ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 10:52:34 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 01:04:39 pm »

อนุโมทนาค่ะ   :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 09:45:47 am »


 
 
เปลวไฟในสะดือ
 
หนึ่งเดือนหลังการชุมนุมของเหล่าผู้รับรางวัลโนเบลที่ออสโล ผมมีโอกาสสัมภาษณ์ใหญ่ทะไลลามะที่ธรรมศาลา ระหว่างการพูดคุย ถึงวิถีแห่งการให้อภัย ทรงเล่าถึงเรื่อง ล็อบซัง เท็นซิน ว่าการให้อภัยอย่างแท้จริงช่วยให้การเติบโตทางจิตวิญญาณของเขาก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว
 
" เท็นซินเป็นนักต่อสู้เพื่อการปลดแอกธิเบต เขาอาศัยอยู่ในเขตเป็มโปและเป็นหนึ่งในผู้นำของหมู่บ้าน " ทะไลลามะเกริ่น " เขาถูกทางการ จีนจับกุมและขังคุกในปี ๑๙๕๙ ต่อมาจึงหลบหนีมาอยู่ในอินเดีย เดิมทีเขาไม่มีความเข้าใจใด ๆ ในหลักพุทธธรรม เขาลองฝึกพลังร้อน ที่เรียกว่าทูโม * ด้วยตนเองในช่วงที่อายุมากแล้ว "
 
ระหว่างฝึกปฏิบัติอยู่ในถ้ำบนเขาเขตธรรมศาลา เท็นซินเห็นแสงสว่างจ้า สัญญาญาณแรกที่บอกให้รู้ว่าเขาก้าวหน้าขึ้นไปขั้นหนึ่งในสาย การฝึกของตันตระ เขาลองหลับตาเพื่อดูว่าแสงที่เห็นจะหายไปหรือไม่ แสงนั้นกลับส่องสว่างยิ่งขึ้น ทั้งปรากฏภาพหมู่ดอกไม้ที่สวยงาม แล้วเขาก็รู้สึกถึงไอร้อนที่เผารน ราวกับมีเปลวไฟลุกปะทุอยู่ในท้องบริเวณสะดือ เมื่อเพ่งสมาธิที่ไฟนั้น เท็นซินค้นพบว่าตนสามารถขยาย ลดขนาด และควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกไฟนั้นได้ จึงเคลื่อนมาไว้ใกล้หัวใจ กำหนดไว้ที่นั่น และเจริญสมาธิต่อจนเข้าสู่อารมณ์ใหม่ ซึ่งเขาค้นพบว่าตนเองสามารถทนทานต่อความหนาวเย็นได้ เท็นซินงงงวยกับประสบการณ์ และความสามารถใหม่ที่ค้นพบจากการเจริญสมาธิให้เกิดพลังร้อนหรือทูโม
 
 
หลังจากฝึกปฏิบัติอยู่ราวหนึ่งปี เท็นซินพบว่าสมาธิของเขาก้าวไปอีกขั้น เขาสามารถเจริญพลังร้อนได้ง่ายขึ้นและมีพลังสูงขึ้น ทั้งสามารถนำทางพลังร้อนนั้นไปสู่แนวจักรในร่างกายได้ เมื่อใดที่ทำเช่นนั้น เขาจะเข้าสู่ภวังค์ปีติที่ดิ่งลึกและทอดยาว
 
ช่วงต้นทศวรรษ ๑๙๘o ทะไลลามะแนะแก่เท็นซินซึ่งเวลานั้นอายุ ๔o เศษ ให้ยึดทูโมเป็นหลักในการปฏิบัติธรรม เท็นซินจึงเดินทางไป มานาลี เมืองเล็ก ๆ บนเขาในรัฐหิมาชัลประเทศของอินเดีย เพื่อฝึกกับลามะเค็นท์เซ ผู้รู้ในศาสตร์ทูโม
 
" ลูกศิษย์ของลามะเค็นท์เซฝึกเจริญทูโมตลอดทั้งปี โดยใช้เทคนิคผ้าเปียก แม้ในวันที่อากาศหนาวเหน็บ พวกเขาก็แทบจะไม่ใส่เสื้อผ้า " ทะไลลามะเล่า " เขาจะเอาผ้าชุบน้ำที่เย็นเหมือนน้ำแข็ง บิด นำมาห่มตัวแล้วเข้าสมาธิ เพียงไม่กี่นาที น้ำจะระเหยกรุ่นเป็นไอ และผ้าแห้งสนิทในเวลาไม่ถึงชั่วโมง พวกเขาจะปลดผ้าออกชุบน้ำอีก นำมาห่ม ทำซ้ำอย่างนั้น ๑o - ๑๓ ครั้งต่อคืน เรื่องนี้ทำให้ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบ็นสัน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดสนใจ และเดินทางมาธรรมศาลา เพื่อทำการทดลองกับผู้ที่ฝึกทูโมอยู่บนภูเขา พวกเขาทึ่งกับความสามารถของเท็นซินในการเจริญความร้อนในร่างกาย จึงมาขออนุญาตฉันและเชิญเท็นซินไปทดสอบเพิ่มเติมที่ฮาร์วาร์ด "
 
กรรมะ เกเลก ลามะหนุ่มซึ่งพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง เดินทางไปสหรัฐอเมริกาพร้อมเท็นซิน เขาเล่าให้ผมฟังว่า การเดินทางหนนั้น เมื่อปี ๑๙๘๕ ค่อนข้างยากลำบาก เท็นซินไปถึงบอสตันในอาการเมาเครื่องรุนแรง เขาเหน็ดเหนื่อยและอยากขอเลื่อนการทดลองไปจน กว่าจะหายดีและปรีบตัวได้ แต่ห้องทดลองของ ดร.เบ็นสัน มีตารางงานแน่นมาก การทดลองจึงมีขึ้นในวันรุ่งขึ้น
 
ในห้องทดลองที่คุมอุณหภูมิไว้ต่ำระดับห้องแช่แข็ง เจ้าหน้าที่ต่างใส่เสื้อกั๊กทับอยู่ในเสื้อคลุมแล็บสีขาว ขณะที่เท็นซินต้องถอดจีวรท่อนบน ออกจนเหลือแต่เสื้อกล้ามผ้าฝ้ายเนื้อบาง และเผชิญการทดสอบมากขั้นตอนที่ดูไม่จบสิ้น จากคำบอกเล่าของเกเลก ตลอดการทดสอบนั้น เท็นซินอยู่ในสภาพเหมือนถูกแช่แข็งดี ๆ นี่เอง
 
 

 
 
ในที่สุดเมื่อเท็นซินดิ่งอยู่ในสมาธิ ความต้องการออกซิเจนของเขาลดลงอย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับการทำงานของระบบเผาผลาญ ในร่างกาย เขาหายใจเข้าออกเพียง ๕ - ๖ ครั้งต่อนาที จากปกติ ๑๓-๑๔ ครั้ง เมื่อทูโมได้รับการการตุ้นเต็มที่ อุณหภูมิร่างกายของ เขาเพิ่มขึ้นถึง ๑o องศา ดร.เบ็นสันเขียนในรายงานกรณีศึกษาผู้ปฏิบัติทูโม ( ศาสตร์แห่งจิต : บทสนทนาระหว่างตะวันและตะวันตก , องค์ทะไลลามะ ฯลฯ สำนักพิมพ์วิสดอม , ๑๙๙๑ ) " จากการทดลองเหล่านี้ เราค้นพบว่า กระบวนการทำสมาธินำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ทางสรีระอย่างสำคัญ ซึ่งมีผลงานโดยตรงต่อสุขภาพ ... ความป่วยไข้มักมีมีสาเหตุหรือทรุดลงจากความเครียด "
 
ผมทึ่งกับเรื่องราวของล็อบซัง เท็นซิน ทั้งประหลาดใจว่าผู้ที่เคยจับอาวุธขึ้นสู้เพื่ออิสรภาพและเคยสังหารผู้คน กลับสามารถพัฒนาพลัง ทางจิตวิญญาณขั้นสูงเมื่อมีอายุมากแล้วได้อย่างไร ขณะที่พระธิเบตส่วนใหญ่ที่อุปสมบทอยู่ในอาราม มักเริ่มต้นการปฏิบัติธรรมตั้งแต่อายุ ๖ - ๗ ปี
 
กรรมะ เกเลกเล่าว่า เท็นซินเชื่อว่า การเติบโตทางจิตวิญญาณของตนเริ่มต้นและก้าวหน้าอย่างรวดเร็วระหว่างอยู่ในคุกจีน ในช่วงที่ต้องทน ทุกข์นั้นเอง เขาเกิดตระหนักรู้ ๒ ประการด้วยกัน หนึ่ง ช่วงเวลาที่เขาทนทุกข์ทรมาณอยู่ในคุกนั้น เป็นผลกรรมที่เกี่ยวเนื่องหรืออาจเรียกได้ ว่าเป็นกรรมทันตาจากการที่เขาเข่นฆ่าชาวจีนในช่วงการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของธิเบต สอง เขาหยั่งเห็นว่า หากปล่อยให้ความเกลียดชังชาวจีน สุมรุมใจตนเอง หากมุ่งหมายแต่การแก้แค้น ก็รังจะทำให้ตัวเองเสียสติ
 
แม้การทารุณกรรมทางกายโดยทหารจีนจะอยู่เหนือการควบคุม แต่ที่สุดเท็นซินตระหนักว่า ทหารจีนเพียงลำพังไม่สามารถทำอะไรต่อ จิตใจเขาได้ ทางเดียวที่จิตจะได้รับความกระทบกระเทือน ก็ด้วยทัศนะและการสนองตอบของเขาเอง ในสภาพการณ์อันเลวร้ายนั้น เขาพบว่าหากสามารถปรับอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้ที่จองจำเขาให้เป็นกลาง หรือดีกว่านั้นคือเป็นบวก เขาจะสามารถนอนหลับได้ และไม่ ว่าจะโดนทรมาณสาหัสแค่ไหน จิตเขาเองจะเป็นกำบังภัยให้หลบลี้เข้าพักได้ทุกเมื่อ
 
ตามคำบอกเล่าของเกเลก เท็นซินได้เอาชนะความเกลียดชังที่มีต่อชาวจีน เขายกโทษให้คนเหล่านั้น และภายหลังยังสามารถเจริญให้ เกิดการุณยจิตอันบริสุทธิ์ต่อชาวจีน สิ่งนี้อธิบายว่าเหตุใดเขาจึงผ่านความทุกข์ยากในคุกมาโดยได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ น้อยเหลือเกิน ในช่วงท้ายของชีวิตในคุก เท็นซินหันมาเชื่ออย่างแท้จริงในอำนาจการเยียวยาจากการให้อภัย เกเลกคิดว่านั่นทำให้เท็นซินก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติธรรม และการพัฒนาพลังทูโม
 
" เช่นนี้แล้ว การสามารถให้อภัยแก่ศัตรูมีผลต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมหรือครับ " ผมถามทะไลลามะ
 
" ใช่อย่างไม่ต้องสงสัย " ทรงตอบ " เรื่องนี้สำคัญมาก เป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่สุด สามารถเปลี่ยนชีวิตเราได้ การจะบรรเทาความเกลีดชังและ อกุศลจิตทั้งหลาย เราจักต้องเจริญเมตตาและกรุณา หากเรามีการุณจิตที่เปลี่ยมล้น และเคารพผู้อื่นอย่างจริงแท้ การอภัยย่อมเป็นเรื่องง่าย และเราจักไม่ต้องการทำร้ายผู้อื่น การอภัยช่วยโน้มนำจิตไปสู่อารมณ์ที่เป็นกุศลซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า "
 
" ท่านมีวิธีเจริญภาวนาพิเศษใดสำหรับเรื่องนี้หรือไม่ " ผมถาม
 
" ฉันใช้การภาวนาที่เรียกว่าการให้และการรับ " ทรงอธิบาย " ด้วยการตั้งจิตว่ากำลังแผ่กุศลจิต อย่างความสุข ความรักแก่ผู้อื่น จากนั้น กำหนดภาพในใจว่า กำลังรับเอาความทุกข์และอกุศลจิตของพวกเขาเข้ามาไว้ ฉันทำเช่นนี้ทุกวัน ฉันจะใส่ใจต่อชาวจีนเป็นพิเศษ โดย เฉพาะต่อผู้ที่ก่อกรรมทำเข็ญกับชาวธิเบต ขณะอยู่ในสมาธิฉันจะหายใจสูดเอาพิษร้ายอย่างความเกลียดชัง ความกลัว ความโหดร้ายเข้าไว้ แล้วหายใจเอาสิ่งดี ๆ ทั้งมวลออกมา อย่างความกรุณาและการอภัย ฉันรับเอาอารมณ์ที่เป็นพิษร้ายเหล่านั้นเข้าไว้ในตัว แล้วมอบอากาศ สดชื่นกลับออกมา เป็นการให้และการรับ ทั้งระวังที่จะไม่กล่าวโทษ ไม่ว่าต่อชาวจีนหรือตัวเอง การทำสมาธิเช่นนี้มีผลดีมาก มีประโยชน์ ในการลดความเกลียดชัง และช่วยบ่มเพาะจิตที่รู้จักให้อภัย "
 
* Tumo หรือ Tummo หนึ่งในโยคะหกของนโรปะ การภาวนาเพื่อเจริญธาตุไฟ และอาศัยธาตุไฟเข้าไปชำระล้างจักรทั้งเจ็ด ยังผลให้จิต ผ่องใส นัยหนึ่งใช้ธาตุไฟเผาล้างอวิชชา ให้จิตหยั่งเห็นและหลุดพ้นจากเหตุปัจจัยแห่งการเกิดดับ - ผู้แปล
 
 

 
- คัดบางส่วนจาก ปัญญาญาณแห่งการให้อภัย ตอน เปลวไฟในสะดือ หน้า 72 - 78 -
- บทสัมภาษณ์ องค์ทาไลลามะ -


http://board.agalico.com/showthread.php?p=175175#post175175

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=270&ss=