ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 11:02:32 pm »

 :06:   คุณวิจักขณ์ เก่งจังเลยครับ รู้สึกนับถือแบบมากๆ แต่ไงก็สู้พี่มดของผมไม่ได้ อนุโมทนาครับผม^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 09:39:27 am »


 
 
 
"เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็ก เกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้า และไม่มีใครเคยเจอพระพุทธเจ้าจริงๆ ว่าท่านเป็นยังไง แล้วเราก็จำๆ กันมาว่า รู้ตื่น มันดูดีนะ แต่สถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ น่าจะทำให้เราตั้งคำถามกับเรื่องราวเหล่านี้มากขึ้นว่า ที่มีคนคนหนึ่ง เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อยู่ในสถานการณ์ ความทุกข์ ความขัดแย้ง ความโกลาหลที่เกิดขึ้นในในสมัยพุทธกาลนั้น ก็ไม่ได้ง่ายไปกว่าชีวิตของเราในวันนี้นั้นเป็นอย่างไร เขาผ่านมาได้อย่างไร แล้วเราจะผ่านไปได้อย่างไร"
 
 
วิจักขณ์ พานิช โยคีหนุ่มในยุคดิจิทัล พ่วงปริญญาโทด้านจิตวิญญาณการศึกษาและประวัติศาสตร์ศาสนา จากมหาวิทยาลัยนาโรปะ ที่พาตัวเองก้าวเดินแต่ละก้าวเข้าไปในจิตวิญญาณของของตน โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้เยี่ยงนักรบในแนววัชรยาน สายปฏิบัติของเชอเกียม ตรุงปะ จากการเดินทางด้านในของเขา ทำให้เห็นว่า สิ่งที่เป็นปัญหาในตัวมนุษย์นั้น ไม่ใช่สิ่งใดนอกจาก "อหังการ" ตัวเดียวนี้เอง เขาจึงไม่จำกัดตนเองอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่ง เขาศึกษาธรรมะจากครูบาอาจารย์ในทุกสาย ไม่จำกัดความเชื่อและศาสนา และช่วงที่มีการชุมนุมของพี่น้องเสื้อแดงที่ผ่านมา เขาก็พาย่างก้าวด้วยหัวใจของเขาไปอยู่ตรงนั้น
 
เมื่อถามถึงความหมายของวันวิสาขบูชา และข้างหลังคำว่า ตื่นรู้ เขานิ่งไปพักใหญ่ก่อนที่จะค่อยๆ คลี่คลายความเข้าใจส่วนตนมาแบ่งปัน
 
"สมัยพุทธกาลก็มีการกดขี่ มีสงคราม มีความไม่เท่าเทียมกัน พระพุทธองค์ก็เป็นชายคนหนึ่งที่มองเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด แล้วก็หาทางที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งทางนี้ ทุกคนเป็นได้ ทุกคนสามารถทำได้ ทุกคนเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้"
 
แล้วจะเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร
"โดยส่วนตัว ผมคิดว่า การเป็นผู้รู้ ไม่ได้หมายความว่า เราต้องเรียนเยอะๆ เก่งๆ พระพุทธเจ้าก่อนที่ท่านจะแสวงหาความจริง ท่านก็เก่งอยู่แล้ว แต่ท่านก็ยังบอกตัวเองเต็มปากไม่ได้ว่า เป็นผู้รู้ ทำไมล่ะ เราเคยตั้งคำถามอย่างนี้บ้างไหม? สถานการณ์บ้านเมืองอย่างนี้ ผมเชื่อว่า ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร แต่สำคัญที่ว่า เราพร้อมที่จะรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยใจที่เปิดต่อการรับรู้ไหม คือ รู้ว่าเราสามารถที่จะอยู่กับความไม่รู้ได้ เพราะเราไม่รู้ล่วงหน้า อันที่สองคือ ความตื่น มันก็มาพร้อมกัน เราสามารถอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วก็มีการตื่นตัว ทำความเข้าใจ มีการรับฟัง มีการแยกแยะ มีการรู้ตัวเองอยู่เสมอ ก็เป็นความตื่นขึ้นมา คือทำให้เรารู้ว่า เราอยู่กับปัจจุบันขณะเฉยๆ ได้"
 
ในส่วนของความเบิกบาน มันไม่ใช่การที่เราพยายามจะยิ้ม หรือมองโลกในแง่ดีแบบฉาบฉวย ไม่ใช่ว่า คนกำลังจะฆ่ากันเราก็มายิ้ม ยิ้ม คือมันคงไม่ใช่ง่ายอย่างนั้น แต่ความเบิกบานที่แท้จริง มันจะเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ แล้วเราก็มองสถานการณ์ด้วยใจที่เปิดกว้างอยู่เสมอ คือ เรามีความเชื่อมั่นว่าทุกคนคือมนุษย์ ทุกคนสามารถที่จะสื่อสารกันได้ และเราก็ยังรักและเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ระหว่างกัน
 
