ซื้อบ้านใหม่อ่วมดอกเบี้ยขึ้น ค่าผ่อนงวดเพิ่ม"7-8%" แบงก์ลดลวงเงินอนุมัติ
กู้เงินซื้อบ้านใหม่อ่วม เผยดอกเบี้ยขึ้นทุก 1% ดันค่างวดผ่อนชำระเพิ่ม 7-8% แถมลูกค้าอาจหมดสิทธิ์ซื้อบ้านในราคาที่ต้องการ กสิกรไทย-ทหารไทย ยันไม่เพิ่มฐานเงินเดือนผู้กู้จาก 15,000 บาท แต่กลุ่มที่รายได้ไม่ถึง จะ ได้วงเงินน้อยลง ธปท.ชี้ ผลกระทบยังไม่เกิดเร็วทันด่วนทันใด
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ทุก 1% ที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปรับขึ้น จะมีผลกระทบต่อภาระการผ่อนจ่ายค่างวดที่ อยู่อาศัยในช่วงนี้เพิ่มขึ้น 7-8% หรือเดิมเคยผ่อนชำระ 10,000 บาทต่อเดือน นาน 20 ปี ค่างวดจะปรับขึ้นเป็น 10,700 บาทต่อเดือนทันที
นอกจากนั้น ในกรณีกู้ซื้อบ้านราคา 1 ล้านบาท เดิมผู้กู้ต้องมีรายได้ประจำขั้นต่ำ 20,000 บาทต่อเดือน ธนาคารก็อาจจะปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อได้ ดังนั้น เมื่อภาระจ่ายค่างวดเพิ่มขึ้น 7-8% รายได้ผู้กู้ ต้องเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกัน หรือเป็น 21,4000 บาทต่อเดือน ดังนั้น ทางเลือกที่เหลือของผู้กู้ที่ยังไม่ถูกปรับเงินเดือนมี 2 ทาง คือ เลือกซื้อบ้านหลังเล็กลง ราคาประมาณ 930,000 บาท แทนที่จะเป็น 1 ล้านบาทในช่วงดอกเบี้ยต่ำ เพราะเงินเดือน 20,000 บาท จะกู้ได้ในระดับนี้ นอกจากรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 21,4000 บาทต่อเดือน
"ลูกค้าเก่าไม่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขึ้น เพราะมีการกำหนดผ่อนค่างวดตายตัวตั้งแต่การกู้ยืมช่วงแรก แต่ลูกค้าใหม่ถูกระทบแน่ เพราะภาระผ่อนค่างวดจะเพิ่มขึ้นทันที 7-8%" นายชาติชายระบุ
นายชาติชาย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยยังไม่มีนโยบายปรับรายได้ประจำของผู้กู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยยังกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 15,000 บาทต่อเดือน แต่จะอนุมัติวงเงินลดลง ส่วนในรายของลูกค้าที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท
นายไพบูลย์ ลาภโรจน์จารุกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารทหารไทย ยอมรับว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบต่อภาระการผ่อนค่างวดที่ อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ระดับคงไม่มากจนทำให้ธนาคารปรับรายได้ประจำขั้นต่ำของลูกค้าขึ้นจาก ปัจจุบันกำหนดเกณฑ์ไว้ที่ 15,000 บาทต่อเดือน ถือเป็นระดับที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก 1% วงเงินอนุมัติสินเชื่อของแบงก์จะลดลง 5%
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยสัดส่วน 80% เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ดังนั้น ผลของการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต้องใช้เวลาส่งผ่านไปยังดอกเบี้ยในตลาดเงิน ดังนั้น ผลกระทบต่อภาระชำระหนี้ในสินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็วนัก
ขณะเดียวกัน มองว่าภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจ โดยเฉพาะตลาดอาคารชุดในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในและชั้นกลาง เนื่องจากความต้องการพื้นฐานขยายตัวดี อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่แม้จะปรับขึ้น แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังปรับตัวดีขึ้น.
ที่มา
http://thaipost.net/news/130810/26130.
.
.
.