ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 04:52:46 pm »

สาธุครับพี่แป๋ม :27:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 02:41:23 pm »



ท่านเว่ยหลาง
 

...เมื่อสิ่งเหล่านี้ มีอยู่ในเราแล้ว เรื่องของมันก็คือ ทำให้เห็นแจ้งออกมา
ไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา

 
ก็การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด
ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น

 
เราอาจพูดกันถึงเรื่อง สุญญตา (ความว่าง) เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้
แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในจิตเดิมแท้ได้

 
ในขณะที่คนที่ไร้ปัญญากำลังพากันท่องนามของอามิตาภะและอ้อนวอน
ขอให้ได้เกิดในแดนบริสุทธิ์อยู่นั้น คนฉลาดก็พากันชำระใจของเขาให้สะอาดแทน
เพราะเหตุที่
พระพุทธเจ้าไดตรัสไว้ว่า เมื่อใจบริสุทธิ์ แดนแห่งพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์พร้อมกัน

 
การเถียงกันย่อมหมายถึง ความดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ ย่อมเสริมกำลังให้แก่
ความยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวตน และย่อมจะผูกพันเรา
ไว้กับความยึดถือ ด้วยความสำคัญว่าตัวตน ว่าสัตว์ ว่าชีวะ ว่าบุคคล

 
ในการฝึกความนึกคิดของตัวเองปล่อยให้อดีตเป็นอดีต ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเรา
ที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มาจัดติดต่อกันเป็นห่วงโซ่แล้ว ก็หมายความว่าเราจับตัวเองใส่กรงขัง

 
ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วนได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหนหมด
นั่นแหละ ชื่อว่าได้บรรลุถึงสมาธิ

 
ไม่ว่าสถานการณ์อันใดจะเข้ามาแวดล้อมใจ ก็ไม่ถูกทำให้เปื้อนด้วยวัตถุกามารมณ์อันน่าขยะแขยง
ด้วยความทะเยอทะยานอยากและตัณหา นั่นแหละ คือคุณชาติอันประเสริญสุดของการได้มาเป็นคน



 :19:  http://www.dhammajak.net/book/nanadham/page01.php
http://www.sookjai.com/index.php?topic=4233.new#top
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 02:28:40 pm »



พระอาจารย์ชยสาโร
 

การพัฒนาชีวิตของเรา ต้องดำเนินทั้งภายนอกด้วย ทั้งภายในด้วย ถ้าหากว่าเรามัวพัฒนาแต่เรื่องภายนอก
โดยไม่คำนึงหรือละเลยสิ่งภายใน
การพัฒนานั้นจะขาดความสมดุล แล้วในที่สุดจะไม่ประสบความสำเร็จ

 
เราพึ่งพระรัตนตรัยตลอดชีวิตได้โดยไม่ต้องสงสัย ที่พึ่งนอกจากนั้น เป็นที่พึ่งที่ทรยศ จะช่วยเราจริง ๆ ไม่ได้
แม้ว่าเราจะพึ่งมันได้เป็นบางครั้งบางคราว
แต่ว่าถึงที่สุดแล้วมันก็จะหนีจากเรา มันจะพลัดพรากจากเราไป เพราะมันเป็น “สังขาร” หมด
เราจึงพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุสิ่งที่เรียกว่า “วิสังขาร” สิ่งที่อยู่เหนือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย

 
เพราะเรากลัวตัวเอง กลัวอยู่กับตัวเอง ก็ต้องเดินออกนอกอยู่ตลอดเวลา ซัดส่ายไป
ตามอารมณ์ภายนอกอยู่ตลอดเวลา เลยเป็นทาสของสิ่งภายนอกอยู่ร่ำไป สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ
เราก็ขึ้นๆ ลงๆ ตามความเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้น
จิตใจของเราก็ไหวกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา ไหวกระเพื่อมจนกระทั่งเราถือความวุ่นวายว่าเป็นความปกติ

 
บางทีการเคลื่อนไหวและการกระทำการงานต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สมควร แต่บางคราวการอยู่นิ่ง
และการงดเว้นจากการกระทำก็เหมาะสมกว่า

 
ถึงแม้ว่าการปฏิบัติของเรานั้น ยังไม่ถึงขั้นที่ว่า “การปฏิบัติชอบ” ก็อย่างน้อยที่สุด ขอให้เรา
“ชอบปฏิบัติ” เสียก่อน

 
เมื่อยังไม่ได้ปฏิบัติ ธรรมะก็เป็นแค่ปรัชญาอันลึกซึ้งที่น่าสนใจ แต่ในโลกที่เป็นจริง พอกิเลสเกิดขึ้น
เราก็ทนต่อกิเลสไม่ได้ มันฉุดลากไปเลย ความรู้ของเรามันหายไปไหนก็ไม่รู้

 
การจะฆ่ากิเลสหรือนิวรณ์นั้นต้องเข้าใจคำว่า “ฆ่า” นั้นว่าหมายถึง การรู้เท่าทัน ฆ่าด้วยการรู้เท่าทัน

 
การปฏิบัติทุกขั้นตอน อย่าไปปฏิบัติเพื่อจะเป็นเพื่อจะเอาเพราะจะเป็นการปฏิบัติที่เป็นการพายเรือในอ่าง
ไม่เป็นการปฏิบัติที่จะข้ามไปฝั่งโน้น

 
ถ้าจะฟังเทศน์แต่ความจริงล้วน ๆ พระจะต้องขึ้นธรรมาสน์พูดแต่คำว่า “เกิด-ดับ เกิด-ดับ เกิด-ดับ”
คงไม่มีใครอยากฟัง ฟังไม่กี่ครั้งก็เบื่อ ผู้แสดงธรรมจึงต้องชูรสบ้าง หาอะไรมาประกอบ
การอธิบายเพื่อให้มันน่าฟัง แต่แท้จริงแล้วความรู้เกี่ยวกับโลกที่ลึกซึ้งที่สุดก็สักแต่ว่าความเข้าใจ
ในเรื่อง การเกิด และ การดับ
นักปฏิบัติผู้สามารถรู้แจ้งในการเกิดและการดับของสังขารย่อมเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย
และย่อมน้อมจิตไปเพื่อสิ่งที่อยู่เหนือการแตกสลาย

 
เมื่อเราเห็นด้วยตนเองและเข้าใจเรื่องกิเลสแล้ว เราจะเห็นความทุกข์หลายๆ อย่างในชีวิตเรานี้ไม่จำเป็นเลย
มันไม่ได้เกิดเพราะดวงไม่ดี หรือเพราะกรรมเก่า แต่เกิดเพราะความคิดผิดของเราต่างหาก

 
เราต้องรู้ว่าเดี๋ยวนี้เราปฏิบัติเพื่ออะไร เราปฏิบัติเพื่ออยากเอาอยากเด่นไหม
หลวงพ่อชาท่านก็สอนเสมอว่า อย่าปฏิบัติเพื่อจะเอาอะไร อย่าปฏิบัติเพื่อจะได้อะไร อย่าเป็นพระพุทธเจ้า
อย่าเป็นพระอรหันต์ อย่าเป็นพระอนาคามี อย่าเป็นพระสกิทาคามี อย่าเป็นพระโสดาบัน
อย่าเป็นอะไรเลย เป็นแล้วมันเป็นทุกข์

 
อย่าเป็นอะไรเลย สบาย ความสบายอยู่ตรงที่เราไม่ต้องเป็นอะไร เราไม่ต้องเอาอะไร ภาวนาจนไม่มีความรู้สึก
ว่าได้กำไรหรือขาดทุนจากการปฏิบัติ มีความรู้สึกราบรื่น สิ่งภายนอกขึ้นๆ ลงๆ แต่เราก็ไม่ขึ้นๆ ลงๆ ตาม
เราอยู่ด้วยความวางเฉยของผู้รู้เท่าทัน อาการแห่งความสุขก็มีอยู่ แต่มันอยู่ข้างนอกมันไม่ได้เข้าไปถึงใจของเรา

 
จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต อันนี้เป็นหลักสำคัญมาก ท้องฟ้าไม่ใช่เครื่องบิน เครื่องบินไม่ใช่ท้องฟ้า
ท้องฟ้าก็อยู่อย่างนั้นแหละ เมฆก็ผ่านไปผ่านมา เครื่องบินก็ผ่านไปผ่านมา
เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว อันนี้เป็นอากาศ แต่ว่าอากาศไม่ใช่ท้องฟ้า ท้องฟ้าไม่ใช่อากาศ

 
จิตไม่ใช่อารมณ์ อารมณ์ไม่ใช่จิต เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวพอใจ เดี๋ยวไม่พอใจ อันนี้ก็เป็นอารมณ์
แต่อารมณ์ไม่ใช่ใจ ที่ว่าวันนี้ใจไม่ดี ใจไม่สบาย ความจริงไม่ใช่เรื่องของใจนี่ ใจมันนิ่ง
ความยินดีและความยินร้าย ความพอใจและความไม่พอใจเป็นเรื่องของอารมณ์ต่างหาก ให้รู้จักแยกจิต
ออกจากอารมณ์ ยอมให้อารมณ์เป็นอารมณ์ ให้จิตเป็นจิต นี่เราจะมีความสบายอยู่ตรงนี้

 
การภาวนาคือ การลดความโง่ของตัวเอง ผู้ที่หาว่าไม่มีเวลาภาวนา คือผู้ที่ถือว่าไม่มีเวลาลดความโง่ของตัวเอง

 
ผู้ที่มีสติกำหนดรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จะเป็นผู้ที่รู้สึกสดใสและเป็นผู้ไม่กระสับกระส่าย กระวนกระวายที่จะแสวงหา
ความสุขและความมั่นคงจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือจะเป็นความรักความเคารพ
จากคนอื่น
ทีนี้ เราไม่มีความรู้สึกว่าเราขาดอะไร ไม่ต้องการอะไรจากใครในโลก เราไม่มีความรู้สึกว่าเรามีอะไรเกิน
จะมีแต่ความรู้สึกว่ามันพอดี ตรงนี้แหละจิตเป็นธรรม

