถ้าเอามาปนกัน จะทำให้คนสับสน และ “คนเราถ้าเข้าใจเรื่องกรรมผิดเพี้ยนไป ก็อาจมีผลให้ชีวิตของเราเพี้ยนไปด้วย”

ท่านบอกว่า "ที่เทศน์ สอนกันทั่วไปอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นกรรมระดับศีลธรรม" ว่าแล้วท่านก็อธิบายต่อไปว่า อีกอย่างเราต้องรู้จักแยกแยะเป็นว่ากรรมแบบไหนเป็นแบบพุทธ กรรมแบบไหนไม่ใช่พุทธเสียก่อนด้วย

พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่ามีอยู่ ๓ ลัทธิที่สวนทางกับพระพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง คือ

๑) ลัทธิกรรมเก่า ที่เชื่อว่า ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี การเป็นไปในวิถีชีวิตคนเราแต่ละคนทั้งหลายนั้นเป็นผลพวงของกรรมเก่าที่เราทำเอาไว้  ผลก็คือทำให้เรายอมจำนนต่อปัญหาชีวิตโดยสิ้นเชิง

๒) ลัทธิเทพเจ้าบันดาล ลัทธินี้เชื่อว่า ทุกอย่างจะดีขึ้นและผ่านพ้นไปเพราะอำนาจการดลบันดาลของเหล่าเทพเจ้าต่างๆ กลุ่มนี้ก็จะงอมืองอเท้าและยอมจำนนต่อสถานการณ์ เหมือนแบบแรก “ประเทศไทยเข้าสู่กลียุคในทุกวันนี้ คำถามของอาตมาก็คือ เทพมากมายแต่ทำไมไทยไม่เคยพ้นวิกฤติเห็นไหมตรรกง่าย ๆ แค่นี้” ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งที่ชุมนุมของเทพเจ้าต่างๆ มากที่สุดในโลกก็มีแค่บางเมืองเท่านั้นที่เจริญ

๓) ลัทธิว่าด้วยความบังเอิญ ลัทธินี้จะเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย อย่างมีคนพูดว่า “ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤติ มาดูแล้วดวงนายกฯ กับดวงกรุงเทพฯ มันทับกัน ลัคนาไม่ตรงกัน อธิบายได้แบบมั่ว ๆ อันนี้ก็น่าตกใจแล้วนะ แต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือมีคนเชื่อด้วย”

“ทีนี้รู้ตัวหรือยัง ว่าเราเชื่อแบบไหน” ท่าน ว. วชิรเมธี กล่าวเพื่อให้เราแยกเอาเรื่องที่ไม่เป็นพุทธออกมา เพื่อจะได้เห็นทัศนะที่เป็นพุทธชัดเจนขึ้น 

๒. รู้แจ้ง ให้เห็นจริง

แม่ชีศันสนีย์ อธิบายเพิ่มเติมว่า “ความเชื่อเรื่องความบังเอิญ นั้นไม่ใช่พระพุทธศาสนาเลย  พระพุทธองค์ท่านสอนแต่ว่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุมีเหตุปัจจัย แต่ใครที่มีปัจจุบันขณะที่รู้ทันการกระทบอย่างไม่เผลอ ไม่เพลิน ก็จะรู้ว่าอิสรภาพในกฎแห่งกรรมมีอยู่  แต่ท่านบอกว่าต้องระวังอีกอย่างคือ "ความดีกับของดีมันก็คนละเรื่องนะ  รู้ว่าทำดีก็ดีแล้ว  ไม่ใช่ทำดีแล้วต้องได้ของดีด้วย ใครที่คิดอย่างนั้น...งมงายนะ” ท่านแม่ชีฯ บอก

ท่าน ว.วชิรเมธี เพิ่มเติมว่า "ถ้าเราจะสอน ต้องสอนเพื่อกระตุ้นจริยธรรมในหัวใจคน ให้หันมาทำความดีหลีกหนีความชั่ว แต่ทุกวันนี้ต้องบอกว่า "เป็นกรรม" ของกฎแห่งกรรม เพราะมันถูกใช้เพื่อต่อยอดสู่กรรมพาณิชย์ ทำกำไรจากคนที่ถูกข่มขู่ว่ามีกรรมหนักทั้งหลาย

"พวกที่มีกรรมหนักทั้งหลาย ชาติที่แล้วฆ่าเขามาชาตินี้ลำบากอายุไม่ถึง ๗๐ นะแก้กรรมซะ ค่าแก้กรรมก็สัก ๓,๐๐๐ มีไหม" ท่านเล่าให้ฟังแบบขำๆ "ทุกวันนี้ไม่ใช่กรรมของพระพุทธเจ้าแล้วมันเป็นกรรมพาณิชย์ เราจะต้องถอดถอนเรื่องนี้ออกไป"

