ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 07:55:33 pm »

 :07: ขอบคุณครับพี่หนุ่ม มีประโยชน์มากเลยครับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 05:31:18 pm »

การละเมิดอำนาจศาล /อ้วน อารีวรรณ

http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9530000113951
 
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2553 10:44 น.
 



       jatung_32@yahoo.com

 
   
 
 
       การละเมิดอำนาจศาลเป็นสิ่งที่ใครก็ไม่อยากกระทำ ด้วยสาเหตุว่า “กลัวจะติดคุก” แถมเป็นการติดคุกที่รวดเร็วทันใจกว่าการกระทำความผิดข้อหาใดๆ ด้วยว่า ถ้าได้กระทำเช่นนี้ต่อหน้าศาล ซึ่งก็คือ ผู้พิพากษาที่กำลังทำหน้าที่พิจารณาคดีในศาลแล้วล่ะก็ ย่อมส่งผลให้ผู้พิพากษาสั่งลงโทษได้ทันที!!
       
       ตัวดิฉันเอง มีความเห็นว่า ถ้าเราไม่เข้าใจว่า “การละเมิดอำนาจศาล” คืออะไร ลักษณะหรือรูปแบบใดที่เรียกว่าละเมิดอำนาจศาล หรือไม่ทราบว่า ศาลมีหลักเกณฑ์ในการลงโทษผู้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลอย่างไรบ้าง ก็อาจจะทำให้เราคิดว่า ศาลมีอำนาจล้นพ้นมากมายจริงๆ ดังนั้นวันนี้จึงอยากนำเสนอเรื่องราวของ “การละเมิดอำนาจศาล” มาเล่าสู่กันฟังนะคะ
       
       ก่อนอื่นเราต้องทราบว่า แนวคิดเรื่อง “ละเมิดอำนาจศาล” มิได้มีขึ้นแต่ในประเทศไทย ประเทศเดียวนะคะ ประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ก็มีมาตรการเรื่อง “ละเมิดอำนาจศาล” เช่นเดียวกัน เช่น ประเทศอังกฤษ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นต้นแบบของการใช้มาตรการเรื่อง “ละเมิดอำนาจศาล” นี้ก็ว่าได้
       
       หลักของมาตรการเรื่อง “ละเมิดอำนาจศาล” ใช้ในกรณีที่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้กระทำการขัดขวางกระบวนการยุติธรรม หรือขัดขวางกระบวนพิจารณาคดีในศาล โดยอาจใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม รบกวน หรือ ไม่เชื่อฟัง หรือไม่เคารพในคำสั่งของศาล เป็นต้น รวมถึงกรณีสื่อใช้อิทธิพลชี้นำเหนือความรู้สึกของประชาชนหรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความหรือพยานในคดีจนทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป
       
       ผู้พิพากษาในศาลสามารถออกข้อกำหนดของศาล เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีดำเนินไปได้โดยเที่ยงธรรมและรวดเร็ว แต่ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็น ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า
       
       ให้ศาลนั้นมีอำนาจออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็น เพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็ว อำนาจเช่นว่านี้ ให้รวมถึงการสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญ หรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควร
       
       เมื่อศาลออกข้อกำหนดใดๆ ไปยังคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลแล้ว หากผู้นั้นขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลอันว่าด้วยการรักษาความเรียบร้อย หรือประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ก็ย่อมมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้นเอง
       
       แต่การประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล ก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ศาลออกข้อกำหนดก่อนนะคะ เช่น พกปืนขึ้นศาลหรือพกปืนเข้าไปในห้องพิจารณาคดีของศาล หรือแม้กระทั่งมีการเรียกรับเงินหรือรับสินบนในบริเวณศาล ไม่ว่าจะเป็นที่ห้องพักทนายความหรือห้องพักอัยการหรือที่หน้าห้องควบคุม หรือร้านอาหาร หรือบริเวณโต๊ะหินม้านั่ง ซึ่งอยู่ในรั้วเดียวกับศาลก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้เช่นกัน
       
       นอกจากนี้ ยังมีกรณีอื่นๆ เช่น คู่ความที่ได้มีคำร้องและได้รับอนุญาตจากศาลให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล เนื่องจากยากจน แต่ปรากฏว่า ที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าว เพราะคู่ความได้มีการแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาล ในการไต่สวนคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
       
       หรือเป็นกรณีที่รู้ว่าจะมีการส่งคำคู่ความ คำฟ้อง หรือส่งเอกสารอื่นๆ ถึงตัวเรา แล้วเราเลยจงใจหลบเลี่ยงหนีไปที่อื่น เพื่อจะได้ไม่ต้องรับคำคู่ความ คำฟ้อง หรือเอกสารนั้น หรือเป็นกรณีขัดขืนไม่ยอมมาศาล เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เรามาขึ้นศาลด้วยตนเอง หรือศาลมีหมายเรียกให้มาศาลเพื่อไต่สวนเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือเป็นกรณีมีการตรวจเอกสารหรือสำนวน หรือคัดสำเนา โดยมิได้ร้องขออนุญาตต่อศาล เป็นต้น
       
       นอกจากนี้ ยังมีการละเมิดอำนาจศาล โดยการพิมพ์ การโฆษณา ซึ่งเป็นการเขียนข้อความลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อต่างๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 32
       
       “ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการหรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชนไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง ดังจะกล่าวต่อไปนี้
       
       (1) ไม่ว่าเวลาใดๆ ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้นได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ซึ่งข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมอื่นๆ แห่งคดี หรือกระบวนพิจารณาใดๆ แห่งคดี ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์ ศาลได้มีคำสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผยหรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
       
       (2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชนหรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดี ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
       
       ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ
       
       ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
       
       ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความหรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
       
       ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ
       
       เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2476 มาใช้บังคับ”
       
       และบทลงโทษของผู้กระทำความผิด “ฐานละเมิดอำนาจศาล” มิได้มีแต่การลงโทษจำคุกเท่านั้นนะคะ ความจริงศาลมีอำนาจสั่งลงโทษได้ตั้งแต่ ไล่ออกจากบริเวณศาล ในช่วงระยะเวลาที่ศาลนั่งพิจารณา หรือชั่วระยะเวลาใดๆ ก็ได้ ตามที่ศาลเห็นสมควร หรือ จะลงโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือลงโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ จะลงโทษทั้งปรับและจำคุก ก็ได้ทั้งนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยตรงค่ะ