 
เราไม่ต้องไปแสวงหาความแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ให้มารู้จัก มาตระหนักกับสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว
ตามธรรมดา ๆ นั่นแหละ
ปัญญาไม่ได้เกิดจากสิ่งผิดปกติ แต่มันเกิดจากการรับรู้อย่างทะลุปรุโปร่งต่อสิ่งปกติ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 02:12:38 pm »



พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน
 

ขณะเรากำลังมีชีวิตอยู่นี้ ร่างกายกับจิตใจยังอยู่รวมกัน แต่สักวันหนึ่งมันจะพลัดพรากจากกันไป
ร่างกายเป็นรูปคือ วัตถุธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ
จึงต้องหาเลี้ยงเขาด้วยเงินทองอันเป็นโลกียทรัพย์มีปัจจัย ๔ เป็นต้น

จิตใจเป็นนาม คือ วิญญาณธาตุ กอปรด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงต้องเลี้ยงเขา
ด้วยบุญกุศลอันเป็นอริยทรัพย์ มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
ผู้ใดมุ่งเลี้ยงเฉพาะแต่ร่างกาย หรือบำรุงแต่จิตใจเพียงอย่างเดียวความเจริญของชีวิต
ย่อมขาดตกบกพร่องไป
หากผู้ใดเข้าใจเลี้ยงทั้งร่างกายและบำรุงจิตใจไปพร้อมกันความเจริญของชีวิตย่อมเพิ่มพูนยิ่งขึ้น
ยังมีชีวิตอยู่ก็สบาย ตายไปก็ต้องเป็นสุข

 
หลัก “๕ พอ” ...ข้อปฏิบัติประจำวันของตน ๆ

๑. ให้มีศีลธรรมพอดี
๒. ให้มีวิชาพออาศัย
๓. ให้มีปัจจัยพอใช้
๔. ให้มีอนามัยพออยู่
๕. ให้มีบุญกุศลพอเพียง

 
การทำลายน้ำใจคนเป็นบาปเหลือหลาย
การให้กำลังใจคนเป็นบุญมหาศาล

 
ไม่มีใครช่วยให้เราพ้นเกิดตายได้
จะต้องใช้วิชาพระ ละเกิดตายด้วยตนเอง

 
มีพระเครื่องแขวนที่คอก็ดี
แต่ควรมีพระรัตนตรัยแขวนที่ใจไว้ด้วย

 
อยู่ที่ไหน ไปที่ใด นั้นไม่แน่
ขอเพียงแค่ ทำแต่ดี มีจิตใส
อยู่ก็ดี ไปก็ดี ไม่มีภัย
จงตั้งใจ ไว้อย่างนี้ มีแต่คุณ

 
การสังวรเป็นอาภรณ์ของสมณะ
สัมมาคารวะเป็นอาภรณ์ของคฤหัสถ์

 
ปฏิสนธิ จุติ มิกำหนด
อย่ากำสรด ถึงคราว ก้าวออกหนอ
ดีไว้พอ ก่อให้ ไปสุคโต
อย่าไปโง่ ยึดมั่น การผันแปร

 
แก่แต่หวาน ด้วยการ ไม่ประมาท
เจ็บป่วยอาจ บำราศง่าย เมื่อใจแข็ง
ตายเป็นตาย ไม่หวั่น มั่นบุญแรง
พรากจากแหล่ง แห่งใด ย่อมไปดี

 
อันสังขาร ร่างกาย นั่นไม่เที่ยง
สุดบ่ายเบี่ยง บั้นปลาย ต้องตายหนอ
จงทำดี แต่วันนี้ อย่ารีรอ
รู้จักพอ ก่อสุข ทุกสถานเอย
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 02:02:25 pm »



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
 

ใครจะบริกรรมภาวนากรรมฐานบทไหนอย่างไร เมื่อสภาวะจิตสงบสู่ความเป็นสมาธิ
ย่อมมีลักษณะเดียวกันหมด
เพราะฉะนั้นเราอย่าเอาตำรามาคัดค้านกัน ให้เอาสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
จากการปฏิบัติ... มาเปรียบเทียบกัน เราจึงจะลงเอยกันได้

 
สมาธิอันใดที่ไม่สนใจเกี่ยวกับเรื่องชีวิตประจำวัน หนีไปอยู่ที่หนึ่งต่างหากของโลกแล้ว
สมาธิอันนี้ ทำให้โลกเสื่อม และไม่เป็นไปเพื่อทางตรัสรู้มรรคผลนิพพานด้วย

 
ความจริงโลกนะ เป็นอารมณ์ของจิต ในเมื่อจิตตัวนี้รู้ความจริงของโลกแล้ว
มันจะปลีกตัวไปลอยเด่นอยู่เหนือโลก
แล้วมันอาศัยโลกนั่นแหละเป็นบันไดเหยียบไปสู่จุดที่อยู่เหนือโลก

