ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 21, 2010, 10:30:27 pm »

ซึ้งค่ะ เข้าใจทั้งสองฝ่าย
ลูกก็อยากจะดูแลแม่อย่างใกล้ชิด
แต่ผู้สูงอายุมักจะติดที่
ถ้าต้องมาปรับสิ่งแวดล้อมใหม่
ท่านไม่มีความสุขหรอกค่ะ
รักและห่วงใยก็หมั่นไปหากันบ่อยๆดีกว่า
เวลาลูกหลานมากราบ
คุณย่าคุณยายคุณปู่และคุณทวดท่านจะดีใจหลายๆ :19:





ข้อความโดย: ธรรมรักษ์
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2010, 01:02:23 am »

 :11: :11: :11:
ชีวิตนี้ยอมทำทุกอย่าง ให้แม่สบายที่สุด ที่จะทำได้
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:17:04 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม ภาพสวยบทความซาบซึ้งครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 12:32:31 pm »





เฉลาพยายามเร่งทำทุกอย่างใน​ที่ทำงานให้เสร็จทันเวลาเลิกงานทุกวัน ​
เพื่อ​จะ​ได้รีบกลับมาอยู่​​กับแม่ ซื้อหมากพลู ซื้อ​กับข้าวมาให้แม่

ตอนเช้า​ก่อนออกจากห้องก็​จะซักผ้า ถูพื้นไว้เรียบร้อย​ ไม่ให้แม่​ต้องทำอะไร​
​แต่แม่ก็ไม่ดีขึ้น​ บางคืนเฉลายัง​ได้ยินเสียงแม่ละเมอเรียกชื่อพี่



แล้ว​วันหนึ่ง​ เฉลาก็เห็นแม่ออกมานั่งหน้าประตูห้องคอยเธอกลับจากทำงาน

บนทางเดินยาวเหยียดหน้าห้องพัก​ที่ติดกัน​เป็นแถวของแสงยามเย็น
หญิงวัยกลางคนร่างผอมคล้ำดูร่วงโรยในผ้าถุงดำตัวเก่า​กับเสื้อคอกระเช้า​สีน้ำตาล​
ที่นั่งชันเข่าพิงประตูห้อง หันหน้ามาทางถนนเข้าหอพักอย่างรอคอย สะเทือนร้าวเข้า​ไปในหัวใจของเฉลา

"แม่ ทำไมมานั่งอยู่​ตรงนี้ล่ะ ประตูล็อคข้างใน เข้าห้องไม่​ได้หรือ"
เฉลาผวาเข้า​ไปหาแม่อย่างตื่นตกใจ

"เหลา พาแม่กลับบ้านนะลูก"
แม่เอื้อมมือมาคว้ามือเฉลา เงยหน้าขึ้น​พูดอย่างอ้อนวอน
น้ำตาเต็มนัยน์ตาของแม่ เหมือนไม่ใช่แม่คนเดิม

เฉลานิ่งอึ้ง พยักหน้ารับ "จ้ะ​แม่"

คืนนั้น​สองแม่ลูกนอนกอดกันเหมือน​เมื่อครั้งอยู่​บ้าน
เนื้อตัวของแม่ดูมีชีวิตชีวาแข็งแรง​และอบอุ่นขึ้น​มาทันตาเห็น
สีหน้าแช่มชื่นมี​ความหวัง ดวงตาสุกใส​เป็นประกาย

เฉลาพาแม่​ไปส่งในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น​ นอนค้าง​กับแม่หนึ่ง​คืนแล้ว​กลับมาทำงาน
เธอเพิ่มรายการค่า​ใช้จ่ายลง​ไปในงบประมาณประจำเดือน
สำหรับการกลับบ้านมานอนกับแม่เดือนละหนึ่ง​ครั้ง
ในโอกาสนี้เธอยัง​ได้​ไปเยี่ยมเยียนอาจารย์ใหญ่ผู้มี​พระคุณด้วยตนเอง
บางครั้งก็​ได้​ไปงานบุญงานบวชของญาติพี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง
​ได้ช่วยเหลือเกื้อกูล​ซึ่งกัน​และกันอย่างใกล้ชิด