ถึงกระนั้น "คนกลัวกรรม" ทั้งหลายก็ยังอยากรู้อยู่ดีว่า แล้วเราจะมีวิธีดับกรรม ได้จริงๆ ไหม ท่านคึกฤทธิ์ จึงบอกว่า  เคยมีคนถามพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ท่านก็ทรงตอบว่า “มี”  แต่ท่านบอกว่า ความดับของกรรม  ต้องดับที่ผัสสะ คือ รู้ตัวว่าคิด ก็ละความคิดนั้นก่อน มโนกรรม (ความคิด) นั้นก็ “ดับ” ไปก่อน ไม่เป็นวจีกรรม (คำพูด) หรือ กายกรรม (การกระทำ) เป็นต้น

ทั้งนี้ กรรมมี ๓ ระดับ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบันภพ (ในภพนี้) กรรมที่ให้ผลในภพหน้า และ กรรมให้ผลในภพต่อๆ ไป แต่เวลาแค่ไหน ไม่รู้ว่า ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือชาติหน้าหรือนานเท่าไหร่ ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย  ท่านคึกฤทธิ์ อธิบายต่อ  "เรื่องนี้สอดคล้องกันกับมุมมองที่ว่าคนเราเกิดดับกันมาคนละไม่รู้กี่ครั้งกี่หนกันแล้ว

"เราไม่มีทางตามรู้ได้หมดหรอกว่า แต่ละภพแต่ละชาติ หรือ หนึ่งการเกิดไปจนถึงตายในแต่ละครั้ง เราทำ(กรรม)อะไร กับใครไว้บ้าง แล้วจะไปตามแก้กรรมทั้งหลายหมดได้อย่างไรกัน  เพราะแก้อันนี้ อันโน้นก็โผล่มาใหม่  แก้อันนั้นก็จะต้องโผล่ออกมาอยู่ดี แล้วเมื่อไรจะแก้กันได้หมดสิ้น" ดังนั้นจึงไม่ควรไปเสียเวลากับเรื่องเหล่านี้

๓. ตัดกรรมได้ด้วยมรรคมีองค์ ๘

ขณะที่ ท่าน ว.วชิรเมธี บอกว่า  “กรรม ตามแนวพุทธ ไม่ใช่เฉพาะแค่กรรมเก่าและไม่ใช่กรรมใหม่ล้วนๆ แต่ให้ความสำคัญทั้งกรรมเก่า กรรมปัจจุบัน และกรรมที่จะเกิดในอนาคต และชีวิตของเรานั้นก็อยู่ในกาลทั้ง ๓ นี้ตลอดเวลานั่นแหละ"

แม่ชีศันสนีย์ ก็บอกอีกว่า “อดีตเป็นสิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ แต่เราตั้งรับอดีตได้ที่ปัจจุบัน”

ท่านหมายความว่า เราต้องกลับมาอยู่กับการกระทำในปัจจุบันของเราให้ดี เพื่อเป็นผลให้อนาคตของเราดี ส่วนอดีตเป็นเรื่องผ่านมาแล้วกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ให้ผลในปัจจุบันและอนาคตได้  ดังนั้นหากปัจจุบันเราไม่ดี ก็ยากจะมีอนาคตที่ดี และตรงนี้ก็จะกลายเป็นอดีตที่ไม่ดี ให้ผลที่ไม่ดีต่อเนื่องกันไป

"ทำปัจจุบันกรรมให้ดี เพื่ออนาคตเราไม่ต้องแก้ตัวอีก ไม่ต้องโทษนั่น โทษนี่ ตรงนี้สำคัญ ไม่ว่าอดีตคุณจะทำกรรมอะไรมา แต่กรรมปัจจุบันนี่แหละจะพาให้คุณรอด" ท่านบอก ซึ่งน่าจะหมายถึง รอดจากการตกนรก

พระอาจารย์คึกฤทธิ์  บอกต่อไปว่า วิธีแก้กรรม ที่เด็ดขาด ถาวร แบบฉบับพระพุทธองค์ ก็คือให้เจริญ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อลงก็เหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา และถ้าย่อลงไปอีกเหลือ ๒ พระองค์ก็ตรัสว่า สมถะ และวิปัสสนา ท่าน ว.วชิรเมธี  ย้ำว่า “ปฏิบัติตามหนทางแห่งอริยมรรค ซึ่งมีองค์ ๘ แล้วไม่ต้องถามเลยแค่เรื่องลดกรรม มันตัดกรรมได้หมดแน่นอน แม้แต่เจ้ากรรมนายเวรก็ไม่ต้องมาขอให้เหลือน้อยๆ ตัดไปได้หมดเลย”

แม่ชีศันสนีย์ เสริมว่า กฎแห่งกรรมก็คือกฎของความจริง ถ้าเราเข้าใจความจริง ก็จะเผชิญกับทุกสิ่งได้ด้วยปัญญา"

แล้วก็มาถึง อีกคำถามยอดฮิต "ผีมีจริงไหม"

ท่านคึกฤทธิ์ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าภพเรานั้นก็ไม่ได้อยู่อย่างเดี่ยวๆ ยังมีอีกหลายภพภูมิ เหมือนโลกของเรายังมีหมู หมา กา ไก่ ที่ก็ไม่เหมือนเรา แต่เราไม่เห็นกลัวเลย ไม่เห็นเอาธูปไปจุดหน้าไก่ สาธุ! อย่าหลอกลูกเลย...