 
ถ้านักปฏิบัติท่านใดปฏิบัติแล้วมัวแต่ไปนับขั้นสมาธิ ขั้นญาณ ขั้นฌาน สิ่งรู้สิ่งเห็นทั้งหลาย
ก็ไปติดอยู่ที่ตรงนั้น
เพราะฉะนั้น จะเป็นความรู้ที่เรียกว่า ปัญญาในสมาธิ ก็ตามเป็น นิมิต ที่เกิดขึ้นก็ตาม
ท่านให้กำหนดหมายเพียงแค่เป็นอารมณ์จิตเท่านั้น จะไปยึดเอาสิ่งนั้นเป็นของดีของวิเศษไม่ได้

 
การบำเพ็ญสมาธิจิตเพื่อให้เกิดสมาธิ สติ ปัญญา มีหลักที่ควรยึดถือว่า “ทำจิตให้มีอารมณ์สิ่งรู้
สติให้มีสิ่งระลึก” จิตนึกรู้สิ่งใดให้มีสติสำทับเข้าไปที่ตรงนั้น

 
ขอให้ถือคติว่า สมาธิหรือการปฏิบัติธรรมอันใด ถ้าหากมันเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
เป็นไปเพื่อพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์...
พึงเข้าใจว่ามันเป็นมิจฉาสมาธิ ซึ่งออกนอกหลักพระพุทธศาสนา

 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ใครทำกรรมใดไว้จะได้รับผลขอกรรมนั้นแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า

 
การปฏิบัติตามแนวของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง อยู่ที่การสร้างจิตของตัวเองให้มีพลังเข้มแข็ง
มีสติสัมปชัญญะรู้รอบ
อยู่ที่ตัวเองสามารถยืนหยัดอยู่ในความเป็นอิสระได้ตลอดกาล ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอะไร

 
สอนสมาธิ ต้องสอนสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุด ความรู้เห็นอะไรที่เขาอวด ๆ กันนี่ อย่าไปสนใจเลย
ให้มันรู้เห็นจิตของเรานี่ รู้กายของเรา

 
ภาวนาให้จิตสงบได้รู้ธรรมเห็นธรรมได้ภายในบ้าน จะมีคุณค่าดียิ่งกว่านิมนต์พระไปสวดมนต์ตั้งหมื่น ๆ องค์

 
สิ่งใดที่เรารู้เท่าทัน สิ่งนั้นไม่สามารถที่จะดึงใจของเราไปทรมานให้เกิดทุกข์ขึ้นได้

 
อดีตเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้ว อนาคตก็เป็นสิ่งที่ยังไม่มาถึง ดังนั้นเรามาสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบันดีไหม
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 09:43:24 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 01:15:19 am »



หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
 

เราเห็นธรรมะของจริง จิตใจของเราก็ต้องมีความจริงด้วย การปฏิบัติของเราก็ต้องมีความจริงด้วย

 
แม้แต่ร่างกายนี้ก็ไม่เป็นของเราเลย พึ่งไม่ได้ แล้วเราจะไปหวังพึ่งทรัพย์พึ่งบุตรเอามาทำอะไร

 
จิตกับธรรมต้องเป็นอันเดียวกัน เดี๋ยวนี้จิตกับกิเลสมันเป็นอันเดียวกัน ไม่ค่อยจะรับธรรมเข้ามา
ธรรมยังรับไม่ค่อยจะได้ แต่กิเลสไม่ต้องทวง
เพราะเหตุนั้น เราพยายามถ่ายเท ให้หลงลืมเรื่องที่ไม่ตรงกับธรรม พยายามใกล้ชิดสนิทกับธรรมให้มาก


งานกรรมฐานการภาวนานี้... เป็นงานชั้นละเอียด
เพราะฉะนั้น เครื่องมือก็ต้องละเอียด สติของเราก็จะต้องละเอียด ความรู้ความระลึกจะต้องรักษาละเอียดไปด้วย
เราจะคะนองไม่ได้... อย่าปล่อยให้กิเลสคะนองกาย คะนองวาจา และคะนองใจ

 
ถ้าเราฉลาด เราจะได้ความสงบในท่ามกลางที่วุ่นวายนี่แหละ


อวิชชาที่จะดับ ก็ดับเพราะเรามารู้จริงอันนี้ เมื่อมันรู้จริงแล้วความไม่รู้จะอยู่ได้อย่างไร...
ที่เคยหลงเข้าใจผิดแต่ก่อนว่าเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา
พยายามตกแต่งให้มันสะอาด ให้มันน่าเพลิดเพลินยินดี ถ้ามาดูจริง ๆ แล้วสิ่งที่เราเข้าใจมาแต่ก่อน
ล้วนแต่เป็นความเข้าใจผิด ไม่เป็นความจริงโดยธรรม แต่เป็นความจริงสำหรับปุถุชนผู้ยังหนา 



การปฏิบัติไม่ควรให้ลุ่มๆ ดอนๆ สูงๆ ต่ำๆ เป็นคลื่น... คลื่นคืออะไร คือเราปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ
เวลาเคร่งภาวนาก็ข่มจิตข่มใจเคร่งเพื่อให้สงบ
เวลาออกจากภาวนาก็ปล่อยจิตให้ฟุ้งไป ไม่ระวัง ไม่รักษา ไม่ค่อยจะรู้ตัว ไม่ค่อยจะกำหนดเข้ามา...

เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายพึงรู้ตัว ที่เราปฏิบัติสงบยากเพราะเรารักษาไม่ได้ จิตที่มันลุ่มๆ ดอนๆ
เวลาเคร่งก็เคร่ง เหมือนกับจะเอาให้ได้พระนิพพานในวันนั้นเวลานั้น เวลาหย่อนก็หย่อน
ปล่อยให้ความมัวเมาเกิดขึ้น อาสวะมันไม่หมดก็เพราะอันนี้เอง ความมัวเมาในอารมณ์ที่ตาเห็น
หูได้ยิน... มาจากที่นี้แหละ


 
เราทั้งหลายเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว บัณฑิตทั้งหลายมาคัดค้านไม่ได้ เพราะเราได้กำหนดตัวธรรมแท้
คือ อนิจจัง เราจะเห็นอยู่ในกายนี้ อริยสัจธรรมทั้ง ๔ จะได้เห็นอยู่ในกายนี้ ทุกขังจะได้เห็นอยู่ในที่นี้ ไม่ได้เห็นที่อื่น
ถ้าเรามาเจริญความเห็น (สัมมาทิฎฐิ) ในสิ่งเหล่านี้ให้มากๆ ผลจะปรากฏแก่เราเอง

เมื่อผลบังเกิดขึ้นมาแล้ว ธรรมชาติก็รู้เองไม่ต้องบอกก็ได้... อย่าไปหลงคนนั้นพูดอย่างนั้น คนนี้พูดอย่างนี้
เราไม่ควรดูที่ไหน พยานหลักฐานคือกายของเรา เป็นอนิจจังแค่ไหนเราก็รู้ ไม่ได้โกหกใคร
ทุกขังเป็นทุกข์ มีโรคภัยไข้เจ็บมากมาย เจ็บป่วยขนาดไหนเราก็รู้ ไม่ได้โกหกใคร
มันเป็นความจริงอยู่ตลอดเวลา
การปฏิบัติรู้เห็นความจริงนี่แหละ เรียกว่า เห็นธรรม สภาวะแห่งความจริง เราจะได้รู้จริงเห็นจริง
รู้แจ้งแทงตลอด จะได้พ้นทุกข์
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 12:09:54 am »



หลวงพ่อพุทธทาส
 

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งบรมธรรม สำเร็จได้ด้วยใบไม้กำมือเดียว
ไม่ต้องเรียนจนจบพระไตรปิฎก
หรือไม่ต้องเรียนกันมากมาย ชั่วใบไม้กำมือเดียวว่า ทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร นี่ก็...กำมือเดียว
 

พระพุทธองค์ท่านมีการตรัสทั้งภาษาคนและภาษาธรรม ต้องฟังให้ดี เช่นตรัสโดยภาษาคนว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน”
แต่ตรัสโดยภาษาธรรมว่า “ตัวตนของตนนั้นไม่มี”
ดังนี้ ถ้าฟังไม่ดีจะไม่รู้เรื่องและเห็นว่าเป็นคำพูดที่ขัดกัน ถ้ารู้จักฟังโดยหลักภาษาคนภาษาธรรมแล้วจะไม่ขัดกันเลย

 
พระพุทธองค์ตรัสว่า “แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติแต่เรื่องทุกข์กับความดับ
ไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น”
ดังนั้น พวกเราอย่าต้องเสียเวลาในการศึกษาการถามการเถียงกันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้กันอีกเลย


คนมีใจเดินต่ำ มนุษย์มีใจเดินสูง แล้วจะไม่ต่างกันยิ่งกว่าฟ้าและดินซึ่งหยุดอยู่เฉย ๆ ได้อย่างไร

 
การมีธรรมะ แท้จริงก็คือสามารถดำรงตนอยู่เหนือปัญหาหรือความทุกข์ทั้งปวง
ไม่เกี่ยวกับ
ปริญญาบัตร ฯลฯ พิธีรีตอง หรือหลักปรัชญาชนิดฟิโลโซฟีใด ๆ

 
จะมีสติสัมปชัญญะสมบุณณ์ที่สุดนั้น จะต้องมีวิธีฝึกไปในทางที่จะคอยเฝ้ากำหนด
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของ เวทนา สัญญา และวิตก

 
ถ้าใครสามารถเอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้ามากำกับอยู่กับชีวิตประจำวันแล้ว
คนนั้นชื่อว่ามีเชื้อต้านทานโรคสูงสุด แล้วอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส นั้นจะไม่เกิดเป็นพิษขึ้นมาได้
เราจะมีอยู่ เป็นอยู่อย่างมีความเกษม

 
อนาคตคือ ความฝัน ปัจจุบันคือภาพมายา อดีตคือ ปัญหาที่สะสมไว้ พระอรหันต์จึงอยู่เหนือ
ความหมายของเวลา

