ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 11:00:49 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับผม
ข้อความโดย: ขุนแผน
« เมื่อ: สิงหาคม 14, 2010, 10:28:33 pm »




ประวัติ หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาส

"หลวงปู่อวน ปคุโณ" อดีตเจ้าอาวาสวัดจันทิยาวาส หมู่ 10 ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเถระที่มีจริยวัตรอันน่าเลื่อมใส ลูกศิษย์ของ หลวงปู่กินรี จัน ทิโย

อัตโนประวัติ ประวัติหลวงปู่อวน ปคุโณ ท่านมีนามเดิมว่า จันทร แก้วดวงตา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2470 ที่บ้านนามะเขือ ต.นามะเขือ อ.ปลา ปาก จ.นครพนม โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายนวน และนางทองดี แก้วดวงตา ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนา

ชีวิตในวัยเด็ก เมื่ออายุ 10 ขวบ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนบ้านนามะเขือ ครั้นพออายุ 14 ปี จึงได้ลาออก จนถึงวัยหนุ่มได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ครั้นพ้นเกณฑ์ทหาร ได้ขออนุญาตพ่อแม่ บวชเป็นสามเณร ที่วัดดงขวาง อ.เมือง ก่อนกลับมาอยู่วัดบ้านเกิด ร่ำเรียนบทสวดมนต์ และอักษรธรรมจนชำนาญ

ท่านได้ย้ายไปเรียนนักธรรมที่วัดบ้านกุดตาไก้ ก่อนย้ายไปเรียนที่วัดศรีเทพฯ ซึ่งเป็นสำนักธรรมยุตแห่งแรกของจังหวัด โดยมีหลวงปู่จันทร์ เขมิโย เป็นเจ้าอาวาสและเจ้าคณะจังหวัดนครพนม ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี ก่อนลากลับไปเยี่ยมพ่อแม่

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท ที่วัดบ้านดงขวาง อ.เมือง โดยมีพระติ้น เป็นพระอุปัชฌาย์, พระบุญมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระพรหมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลวงปู่อวนได้รับฉายาว่า ปคุโณ หมายถึง ผู้มีความคล่องแคล่วชำนาญ
ภายหลังอุปสมบท ได้ชักชวนพระก่องและพระจันลา ออกธุดงค์ไปยังวัดป่าเมธาวิเวก ต.หนองฮี อ.ปลาปาก เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่กินรี จันทิโย เพื่อรับโอวาทแนวทางการปฏิบัติ ก่อนกราบลาออกไปธุดงควัตรไปประเทศลาว ผ่านแขวงคำม่วน ไปตามป่าเขาที่มีสิงสาราสัตว์

หลวงปู่อวน ปคุโณท่านได้พบพระอาจารย์ ทองรัตน์ กันตสีโล ที่ดอนผีป่าช้า และออกธุดงค์ไปภูสิงห์ ภูงัว ภูลังกา จ.หนองคาย ก่อนไปวัดศรีเวินชัย อ.ศรีสงคราม แวะนมัสการพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตโต สหธรรมิกรุ่นเดียวกับพระอาจารย์ทองรัตน์ ก่อนเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดเดิม และอยู่กับหลวงปู่กินรี

พรรษาที่ 6 จึงออกธุดงค์อีกครั้งไป จ.สกลนคร จ.ยโสธร แวะพักที่ภูกอยภูน้อยจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ชา สุภัทโท ในปี พ.ศ.2494 ก่อนร่วมตั้งวัดหนองป่าพง แล้วกลับมาวัดกันตศิลาวาสอีกครั้ง เพื่อนมัสการหลวงปู่กินรี

ชาวบ้านได้สร้างกุฏิขึ้น 3 หลัง มีสามเณรโสมมาพักอยู่ด้วย เกิดความเลื่อมใสจึงขอติดตามธุดงค์ไป จ.เลย พักที่วัด หลวงปู่คำดี ปภาโส ก่อนธุดงค์ผ่านภาคเหนือ 5 จังหวัดมุ่งสู่ อ.แม่สอด จ.ตาก เข้าสู่เขตพม่า แต่เกิดการสู้รบกัน จึงเปลี่ยนเส้นมา จ.นครสวรรค์ เข้ากรุงเทพฯ มุ่งสู่ปักษ์ใต้เข้าสู่ จ.สงขลา ไปจนถึง ต.ปาดังเบซาร์ อ.สะ เดา เข้าสู่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย หลังธุดงค์ไป ภาคเหนือและภาคใต้นานร่วม 8 ปี จึงกลับมาเยี่ยมบิดา-มารดา พักที่ป่าบ้านนามะเขือกับสามเณรโสม ได้หยุดเดินธุดงค์ เพื่อหาที่ตั้งวัดเผยแผ่ธรรม

ชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน จึงช่วยสร้างกุฏิขึ้น 2 หลัง อีก 3 ปีจึงสร้างศาลาไม้ ผ่านไป 5 ปี ผู้คนเริ่มมีความศรัทธาเข้ามาบวชและปฏิบัติธรรมในวันพระจนล้นศาลา

ต่อมา พื้นที่ 4 หมู่บ้านดังกล่าว ถูก ผกค.คุกคาม ชาวบ้านหนีหมด ทหารแนะนำให้ท่านย้ายหนี เกรงจะเกิดอันตราย แต่หลวงปู่อวน ปคุโณยืนยันไม่ย้ายหนีไปไหน ก่อนพัฒนาวัดเรื่อยมา

กระทั่ง พระสารภาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขณะนั้น แนะนำให้เขียนป้ายชื่อวัด โดยเอาฉายาหลวงปู่กินรีมาเป็นชื่อวัด นับแต่นั้นมา หลวงปู่อวน ปคุโณ ได้อาพาธด้วยโรคไตมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 ก่อนเข้ารับการรักษาที่ ร.พ.ปลาปาก แพทย์วินิจฉัยว่าอาพาธด้วยโรคไตเรื้อรัง ถูกส่งตัวไปรักษาที่ ร.พ.ศรีนครินทร์ จ.ขอน แก่น แต่เครื่องฟอกไตไม่เพียงพอ จึงส่งตัวกลับมาฟอกไตสัปดาห์ละ 2 ครั้งที่ ร.พ.ปลาปาก

เวลา 09.55 น. วันที่ 15 พฤษภาคม 2547 หลวงปู่อวน ปคุโณ วัดจันทิยาวาสได้มรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ท่ามกลางความโศกเศร้าของญาติโยมและลูกศิษย์ สิริอายุ 76 ปี พรรษา 56 คณะศิษย์ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์สูง 2 ชั้น เพื่อบรรจุอัฐิ ก่อนมีพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่อวน ณ เมรุชั่วคราววัดจันทิยาวาส ต.นามะเขือ อ.ปลาปาก จ.นครพนม เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2548

ภายในพิพิธภัณฑ์วัดจันทิยาวาส ได้จัดตั้งรูปเหมือนและเครื่องอัฐบริขารของหลวงปู่อวน โดยมีพุทธศาสนิกชนต่างเข้าไปกราบนมัสการเป็นจำนวนมาก

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6