แม่เองก็​ได้กลับ​ไปอยู่​บ้านของแม่ ​ที่มีญาติพี่น้อง ต้นไม้ไร่นา ปลาในหนอง น้ำในห้วย ​
และฟ้ากว้าง​ที่ครอบทุ่งโล่งสวยงามสุดสายตา ​แม้ไม่มีพี่ฉลวย
แม่ก็มีเฉลา​ที่​จะมาหาแม่ทุกเดือนไม่​ได้ขาด หน้านาแม่ก็ยังทำนาปลูกข้าวบนผืนดินเล็ก ๆ​ ของตัวเอง
ยามเจ็บไข้ก็มีหลาน ๆ​ ญาติ ๆ​ ใกล้ชิดมาประคับประคองรอเวลาเฉลามาถึง

แม่​ได้​ใช้ชีวิตอย่าง​ที่แม่คุ้นเคยอย่างมี​ความสุข แข็งแรง สดชื่น เต็มปรี่​ไปด้วยพละ​กำลัง​
และ​ความหวังเหมือน​ที่เฉลาเคยเห็น

ในวัน​ใช้ชีวิตคู่ของเฉลาแม่บอก​กับเธอว่า​จะอยู่​รอดูหลานคนโต ​
และ​เมื่อ​ได้หลานคนแรก​เป็นผู้ชายแม่ก็ต่ออายุขัยของตัวเองออก​ไปอีกว่า ​
จะมีชีวิตอยู่​ต่อ​ไปจนกว่า​จะ​ได้อุ้มพานแว่นฟ้าใส่ผ้าไตรส่งหลานยายเข้าโบสถ์ในงานบวช



เฉลาทอดสายตามองยายหน้าตึกร้าง​พร้อม​กับภาวนา​เอาใจช่วยทุกวัน

​ที่นี่ไม่ใช่บ้านของยาย ไม่ใช่​ที่ทางสำหรับยายเลย​ใช่ไหมจ๊ะ​

ยายคงคิดถึงเถียงนากลางทุ่งกว้าง​ที่มีลมโชยเฉื่อยฉิว
มีเสียงกบเสียงอึ่งระงมร้อง
ยามค่ำคืน​ที่ฝนพรำ คิดถึงกอไผ่​ที่เสียดส่ายไหวโอนตามแรงลม
คิดถึงหน่ออ่อนของต้นไม้​ที่เสียดแทงขึ้น​มา

จากผืนดินหลังฝนตก คิดถึงรวงข้าวสีทอง​ที่อ่อนค้อมรอเกี่ยว

"ยาย​เป็นแม่ของ​ใครกันนะ...."
"พายายกลับบ้านเถอะ...."





ขอบคุณน้อง"ขม..ค่ะ"
 :13:
 Credit by : http://www.sookjai.com/index.php?topic=3552.0
ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมายนะคะ...
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:49:02 am »



:Toshi Nakamura

ประตูเปิดผลัวะ​พร้อม​กับร่างของเฉลา​ที่ผวาตามบานประตูเข้า​ไป
แม่นั่งชันเข่าอยู่​​กับพื้นใน​ความมืดนิ่งเฉย สติของเฉลาก็ขาดผึง

"แม่ ทำไมแม่ทำอย่างนี้ล่ะ ทำไมไม่เปิดประตู"

เธอตะโกนอย่างระงับอารมณ์ไม่อยู่​ น้ำเสียงเช่นนั้น​
เฉลาไม่เคยพูด​กับแม่ หรือ​กับ​ใครเลย​ก็ว่า​ได้ ​แต่คราวนี้ วันนี้
มันหลุดออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจ​ที่เหน็ดเหนื่อย หวาดกลัว​ที่สู้ทนเก็บข่มมาหลายวัน

"ใจเย็น ๆ​ น้อง ใจเย็น"
​เพื่อนส่งเสียงเตือนเบา ๆ​ แล้ว​เดินมาเปิดไฟให้

​เมื่อนั้น​เอง​ที่เฉลา​ได้เห็นสีหน้าของแม่ สีหน้านั้น​ของแม่
เฉลาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกัน มันช่างไร้ชีวิต เหนื่อยล้า สิ้นหวัง เศร้าสร้อย ทุกข์ตรม
เหมือนไม่ใช่แม่คนเข้มแข็งของเธอ

"แม่อย่าทำอย่างนี้ แม่อย่าทำ หนูกลัว"
เฉลาผวาเข้ากอดแม่ เขย่าร่างนั้น​สะอื้นไห้จนตัวโยน แม่ค่อย ๆ​ อ้าแขนออกโอบเธอ
ตบหลังให้เบา ๆ​ เหมือน​เมื่อเธอ​เป็นเด็ก ​แต่ดูเหมือนแม่​จะ​เป็นใบ้​ไปเสียแล้ว​
ไม่มีคำพูดใด ๆ​ หลุดจากปากแม่มาให้เฉลา​ได้ยิน

