ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 08:53:04 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ขอบคุณครับผม
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 07:21:43 pm »

อนุโมทนาค่ะ  :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 05:28:03 pm »



ครั้งหนึ่งขณะที่สนทนาธรรมกันอยู่นั้น พระนาคเสนได้เล่าเรื่องที่ออกไปบิณฑบาตรแล้วพบหญิงชาวบ้านไล่ตีแมวให้พระ เจ้ามิลินท์

ฟัง ได้ความว่า...............................

แมวตัวนั้นขโมยปลาที่ตากไว้ มาจากบ้านของหญิงชาวบ้านคนนั้น

เมื่อหญิงชาวบ้านพบก็โกรธแค้นและหวังว่าจะตีแมวตัวนั้นให้ตายเพื่อลงโทษ

แต่พระนาคเสนได้ขอบิณฑบาตรชีวิตแมวเอาไว้ และสอนหญิงชาวบ้านว่า

เอาเถอะ อย่าให้ถึงกับได้ฆ่าแกงกันเลย มันจะเป็นบาป

หญิงชาวบ้านจึงถามพระนาคเสนว่า......................................

แล้วที่แมวตัวนี้ มันขโมยปลาของอิฉันล่ะพระคุณเจ้า ! ไม่บาปหรือ

พระนาคเสนตอบว่า.....................................

สัตว์เกิดมามีสติปัญญาต่ำต้อยกว่าคน ดำรงชีวิตไปตามสัญชาตญาณการอยู่รอดของมัน คนนี่สิรู้ผิดชอบชั่วดีมากกว่า

แล้วโยมจะไปทำบาปแข่งกับสัตว์มันทำไมเล่าโยม ?

เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงรับฟังเรื่องของหญิงชาวบ้าน ที่พระนาคเสนเล่าถวายจบแล้ว ก็นิ่งคิดไปชั่วครู่ แล้วจึงตรัสถามพระนาคเสนว่า

สมมติว่า คนผู้หนึ่งรู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาป กับอีกคนหนึ่งไม่รู้เสียเลยว่าเป็นบาป ถ้าสองคนนี้ทำบาป ใครจะได้รับบาปมากกว่ากัน ? "

ผู้ที่ไม่รู้ย่อมบาปมากกว่าน่ะสิ มหาบพิตร

อ้าว ! ไหงเป็นเช่นนั้นล่ะ พระคุณเจ้า ?

พระนาคเสนจึงอุปมาก้อนเหล็กที่ถูกเผาไฟจนร้อน แล้วทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า

คนหนึ่งที่รู้ว่าเหล็กก้อนนั้นร้อน กับ อีกคนที่ไม่รู้ว่าเหล็กก้อนนั้นร้อน ใครจะหยิบได้เต็มมือแล้วถูกความร้อนเผาได้มากกว่ากัน "

อืม...............ก็ต้องเป็นคนที่ไม่รู้น่ะสิ พระคุณเจ้า

พระนาคเสนจึงเฉลยว่า........................................

ฉันใดก็ฉันนั้น ผู้ที่รู้จักบาปบุญว่ามีผลอย่างไร ย่อมมีความเกรงกลัวละอายใจ ก็จะไม่กล้าทำบาป ที่ได้ทำอยู่ก็เลิกเสียและไม่กล้าทำบาปสถานหนัก

แต่ผู้ที่ไม่รู้ว่าทำอย่างไรเป็นบาปและบาปมีโทษเพียงไร ย่อมทำบาปได้โดยไม่ยับยั้งชั่งใจ แม้บาปหนักๆก็ทำได้โดยไม่รู้ว่าต้องรับโทษหนัก

เพราะอย่างนี้แหละ อาตมาจึงว่า คนไม่รู้บาปมากกว่า

โยมพอจะเข้าใจแล้วพระคุณเจ้า

อีกประการหนึ่งที่ว่า รู้ หรือ ไม่รู้  นั้นหมายถึงว่า รู้เท่าทันกิเลส เช่น โกรธ โลภ หลง อย่างเรื่องหญิงชาวบ้านไล่ตีแมว ที่อาตมาเล่าให้ฟังนั้น

โดยปรกติก็คงรู้ว่า การทำร้ายหรือฆ่าสัตว์เป็นบาป แต่เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วก็ลืมตัว กลายเป็นคนไม่รู้เท่าทันโทสะของตนเอง จึงทำบาปได้เช่นกัน

อย่างคนที่ฆ่ากันเพราะบันดาลโทสะ ก็เพราะไม่รู้เท่าทันกิเลสของตัวเองใช่ไหม พระคุณเจ้า ?

เป็นเช่นนั้น ที่ว่าคนไม่รู้จะบาปหนักมากกว่า ก็เพราะอย่างนี้แหละมหาบพิตร



ถอดความจาก มิลินทปัญหา ฉบับการ์ตูน




ขอบคุณน้อง"บางครั้ง"ค่ะ
http://www.sookjai.com/index.php?topic=6225.0
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 04:28:52 pm »





ไม่รู้อริยสัจ ร้อนกว่านรก


ภิกษุทั้งหลาย ! นรกชื่อว่า มหาปริฬาหะ มีอยู่

ในนรกนั้น บุคคลยัง เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้ด้วยจักษุ
แต่ได้เห็นรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนาเลย
เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่เลย
เห็นรูปที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าพอใจเลย

ในนรกนั้น บุคคลยัง ฟังเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยโสตะ…
ในนรกนั้น, บุคคลยัง รู้สึกกลิ่น อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยฆานะ…
ในนรกนั้น, บุคคลยัง ลิ้มรส อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยชิวหา…
ในนรกนั้น, บุคคลยัง ถูกต้อง โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยกาย…

ในนรกนั้น, บุคคลยัง รู้สึก ธรรมารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งได้ ด้วยมโน
แต่ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่น่าปรารถนาเลย
ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่น่าใคร่เลย
ได้รู้สึกธัมมารมณ์ที่ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่ได้รู้สึกธรรมารมณ์ที่น่าพอใจเลย

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ความเร่าร้อนนั้น ใหญ่หลวงนักหนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีไหมพระเจ้าข้า ความร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่าความร้อนนี้ ?”

ภิกษุทั้งหลาย ! มีอยู่ ความเร่าร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่าความร้อนนี้

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ก็ความร้อนอื่น ที่ใหญ่หลวงกว่า น่ากลัวกว่าความร้อนนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?”

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ”
ว่า “เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ”
ว่า “ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ๆ”
ว่า “ข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ๆ”

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดียิ่ง ในสังขารทั้งหลาย
อันเป็นไปพร้อม เพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นยินดียิ่ง ในสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว
ย่อมปรุงแต่ง ซึ่งสังขารทั้งหลาย
อันเป็นไปพร้อม เพื่อชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาส

สมณพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นปรุงแต่ง ซึ่งสังขารทั้งหลาย เช่นนั้นแล้ว
ย่อมเร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งชาติบ้าง
ย่อมเร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งชราบ้าง
ย่อมเร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งมรณะบ้าง
ย่อมเร่าร้อน เพราะความเร่าร้อนแห่งโสกะปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสบ้าง

เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมไม่พ้นจากชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
คือ ไม่พ้นจากทุกข์ ดังนี้


- มหาวาร.สํ. 19/562/1731,




http://watnapahpongdotcom.wordpress.com/2010/06/23/%e0%b8%9e%e0%b8%b8%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%99%c2%a0%e0%b8%98%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%b8/