ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2010, 06:18:47 pm »

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ที่นำมาปันให้อ่านค่ะ ^_^
 :13:
ข้อความโดย: แก้มโขทัย
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2010, 04:15:38 pm »

 :46: :46: แถวบ้านพี่ลมมาแรงๆทีไร ต้นไม้ตามถนนล้มทุกที
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 09:42:41 pm »

 :45: ขอบคุณครับเพื่อน เพื่อนมาเตือนหน้าฝนด้วย บ้านผมยิ่งอยู่กลางทุ่ง จะได้ระวังไว้ครับ อิอิ ภาคอีสานพายุแรงจริงๆครับ
แต่จะแรงมากๆช่วงหน้าร้อนนะ พายุฤดูร้อน ลมจะแรงเอามากๆกว่าหน้าฝนซะอีก 555
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2010, 04:19:22 pm »



มารู้จัก...พายุ...กันดีกว่า

พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความ รุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ประเภทของพายุ
พายุแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ

1.พายุ ฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมา หรือพัดเคลื่อนตัวไปในทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องความกดอากาศต่ำ อาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ของการเกิดฝนเหมาะสม ก็จะเกิดฝนตก มีลมพัด
2.พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกา โดยมีชื่อต่างกันตามสถานที่เกิด กล่าวคือ
     1.พายุเฮอร์ริเคน (hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
     2.พายุไต้ฝุ่น (typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
     3.พายุไซโคลน (cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ออสเตรเลีย จะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
     4.พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
     5.พายุดีเปรสชัน (depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก
3.พายุ ทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

ลมสลาตัน เป็นชื่อภาษาไทยใช้เรียกลมแรงหรือพายุช่วงปลายฤดูฝนที่พัดจากทิศตะวันตก เฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังใช้เรียกพายุทั่วไปที่มีความรุนแรงทุกชนิด รวมทั้งพายุต่างๆ ข้างต้นที่มีความรุนแรงข้างต้น

พายุ                  ชื่อย่อ      สัญลักษณ์   ความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลาง

ดีเปรสชั่น         TD            D           ไม่ถึง ๓๔ นอต (๖๓ ก.ม./ชั่วโมง)
(Depression)

โซนร้อน           TS             S          ๓๔-๖๓ นอต (๖๓-๑๑๘ ก.ม./ชั่วโมง)
(Tropical Storm)

ไต้ฝุ่น (Typhoon) TY    http://www.tlcthai.com/backoffice/upload_images2/20091006160043.jpg     ตั้งแต่ ๖๔ นอต (๑๑๘ ก.ม./ชั่วโมง)


พายุครั้งสำคัญในประเทศไทย
    1. พายุโซนร้อน “แฮเรียต”  ที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๐๕ มีผู้เสียชีวิต ๘๗๐ คน สูญหาย ๑๖๐ คน บาดเจ็บ ๔๒๒ คน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย ๑๖,๑๗๐ คน ทรัพย์สินสูญเสียราว ๙.๖ ร้อยล้านบาท
    2. พายุไต้ฝุ่น “เกย์”  ที่พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร  เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน  ๒๕๓๒   ความเร็วของลมวัดได้   ๑๒๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง ประชาชนเสียชีวิต ๖๐๒ คน บาดเจ็บ         ๕,๔๙๕ คน บ้านเรือนเสียหาย ๖๑,๒๕๘ หลัง ทรัพย์สินสูญเสียราว ๑๑.๗พันล้านบาท
    3. พายุไต้ฝุ่น “ลินดา”  ตั้งแต่วันที่ ๒ พฤศจิกายน ถึง ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ทำให้เกิดความเสียหายจากพายุ อุทกภัย และคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ ๑๑ จังหวัดของภาคใต้และภาคตะวันออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๒

วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดพายุ
๑. อพยพไปอยู่ในที่กำบังที่ปลอดภัยเช่นตึกที่แข็งแรง
๒. หลบอยู่ในที่กำบังจนกว่าลมจะยุติ
๓. ปิดหน้าต่าง และประตูด้วยแผ่นกระดานที่แข็งแรง และผูกมัดสิ่งของที่อาจจะปลิวไปกับลม
๔. ดับไฟฟ้า ปิดน้ำ ปิดแก๊ส
๕. อพยพออกจากพื้นที่ที่อาจจะเกิดน้ำท่วม
๖. ฟังข่าวสารจากทางสื่อต่าง ๆ และติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
๗. ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
๘. ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
๙. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
๑๐. อุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
๑๑.  เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