ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 12:56:43 am »

 :06: ผมเองก็เคยทานยาก่อนขับรถเหมือนกันครับ ต่อไปต้องไม่ทำแล้วสินะ
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:31:52 pm »

ขอบคุณครับ


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:31:05 pm »

อยากให้คนไทยได้ดูกันทุกๆคน  จะได้ขับรถกันอย่างมีมรรยาท เือื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันให้มากกว่านี้

.
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:19:19 pm »

ถ้าร่างกายไม่พร้อมก็พักดีกว่านะค่ะ
พลาดแค่เสี้ยววินาทีอาจทำให้เสียใจไปตลอดชีวิตได้
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=eC2SBX2nnUw&feature=player_embedded[/youtube]
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 10:12:22 pm »

กินยาแล้วง่วง..อย่าห่วงขับรถ (Ya&You)

ผู้เรียบเรียง ภก. ปรัชญา เจตินัย
นักวิชาการ มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา

          ยาบางชนิดทั้งที่ได้รับจากแพทย์หรือหาซื้อรับประทานเองตามร้านขายยาเพื่อ รักษาโรคหรืออาการที่เป็นอยู่ ยาหลายชนิดมักมีผลทำให้สูญเสียความสามารถในการขับขี่ คุณอาจไม่รู้สึกตัวว่ายาอาจทำให้สูญเสียความสามารถในการขับขี่จนกว่าคุณจะ อยู่ในสภาวะที่ต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วและแม่นยำเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด อุบัติเหตุ อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นเสมอไปว่ายาเหล่านี้จะมีผลต่อการขับขี่ของคุณ

โรคหรืออาการที่อาจจะได้รับยาที่มีผลต่อความสามารถในการขับขี่ ได้แก่

          นอนไม่หลับ เครียด ซึมเศร้า

         โรคทางระบบประสาท

         ภูมิแพ้ ไข้หวัด อาการไอ

         อาการปวด

         ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

         เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

         ยา ที่มีการใช้บ่อย ได้แก่ chlorpheniramine, diphenhydramine, dimenhydrinate, ibuprofen, naproxen, tramadol, codeine, amitriptyline, flunarizine, cinnarizine, tolperisone, ?orphenadrine ฯลฯ โดยยาเหล่านี้อาจทำให้

         ง่วงนอน อ่อนเพลีย อ่อนล้า

         การมองเห็นเปลี่ยนไป ไม่สามารถปรับระยะสายตาได้ มองภาพเบลอ

         วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด

         เคลื่อนไหวช้าลง

         คลื่นไส้

         หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์เสียง่าย

         กระสับกระส่าย เสียสมาธิ

หากต้องขับรถแล้วจะรับประทานยาเหล่านี้ได้หรือไม่

         ถ้า หากคุณเคยรับประทานยาเหล่านี้มาแล้วและไม่เกิดอาการข้างเคียงใด ๆ ก็สามารถขับขี่รถได้ตามปกติ ในบางรายหากเกิดอาการข้างเคียง แพทย์จะเป็นผู้ลดผลกระทบจากยาที่มีต่อการขับขี่รถของคุณ โดยที่แพทย์อาจจะ

         ปรับขนาดยา

         ปรับเวลาในการรับประทานยา เช่น อาจรับประทานยาหลังจากขับรถถึงที่หมายแล้ว หรือให้รับประทานก่อนนอน

         แนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย หรือ รับประทานอาหาร เพื่อทดแทนการใช้ยา

         และสุดท้าย แพทย์อาจเปลี่ยนยาเป็นตัวยาที่มีผลทำให้ง่วงนอนน้อยกว่า

การปฏิบัติตัวเมื่อรับประทานยาเหล่านี้

          หากได้ยาใหม่ ควรสังเกตอาการข้างเคียงในช่วงแรก แม้ว่ายาจะมีแนวโน้มทำให้ง่วงแต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน

         แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง หากคุณรับประทานยา ยาสมุนไพร หรืออาหารเสริม เพราะยาบางอย่างอาจเสริมฤทธิ์ในการเกิดผลข้างเคียง

         ไม่ควรรับประทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ บรั่นดี เหล้า

         หาก มีอาการง่วงให้หยุดขับรถชั่วคราว การรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ร่างกายมักจะปรับตัวได้ อาการง่วงอาจลดลงหรือหายไปในที่สุด

         ห้ามหยุดยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ยาบางอย่างหากหยุดรับประทานอาจมีผล

         คาดเข็มขัดนิรภัยหรือสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง

ทางเลือก หากเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับประทานยา

         หาเพื่อนร่วมทาง อาจเป็นญาติหรือเพื่อนสักคน แนะนำว่าควรเป็นผู้ที่ขับขี่รถเป็นด้วย

         โบกแท็กซี่

         นั่งรถตู้ รถประจำทาง รถไฟฟ้า

         หากที่ทำงานไม่ไกลมากนักหรือรู้สึกง่วงแล้วหละก็ จอดรถทิ้งไว้แล้วเดินออกกำลังสักนิดก็คงพอทำให้สดชื่น หายง่วงขึ้นมาบ้าง

         หากสงสัยว่ายาที่ท่านได้มานั้นมีโอกาสทำให้ง่วงหรือไม่ สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ที่ www.yaandyou.net


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.yaandyou.net/druglist2.php?id=&title=%3Cb%3E%3Ci%3E%20NEW!!%3C/i%3E%3C/b%3E%20%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87..%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%96


http://health.kapook.com/view5207.html