ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 10:24:00 pm »

:27: เยอะขนาดนั้น เป็นโสดดีกว่าครับ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม พี่หนุ่มเตรียมไว้ให้ใครหรือเปล่าครับ ส่องๆดู มีแววก็ทามะเพื่อนผมนะนี่ 555+


แต่งงานแล้ว  ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงครับ

การเลือกภรรยานี่   ต้องดูนิสัยใจคอกันให้ดีๆนะครับ

.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 10:30:40 pm »

 :27: เยอะขนาดนั้น เป็นโสดดีกว่าครับ 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม พี่หนุ่มเตรียมไว้ให้ใครหรือเปล่าครับ ส่องๆดู มีแววก็ทามะเพื่อนผมนะนี่ 555+
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 10:27:23 pm »

การนับสินสอดทองหมั้น



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Orinna

หลังจากที่ผู่ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวทำการเจรจาสู่ขอเจ้าสาวจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการตกลงเรื่อง "สินสอดทองหมั้น" หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้กระปุกเวดดิ้งหยิบเอา "พิธีการนับสินสอดทองหมั้น" มาแนะนำกันค่ะ

สิน สอด หมายถึง ทรัพย์สิน ซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยปกติการแต่งงานลูกสาวมักถือเป็นงานออกหน้าออกตาใหญ่โต ทางฝ่ายหญิงจึงพยายามเรียกร้องกันมาก ๆ คือเรียก "ของหมั้น" ที่มีราคาแพง ซึ่งเดิมที "การหมั้น" มักจะเรียกเป็นทองคำ และการเรียกเป็นน้ำหนัก จนเป็นศัพท์ติดปากมาจนกระทั่งบัดนี้ว่า "ทองหมั้น" และประเพณีโบราณถือเป็นของเจ้าสาว ที่จะนำไปเป็นเครื่องแต่งตัว เพื่อเป็นทรัพย์สมบัติติดตัวในเวลาแต่งงาน นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงินสินสอดและผ้าไหว้อีกด้วย ส่วนที่เรียกว่า "สินสอด" ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่ ถือกันว่าเป็นค่าเลี้ยงดูหรือค่าน้ำนม




ทั้งนี้ พิธีการนับสินสอดทองหมั้น นั้น ก่อนทำพิธีเฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะเจรจา เฒ่าแก่ฝ่ายชายจะเปิดกรวยดอกไม้ธูปเทียนออกและเป็นผู้เริ่มต้นก่อน โดยพูดถึงฤกษ์ยามอันเป็นมงคลในวันนี้ ตนได้ทำหน้าที่นำ ขันหมากหมั้น ของฝ่ายชายซึ่งเป็นบุตรคนนั้น ๆ มาให้ฝ่ายหญิงด้วยเงินสินสอดทองหมั้นเท่านั้นเท่านี้ตามที่ตกลงกันไว้ และขอให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงทำการเปิดตรวจนับดูว่าถูกต้องครบถ้วนหรือเปล่า

เฒ่า แก่ฝ่ายหญิงจะแสดงความรับรู้ และกล่าวเห็นดีเห็นงามในการหมั้นครั้งนี้ด้วย และร่วมพูดคุยเพิ่มความสนิทสนม หลังจากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายก็เปิดผ้าที่คลุมออกแล้วส่งให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง เพื่อตรวจนับสินสอดตามธรรมเนียม โดยต้องมีการตรวจบนับต่อหน้าเฒ่าแก่และญาติทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นสักขีพยาน เฒ่าแก่ฝ่ายหญิงก็จะนำแป้งกระแจะซึ่งใส่โถปริกเตรียมพร้อมไว้แล้ว ออกมาเจิมเงินสินสอดเพื่อเป็นสิริมงคล

หากมีแหวนหรือสร้อยกำไล เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายจะเรียกให้ฝ่ายชายหรือว่าที่เจ้าบ่าวทำการสวมให้ฝ่ายหญิง หรือว่าที่เจ้าสาวของตน ต่อหน้าทุกคนเพื่อให้เป็นสักขีพยาน โดยเมื่อสวมแหวนเสร็จแม่ฝ่ายหญิงจะห่อสินสอดด้วยผ้า และแบกขึ้นไว้บนบ่าพอเป็นพิธี พร้อมกับทำท่าหนัก และให้พูดเอาเคล็ดว่า "ห่อนี้หนักเสียจริงๆ คงมีเงินทองงอกเงยออกมามากมายเต็มบ้านเต็มเรือน" ส่วนเงินนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เก็บรักษา อาจนำเงินสินสอดมาในวันทำพิธีแต่งงาน ซึ่งเรื่องนี้แล้วแต่การตกลงของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย

ต่อ มาเมื่อฝ่ายหญิงนำสินสอดทองหมั้นหรือของหมั้นไปเก็บรักษาไว้ ก็คืนขันหรือภาชนะมักจะมีของแถมพกให้แก่ผู้ที่ทำการยกขันหมากทุกคน สำหรับผู้เฒ่าแก่ของทั้งสองฝ่ายจะได้ของสมนาคุณพิเศษ หลังจากนั้นร่วมกันกันเลี้ยงฉลองการหมั้น ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรม

การแต่งงานแบบไทย - วิกิพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2#.E0.B8.AA.E0.B8.B4.E0.B8.99.E0.B8.AA.E0.B8.AD.E0.B8.94.E0.B8.97.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.AB.E0.B8.A1.E0.B8.B1.E0.B9.89.E0.B8.99_.E0.B8.AB.E0.B8.A3.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.82.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B8.AB.E0.B8.A1.E0.B8.B1.E0.B9.89.E0.B8.99