แม่คงกลัว ดูเหมือนแม่​จะนั่งอยู่​​ที่เดียว​กับ​ที่เฉลาเห็น​เมื่อเช้า​ไม่​ได้ขยับ​ไปไหน

โถแม่...​"พี่​ไปนะ"
เสียง​เพื่อนเอ่ยขึ้น​เบา ๆ​ ทำให้เฉลา​ได้สติ เธอหัน​ไปขอบคุณ​เพื่อน

"ไม่​เป็นไรหรอกน้อง มีอะไร​ให้ช่วยก็บอกนะ แม่พี่ก็เคยมานอนค้าง​กับพี่เหมือนกัน"
เธอบอกอย่างคนเข้าใจสถานการณ์

แม่ยังคงเงียบเฉยหม่นหมองจนเฉลาทำงานแทบไม่​ได้ กลางวันแม่กินข้าวเท่า​ที่เฉลาจัดไว้ให้
แม่ไม่แตะ​ต้องสิ่งอื่น ไม่ว่าน้ำปลาหรือพริกขี้หนู​ที่แม่เคยเกร็ดกิน​กับข้าวอย่างเอร็ดอร่อย​
เมื่อครั้งอยู่​​ที่บ้าน ​แม้​แต่หมาก​ที่แม่​ต้องเคี้ยวอยู่​ตลอดเวลา เฉลาก็เห็นมันอมค้างอยู่​ในปากแม่


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:42:20 am »




แม่เงียบกริบ ไม่ตอบคำ สีหน้าเรียบเฉยของแม่ทำให้เธอห่วงหน้าพะวงหลัง
ออกจากห้องไม่​ใคร่​ได้ ห้องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ​ แทบไม่มี​ที่ว่างเช่นนี้ แม่​ต้องไม่คุ้นเคย ​
แต่งานในหน้า​ที่ก็ฉุดกระชากเธอ​ไปจาก​ความห่วงใย
หวังเพียงว่าแม่​จะอยู่​​ได้​ถ้าทำทุกอย่างตาม​ที่เธอสอนไว้

เย็นนั้น​ เฉลา​ต้องอยู่​เคลียร์งาน​ที่ฝาก​เพื่อนครูไว้ตอนลา
เธอมองแสงสีส้มของกลางวัน​ที่ค่อยจางหายปล่อยให้แสงสีเทาของกลางคืนโรยตัวลง
มาปกคลุมแทนอย่างไม่สบายใจ แม่​จะ​เป็นอย่างไรบ้าง​ ​จะกลัวไหม​ถ้ามืดแล้ว​ไม่เห็นเธอกลับ

กว่าเธอ​จะ​ได้ออกจาก​ที่ทำงาน นั่งรถเมล์จนกว่า​จะถึงหอพักเวลาก็ล่วงเลย​​เป็นค่ำมืด
ถึงอย่างไรเธอก็ยัง​ต้องแวะซื้อข้าวมื้อเย็นให้ตัวเอง​กับแม่ ไหนยัง​จะหาซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ซื้อข้าวสาร อาจ​จะ​ต้องซื้อน้ำปลาไว้ให้แม่สักขวด เผื่อแกง​จะจืด​ไป
หรือ​จะซื้อพริกขี้หนูด้วย สมองเธอคิดหาทางให้แม่อยู่​​ได้อย่างมี​ความสุข

"แม่ แม่ หนูกลับมาแล้ว​"

เธอเคาะประตู ​พร้อม​กับส่งเสียงเรียก โล่งใจ​ที่​ได้กลับถึง​ที่พักเสียที
ข้าวของสองมือพะรุงพะรังหนักอึ้งนิ้ว​จะขาด

ภายในห้องเงียบกริบ ​แม้​แต่แสงไฟก็ไม่ลอดออกมา เฉลาใจหายวาบ

"แม่ แม่ เปิดประตูสิแม่"

​ความกลัวเกาะกินใจเธออย่างรุนแรง
รีบวางข้าวของในมือลง​กับพื้น สองมือระดมทุบประตูอย่างขวัญเสีย

"มีอะไร​หรือน้อง"
​เพื่อนร่วมหอโผล่หน้าออกมาดู

"แม่หนูค่ะ​พี่ แม่หนูอยู่​ในห้อง ​แต่หนูเรียกแล้ว​แม่ไม่เปิดประตู ไฟก็ไม่เปิด"

เธอพร่ำบอกเสียงขาด​เป็นห้วง ๆ​ น้ำตาพรั่งพรูทำอะไร​ไม่ถูก
เธอผู้นั้น​จึงมาลองขยับลูกบิดประตู มันติดล็อคข้างในอย่าง​ที่เฉลาทำให้แม่​เมื่อเช้า​นี้

"น้องมีกุญแจห้องหรือเปล่าล่ะ"

"มีค่ะ​มี"
เธอลนลานล้วงกระเป๋าหยิบกุญแจห้องส่งให้​เพื่อนไขประตู


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:38:39 am »





แม่ยังพูดอะไร​ไม่ออก ดูเหมือนสมองแม่หยุดคิด​ไปหลังจากไม่มีพี่ฉลวย
เฉลาไม่เคยเห็นแม่​เป็นอย่างนี้
​เมื่อครั้งพ่อตายเธอก็ยังเด็กเกิน​ไป​ที่​จะซึมซับอารมณ์เศร้าหมองของผู้​เป็นแม่ ​แต่​เมื่อพี่มาจาก​ไป
เฉลาเห็นซึ้งถึง​ความเงียบเหงาวังเวงใจของแม่ เธอ​จะทิ้งแม่ในสภาพนี้​ไป​ได้อย่างไร

"แม่​ไปอยู่​​กับหนูเถอะ หนูลาต่อไม่​ได้แล้ว​ เด็ก​กำลัง​จะสอบ หนู​ต้อง​ไปสอน"
เฉลาพะว้าพะวัง เธอไม่กล้าเสียประวัติการทำงาน ชีวิตเธอกว่า​จะมาถึงตรงนี้​ได้นั้น​
ยากเย็นแสนเข็ญยิ่งนัก​ทั้งของตนเอง​และคนรอบข้าง ​ถ้า​ต้องมาเสีย​ไปเธอ​จะมีปัญญา​ที่ไหนหามา​ได้อีก

"​ไปก็​ไป"
แม่พูดแค่นั้น​ แล้ว​เดินเข้าใต้ถุน​ไปเงียบ ๆ​ เฉลาสงสารแม่จับใจ ​แต่เธอไม่มีเวลาคิด​เป็นอย่างอื่น

"แม่ หนูซื้อข้าว​กับแกงไว้ให้แม่ อยู่​ในถุงนี้นะ น้ำกินก็ในขวดนี้
แม่หิวตอนไหนก็กินตอนนั้น​ ไม่​ต้องคอยหนูนะ ตอนเย็นหนูกลับมา​จะซื้อมาอีก"

เฉลา​ต้องย้ายห้องพักจากห้องเตียงเล็กอยู่​คนเดียว​ไป​เป็นห้องเตียงใหญ่
สำหรับสองคน เพิ่มค่าเช่าอีกเกือบเท่าตัว ​แต่มันก็​เป็นเพียงห้องเล็ก ๆ​ แคบ ๆ​
มีหน้าต่างบานเล็กเปิดออก​ไป​เป็น​ที่ตากผ้า ดี​ที่มีห้องน้ำห้องส้วมอยู่​ในห้อง
แม่​จะ​ได้ไม่​ต้องลำบากออก​ไปข้างนอก

เรื่อง​อาหารการกินนั้น​ มื้อเช้า​ ปกติ​เมื่ออยู่​​ที่บ้านแม่​จะกินตอนสาย ๆ​ อยู่​แล้ว​ ​
เพราะ​ต้องออก​ไปนา​แต่เช้า​มืด เธอจึงซื้อเพียง​กับข้าวมื้อเดียวให้แม่กินใกล้เ​ที่ยง
ตอนเย็นเธอ​จะซื้อมาอีกครั้งสำหรับสองคน

เธอสอนให้แม่เปิดปิดประตูห้อง​ที่​ใช้ลูกบิด สอนให้แม่​ใช้ส้วมชักโครก สอนให้แม่อาบน้ำฝักบัว ​
และคิดว่าเย็นนี้​จะซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบเล็ก ๆ​ ​กับข้าวสารมาให้แม่​ได้หุงข้าวกินเองตอนมื้อเ​ที่ยง

เงินเก็บเล็ก ๆ​ น้อย ๆ​ ​ที่เพียรสะสมมาตั้งแต่เริ่มทำงาน
รวม​กับเงินทำบุญงานศพ​ที่เหลือคง​จะหมด​ ไปในคราวนี้
เฉลาไม่คิดเสียดาย ถึงเวลา​ที่เฉลา​จะ​ได้ดูแลแม่บ้างแล้ว​ เธอตั้งใจ​จะทำอย่างเต็ม​ที่



ข้อความโดย: คนชล
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:37:44 am »

อ่านแล้วซึ้งครับ ได้เห็นความรักความรับผิดชอบ ที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีๆในสังคมของทุกวันนี้  :46:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:17:31 am »




ค่า​ใช้จ่าย​ส่วนใหญ่ของเธอ​คือเงิน​ที่​จะ​ใช้คืนอาจารย์ใหญ่ ​และส่งให้แม่​กับพี่
​ที่เหลือจึงเก็บไว้สำหรับตัวเองเพียงเล็กน้อย ไม่มากกว่า​ที่เคย​ใช้​เมื่อ​เป็นนักศึกษา
ด้วยหวังว่าแม่​และพี่​จะ​ได้สบายขึ้น​บ้าง ทดแทนสิ่ง​ที่​ทั้งสองทำให้​กับเธอตลอดมา

"โอ๊ย พี่ไม่​เอาตังค์ของหนู พี่​กับแม่อยู่​บ้านไม่อดหร็อก ข้าวเราก็มีกิน ปูปลาก็หา​ได้ถม​ไป
เคยเกลือก็นิด ๆ​ หน่อย​ ๆ​ หาปลา​ไปขาย​เอาตังค์มาซื้อก็เกินพอ"
พี่บอกอย่างนั้น​ น้ำเสียงเชื่อมั่นในสิ่ง​ที่ตัวเองพูดอย่างแน่นหนัก

"หนูนั่นแหละ​​เอาไว้​ใช้เอง ซึ้อเสื้อผ้าใส่มั่งสิ พี่เห็นเดี๋ยวนี้​เขาใส่เสื้อยืดกางเกงขายาวกันสวย ๆ​ ของหนูไม่เห็นมี"
ดวงตาสุกใสบนใบหน้าอวบกลมนั้น​ฉายประกายแห่ง​ความสุข ​ความสุข​ที่น้อง​ได้ดี

พี่ฉลวย​เป็นคนร่างท้วม อวบกลม เดินเหินว่องไวคล่องแคล่ว ญาติพี่น้องเรียกเธอว่า "เณรหลวย"
ด้วยเธอทำงานอย่างผู้ชาย​ได้ทุกอย่าง น้ำใสใจคอเล่าก็กว้างขวางซื่อตรง ​เป็นหลักให้น้องพึ่ง ​
เป็นคู่ชีวิตให้แม่อบอุ่นนับจากสิ้นพ่อ

วันเวลา​ที่สวยงามลงตัวเพิ่งเกิดขึ้น​ไม่ทันถึงปี

"แม่​ไปอยู่​​กับหนูเถอะ พี่ฉลวยไม่อยู่​แล้ว​ แม่อยู่​คนเดียว หนู​เป็นห่วง"
เฉลาอ้อนวอนแม่ครั้งแล้ว​ครั้งเล่า

​เมื่องานศพเสร็จลง ญาติพี่น้อง​ที่มาช่วยงานต่างพากันกลับบ้าน เหลือกันอยู่​แค่สองคนแม่ลูก
บ้านเหมือนไม่ใช่บ้าน​เมื่อไม่มีพี่ฉลวยคอยทำนู่นทำนี่อยู่​ใกล้ ๆ​

เฉลาหยิบจับอะไร​แทบไม่ถูก​เมื่อไม่มีพี่คอยแนะนำ
​แม้​แต่แม่เองถึง​จะทำทุกอย่าง​ได้อย่างเคย ​แต่ก็นิ่งขึงพูดไม่ออก​เป็นพัก ๆ​

"ก็ดีเหมือนกันนะพี่ฉ่ำ ลอง​ไปอยู่​​กับเฉลามันสักพัก ก็เหลือกันอยู่​แค่นี้ อยู่​ด้วยกันดีกว่า
ลูกมันก็ทำมาหากิน​ได้แล้ว​ มันเลี้ยงพี่​ได้อยู่​หรอก"
น้าเฉิมมองเห็น​ความเปล่าเปลี่ยวของเราสองแม่ลูก

"อยู่​ทางนี้ ฉัน​จะคอยดูแลให้ นาของพี่ฉัน​จะทำให้แล้ว​ขายข้าวส่งค่าเช่าให้​เป็นเงิน
พี่ไม่​ต้อง​เป็นห่วง บ้านนี่ก็ปิดไว้ ไม่มีอะไร​ อยู่​ใกล้กันแค่นี้ ว่าง ๆ​ ก็​จะมานอนให้"
น้าชายช่วยแม่คิดแก้ปัญหาต่าง ๆ​



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2010, 11:10:30 am »




"​ไปเถอะ ไม่​ต้องห่วง พี่ยังอยู่​​ทั้งคน"
นั่น​คือคำมั่นสัญญาของพี่ ​เมื่อวัน​ที่เธอ​ได้บรรจุ​เป็นครูในกรุงเทพฯ ​
ซึ่งนับ​เป็นเรื่อง​​ที่หาไม่​ได้เลย​ในหมู่บ้านของเธอ

​ที่จริงนี่ไม่ใช่ครั้งแรก​ที่เฉลา​ไปกรุงเทพ ​เมื่อเธอเรียนจบมัธยมหกจากโรงเรียนประจำอำเภอ
คะแนนของเฉลา​สามารถเข้าสถาบันราชภัฏ​ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง​ของประเทศใน กรุงเทพ​ได้
เธอเกือบ​จะ​ต้องสละสิทธิ์​เพราะไม่​สามารถ​ไปเรียน​ได้

พี่ฉลวยคนนี้เอง​ที่ใจใหญ่คิด​จะจำนอง​ที่นา​เอาเงินมาส่งเสียเธอ
ดี​ที่อาจารย์ใหญ่สาวโสดยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ให้ยืมค่าหน่วยกิต ​
และค่าหอพักจนกว่าเธอ​จะเรียนจบ มีเพียงค่ากิน ​และค่า​ใช้จ่าย​ส่วนตัวเพียงเล็กน้อย​ที่​ต้องออกเอง
​แต่ก็​คือราย​ได้เกือบ​ทั้งหมดจากการทำงานหนักของแม่​และพี่สาวคนเดียว

เฉลาเรียนจบภายในเวลาเพียงสามปีครึ่งด้วย​ความสำนึกใน​ความยากลำบากของทุก ๆ​ คน
เธอไม่ลงชื่อเข้าพิธีรับปริญญา ​เพราะนั่นเท่า​กับหยาดเหงื่ออีกมากมาย​ของแม่​และพี่
เธอ​ไปขอรับปริญญาจากฝ่ายธุรการของสถาบันฯ นำมันมาวางลงบนฝ่ามืออันหยาบกร้านของ​ทั้งสอง​ที่บ้าน
แม่อมยิ้ม ​แต่พี่ฉลวยฉีกยิ้มเสียจนแก้มดำ ๆ​ บานแฉ่ง ​ความภูมิอกภูมิใจ​ที่พี่ฉลวยแสดงออกนั้น
​ลึกล้ำฉ่ำเย็นอยู่​ในใจเฉลาอย่าง แนบแน่น

เงินเดือนข้าราชการครูปริญญาตรี​เมื่อ​ต้องอยู่​ในกรุงเทพนับว่ากระเบียด กระเสียรอย่างมาก
เฉลาวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ รายการค่า​ใช้จ่ายของเธอมีไม่มากอย่าง
ค่าหอพักถูก ๆ​ ย่านชานเมือง ค่ารถเมล์ต่อเดียวถึง​ที่ทำงาน ค่าข้าวเช้า​ไม่มี ​
ซึ่งเธอก็ทำมาแล้ว​ตั้งแต่ยัง​เป็นนักศึกษา ค่าข้าวเ​ที่ยงไม่​ต้อง​เพราะทางโรงเรียนเลี้ยง
ค่ามื้อเย็นเท่านั้น​​ที่เธอตั้งงบไว้สำหรับแกง​และข้าวอย่างละถุงหิ้วมากิน ​ที่ห้อง
บางครั้งก็เปลี่ยน​เป็นกล้วยน้ำว้า​ที่ซื้อมา​เป็นหวี ปลิดกินวันละสองลูกแทนข้าว