 
จิตที่คิดจะให้นั้นมันสูงกว่าจิตที่คิดจะเอา

 
อย่าอยู่ด้วยความหวัง แต่อยู่ด้วยสติปัญญา สติปัญญารู้ว่าควรทำอะไรก็ทำ อย่าไปหวัง ทำให้มันถูกต้อง
ผลมันมาเอง ไม่ต้องหวังให้มันกัดกินหัวใจ
หวังเมื่อไหร่ก็กัดกินหัวใจเมื่อนั้น อย่าอยู่ด้วยความหวัง แต่อยู่ด้วยความถูกต้องของการประพฤติการกระทำ

 
เรื่องกรรมที่ถูกต้องแท้จริงในพระพุทธศาสนา คือ เรื่องกรรมไม่ดำไม่ขาว เป็นที่สิ้นสุดแห่งกรรมดำกรรมขาว
คือเหนือดีเหนือชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์ เป็นไปเพื่อนิพพานส่วนเดียว
เพียงแต่สอนว่าทำดี – ดี ทำชั่ว - ชั่ว นั้นยังมิใช่ ของพระพุทธเจ้าแท้ เพราะมีสอนกันอยู่ก่อนพุทธกาล
แต่ก็ยังคงเรียกว่า กรรมวาที ได้เหมือนกัน เป็นเรื่องกรรมครึ่งเดียวไม่สมบูรณ์

 
คนเรานั้น ทุกคนมีร่างกายซึ่งเรียกว่ารูป แล้วก็มีส่วนที่เป็นใจ แยกเป็น จิตส่วนหนึ่ง เป็นเจตสิกส่วนหนึ่ง เป็นจิต
นั้นคือ ตัวที่เป็นประธานยืนโรงจนกว่าจะดับจิตในที่สุด
ทีนี้ เจตสิกก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต ปรุงแต่งจิตให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ คือปรุงแต่งจิตดวงเดียวนั้น
ให้มีลักษณะอาการเป็นสิบๆ อย่างหรือเป็นร้อยๆ อย่าง จะดีหรือชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว แล้วแต่เจตสิก

 
การฝึกอานาปานสติ
อันดับแรกที่สุด ก็ฝึกที่ตัวลมหายใจ
อันดับถัดไป ก็ฝึกความรู้สึกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการฝึกลมหายใจนั้นอยู่ทุกลมหายใจ
อันดับถัดไป ก็ไปพิจารณาจิตของตัวเองอยู่ทุกลมหายใจ

อันดับถัดไป ก็พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นต้น ที่เกิดขึ้นอยู่กับลมหายใจ
ที่เกิดขึ้นอยู่กับเวทนา ที่เกิดขึ้นกับจิต อยู่ทุกลมหายใจ
เพราะฉะนั้น อานาปานสตินี้ มันจึงสูงขึ้นไปเป็นลำดับ กระทั่งหายใจเป็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา อยู่ทีเดียว กระทั่งมีความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดอยู่ทุกลมหายใจทีเดียว
กระทั่งจิตหลุดพ้น รู้สึกตัวว่าจิตหลุดพ้นทุกลมหายใจเข้าออกทีเดียว
ตลอดสายนี่แหละ เรียกว่า อานาปานสติภาวนา นับขึ้นไปเรื่อยตั้งแต่ลมหายใจ กระทั่งบรรลุมรรคผล

 
เรียนชีวิตจากชีวิตดีกว่าเรียนจากพระไตรปิฎก ซึ่งบอกเพียงวิธีเรียนชีวิตได้อย่างไร
และนำไปเรียนที่ตัวชีวิตเองเมื่อยังไม่ตาย ...
นี้คือการเรียนความทุกข์จากความทุกข์ และพบความดับทุกข์ที่ตัวความทุกข์นั่นเอง

 
จงตายให้มีศิลป์ที่สุด คือ ตายอย่างรู้สึกว่า ไม่มีใครตายมีแต่สิ่งปรุงแต่งเปลี่ยนไป

 
ธรรมะมิใช่ตัวหนังสือหรือเสียงแห่งการแสดงธรรม แต่เป็นการกระทำหน้าที่ที่ถูกต้อง
ของผู้ปฏิบัติแต่ละคนอยู่ทุกอิริยาบถ ทุกเวลา ทุกสถานที่ อย่างถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ของตน
และแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกัน จึงจะเป็นธรรมที่ถูกต้องตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา
อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขได้จริง

 
บัดนี้ ยิ่งเจริญคือ ยิ่งยุ่ง ยิ่งเจริญที่สุดคือ ยิ่งเกินความจำเป็น เพราะปราศจากสติปัญญาอันทำให้เรา
รู้จักเจริญอย่างถูกต้องพอเหมาะพอดีเป็น มัชฌิมาปฏิปทา
จงรู้จักเจริญกันเสียใหม่ในด้านจิตวิญญาณที่อาจดับทุกข์ของตนได้เถิด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 04:06:24 pm »



หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต


ต้องเป็นผู้มีสัจจะ ตั้งฐานทัพไว้ให้ดี ตั้งมั่นด้วยความอดทน มานะ สัจจะ เพียรเพ่งเร่งภาวนา
ขยันหมั่นเพียร
ฝนทั่งให้เป็นเข็มต้องถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาเล็กน้อย ความเพียรเป็นตบะเผากิเลส