แล้วเราก็ไม่แปลกใจเวลาเจอคลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ธรรมชาติ ซึ่งก็มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ ส่วนผีจะว่าไปก็ตายเหมือนกัน ฉะนั้น "มันก็ผี เราก็ผี จะไปกลัวอะไร" ท่านบอก...พร้อมกับเสียงถอนหายใจบ้าง เสียงฮือฮาบ้างจากรอบศาลา

นั่นหมายความว่า ถ้าเชื่อท่านต่อไปอีกกี่สิบผีก็ไม่ต้องกลัวแล้ว เพราะความกลัวเป็นแค่ความคิด ไม่คิดก็หายกลัวแล้ว

"ทีนี้ เรื่องเจ็บป่วยหาสาเหตุไม่ได้ เป็นเพราะกรรมเก่าหรือเปล่าคะ" ผู้ดำเนินรายการ ยิงคำถามต่อ

"ถ้าบอกว่าหาสาเหตุไม่ได้มันก็เหลือทางเดียวคือต้องกรรม ฉะนั้นกรรมก็เป็นจำเลย เรียกว่า โรคที่เกิดแต่กรรม จริงๆ แล้ว สาเหตุของโรคนั้น ถ้าจะหากันจริงๆ ไม่พบวันนี้ อาจจะพบวันพรุ่ง หรือพบอีก ๑๐๐  ปีข้างหน้าก็ได้ เหมือนเขาหานิวตรอน นิวเคลียส หลายร้อยปีถึงจะค้นพบ

แต่เป็นเพราะเรามีความเชื่ออยู่ชุดหนึ่งว่า โรคบางโรคเกิดแต่กรรมก็ได้ ฉะนั้นถ้าพูดอย่างเป็นธรรมนะ  ถ้าหาแล้วเธอรอได้ เธออาจจะค้นพบคำอธิบายก็เป็นได้  แต่ถ้าเราขี้เกียจรอ โรคเกิดแต่กรรมเป็นได้ไหม ถ้าตอบในระดับศีลธรรมก็เป็นไปได้เหมือนกัน" ท่าน ว.วชิรเมธี ให้คำตอบ

๔. ใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ

พระอาจารย์คึกฤทธิ์ กล่าวถึงวิธีการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ที่ย่อเหลือสอง คือ สมถะกับวิปัสสนา เพื่อแก้กรรมว่า ให้เริ่มจากการนั่งรู้ลมหายใจเข้า-ออก สบายๆ อยู่บ้าน ไม่ต้องไปเซ่นไหว้ ไม่ต้องไปหามีดหมอที่ไหน ไม่ต้องไปเสียค่ายกครู ไม่ต้องไปทำอะไรใดๆ ทั้งสิ้น

"แค่กลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ตระหนักรู้ ทุกครั้งที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด และทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ทำแค่นี้เราก็จะเป็นคนใหม่อยู่ทุกขณะจิต แก้กรรมได้แล้ว เรียกว่าประโยชน์สูง ประหยัดสุด" ท่านสรุปสั้นๆ ซึ่งก็เหมาะกับยุคสมัยที่เศรษฐกิจฝืดเคือง

นอกจากนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี ย้ำว่า ให้หมั่นฝึกทำอานาปานัสสติให้ดี ฝึกให้รู้ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออกให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลุดไปก็กลับมารู้ใหม่  เผลอไปก็กลับมารู้ใหม่

"ฝึกตามดูรู้เท่าทันกาย คือลมหายใจ เวทนาคือความรู้สึก จิตคือความคิด และธรรมก็คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...

ใครมาฝึกแล้วรู้ของพวกนี้ อาตมากล้าการันตีได้ว่า ไม่เกิน ๗ วันคุณจะเปลี่ยนเป็นคนใหม่ การที่คุณเปลี่ยนเป็นคนใหม่ กลายเป็นคนที่มีสติมากขึ้น เป็นอันว่าคุณตัดกรรมได้แล้ว ไม่ต้องใช้เงินใช้ทองอะไร ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดเลย ใช้กายกับใจของเราเท่านั้นเป็นเครื่องมือ" ท่านประกาศอย่างมั่นใจ ด้วยรอยยิ้มเมตตา

•มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง
๓. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง
๔. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง
๕. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง
๖. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง
๗. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง
๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อรวมกันแล้วเหลือเพียง ๓ คือ ศีล-สมาธิ-ปัญญา และย่อเหลือ ๒ คือ สมถะและวิปัสสนา สรุป คือ การปฏิบัติธรรมก็คือการเดินตามหนทางแห่งมรรค ๘

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