ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 12:54:10 am »

 :14: ผมไม่เคยรับเช็คเลยครับ เช็คเป็นไงนะ อยากเห็นจัง.. ผมเห็นเป็นเหรียญซะเยอะครับ 555+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม :13:
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2010, 08:51:12 pm »

ต่อจากนี้ไป...ขอเป็นเงินสดค่ะ ไม่รับเช็ค

 :12:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2010, 07:15:32 pm »

รู้ทันกฎหมาย - รับเช็คคนอื่น

 เมื่อวันที่ลูกหนี้ไม่มีเงินสดให้ และเสนอจ่ายเป็นเช็ค จะปฏิเสธไม่ยอมรับก็กระไร มันน่าจะดีกว่าไม่มีอะไรในกำมือ 


          เช็คเป็นตราสารทางกฎหมายที่ใช้ในการรับเงินจากธนาคารที่ออกเช็ค โดยคนสั่งจ่ายเป็นคนมีบัญชีอยู่ที่ธนาคารแห่งนั้น  ชื่อก็ออกชัดเจนว่าสั่งจ่าย ความหมายก็คือการสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินให้ ธนาคารก็ต้องทำตามคำสั่งเพราะเป็นข้อผูกพันที่ตกลงกันไว้  แต่ใช่จะทำตามคำสั่งตะพึดตะพือไป หากเงินในบัญชีของผู้สั่งจ่ายไม่มีเงินหรือมีไม่พอ ธนาคารก็ไม่อาจจ่ายให้ได้ และคนที่ถือเช็คนั้นไว้ก็ไม่อาจเอาเรื่องกับธนาคารได้  เพราะธนาคารไม่ได้ประกันว่าคนสั่งจ่ายจะมีเงินให้หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างคนสั่งจ่ายกับคนรับเช็คที่จะต้องเช็คบิลกันต่อไป โดยกฎหมายให้มีสิทธิเรียกร้องฟ้องเอาเงินตามเช็คจากคนสั่งจ่ายได้  ยิ่งถ้าการออกเช็คโดยรู้อยู่แก่ใจว่าเงินไม่มีให้ เป็นเจตนาให้เช็คเด้งเมื่อไร คนสั่งจ่ายก็อาจเข้าซังเตได้ในฐานที่ผิดกฎหมายในทางอาญา...รับเช็คจึงดีกว่าไม่ได้อะไรไว้ในมือ


          แต่แทนที่ลูกหนี้จะนำเช็คของตนมาจ่าย กลับนำเช็คของคนอื่นมาให้ เจ้าหนี้ก็อาจมีลังเลใจ จะรับดีหรือไม่ จะเป็นอันตรายทางกฎหมายแก่ตัวหรือเปล่า  ใครสั่งจ่ายในเช็คก็ไม่รู้ หรือรู้ว่าเป็นใครแต่ไม่รู้จักกันสักหน่อย เกิดเช็คเด้งขึ้นมาจะไปตามหาต๋อยที่ไหน แล้วจะฟ้องร้องได้หรือเปล่า เพราะเรากับเขาไม่รู้จักกัน  ฟ้องร้องไป คนสั่งจ่ายขอถามสักคำว่าเรากับเขาเป็นหนี้กันตั้งแต่เมื่อไหร่ ถึงบังอาจมาฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็คจากเขาได้  ครั้นจะไม่รับเช็คไว้ ลูกหนี้ก็บอกไม่มีอะไรจะจ่าย จะรับไว้ก็กลัวจะกลายเป็นเพียงกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น  หรือคนที่สั่งจ่ายในเช็คอาจมีเครดิตน่าเชื่อถือกว่าลูกหนี้ก็ได้ เพียงแต่จะรู้ได้อย่างไรว่าคนสั่งจ่ายกับลูกหนี้เราเขามีหนี้ผูกพันกันมาแต่หนไหน ลูกหนี้ถึงได้เช็คไว้ในมือ  หรือทำไมลูกหนี้ไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารเสียก่อนค่อยนำเงินสดเป็นก้อนมาชำระให้เรา 


          คิดไปได้ร้อยแปดพันเก้า ตกลงจะเอาหรือไม่เอาเช็คไว้ คำตอบก็ยังคงเป็นรับได้ เรียกร้องได้ ตามกฎหมายในหลักการไม่ต้องสนใจหรือกังวลว่าลูกหนี้จะมีหนี้อย่างไร หากรับเช็คไว้ก็ถือว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ ย่อมนำไปเรียกเก็บจากธนาคารได้ เช็คเด้งเมื่อไหร่ก็เรียกร้องเอาจากคนสั่งจ่ายได้โดยไม่ต้องไปมีหนี้ผูกพันกับคนสั่งจ่ายในเช็ค


          เมื่อเป็นอย่างนี้ก็อย่าได้มีกังขาว่าเช็คที่เราออกไปจะตกไปอยู่ในความครอบครองของผู้ใดนอกจากคนที่เราสั่งจ่ายส่งมอบให้ 


          ต้องจำใส่ใจว่า เมื่อได้สั่งจ่ายเช็คไป ก็ต้องผูกพันให้เช็คนั้นรับเงินได้ตามเช็คนั้น ไม่ว่ามันจะตกอยู่กับใคร เมื่อลูกหนี้นำเช็คของคนอื่นมาชำระหนี้ให้ กฎหมายก็ให้ความคุ้มครอง

ที่มา คมชัดลึก
ประจำวันที่ 7 สิงหาคม 2551

http://icare.kapook.com/caution.php?ac=detail&s_id=64&id=323