ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 11:26:57 pm »

มีแต่ยาบรรเทาเหรอคะ ยารักษาให้หายขาดมีมั้ยคะ?
 :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 08:44:57 pm »

 :13: อนุโมทนาครับน้องป้อ รักษาสุขภาพนะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 07:42:53 am »



อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ ป้อคุง...
ข้อความโดย: ธรรมรักษ์
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2010, 06:01:45 am »

ยาบรรเทากิเลสทั้งสาม (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

จงมาช่วยกันบรรเทากิเลสทั้ง ๓
ด้วยการมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานกันเถิดประเสริฐที่สุด
อะไรจะดีเท่า ทาน ศีล และภาวนา ทำให้จิตใจเบิกบาน
กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะได้ลดน้อยถอยลงไป
ด้วยหมั่นนึกถึงความตายไว้เสมอ
ท่านทั้งหลายที่ได้ชี้แจงแสดงมาในเรื่องกรรมฐานว่า
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็ตาม
ความที่จะมีอยู่ในกุศลบุญราศีแก่ท่านทั้งหลายก็ตาม
มาเจริญกรรมฐาน ตั้งสติสัมปชัญญะทุกประการ
ลมหายใจเข้ารู้ พองหนอ... ยุบหนอ... ยืนหนอ ๕ ครั้ง
มีอะไรก็กำหนด
โกรธหนอ... เสียใจหนอ... ดีใจหนอ... ตลอดรายการ
เราจะได้เห็นว่า ความตายมีชีวิตอย่างมั่นคงถาวร

ท่านเจ้าคุณศาสนโสภณ ท่านยังแต่งกลอนไว้ว่า
ระลึกถึงความตายสบายนัก
มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดมัวมันอันตระการ
ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ


แต่ท่านทั้งหลาย ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
เวลาใดทำให้ใจผ่องแผ้ว
เหมือนได้แก้วมีค่าคือราศี
เวลาใดทำใจให้ราคี
เหมือนมณีแตกหมดลดราคา
อันความสุขทางใจนั้นหายาก
คนส่วนมากไม่ชอบเสาะแสวงหา
ชอบแสวงหาแต่ความสนุกเพียงหูตา
มันจะพาชักจูงให้ยุ่งใจ


นี่แหละท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจอมปราชญ์
ได้ประทานธรรมโอสถ คือ การเจริญกรรมฐาน
มีพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ
สำหรับแก้โรคโลภ โกรธ หลง
ให้ปรากฏในอภิณหปัจจเวกข์คาถา
ตอนหนึ่งว่า มรณะ ธัมโมมหิ
เรามีความตายเป็นธรรมดา มะระณัง อะนะตีโต
ล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

คือ ยาอันวิเศษที่พระพุทธเจ้าประทานไว้
ฉะนั้นจึงขอให้ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย
ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ โปรดได้นำยาขนานนี้
คือ การเจริญกรรมฐานมาใช้ แล้วโรคภัยไข้เจ็บท่านก็จะได้หาย
ทั้งโรคภายนอก โรคภายใน
ทั้งโรค โลภ โกรธ หลง
กิเลส ๓ ประการนี้จะค่อย ๆ ทุเลาเบาบางลง
และความร่มเย็นเป็นสุขก็จะพลันบังเกิดขึ้น
สมดังความปรารถนาทุกประการ




ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักร