ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 07:05:40 pm »

 :46: :46: :46:


สาธุครับ



 :07: :07: :07: :07:

ข้อความโดย: Pure+
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 06:49:49 pm »

 :12:....
แกงส้มปลาหางนกยูงอร่อยดี..
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 01:59:19 pm »

คิดตามแล้วกลัวเลยครับ
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป้ง^^
ข้อความโดย: sasita
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 11:37:39 am »


   

    กรรมใดใครก่อ ก็ย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้นคืนสนอง นี่เป็นกฎธรรมชาติที่ตรงไปตรงมาที่สุด ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร จะร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กฎแห่งกรรมย่อมทำงานอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีข้อยกเว้นหรือลำเอียงใดๆ ทั้งสิ้น หลายครั้งหลายคราที่ผู้คนจำนวนไม่น้อย ทำกรรมลงไปอย่างไม่ยั้งคิดว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะย้อนกลับมาหาตัว
       
       เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อสองปีที่แล้ว ที่จังหวัดมหาสารคาม ในครอบครัวชาวนาที่มีลูกสาวเล็กๆ คนหนึ่งชื่อ ปภาวรินทร์ อายุ 9 ปี เด็กหญิงปภาวรินทร์ เป็นเด็กดี ขยันขันแข็ง ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน และเรียนหนังสือเก่ง ผู้คนทั่วไปจึงรักใคร่เมตตาเธอมาก
       
       เป็นปกติธรรมดาของชาวนาที่เมื่อถึงหน้าฝนจะต้องออกไปจับปลามาเป็นอาหาร แม้ปภาวรินทร์จะอายุยังไม่มาก แต่เธอก็ได้เรียนรู้วิธีการจับปลาจากพ่อแม่บ้าง จากเพื่อนๆบ้าง ซึ่งทุกคนก็ล้วนแต่มีความชำนาญในการจับปลา
       
       หากวันไหนได้ปลามาก ก็จะเอามาทำอาหารที่มีรสชาติอร่อย เช่น ต้มปลา นึ่งปลา และย่างเก็บไว้ทำอาหารในวันต่อๆ ไป แต่หากวันไหนได้น้อย ก็จะเอาปลามาตำน้ำพริก กินกับผักต่างๆ เพื่อประทังชีวิตไป
       
       วันหนึ่งปภาวรินทร์ หาปลาได้มากทั้งตัวใหญ่ตัวเล็ก ส่วนใหญ่เป็นปลาช่อน เมื่อกลับมาถึงบ้านแม่ก็บอกว่า วันนี้ได้ปลาเยอะ ยิ่งเป็นปลาช่อนด้วยแล้ว เนื้อค่อนข้างจะดี ต้มร้อนๆตอนเป็นๆ จะอร่อยมาก แล้วแม่ก็บอกให้เธอนำปลาช่อนไปต้ม
       
       เด็กหญิงก็รีบก่อกองไฟขึ้น เพื่อตระเตรียมทำอาหารเย็นทันที พอไฟลุกได้ที่ก็เอาหม้อใส่น้ำมาตั้ง ขณะที่รอน้ำเดือดอยู่นั้น เธอก็นำปลาไปล้างจนสะอาด เมื่อล้างปลาเสร็จเรียบร้อย น้ำในหม้อก็เดือดเต็มที่ เธอจึงหยิบปลาตัวโตที่สุดขึ้นมา พร้อมกับเปิดฝาหม้อที่ร้อนระอุนั้นออก ปลาช่อนซึ่งยังเป็นๆ เหมือนรู้ตัวว่า กำลังจะโดนอะไร มันจึงพยายามดิ้นอย่างสุดชีวิต แต่แรงของปลาก็หาสู้แรงของปภาวรินทร์ได้ไม่ เพราะเธอกำปลาตัวนั้นแน่น แล้วก็โยนมันลงในหม้อทันที!!
       
       ปลาช่อนเมื่อถูกน้ำร้อน มันก็ดิ้นพล่าน จนน้ำร้อน กระเด็นไปทั่ว เด็กหญิงต้องเอาฝาหม้อปิดไว้ รอจนกระทั่งมันหมดฤทธิ์แล้ว จึงค่อยเปิดฝาหม้อ พอเห็นว่ามันตายแล้ว เธอก็จับปลาตัวที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า โยนลงไปแบบเดียวกัน ปลาทุกตัวดิ้นอย่างทุกข์ ทรมานเมื่อถูกน้ำร้อน!!
       
       เมื่อต้มปลาจนได้ที่จึงใส่เครื่องปรุง และนำมากินกันอย่างอเร็ดอร่อยในเย็นวันนั้น แต่เธอหารู้ไม่ว่า ปลาที่โยนลงไปในหม้อนั้น มันฝากความแค้นอาฆาตไว้อย่างไรบ้าง
       
       สองปีผ่านไป ปภาวรินทร์ดำเนินชีวิตตามปกติเธอไม่รู้เลยว่า ผลกรรมที่เธอเคยทำไว้นั้น มันกำลังคืบคลานมาให้ผลกับเธอแล้ว
       
       เพราะวันหนึ่ง ในช่วงหน้าหนาว ยายของเธอได้ต้มน้ำร้อนเต็มหม้อมาตั้งไว้หน้าบ้าน เพื่อเตรียมไว้อาบ ซึ่งแกทำเป็นประจำยามที่อากาศหนาวเย็น และก็ไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น
       
       แต่เมื่อเวลากรรมชั่วจะให้ผล อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะมันเป็นกฎแห่งกรรม เมื่อถึงเวลาแรงกรรมย่อม ส่งผลของมันเอง
       
       ระหว่างที่ยายรอผสมน้ำเดือดๆที่เพิ่งยกลงจากเตาไฟ หลานสาวก็เดินมาตรงหม้อน้ำพอดี และบังเอิญไปสะดุดท่อนไม้ที่ยายตั้งน้ำร้อนไว้ จนหน้าคว่ำลงกับพื้น และหม้อน้ำร้อนก็ล้มลง น้ำร้อนจัดๆ จึงหกราดเธอตั้งแต่โคนขาลงไปจนถึงฝ่าเท้า ปภาวรินทร์ปวดแสบปวดร้อนมาก เธอดิ้นอย่างทุรนทุราย และร้องดังสนั่นเหมือนใจจะขาด!!
       
       คนในบ้านได้ยินเสียงจึงวิ่งมาดู และรีบนำตัวเด็กหญิงส่งโรงพยาบาล หมอจัดแจงทำแผล และให้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ตกกลางคืนปภาวรินทร์รู้สึกปวดแสบปวดร้อนมากกับแผลที่โดนไฟลวก บางครั้งก็รู้สึกคันด้วย จะเกาก็เกาไม่ได้ ยิ่งอากาศหนาวมากเท่าไหร่ เธอก็ยิ่งทั้งเจ็บทั้งปวดแสบไปหมด เด็กหญิงจึงนอนร้องไห้ตลอดทั้งคืน
       
       แล้วคืนหนึ่ง ภาพของปลาช่อนที่เธอเคยโยนลงไปในหม้อน้ำเดือดๆ ก็มาปรากฎในมโนภาพ เธอจึงคิดว่าการที่ตัวเองต้องโดนน้ำร้อนลวก คงเป็นเพราะเคยโยนปลาลงในหม้อน้ำเดือดอย่างแน่นอน เธอจึงเล่าเรื่องนี้ให้แม่ที่มานอนเฝ้าที่โรงพยาบาลฟัง แม่จึงรู้ ว่านี่เป็นกรรมของลูก จึงได้บอกลูกให้ขออโหสิกรรม กับปลาช่อนตัวนั้นไป
       
       วันเวลาผ่านไปหลายเดือน เด็กหญิงจึงหายเป็นปกติ เหลือไว้เพียงรอยแผลเป็นที่ขา ซึ่งช่วยเตือนใจ เธอตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้จะไม่ทำชั่ว ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่เบียดเบียนใครอีก เพราะเธอได้ประสบกับผลแห่งกรรมชั่วมาด้วยตัวเองแล้ว
       
       ผลแห่งกรรมชั่ว เมื่อถึงเวลามันย่อมให้ผลเอง ไม่มีทางที่คนชั่วจะหลีกหนีจากกฎแห่งกรรมนี้ได้ ไม่ว่าจะหนีไปอยู่ที่ไหน ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด กรรมชั่วก็ย่อมตามให้ผลอยู่นั่นเอง ผู้มีปัญญาจึงควรละเว้นจากความชั่วทั้งปวง หันหน้ามาทำความดี รักษาศีล ปฏิบัติสมาธิ และเจริญภาวนา ชำระกิเลสให้หมดไปจากดวงจิต ชีวิตจะได้พบแต่ความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
       
       (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย มาลาวชิโร)