 
ศรัทธาเชื่อในเป้ากรรมฐานที่ตั้งไว้ เพียรประกอบกับกรรมฐานที่ตั้งไว้ สติระลึกไว้ในกรรมฐานที่ตั้งไว้
สมาธิตั้งมั่นในกรรมฐานที่ตั้งไว้ ปัญญารอบรู้ในกรรมฐานที่ตั้งไว้นั้น
ผลรายรับก็ต้องปรากฏเอง ตามส่วนควรค่าที่ทำน้อยและมาก ให้ผลไม่ลำบาก ไม่นิยมกาลเวลา
ไม่เหมือนต้นไม้ผลไม้ อันเป็นของนอก ขอให้สร้างเหตุดีพลีไว้ที่ดวงใจ

 
กรรมฐานแต่ละอย่าง ๆ มีพระคุณอยู่ก็จริง ยาแก้โรคแต่ละอย่าง ๆ มีคุณอยู่ก็จริง ถ้าวางไม่ถูกกับโรค
โรคก็หายยากด้วยข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าตัวของใครของมัน จะสังเกตรู้เองส่วนตัว

 
พระธรรมเป็นของลุ่มลึก แต่จะลึกสักเพียงใดก็ลึกลงที่ใจ จะตื้นก็ตื้นขึ้นที่ใจ ไม่ใช่ลึกตื้นอยู่ที่ดินฟ้าอากาศ
ลม ไฟ น้ำ ภายนอก

 
มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวนเวียน
มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้นทุกข์

 
ถ้ามุ่งแต่เป็นภาระน้อมออกนอก สอนผู้อื่นโดยถ่ายเดียวก็ขาดเมตตาตน
เมื่อขาดเมตตาตนแล้ว จะเมตตาต่อท่านผู้อื่นอย่างไรได้ เพราะไม่มีทุน จะเอาทุนที่ไหนไปจ่าย
ถ้ายืมไปจ่าย ดอกเบี้ยก็ท่วมทับถมมากขึ้นทวีหาไม่ทัน

 
มองตัวเองให้มากจึงจะเป็นคนดีได้ มัวแต่มองท่านผู้อื่นแล้วไซร้ ก็กลายเป็นคนพาลไปไม่รู้ตัว
เพราะนิสัยคนพาล ย่อมเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวัตร
โบราณท่านกล่าวว่า อุจจาระของตน นั่งดมอยู่ก็พอดมได้ อุจจาระท่านผู้อื่นเล่า มากระทบจมูกเข้า
ก็เกิดเป็นพิษเป็นภัยขึ้น (โลกทั้งปวงย่อมเป็นแบบนี้เป็นส่วนมาก)

 
ถ้าหากโลกทั้งปวงหนักไปทางสอนตนเองเป็นชั้นหนึ่ง และเป็นของจำเป็นมากกว่าสิ่งใดๆ แล้ว
การโต้เพียงเกี่ยงงอนรังเกียจเบียดสีกัน ก็คงสงบไปในตัวเท่าที่ควร
และพุทธศาสนาก็ยืนยันว่า “สอนตนดีแล้ว จึงสอนท่านผู้อื่น” จึงไม่เดือดร้อนในภายหลัง

 
ถ้าเราท้อแท้ในการพิจารณาให้ติดต่อ การเห็นธรรมตามเป็นจริงก็ไม่ชัด เมื่อไม่ชัด ความปีติยินดี
ความอิ่มใจก็ไม่มี ความอ่อนแอและขี้เกียจก็ได้ช่อง
วิชาผัดวันประกันพรุ่งและหลีกเลี่ยง แก้ตัวก็สอบได้ชั้นเอก ติดนิสัยเสียเวลาไปวันละเล็กวันละน้อย
บวกคูณทวีไปในตัว กลายเป็นหมันไปโดยมิรู้ตัว

 
ผู้ที่ไม่มีสติลืม ๆ หลง ๆ เป็นเจ้าใหญ่นายโตของขันธสันดาน แล้วไม่พอใจกำหนดลมออกเข้า
ความลืม ๆ หลงๆ นั่นเล่าก็ยิ่งบวกทวีคูณหนักเข้า

 
การแก้ใจในด้านพระสติ พระปัญญา ถ้าสำคัญใจว่าเป็นตน ตนเป็นใจแล้ว ก็ไม่มีที่จะขุดรากกิเลส
ออกจากใจได้โดยง่าย

 
พระนิพพานไม่ใช่ผู้รู้ เหนือผู้รู้ไปจนไม่มีที่หมาย
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2010, 04:03:56 pm »



หลวงพ่อชา สุภทฺโท
 

ใจจะสงบได้ ก็ด้วยความเห็นที่ถูก

 
คนตายแล้วเดินได้ พูดได้ หายใจได้ ใครเคยเห็นไหม ใครเคยคิดไหม ตายทางจิต... ตายทางสติปัญญา

 
ดูซิ... เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ...ผ้าสกปรก ไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

