ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 09:37:13 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 03:27:30 am »


      สมถะ วิปัสสนา ควรทำอะไรก่อน


การเจริญภาวนา เมื่อก่อนดิฉันเคยเข้าใจว่าควรทำสมาธิก่อนแล้วจึงค่อยตามด้วยวิปัสสนา นั่นคือเมื่อทำสมาธิจนจิตสงบตามสมควรแล้ว ค่อยถอนจากสมาธิ แล้วหยิบยกธรรมขึ้นมาพิจารณาในขณะที่จิตกำลังเหมาะแก่การใช้งาน
 
จนมาพบท่านพุทธทาสอธิบายว่า การพิจารณาจนบรรลุธรรม ไม่จำเป็นต้องใช้จิตที่สงบ และมีกำลังอันเกิดจากสมาธิที่ได้จากการบังคับเอาด้วยเทคนิค สมาธิที่เราใช้ในการปฏิบัติงานตามปกติ ก็ทำให้จิตมีความสงบพอที่จะพิจารณาธรรมได้ ตามที่เคยเล่าไว้ใน
http://www.oknation.net/blog/nadrda2/2009/01/09/entry-2

หรือจะเจริญสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมกันก็ได้


มาพบบทความที่สนับสนุนกัน ในชื่อเรื่อง “ ปัญญาพื้นฐานมีอยู่ทุกคน” ของหลวงพ่อทูล  ขิปฺปปญฺโญ  หรือพระปัญญาพิศาลเถร ( ท่านได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาการแต่งหนังสือทางพุทธศาสนาปี ๒๕๓๓  มรณภาพเมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑)  โดยท่านเขียนไว้ดังนี้ค่ะ

“ การภาวนาปฏิบัติ เราต้องเข้าใจในพื้นฐาน ตีความหมายในคำว่าสมถะและวิปัสสนาให้เข้าใจ หรือมีคำถามว่า สมถะกับวิปัสสนา จะปฏิบัติอย่างไหนก่อนกัน ตอบได้ว่าจะทำอะไรก่อน อะไรหลังก็ได้ เพราะอุบายทั้งสองนี้เป็นพลังหนุนซึ่งกันและกัน ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจในอาการจิตของตนเอง ถ้าช่วงไหนจิตไม่ชอบคิดอะไร ในช่วงนั้นให้ทำสมาธิไปก่อน เมื่อจิตมีความสงบพอสมควรแล้ว จึงใช้ปัญญาพิจารณาในหลักสัจธรรมทีหลัง

หรือในช่วงใดจิตเราชอบนึกชอบคิดไม่อยู่เป็นปกติ จะกำหนดคำบริกรรม หรือกำหนดอานาปนสติก็มีแต่ความลืมตัว ออกไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ ในช่วงนั้นก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไปก่อน เรื่องที่นำมาพิจารณานั้น ให้สังเกตดูจิตตนเองว่ามีความผิดติดพันอยู่ในเรื่องอะไร ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้อยู่ในขอบเขตของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือมีเรื่องที่จะให้คิดพิจารณา ก็ให้พิจารณาตามหลักความจริงในเรื่องนั้นๆ และให้ลงไปสู่ไตรลักษณ์ทุกครั้ง

เมื่อจิตมีความเหนื่อยในการคิดพิจารณาแล้วก็ต้องหยุด แล้วมากำหนดจิตเพื่อทำสมาธิต่อไป การเจริญสมถะและวิปัสสนานั้น เรามีความสะดวกในอิริยาบถใดก็ทำได้ทั้งนั้น จะสำเร็จผลประโยชน์ในการปฏิบัติเหมือนกัน

ฉะนั้น เราต้องวางพื้นฐานในการปฏิบัติไว้ให้ดี ขณะนี้ปัญญาของเรามีอยู่แล้ว ใช้ปัญญาที่มีอยู่นี้เป็นพื้นฐานในทางธรรม แต่ก่อนมา เราใช้แต่ปัญญาคิดไปในทางโลก คิดไปไม่มีขอบเขต คิดไปไม่มีจุดหมายปลายทาง จึงเรียกว่า ปัญญาลอยตามกระแสโลก หาที่จบสิ้นมิได้ เดี๋ยวคิดเรื่องโน้น เดี๋ยวคิดเรื่องนี้  ทั้งเรื่องส่วนตัว ทั้งเรื่องของคนอื่น คิดไม่มีการจบสิ้น ผู้มีความคิดได้อย่างนี้ แสดงว่าผู้นั้นมีปัญญาอยู่ในตัว แต่เป็นขั้นโลกีย์ ปัญญาขั้นนี้มีอยู่กับทุกคน .....”

จึงนำมาโพสต์ไว้ให้ต่อเนื่องกันค่ะ





หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ ทวนกระแสโลก พบกระแสธรรม
สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ 
๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๕๒ ( หน้า ๓๑๙ – ๓๒๐)

http://www.oknation.net/blog/nadrda2/2009/03/09/entry-1

 :45:  http://www.sookjai.com/index.php?topic=5198.0