"ความโกลาหลที่เกิดขึ้นในตอนนี้ มันก็มีความเป็นไปได้ในการที่จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้น สิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น เราต้องมองความเป็นไปได้อยู่เสมอ และก็อยากที่จะมีส่วนร่วมกันมันจริงๆ เรามองสถานการณ์เหล่านี้ เป็นการฝึกฝนตัวเองในการที่จะขัดเกลาจิตใจตัวเองไม่ให้ตกไปอยู่ในวังวนของความโกรธ ความเกลียด ความหลง เราก็สามารถเบิกบานได้ ผมก็ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร แต่ก็น่าจะเป็นคนที่กล้าเผชิญกับสถานการณ์ มีความรู้ตัว ตื่นรู้ และเบิกบานอยู่กับความไว้วางใจ"
 

 
เกี่ยวกับหลักธรรมและคำสอนทางศาสนา เป็นสิ่งที่โยคีหนุ่มให้ความสำคัญมาก ในการเรียนรู้หลักธรรมอย่างไร ที่จะไม่ติดอยู่เพียงพิธีกรรม ความเชื่อ หรือศรัทธา เท่านั้น
 
"เราต้องเรียนรู้การฝึกปฏิบัติ อย่างหนึ่งคือ เราต้องเรียนรู้และพัฒนาความไว้วางใจในตนเอง ความเชื่อมั่นในกันและกัน ผมมองว่า เวลาเราเรียนรู้เรื่องศาสนา หรือเรื่องการปฏิบัติทางศาสนา แล้วเราก็คิดว่า พิธีกรรม ความเชื่อทางศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยว แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เราควรจะยึดเหนี่ยวคือ ใจของเราเอง เราต้องพัฒนาใจของเราให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวของเราเอง นี่คือหัวใจของพุทธะ"
 
"พุทธศาสนาบอกว่า ให้เรารับไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง ให้รับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แล้วคนที่อธิบายก็บอกว่า พระพุทธ ก็คือ พระพุทเจ้า บุคคลคนนี้ สองพันห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และรับคนคนนี้เป็นที่พึ่ง แล้วเราก็ไหว้เขา เราศึกษาพระธรรม พระคัมภีร์ พระไตรปิฎก คำสอนที่ครูบาอาจารย์สอนเรา ให้ยึดหลักธรรมเหล่านี้เป็นที่พึ่ง ให้เชื่อ แล้วต้องปฏิบัติตามนี้ และพระสงฆ์คือตัวแทน เป็นผู้สืบทอดพระศาสนา ห่มเหลือง คนเหล่านี้เราต้องนับถือเขาเป็นที่พึ่ง ต้องไปทำบุญใส่บาตร โดยหลักการก็มีประโยชน์มาก แต่อีกด้านหนึ่ง เราต้องทำความเข้าใจด้วยว่า จริงๆ แล้วไตรสรณคมน์ โดยส่วนตัวผมคิดว่า เป็นข่าวสาร (เมสเสจ) จากพระพุทธเจ้าที่บอกว่า จริงๆ แล้วคุณน่ะ ไม่มีที่พึ่ง คือไม่มีอะไรที่จะพึ่งได้จริงๆ แล้วท่านก็พูดถึงพุทธะ คือความตื่น ก็อยู่ในตัวเรา ซึ่งต้องบ่มเพาะนะ ให้ตื่นรู้ขึ้นมา"
 
แล้วธรรมะล่ะคืออะไร
"ธรรมะคือทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสถานการณ์ ทุกเรื่องราว ทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึกที่ประเดประดังเข้ามา ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ทุกอย่างเป็นธรรมะหมด และเรามีสิ่งนี้เป็นที่พึ่ง เพราะเราต้องเผชิญกับมัน ส่วนพระสงฆ์ หรือสังฆะ แปลว่าชุมชน เพื่อนร่วมทาง กัลยาณมิตร เพราะชีวิตเราโดดเดี่ยวนะ เรารู้ว่า เราไม่มีที่พึ่งอะไรเลยที่เราจะฝากชีวิตไว้ได้ แต่เราร่วมเดินทางไปด้วยกัน มีแรงบันดาลใจร่วมกัน มีการตักเตือนกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แล้วก็สร้างเป็นชุมชนผู้ปฏิบัติขึ้นมาในท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย ผันผวน โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ความสับสน และในแง่มุมมนี้ หากเราจะนำออกมาพูดถึงกันว่า จริงๆ แล้ว ไตรสรณคมน์ ก็คือ การที่เราไม่มีที่พึ่ง"
 
พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ตนคือที่พึ่งแห่งตน!
"ครับ เหมือนสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ มันมีอยู่สภาวะหนึ่งที่คนพูดขึ้นมาเยอะมากว่า ไม่รู้จะเชื่ออะไรดี ไม่รู้จะพึ่งใคร ผมว่า นี่แหละ คือธรรมะ แต่ก่อนที่ผมเริ่มปฏิบัติธรรม ก็คิดว่า จะได้เข้าถึงความจริง อาจารย์ก็เคยกระแนะกระแหนผมว่า ยังไม่ไปไหน เพราะผมยังไม่รู้ว่า ความทุกข์จริงๆ มันคืออะไร มันเป็นอย่างไร พอมาวันหนึ่ง ผมได้ตกลงไปในความทุกข์ของชีวิตช่วงหนึ่ง เป็นเวลาที่ยาวนานและมืด มันทำให้เข้าใจจริงๆ ว่า เวลาที่เราอยู่ในความทุกข์แล้วมันไม่มีที่พึ่ง มันเป็นยังไง
 
"ส่วนใหญ่เราหลอกตัวเองทั้งนั้นว่ามีทางแก้ มีอะไรมาช่วยเราได้ แต่เอาเข้าจริงๆ ผมก็เข้าใจลยว่า มันไม่มีที่พึ่ง จากนั้น ผมก็เลยฝึกจริงๆ จนกระทั่งสามารถลอยตัวอยู่ในทะเลแห่งกองทุกข์ได้ ทำให้เห็นว่า เวลาที่เราอยู่กับกองทุกข์ได้จริงๆ จึงเข้าใจคำกล่าวที่ว่า ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ เป็นอย่างไร เวลาที่พบกับตัวเอง มันทำให้เรารู้สึกเบา เหมือนตัวเราไม่ขัดขืน ทำให้เราเข้าใจถึงช่วงที่ผ่านมาว่า ความเกลียด ความไม่พอใจ ต่างๆ ล้วนเป็นครูให้แก่เรา และเราก็ต้องเดินทางต่อไป"
 
"มันทำให้ผมเข้าใจถึงภาวะของการไม่มีที่พึ่ง คำว่า ไม่มีที่พึ่ง ฟังดูเศร้านะ แต่ถ้าเรามองดีๆ ในภาวะนั้น เราจะใช้ศักยภาพในตัวเราได้ดีที่สุดเลย เหมือนข่าวร้ายที่กลายเป็นข่าวดีว่า เราจะได้พึ่งตัวเองซะที เราได้เห็นคุณค่าของตัวเองซะที"
 
และในภาวะที่รู้สึกว่าไม่มีที่พึ่ง เราจะทำอย่างไรจึงจะใช้ศักยภาพในตัวเราให้เป็น
วิจักขณ์ แนะนำว่า ต้องฝึกที่จะหยุดความคิด กลับมาระลึกอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับลมหายใจก่อน
 
"ลมหายใจเป็นพื้นฐานของทุกคนที่ติดตัวมา ให้เรามีสติรู้เท่าทันว่ากำลังทำอะไรอยู่ นี่ไม่ใช่เรื่องของศาสนา ไม่ได้เป็นเรื่องของความเชื่อ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนมีอยู่ในเนื้อในตัวอยู่แล้ว จากนั้นให้นำตัวเราไปอยู่กับความผ่อนคลาย จุดเริ่มต้นตรงนี้สำคัญมาก คือแทนที่เราจะบอกคนที่มาภาวนาว่า คุณต้องฝึกแบบไหนถึงจะดี ฝึกแบบไหนถึงจะถูก หรือมาบอกว่า ความเชื่อของศาสนาฉันคืออะไร เรามาใช้วิธีง่ายๆ ก็คือ นั่งลง และผ่อนคลาย วางความคิดที่คุณมีไว้ก่อน จากนั้นหายใจเข้า หายใจออกอย่างผ่อนคลาย และคุณจะรู้สึกเองว่า คุณคือที่พึ่งของตัวเอง"
 
"มนสิกุล โอวาทเภสัชช์"
 
***แลกเปลี่ยน พูดคุย สนทนา หรือว่าสนใจคอร์สเรียนรู้ด้านในกับเขา ติดต่อได้ตลอดเวลาที่ http://vichak.blogspot.com และหากสนใจกลุ่มเพื่อนภาวนา ติดต่อได้ที่ โทร.๐๘-๔๐๐๓-๔๕๓๖



http://www.komchadluek.net/detail/20100528/60741/60741.html