อายุความบัตรเครดิต 2 ปี เป็นผลอย่างไร
การที่เราเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทบัตรเครดิต แล้วนำบัตรเครดิต นั้นไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากร้านค้าต่างๆที่รับบัตรนั้น หรือใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากตู้ ATM ต่อมาเมื่อธนาคารจ่ายค่าสินค้าและบริการให้แก่ร้านค้าแทนเรา ธนาคารก็จะเรียกเก็บจากเราเป็น รายเดือน
การให้บริการดังกล่าวธนาคารได้เรียกเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย ถือว่าธนาคาร เป็นผู้รับทำการงานต่างๆให้แก่เรา (ลูกหนี้) และการที่ธนาคารได้ชำระเงินแก่ร้านค้าแทนไปก่อน แล้ว ค่อยเรียกเก็บจากลูกหนี้ในภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่ธนาคารได้ออกเงินทดรองจ่ายไป มีอายุ ความ 2 ปี ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) เว้นแต่ ธนาคารพาณิชย์บาง แห่ง ที่ ออกบัตรเครดิตโดยให้ลูกค้าทำสัญญากู้เป็นสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เข้าลักษณะสัญญา บัญชี เดินสะพัดไว้ กรณีนี้ถือว่ามีอายุความ 10 ปีตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
แต่ในที่นี้จะพูดถึงกรณีทั่วไป ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องให้ลูกหนี้ ชำระหนี้ ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่ชำระหนี้แก่ธนาคารครั้งสุดท้าย ถ้าหากธนาคารไม่ได้ ใช้สิทธิเรียกร้อง หรือฟ้องร้องในเวลา 2 ปี คดีก็เป็นอันขาดอายุความหรือหมดสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ ก็พ้นความรับผิด ไม่ ต้องชำระหนี้บัตรเครดิตให้แก่ธนาคาร ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ เพราะถึงแม้ธนาคารจะดัน ทุรังฟ้องร้องลูกหนี้ แต่ เมื่อลูกหนี้ยกข้อต่อสู้ว่าคดีหมดอายุความแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง
แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่า แม้ว่าคดีจะขาดอายุความ 2 ปีแล้วก็ตาม ถ้าธนาคารเจ้าหนี้ยื่นฟ้องมา แล้วลูกหนี้ไม่ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนดของกฎหมาย ลูกหนี้ก็แพ้คดีเสียตั้งแต่ในมุ้งแล้ว แต่ เมื่อลูกหนี้ยื่นคำให้การต่อสู้คดี ลูกหนี้จะต้องต่อสู้คดีในประเด็นที่ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความขึ้นมาเป็นเหตุยกฟ้องของโจทก์ได้ (ตามมาตรา 193 / 29 ) มีตัวอย่างมากมายที่แม้จะรู้ว่าคดีขาดอายุความ 2 ปีแล้ว แต่ธนาคารก็ยังให้ทนายความ ยื่นฟ้องลูกหนี้ ถ้าเผื่อฟลุ๊คๆขึ้นมาไปเจอเอาลูกหนี้ที่ไม่รู้เรื่อง ไม่ใส่ใจที่จะต่อสู้คดีเพราะรับรู้ว่าตนเป็น หนี้ธนาคารจริงๆ โดยหารู้ไม่ว่าคดีขาดอายุความแล้ว จึงไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าขาดอายุความ แต่อย่างใด นั่นนับว่าเป็นคราวเฮงของเจ้าหนี้ และเป็นคราวซวยของลูกหนี้ ศาลก็จะต้องพิพากษาตาม พยานหลักฐานให้เจ้าหนี้ชนะคดีไป ลูกหนี้ก็ต้องรับผิดชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลต่อไป
ผลของการชำระหนี้ก่อนจะครบกำหนดอายุความ ถ้ามีการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แม้เพียง บางส่วนก็ตาม ถือว่าได้มีการรับสภาพหนี้แล้ว ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงต้องเริ่มนับอายุ ความกันใหม่ ตั้งแต่วันที่ลูกหนี้กระทำการ ดังกล่าว แต่นอกเหนือจากการที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อ เจ้าหนี้แล้วยังมีอีก หลายกรณีนะครับ ที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แต่จะไม่กล่าวถึงในที่นี้
การชำระหนี้ที่จะถือว่าเป็นกรณีที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้น จะต้องเป็นกรณีที่ ลูกหนี้ได้ กระทำการชำระหนี้แม้พียงบางส่วนให้แก่เจ้าหนี้ หรือธนาคารพาณิชย์ก่อนที่อายุ ความฟ้องร้องจะ สิ้นสุดลง อย่าลืมนะครับ… ก่อนอายุความสิ้นสุดลง
การชำระหนี้ภายหลังขาดอายุความแล้ว เพียงแต่มีผลทำให้ลูกหนี้เรียกเงินคืนไม่ได้เท่านั้น (ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคหนึ่ง) เพราะสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุ ความแล้ว ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ (ตามกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/10) ส่วนการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วนั้น ไม่ว่าลูกหนี้จะ ชำระไปมากน้อย เพียงใดลูกหนี้ก็เรียกคืนไม่ได้ และไม่ว่าลูกหนี้จะรู้หรือไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องของ เจ้าหนี้ขาดอายุความ แล้วก็ตาม เผลอจ่ายไปแล้วก็ต้องเลยตามเลยล่ะครับ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
คุณพิทยา ลำยอง
http://icare.kapook.com/caution.php?ac=detail&s_id=64&id=58