 
...เราจึงไม่จำกัดรูปแบบการปฏิบัติ แต่มักสอนให้ภาวนา พุทโธ หรือ อานาปานสติ คือการกำหนดลมหายใจเข้าออก
ทำไปพอสมควรแล้วจึงค่อยทำความรู้ความเห็นของเราให้ถูกต้องเรื่อยไป


ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์
อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์
ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบเรื่องแค่นี้เอง ที่เราต้องมาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้

 
สติ เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งซึ่งให้ธรรมทั้งหาลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง สติ ก็คือ ชีวิต
ถ้าขาดสติเมื่อใดก็ตามเหมือนตาย

 
การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลังมันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ
การออกกำลังกาย บริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง
การทำจิตให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่นคิดนี่ไปต่าง ๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน
เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน

 
การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นการฝึกยากแท้ๆ แต่อย่าไปท้อถอยง่าย ๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศ
ก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาดมันก็คิดอะไรไม่ออก มันก็วิ่งกลับมาเอง ให้ทำไปเถอะ

 
จิตของเรานี้ เมื่อไม่มีใครตามรักษา มันก็เหมือนคนคนหนึ่งที่ปราศจากพ่อแม่ที่ดูแล
เป็นคนอนาถานั้นเป็นคนที่ขาดที่พึ่งก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าขาดการอบรมบ่มนิสัย
หรือทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก

 
ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

 
การทำความเพียรให้ทำอย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ให้ฝืนทำไป ถึงจะคร้านก็ให้ทำ
จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ เมื่อจะนอนก็ให้กำหนดลมหายใจว่า
“ข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขในการนอน” สอนจิตไว้อย่างนี้ พอรู้สึกตัวก็ลุกขึ้นมาทำความเพียรต่อไป...

เวลานอน ให้นอนตะแคงข้างขวา กำหนดอยู่ที่ลมหายใจ “พุทโธ พุทโธ” จนกว่าจะหลับ
ครั้นตื่นก็เหมือนกับมี “พุทโธ” อยู่ไม่ขาดตอนเลย จึงจะเป็นความสงบเกิดขึ้นมา มันเป็นสติอยู่ตลอดเวลา

 
สมเด็จพระบรมศาสดา ท่านตรัสสอนไว้แล้วทุกอย่างในเรื่องการประพฤติปฏิบัติ แต่พวกเราทั้งหลาย
ยังไม่ได้ปฏิบัติกันหรือไม่ก็ปฏิบัติแต่ปากเท่านั้น
หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ หรือด้วยการเดา หรือการคิดเอาเอง

หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว การสอนก็ไม่จำเป็น แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้ แม้จะฟังคำสอนเท่าใด
ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง

 
เวลาในชีวิตของเรามีไม่มากนัก ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องไปพยายามสอนคนอื่น เดินไปเดินมาก็ให้สอนตัวเอง
เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะไป จะมา
ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ... ถ้าเราตามดูจิตเรา มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอ
สติจะติดต่อเป็นวงกลม ปฏิบัติเช่นนี้เร็วมาก ปัญญามันจะเกิดขึ้น มันจะเห็นตามสภาวะมันเองทุกๆ อย่าง

 
การนั่งสมาธิ นั่งให้ตัวตรง อย่างเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ
มันจึงสว่างไสวดี
ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ให้อดทนจนขีดสุดเสียก่อน ปวดก็ให้ปวดไป อย่างเพิ่งรีบเปลี่ยน
อย่าคิดว่า “บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า” อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดนั้นแล้ว
ก็ให้ทนต่อไปอีก ทนต่อไป ๆ จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า “พุทโธ”

เมื่อไม่ว่า “พุทโธ” ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาว่าแทน “อุ๊ย เจ็บ เจ็บแท้ ๆ หนอ” เอาเจ็บนั้นมาเป็นอารมณ์
แทน “พุทโธ” ก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อยๆ นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธเจ้าว่ามันปวดเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไปก็อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้ง ๆ
เท่าเม็ดข้าวโพดไหลย้อยมาตามอก ถ้าครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้ว มันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ
ให้ค่อยทำไปเรื่อย ๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป

 
จิตนี้ ถ้าอารมณ์มาถูก มันก็กวัดแกว่งไปตามอารมณ์ ยิ่งมันไม่รู้เรื่องธรรมะแล้ว ก็ยิ่งปล่อยไป
ตามอารมณ์ของเจ้าของเรื่อยไป อารมณ์สุขก็ปล่อยตามไป อารมณ์ทุกข์ก็ปล่อยตามไป
วุ่นวายไปเรื่อย ๆ
จนชาวมนุษย์ทั้งหลายเกิดเป็นโรคประสาท เพราะไม่รู้เรื่อง ปล่อยไปตามอารมณ์ ไม่รู้จักรักษาจิตของเจ้าของ

 
การปฏิบัติจริงๆ ต้องปฏิบัติเมื่อมีอารมณ์ มีสติตามรู้เท่าทันอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่เลือกเวลา สถานที่
หรือโอกาส ทุกอิริยาบถเป็นการปฏิบัติอยู่ทั้งนั้น

 
ผู้ใดมีสติอยู่ทุกเวลา ผู้นั้นก็ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา