ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:53:04 pm »

พระบัวเข็มในประเทศไทย
                                                                                                                    รวบรวมและเรียบเรียงโดย
                                                                                                                    ศาสตรเมธีพระศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

         ท่านที่สนใจเรื่องพระพุทธรูปคงเคยได้ยินชื่อพระบัวเข็ม หรือเคยเห็นรูปลักษณะพระบัวเข็มอยู่บ้าง ลักษณะสำคัญของพระบัวเข็มนั้น เป็นพระที่แกะขึ้น จากกิ่งไม้พระศรีมหาโพธิ์ ลงรักปิดทองเป็นรูปพระเถระนั่งก้มหน้ามีใบบัวคลุมศีรษะ และมีเข็มหมุดปักอยู่ตามตัวหลายแห่ง นั่งอยู่บนฐานดอกบัวหงาย ดอกบัวคว่ำรองรับ เมื่อหงายใต้ฐานดูจะพบลายลักษณ์ปั้นทรงนูนต่ำ รูปดอกบัว ใบบัว และรูปปลา

         ที่เรียกว่าพระบัวเข็มนั้นคือ รูปพระอุปคุตเถระ หรือพระสุภูติ เรื่องราวของพระบัวเข็มไม่ค่อยปรากฎเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในเมืองไทยเหมือนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ เพราะพระบัวเข็มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงสนิทสนมกับพระภิกษุชาวมอญมาก โดยทรงศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย จากพระภิกษุชาวมอญทรงแตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ถึงกับทรงพระราชทานกำเนิดพระสงฆ์ลัทธิธรรมยุตติกานิกายขึ้น และด้วยการที่ทรงติดต่อคุ้นเคยกับพระภิกษุชาวมอญมาโดยตลอด เมื่อพระภิกษุชาวมอญเข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศฯ ครั้งใด ก็มักนำพระบัวเข็มเข้ามาถวายอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบประวัติความเป็นมาของพระบัวเข็มมากกว่าบุคคลใดในสมัยนั้น จนถึงทรงยอมรับพระบัวเข็มเข้าในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์, ลาภสักการะ, ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตกต่างจากพระอื่นๆ


ลักษณะพระบัวเข็ม

          การสร้างรูปเคารพของพระบัวเข็มนั้นมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันอยู่มากตามแต่ผู้สร้างจะคิดประดิษฐ์รูปลักษณะตามประวัติแล้ว จัดสร้างขึ้นในอากัปกิริยาตามอิทธิปาฏิหารย์ของพระอุปคุตเหลือที่จะพรรณนาได้ เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั่วไปเหมือนกัน เท่าที่สังเกตพระบัวเข็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ ๒ แบบ คือแบบมอญแบบหนึ่ง และแบบพม่าแบบหนึ่ง พระบัวเข็มทั้งสองแบบนี้คงอาศัยรูปแบบของพระบัวเข็มในอินเดียเป็นหลักสำคัญ แต่มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงขึ้นตามความนิยมในประเทศมอญและพม่า ส่วนลักษณะของพระบัวเข็มทั้ง ๒ แบบนั้น แยกลักษณะออกเป็นส่วนสำคัญได้ดังนี้
     ๑  พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่า ทำเป็นรูปใบบัวคลุมศีรษะ แต่แบบพม่าจะดัดแปลงใบบัวเป็นเมาฬียอดตูมสูงกว่าของมอญ
     ๒  พระหัตถ์ โดยปกติพระบัวเข็ม พระหัตถ์อยู่ในท่าเหมือนพระพุทธรูปปางมารวิชัย แต่ผู้สร้างพระบัวเข็มในประเทศมอญจะเปลี่ยนลักษณะลำแขนของพระบัวเข็ม ให้เหยียดตรงไม่งอข้อศอก โดยประสงค์ให้แตกต่างจากลักษณะของพระพุทธรูป ส่วนพระบัวเข็มของพม่านั้นแขนขวางอพักข้อศอกเหมือนพระพุทธรูปปางมารวิชัย
     ๓  แท่นหรือฐาน ลักษณะแท่นรองพระบัวเข็มนั้นทำแบบต่างๆ บางองค์ที่ฐานประดับด้วยกะโหลกผี บางองค์ทำเป็นรูปแม่พระธรณีบีบมวยผม บางองค์ทำเป็นหัวช้างโผล่ออกมา หรือทำเป็นรูปยักษ์แบกฐานก็มี แต่โดยทั่วไปมักทำเป็นรูปประทับนั่งบนบัวคว่ำบัวหงาย ที่ฐานด้านหลังเว้นที่ไว้เพื่อจารึกนามผู้สร้าง หรืออุทิศให้ผู้ตาย
     ๔  บัวและเข็ม ลักษณะสำคัญของพระอุปคุตที่ทำให้คนไทยเราเรียกชื่อท่านต่างไปจากชื่อเดิม เพราะคนไทยเราไปเห็นลักษณะเด่นขององค์ประกอบคือใบบัวและเข็ม
         "บัว" นั้นปรากฎอยู่ ๒ แห่ง คือที่พระเศียรทำเป็นคลุมด้วยใบบัวกับที่ใต้ฐานมีกอบัวใบบัวดอกบัวรวมกับสัตว์น้ำอื่นๆ แล้วแต่จะคิดสร้างขึ้น ส่วนเข็มตุ้มที่ปักนั้นแต่เดิมว่ากันว่าเป็นที่บรรจุพระธาตุแต่ภายหลังคงหาพระธาตุบรรจุได้ยากจึงทำเป็นเข็มตุ้มไว้เฉยๆ มีจำนวน ๓ เข็ม, ๕ เข็ม, ๗ เข็ม และ ๙ เข็ม โดยวางไว้ในตำแหน่งต่างกัน คือที่หน้าผาก ๑, ที่แขนทั้ง ๒, ที่หน้าอก, ที่มือทั้ง ๒, ที่หัว, เข่าทั้ง ๒ และด้านหลังหนึ่ง แล้วแต่ว่าพระบัวเข็มองค์นั้นๆ จะบรรจุตุ้มเข็มมากน้อยเพียงใด คนทั่วไปมักแสวงหาพระที่มีการบรรจุเข็มมากแห่งด้วยกัน เพราะถือว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
     ๕  จีวร พระบัวเข็มมักทำจีวรแบบบางๆ แนบกาย หรือทำเป็นจีวรถลกขึ้นพาดบ่าก็มี

ตามที่กล่าวมานี้ เป็นพระบัวเข็มที่ทำขึ้นเป็นรูปพระมหาเถระนั่งก้มหน้าอยู่บนแท่นอย่างธรรมดา แต่ยังมีแบบพิเศษอีก ๔ แบบ คือ
                          ๑  แบบฉันอาหาร พระบัวเข็มลักษณะนี้เป็นรูปพระเถระนั่งบนแท่นบัวคว่ำบัวหงาย
                                                    หันหน้าเอี้ยวไปทางขวามือขวากำลังล้วงข้าวจากบาตรที่อยู่ในมือซ้าย
                          ๒  แบบปรกมังกร พระบัวเข็มลักษณะนี้ เป็นลักษณะพม่าผสมจีนทำเป็นรูปพระเถระ
                                                    นั่งอยู่ในท่ามารวิชัย เหนือศีรษะทำเป็นมังกรโผล่หัวง้ำหน้าออกมา
                                                    เหมือนพระพุทธรูปปางนาคปรกของไทยเรา
                          ๓  แบบคลุมโปง ลักษณะเป็นรูปพระเถระนั่งคลุมผ้ามองไม่เห็นหน้า คงเป็นตอนที่พระอุปคุต
                                                   นั่งสมาธิอยู่ด้วยฌานสมาบัติ สิ้นสุดทิวาวารภายในปราสาทแก้วเจ็ดประการ
                                                   ใต้ท้องมหาสมุทร
                          ๔  แบบทรงเครื่อง พระบัวเข็มลักษณะนี้เข้าใจว่ากษัตริย์มอญหรือพม่า สร้างพระอุปคุตให้
                                                   ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิ์ขึ้นก่อนแล้วสามัญชนมาทำเลียนแบบขึ้นภายหลัง
                                                   พระอุปคุตทรงเครื่องจักรพรรดิ์นี้พบมากที่เมืองเชียงตุง


พึงสังเกตุว่าการทำพระบัวเข็มในรูปลักษณะต่างๆ นั้น
ผู้สร้างได้คิดขึ้นตามปาง หรืออาการของพระอุปคุตในท่าต่างๆ กัน
เช่น ปางเข้าฌานสมาบัติอยู่ในน้ำเป็นต้น

วิธีการบูชา

          การปฏิบัติบูชาพระบัวเข็มนั้น มีหลักการใหญ่ๆ อยู่ว่า ต้องให้พระบัวเข็มอยู่เหนือผิวน้ำ โดยใช้ภาชนะชนิดใดก็ได้ แล้วแต่จะเห็นสมควรเช่น ขันสัมฤทธิ์ ขันเงิน ขันทอง หรืออ่างแก้ว ใส่น้ำแล้วตั้งพานประดิษฐานพระบัวเข็มอยู่กลางภาชนะนั้นรอบๆ องค์พระบัวเข็ม ใช้ดอกมะลีโรยอยู่โดยรอบ หรือจะสร้างภาชนะใดให้งดงามเป็นพิเศษเพื่อความเหมาะสม เป็นเครื่องเจริญศรัทธาก็แล้วแต่ความประสงค์

คาถาบูชาพระอุปคุตเถระ (พระบัวเข็ม)
           
แบบที่ ๑
นะโม อุปะคุตโต มะหาเถโร
สัพพะอันตะรายัง วินาสสันติ
สัพพะสิทธิลาภัง ภะวันตุ เม

แบบที่ ๒
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต
โสระโห ปัจจะยาทิมหิ มะหาลาภัง ภะวันตุ เม

แบบที่ ๓
อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต
มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร
นะมัสสิตตะวา ปะติฏฐิโต อะหังวันทามิ
อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มะหาเถรัง ยัง ยัง
อุปัททะวัง ชาตัง วิธังเสติ อะเสสะโต
มะหาลาภัง ภะวันตุ เม

http://www.monnut.com/board/index.php?topic=743.0
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:49:43 pm »

พระอุปคุตเถระเจ้า  ปางฉันทกิจ




โดยปกติ  คนทั้งหลายจะเรียกปางนี้ว่า  ปางจกบาตร หรือ ปางล้วงบาตร

แต่มีพระภิกษุรูปหนึ่ง  ได้บอกกับสมาชิกคณะกองทุนหาพระถวายวัด ที่ได้อัญเชิญพระบูชา พระอุปคุตเถระเจ้า ปางนี้ ไปถวายวัด 

ท่านบอกว่า  ควรจะใช้คำว่า  ปางฉันทกิจ ครับ

ทางชมรมรักษ์พระวังหน้า และ คณะกองทุนหาพระถวายวัด จึงได้นำคำสอนของพระภิกษุรูปดังกล่าวมาใช้

ขอกราบขอบพระคุณพระภิกษุรูปดังกล่าวเป็นอย่างสูงครับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:29:36 pm »

ประวัติพระวัติพระอุปคุตเถระ พบ พระยมาราธิราช

พระยามาราธิราช (VS พระอุปคุต)

วันที่ไปเยี่ยมจาตุมหาราชที่เล่ามาแล้วนั้น ก็เลยไปดาวดึงส์ ไปยามาแล้วก็ดุสิต ที่ชั้นดุสิตหลวงพ่อปานมารับ ก็กราบๆ ท่าน ท่านถามว่า เออ อยากพบพระศรีอาริย์ไหมล่ะ ตอบว่า อยากจะ เจอะ จะเจอะ ยังไงได้ล่ะ ท่านบอกว่า ไม่ต้องไปหรอก ท่านมาแล้ว สวย ดุสิตนี่สวยจริง ๆ ยามาน่ะ เขาขาวพรึ่ดหมด ต้นไม้น่ะมีแค่ ดาวดึงส์แห่งเดียวนะ เทวดานักฟ้อนก็มีแต่ดาวดึงส์แห่งเดียวเพราะว่า เป็นเมืองหลวง ชั้นยามาสวดมนต์ ตะพึด ดุสิตสวยสดงดงาม ไปถึงชั้นนิมมานรดี เทวดาที่ทำหน้าที่นิรมิตต่างๆเป็นชั้นที่ 5 ที่ว่า "ชั้น"น่ะไม่ใช่เป็นชั้นซ้อนๆ กันนะ เป็นพื้นเดียวอย่างโลกเรานี่แหละ แบ่งเป็นเขตเท่านั้นเองแต่เป็นทิพย์ ไปถึงแวะ เยี่ยมท่านแก้วจินดาก่อน ท่านแก้วจินดา ท่านก็มาด๊งเด๊ง ๆ ตามมสภาพของท่าน องค์นี้เคยทะเลาะกันมาเรื่อย

ท่านถามว่ามาไงล่ะ ตอบว่า มาเที่ยวซี
ถามท่านว่า เออ วิมาน พระยามาราธิราช อยู่ไหน หัวเราะก้ากเลย บอกว่า พระโง่ยังงี้ก็มีด้วย
ถามว่าทำไมล่ะ ตอบว่า ที่นี่เขาเรียก ท้าวมาลัย ครับ ที่นี่ไม่มีพระยามาราธิราชหรอก มีแต่สมัยพระพุทธเจ้า

ชื่อแกจริงๆ ชื่อ ท้าวมาลัย เป็นหัวหน้าเทวดาชั้น ที่ 6 เป็นผู้ว่าการ ก็เลยไปหากัน ท่านก็ออกมารับแหม สวยแฉ่งเลย รัศมีกายผ่องใส มารับที่เขตวิมานเชียวนะ ที่ไปกันตอนนี้สมทบกันไปหลายชั้น จำนวนมันก็ หลายหมื่นซี ท่านเชิญเข้าไป ไอ้หน้ามุขมันนิดเดียวแหละถามท่านว่า ขึ้นหมดรึนี่ ท่านตอบว่า ไม่เป็นไร หรอก วิมานเทวดายืดได้ แน่ะ เก่งเสียด้วย ไม่เหมือนเมืองมนุษย์หรอก ตั้งแค่ไหนก็แค่นั้น มองดูกะว่า จุสัก 200 ก็แย่แล้ว แต่เราเข้าไป เป็นหมื่นยังเต็มไม่ถึงครึ่ง คุยไปคุยมา

ถามท่านว่า ทำไมถึงไปลิดรอนพระพุทธเจ้า ตอบว่า ปัดโธ่ ท่านไม่รู้จักความโง่ของผม
ถามว่า ทำไมล่ะ ตอบว่า ผมกลัวพระพุทธเจ้าจะเทศน์สอนเอาคนไปนิพพานเสียหมด พอเวลาผมเป็นพระพุทธเจ้าบ้างแล้ว ผมจะสอนใครล่ะ

เราก็นึกในใจว่า โธ่ ไม่น่าโง่เลย จะขนไปยังไงหมด ถามท่านว่า เวลานี้ยังเป็น พระยามาร ไหม ท่านตอบ ไม่ ๆ ๆ ๆ พวกท่านมีหลายคน แหม เขากลัวพระยามารกันจริง ๆ ก็ไอ้มารอยู่ในตัวเองน่ะไม่ยักกลัว พระยามารนี้เวลานี้ช่วยชาวบ้าน พวกพุทธมามกะทุกคน พระยามารต้องบังคับให้ลูกน้องไปช่วยเหลือ คือ ที่ประคับประคอง พวกเรานี่แหละ จะเรียกว่า พระยามาร ไม่ได้แล้วนะ ต้องเรียกว่า ท้าวมาลัย

ทีนี้ย้อนมาตอนต้น ตามตำนานที่พระพุทธเจ้าตรัส มีคนถามว่า ทำไม่ท่านไม่ทรมานพระยามาราธิราชล่ะ ท่านตอบว่า ไม่ใช่คู่ปรับกัน พระยามารนี่จองขัดคอ ให้ปั่นป่วนนิดหน่อย ไม่จองเวรแรงขนาดเทวทัต เมื่อสมัยนั้น ท่านเป็นคนเลี้ยงม้าด้วยกันทั้งคู่ จะม้าแข่งหรือเปล่าก็ไม่รู้ซี ท่านไปเกี่ยวหญ้าม้ากัน เกี่ยวไปก็แยก งกันไปที ทีนี้ก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เสด็จจาก ภูเขาคันธมาส กุฏิของท่าน มันไม่ค่อยดี ท่านต้องการ ต้นหญ้านี่ ไปผสมกับดินทาฝา เพราะพระจะเกี่ยวหญ้าเองก็ไม่ควร เมื่อเห็นสองคนนี้เกี่ยวหญ้า ท่านก็เหาะลงมายืนเฉย พระพุทธเจ้าของเรา ก็นึกในใจว่า เราเอาของเราถวายท่าน ก็เป็นการสมควร อยากจะเอาของเพื่อนถวายบ้างสักก้อนหนึ่ง แต่ถ้าเพื่อนกลับมาแล้วแสดงความไม่พอใจ ก็จะมีโทษมาก เพราะพระพุทธเจ้า เป็นพระที่มีบุญหนัก ก็เลยไม่ได้ถวายไป พอตอนเย็นกลับมารวมกัน ขนหญ้าขึ้นเกวียน ท่านก็เล่าเรื่องให้ฟัง เท่านั้นแหละแกโกรธหาว่า กลัวจะดีเท่าเทียม เอาละ ท่านไปไหนก็ตาม เราจะตามไปขัดคอ แต่ทุกชาติไม่ได้ขัด มาขัดเอาชาติสุดท้าย เมื่อ ระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกมหาภิเนษกรมณ์ เห็นท่าไม่เป็นเรื่องแล้ว สิทธัตถะนี้ไปแน่ กูไม่ทันนี่หว่า แล้วก็มาขัดคอ ต่าง ๆ อย่างที่ทราบ กันดีอยู่แล้ว

มาในระยะหลังๆที่พระเจ้าอโศกมหาราช จะฉลองพระศาสนา อีตอนนั้นซี พระอุปคุต ท่านไปคุดอยู่กลาง มหาสมุทร บรรดาพระทั้งหลายนั่งประชุมกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช จะฉลองพระศาสนา เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน คราวนี้ ยังไง ๆ พระยามารต้องเล่นงานแน่ แล้วเราจะมีใครป้องกันได้บ้าง พระอรหันต์ตั้งสองแสนองค์ ปฏิสัมภิทาญาณก็มีอภิญญาก็มี ไม่มีใครสู้พระยามารได้หรือ ? สู้ได้ ไม่ใช่สู้ไม่ได้ แต่ทุกองค์บอกว่า ไม่ใช่หน้าที่ของเรา

ทีนี้ในการประชุมคราวนั้น พญานาค ขึ้นมาฟังด้วย พอดี พญาครุฑ บินมาในอากาศเห็นเข้าก็จะ ฉะพญานาคละซี ปฏิปักษ์กันนี่ โฉบลงมา พญานาควิ่งพรวดเข้าไปกลางวงพระ พระทั้งหลายตกตะลึง บอกว่าเณร ช่วยพญานาคเดี๋ยวนี้ เณรแกอายุ 7 ปีเท่านั้น เป็นพระอนาคามีได้อภิญญา พอท่านสั่ง เณรก็ยิ้ม เข้ามา วาโยกสิณ เอาลมหอบพยาครุฑไปเสียไกล พระได้ท่า บอกว่า เณรฉันบอกให้แกช่วยพญานาค แกยิ้มนั่นยิ้มเยาะพระ นี่ต้องลงทัณฑกรรม นั่น แน่ ไม่ใช่เล่น หาเรื่องคน เป็นที่หนึ่ง เณรก็ยอม แล้วแต่พระคุณเจ้าจะ ลงทัณฑ์ ท่านก็สั่งว่า ถ้าอย่างนั้นเธอจงลงไปตาม อุปคุต มานั่น ตอนแรกปรึกษากันว่า ใครจะเป็นคน ไปนิมนต์พระอุปคุต ที่จำพรรษาอยู่กลางทะเล พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า มีอุปคุตคนเดียวเท่านั้น ที่เป็นคู่ ปรับพระยามาธิราช ปราบให้แพ้น่ะได้ แต่คู่ปรับนี้ ต้องปราบ ให้แพ้ด้วย แล้วทำให้ เลื่อมใส กลับเป็นคนดีด้วย ความประสงค์เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้า ท่านจะปราบก็ปราบได้ แต่ท่านไม่สามารถทำให้ พระยามาร เป็นคนดีได้ ตอนก่อนจะนิพพาน ท่านจึงบอกไว้ว่า พระยามาราธิราชนี้มีคู่ทรมานเป็นพระอรหันต์ เบื้องหลัง เมื่อเรานิพพานไปแล้ว 200 ปี มีนามว่า อุปคุต
พอพระอุปคุตมาถึง พระทั้งหลายก็ว่า นี่อุปคุตเป็นอรหันต์แล้ว หาความสุขแต่ผู้เดียว ไม่ช่วยกันบำรุง พระพุทธศาสนา ไปเข้านิโรธสมาบัติ อยู่กลางทะเลอย่างนี้ ต้องถูกลงทัณฑกรรม เอาอีกแล้ว ทัณฑกรรมเฟ้อจริง ๆ พระอุปคุตก็ยอมรับว่า ไม่เป็นไรครับ เอาไงก็ว่ามาเถอะ เลยได้รับมอบหมายให้ต่อต้าน พระยามาราธิราช ในอีก 7 วันข้างหน้า พระอุปคุตก็ยอม แต่ขอกินข้าวให้อ้วนเสียก่อน ไม่อ้วนนี่ ท่าจะไม่เป็นเรื่อง เอา 7 วันก็พอ ตอนเช้าท่านก็เดินย่องแย่งเป็นขี้ยาเข้ามาในเมือง มีคนเขาบอกว่า นี่องค์นี้แหละที่เขาไป ตามมาต่อต้านพระยามาร พระเจ้าอโศกมหาราช ว่า โถ ! พระขี้ยาผอม เหลือแต่กระดูกยังงี้หรือ จะไปต่อต้านพระยามาราธิราช ไม่ได้ต้องลอง เลยเอาช้างพระที่นั่ง ตัวดุที่ตกมัน มายืนดักข้างทาง พอพระอุปคุต คล้อยหลังก็ไสช้างไล่แทงเลย พระอุปคุตได้ยินเสียงข้างหลัง เอ๊ะ อะไรกันแน่ เห็นช้างวิ่งเข้ามาใกล้ท่านก็ เอานิ้วจิ้มปั๊บ บอกว่า "หยุด" ช้างกันจ้ำเบ้าเลย นั่งเหมือนกะ หินอยู่ตรงนั้น จะขี้แตก ด้วยหรือเปล่าจำไม่ได้ พระเจ้าอโศกมหาราชเลยบอกว่า ไม่ต้องไป บิณฑบาตหรอก แล้วท่านก็เอามาเลี้ยงเสียอ้วนปี๋เลย

ทีนี้พอวันเริ่มต้นงาน พระยามารก็แสดงเดช ทำมืดครึ้ม ไม่ให้เห็นแสงอาทิตย์เลย พระทั้งหลายก็เตือนว่า นั่นไง ท่านอุปคุต พระยามารแสดงแล้ว ท่านบอกว่า ไม่เป็นไรเรื่องเล็กพอแต่งตัวรัดประคดเรียบร้อย ก็ไปหาพระยามาร บอกว่า คลายฤทธิ์เดี๋ยวนี้นะ ถ้าไม่คลายเป็นพัง เราอุปคุต พระยามารได้ยินก็ชักขนลุกซู่ ๆ รู้ฤทธิ์ รู้เดช ฉะกันมาหลายชาติแล้ว ตาเขาก็หนึ่ง ในตองอูเหมือนกัน เอ้า เก่งจริง ก็เชิญเลย นี่พระยามาราธิราชไม่เคยกลัวใคร แม้แต่ พระสมณโคดม ก็ยังไม่กลัว เลยสู้กัน ความจริง เอาเสียที่เดียว ก็ได้เหนือ ชั้นกว่ามาก ล่อกันไปล่อกันมา ท่านอุปคุต ท่านขี้เกียจขึ้นมา ก็จับเอามือไพล่หลัง อธิษฐาน ให้แก้ไม่ออก ไม่ใช่แต่เท่านั้น อธิษฐานเอาหมาเน่ามาผูกคอเสียอีกด้วย พระยามาราธิราชแกก็เทวดาองค์หนึ่งเทวดา นี่แต่กลิ่นคนเขาก็เหม็นเสียแล้ว โดนหมาเน่าเข้าวิ่งโร่ไปหาพระอินทร์เจ้านายใหญ่ พระอินทร์บอกว่า อ้าว ทำไมไปเล่นกับพระอุปคุตเล่า เขาจะทำบุญพระศาสนากันดันไปแกล้งเขา ใครจะไปมีฤทธิ์เท่าพระอรหันต์ ได้ไม่มี มีทางเดียวท่านไปขอขมาท่านอุปคุตเสีย แล้วสัญญาว่า จะไม่ทำพยศอีก พระอุปคุตก็จะอภัยแก่ เธอ ท่านก็จำเป็นจำยอมไปขอโทษขอโพย พระอุปคุตถามว่า ยังไง สิ้นฤทธิ์แล้วรึ ? แกบอกว่า ยอมๆ ยอม ทุกอย่าง ต่อไปไม่แกล้งอีกแล้ว พระอุปคุต ก็แก้หมาเน่า แก้มัดมือออก แต่ยังเอารัดประคต ผูกเข้าไว้ กับ เขาพระสุเมรุเสียอีกหลายเปลาะ ปล่อยพระยามารดิ้นด็อกแด็กอยู่ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ดิ้นเสียเขาพระสุเมรุ หวั่นไหว ดาวดึงส์ สะเทือนไปหมด

พอพระเจ้าอโศกมหาราช ฉลองศาสนาเสร็จ ไปถึง พระยามาร ก็บ่นว่า โธ่เอ๋ย พระสมณโคดม ท่านก็ใจดี นะ แต่สาวกนี่แหมใจร้ายเต็มที ท่านอุปคุตไปถึงก็ต่อว่า สาวกสมัยก่อน อย่างพระโมคคัลนา พระสารีบุตร พระบิณโฑลภารทวาชะ ใคร ๆ ก็มีฤทธิ์ มากกว่าท่านเสียอีก แต่ไม่ใจร้าย มีท่านคนเดียว ใจร้ายกับเรา ท่านอุปคุตก็โต้ว่า รู้แล้วไม่ใช่หรือ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ท่านกับเราเท่านั้น ที่เป็นคู่ปรับกัน ความจริงแล้ว ท่านผู้มีฤทธิ์ ทั้งหมดน่ะ ตัวท่านสู้ไม่ได้หรอก ไม่มีทางสู้ เวลานี้ แม้แต่เณร 7 ขวบ ที่ไปตามเรา ท่านก็สู้ไม่ได้ แต่ที่ท่านทั้งหลายไม่ทำ ก็เพราะไม่ใช่หน้าที่ของท่าน แต่เป็นหน้าที่ของเราผลที่สุดพระอุปคุตท่านก็ปล่อย แต่บอกว่า ก่อนปล่อย ต้องสัญญากับเราก่อนว่า จะไม่รบกวน บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกา ผู้ปรารถนาในธรรม ถ้ารบกวนเมื่อไรโทษจะหนักกว่านี้หลายพันเท่า พระยามารก็บอกว่าไม่เอาแล้ว ไอ้ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน นี่ก็พอแล้ว
พระอุปคุตท่าน ก็ขอร้องให้พระยามาร แสดงเป็นรูปพระพุทธเจ้า สมัยยังทรงพระชนม์อยู่ให้ดู พระยามาร ตอบว่า ได้ ๆ ๆ เรื่องเล็ก แต่สัญญากันก่อนนะ จะไหว้ผมไม่ได้ นะห้ามไหว้ โดยเฉพาะ พวกท่าน เป็นอรหันต์ เป็นพระอริยะ มาไหว้ผมละ ไม่เป็นเรื่องหรอก พระอุปคุต ก็ตกลง พระยามาราธิราช บอกว่า ผมจะ เดินไปทางหลังเขา ถ้าออกมา ห้ามไหว้เด็ดขาดนะ เพราะ บาปจะตกอยู่กับผม พอพระยามาร ไปหลังเขา พระอุปคุต ก็ให้สัญญาณ เรียกพระอรหันต์มาทั้ง 2 แสนรูป สักครู่หนึ่ง พระยามารก็ออก เป็นพระพุทธเจ้า มีฉัพพรรณรังสี รัศมี สว่างไสว สวยสด งดงามมาก มี พระโมคคัลลา พระสารีบุตร อยู่เบื้อง ซ้าย ขวา ครบ เครื่องมาเลย พระทั้งหมด ลืมสัญญา ลุกขึ้นกราบพร้อมกัน กราบพระพุทธเจ้า พระยามารรีบคลายตัว ทันทีบอกว่า ท่านทำไมทำยังงี้ เป็นโทษกับผม ท่านอุปคุตก็บอกว่า ท่านไม่ต้องวิตก เพราะว่า การกราบนี้เขา ไม่ได้กราบท่าน เขากราบพระพุทธเจ้า โทษของท่านไม่มี พระยามาราธิราชก็บอกว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าทั้งหมดงดโทษให้ผมด้วย พร้อมด้วยพระรัตนตรัย เพราะว่า ผมเอง ก็ปรารถนาพุทธภูมิ แล้วท่าน ก็กลับไป เรื่องก็จบลงแต่เพียงนี้


http://aupakut.igetweb.com/index.php?mo=3&art=318696

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:28:12 pm »

ประวัติพระอุปคุตเถระ เรื่องเล่าของหลวงพ่อฤาษี

ความเป็นมาของพระอุปคุต

ก่อนงานเทศกาลนมัสการพระธาตุพนมทุกปี เจ้าภาพจัดงานจะประกอบพิธี  อาราธนาเอาพระอุปคุตเถระจากฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งสมมติเป็นมหาสมุทร  ที่อยู่จำพรรษาของพระเถระในอดีตกาล  เข้ามาประดิษฐานไว้ในบริเวณลานพระธาตุพนม

ก่อนวันงาน (ปัจจุบันถือเอาวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ )  เพื่อขอพึ่งเดชอานุภาพของพระอุปคุตคุ้มครองงานให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตลอดปลอดภัย  และก่อนนั้น ก็มีพิธีคารวะองค์พระธาตุพนม

เพื่อเป็นการขออโหสิกรรมในการที่คณะกรรมการดำเนินงาน  จะจัดให้มีงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีขึ้น  ซึ่งอาจมีการกระทำอันไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ในเจติยะสถานอันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้จัดเครื่องสักการะคารวะพระบรมธาตุไว้ล่วงหน้าปีนี้  คณะกรรมการจัดงานและพุทธศาสนิกชนชาวธาตุพนม ตลอดข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยรอบ  ตกลงร่วมกันจัดพิธีอาราธนาพระอุปคุตเข้ามายังวัดพระธาตุพนม  และคารวะพระธาตุพนมในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓  พร้อมกับพิธีถวายข้าวพีชภาคประจำปี ของข้าโอกาสพระธาตุพนม  โดยเฉพาะพระอุปคุตเถระนั้น เป็นพระเถระองค์สำคัญ  ที่มีบทบาทในทางทรงอานุภาพ และมีฤทธิ์เดชปราบปรามสิ่งเลวร้าย  ในงานพิธีใหญ่ ๆ มาแต่โบราณกาล  จึงใคร่ขอนำเอาบทบาทบางตอนท่านมาเล่าดังนี้

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ  นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย)  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)  ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ  พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป  และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง  เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร  ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ  แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑  องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร  แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น  เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค  จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์  เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ

พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร  ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้  โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์  ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์  ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค  ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว  ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น  พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบ  ผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์  พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ  เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว  ก็ทรงนึกแคลงพระทัย  เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ  จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน )  ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้ยุดอยู่กับที่  ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส  จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง  พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร  พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย  ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง  ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์  ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน  ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ  ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน  ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์  และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น  พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร  ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้  ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน  ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น

ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด  หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า  ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน  อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า  แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง  ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้  แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข  ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน  เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก  เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง  จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน  แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว  จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง  เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง  ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “  สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล  ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง  ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์  ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้  สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย  กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า  ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต”

เมื่อพระอุปคุตเถระ  ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น  ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก  ปล่อยให้พญามารเป็นอิสสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘  ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร  ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน  เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร  เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ  จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่  มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว  ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล )  แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา  และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ  เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อ  มีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ  เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก  เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ผมขอคัดลอกเรื่องเกี่ยวกับพระอุปคุต ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านเล่าเอาไว้มาให้อ่านนะครับ


http://www.aupakut.com/index.php?mo=3&art=318694

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:26:50 pm »

คำบูชา พระอุปคุต
หรือ พระบัวเข็ม

การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า

คำบูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ


(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)


คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓ จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ


(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)


คำบูชาขอลาภพระอุปคุต

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ


วิธีสวดขอลาภ

ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด


คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร

นโม ๓ จบ

มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ
(คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)


คำบูชาพระบัวเข็ม

นโม ๓ จบ

กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ
พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ
ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ


หรือ

จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโร นานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตา สัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

http://board.palungjit.com/f125/คำบูชา-พระอุปคุต-หรือ-พระบัวเข็ม-และประวัติ-21900.html

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:21:05 pm »


ความเป็นมาของพระอุปคุต

โพสท์ในกระทู้ธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ โดยคุณ เทพธรรม [ 16 เม.ย. 2545 ]     

ก่อนงานเทศกาลนมัสการพระธาตุพนมทุกปี เจ้าภาพจัดงานจะประกอบพิธี  อาราธนาเอาพระอุปคุตเถระจากฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งสมมติเป็นมหาสมุทร  ที่อยู่จำพรรษาของพระเถระในอดีตกาล  เข้ามาประดิษฐานไว้ในบริเวณลานพระธาตุพนม

ก่อนวันงาน (ปัจจุบันถือเอาวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ )  เพื่อขอพึ่งเดชอานุภาพของพระอุปคุตคุ้มครองงานให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตลอดปลอดภัย  และก่อนนั้น ก็มีพิธีคารวะองค์พระธาตุพนม

เพื่อเป็นการขออโหสิกรรมในการที่คณะกรรมการดำเนินงาน  จะจัดให้มีงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีขึ้น  ซึ่งอาจมีการกระทำอันไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ในเจติยะสถานอันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้จัดเครื่องสักการะคารวะพระบรมธาตุไว้ล่วงหน้าปีนี้  คณะกรรมการจัดงานและพุทธศาสนิกชนชาวธาตุพนม ตลอดข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยรอบ  ตกลงร่วมกันจัดพิธีอาราธนาพระอุปคุตเข้ามายังวัดพระธาตุพนม  และคารวะพระธาตุพนมในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓  พร้อมกับพิธีถวายข้าวพีชภาคประจำปี ของข้าโอกาสพระธาตุพนม  โดยเฉพาะพระอุปคุตเถระนั้น เป็นพระเถระองค์สำคัญ  ที่มีบทบาทในทางทรงอานุภาพ และมีฤทธิ์เดชปราบปรามสิ่งเลวร้าย  ในงานพิธีใหญ่ ๆ มาแต่โบราณกาล  จึงใคร่ขอนำเอาบทบาทบางตอนท่านมาเล่าดังนี้

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ  นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย)  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)  ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ  พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป  และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง  เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร  ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ  แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑  องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร  แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น  เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค  จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์  เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ

พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร  ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้  โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์  ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์  ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค  ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว  ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น  พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบ  ผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์  พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ  เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว  ก็ทรงนึกแคลงพระทัย  เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ  จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน )  ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้ยุดอยู่กับที่  ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส  จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง  พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร  พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย  ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง  ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์  ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน  ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ  ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน  ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์  และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น  พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร  ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้  ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน  ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น

ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด  หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า  ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน  อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า  แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง  ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้  แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข  ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน  เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก  เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง  จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน  แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว  จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง  เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง  ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “  สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล  ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง  ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์  ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้  สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย  กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า  ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต”

เมื่อพระอุปคุตเถระ  ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น  ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก  ปล่อยให้พญามารเป็นอิสสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘  ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร  ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน  เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร  เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ  จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่  มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว  ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล )  แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา  และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ  เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อ  มีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ  เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก  เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โดย : เทพธรรม [ 16 เม.ย. 2545 ]

http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-upakoot.htm

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:19:33 pm »

กำเนิด ประวัติ เรื่องราวความเป็นมา พระอุปคุต - คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์

ตำนานใน คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีเนื้อความดังนี้
ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกว่า แต่เดิมนั้นพระเจ้าอโศกทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แต่พอมาได้ฟังธรรม จากสามเณรนิโครธ ก็เกิดพระศรัทธา ในพุทธศาสนาอย่างมาก จนถึงขนาด ทรงนำหลักธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้า มาเป็นนโยบายในการปกครองไพร่ฟ้า ประชาราษฎร์ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบธรรมาธิปไตย คือการถือเอาธรรมะเป็นใหญ่

และในสมัยต่อมา พระเจ้าอโศกก็ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป โดยพุทธวิหาร ที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้น ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ มหาวิหารที่ชื่อว่า “อโศการาม” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ ส่วนพระสถูปเจดีย์นั้น โปรดให้สร้างขึ้นถึง 84,000 องค์ และเมื่อพระสถูปเจดีย์ได้สร้างสำเร็จ สมพระราชประสงค์แล้ว พระเจ้าอโศกก็จึงได้ตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า จะสามารถหาพระบรมสารีริกธาตุ แต่ที่ใดมาบรรจุ ในพระสถูป ให้ถ้วนทั่วทั้ง 84,000 องค์ พระภิกษุทั้งหลาย ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาภาพเคยได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า การกระทำพิธีฝัง พระบรมสารีริกธาตุ นั้นมีอยู่ แต่มิทราบว่าสถานที่กระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตินั้นอยู่ที่ไหน” เมื่อพระเจ้าอโศก ทรงทราบเช่นนั้น จึงรับสั่งให้รื้อทำลาย พระสถูปเจดีย์ใน เมืองราชคฤห์ เพื่อค้นหา พระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็ไม่ทรงพบ จึงทรงรับสั่งให้ก่อขึ้นไว้เป็นปกติดังเดิม
แต่มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ตอนที่ไปขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุ ที่รามคาม ปรากฎได้เกิดเหตุชนิดที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึง คือหมู่นาค ไม่ยอมให้รื้อทำลายพระเจดีย์ โดยบันดาลทำให้ จอบเสียม สิ่ว ขวาน แตกหัก เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ไม่สามารถขุดรื้อได้ดังใจปรารถนา
ในเมื่อการค้นหาพระบรมสารีริกธาตุไม่พบ ดังพระราชประสงค์ พระองค์จึงเสด็จนิวัติสู่กรุงราชคฤห์อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เข้าร่วมประชุม แล้วจึงตรัสถามว่า “ใครเคยได้ยิน มาบ้างว่า มีการกระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่ ไหน” ในที่ประชุมนั้น ปรากฎว่า มีพระมหาเถระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง อายุ 120 ปี บอกว่าสมัยที่มีอายุได้ 7 ขวบนั้น พระมหาเถระ ผู้เป็นบิดา ได้เคยพาท่านไปบูชาสถูปศิลาองค์หนึ่ง และสั่งย้ำว่า จงจำสถานที่นี้เอาไว้ให้ดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ที่นั่น จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุหรือไม่
เมื่อพระเจ้าอโศกได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ดำริว่า ที่นั้นชะรอยจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นแน่แท้ จึงมีรับสั่ง ให้พระมหาเถระนำเสด็จไปยังสถานที่แห่งนั้น เมื่อขุดลงไปก็ปรากฎว่าได้พบพระบรมสารีริกธาตุจริง ๆ ทำให้ พระเจ้าอโศก ทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อกลับมาถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว ก็ได้ทรงกระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุโดยวิธีอเนกประการ หลังจาก ทรงทำพิธีสักการะบูชาเสร็จ พระองค์ก็ทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้ง 84,000 แห่ง ทั่วชมพูทวีป

เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ทั้งหลายทุก ๆ พระนครเสร็จแล้ว ต่อจากนั้น จึงทรงรับสั่ง ให้ก่อสร้าง พระมหาสถูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ ประดับประดาด้วยแก้วต่าง ๆ และแสงแห่งแก้วเหล่านั้น ก็สว่างรุ่งเรืองประดุจเขาไกรลาศ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้กับ กรุงปาฏลีบุตร นั่นเอง ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่ 1 ส่วน ไปบรรจุไว้
ในกาลต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช มีพระราชประสงค์ ที่จะทำาการฉลองพระสถูปเจดีย์ เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงนำความไปปรึกษากับหมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระโมคคัลลีบุตรเถระเป็นประธาน พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมกับ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย ได้เล็งญาณดูแล้วเห็นว่า ในการทำพิธีฉลองครั้งนี้จะมีพญามาร มาทำลายพิธี จึงได้ทำการเฟ้นหาพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ที่จะมาทำการป้องกันภัย อันจะพึงเกิด ขึ้นในครั้งนี้
 

แต่ปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะทำการนี้ได้ จะเห็นมีอยู่ก็แต่ ท่านอุปคุต ซึ่งไปเนรมิตปราสาทแก้ว 7 ประการ จำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร เพื่อหลบหนีความวุ่นวาย โดยท่านไปนั่งเข้าฌาณสมาบัติ อยู่บนรัตนบัลลังค์ใน ท่ามกลางปราสาทแก้วนั้น โดยไม่ได้ฉันภัตตาหาร มาเป็นเวลานาน พระอุปคุตนี้แหละ หากได้นิมนต์มา ก็จะสามารถ ปราบพญามารได้ จึงตกลงใจที่จะไปนิมนต์พระอุปคุตมา สำหรับการไปนิมนต์ ครั้งนั้นก็ได้มอบหมาย ให้พระภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ ได้อภิญญาสมาบัติ 2 รูป เป็นผู้ไปนิมนต์
เมื่อไปถึงที่อยู่ของท่านอุปคุต และได้แจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่ได้แสดงความขัดข้องแต่ประการใด บอกให้พระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาก่อน แล้วท่านจะตามมาทีหลัง แต่ที่ไหนได้ …พอพระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาถึง ก็เห็นท่านอุปคุตมาถึงก่อนแล้ว….นี่แสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านพระอุปคุต
ก่อนที่จะถึงกำหนดการฉลองพระสถูปเจดีย์ พระเจ้าอโศกต้องการจะดูตัวว่าพระเถระไหนหนอ ที่จะมาทำหน้าที่ ป้องกันภัย จากพญามาร พอประธานสงฆ์ชี้ให้ดูว่ารูปนี้ไง ที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ป้องกันภัยจากพญามาร พระเจ้าอโศก ก็ชักไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะรูปร่างของพระอุปคุตนั้นผอมมาก จะทำการป้องภัยจากพญามารผู้มีฤทธิ์มากได้อย่างไร ในเมื่อไม่เชื่อก็ต้องทดสอบ
วิธีการทดสอบของพระเจ้าอโศกก็คือ ในตอนเช้า ขณะที่ท่านอุปคุตเข้าไปบิณฑบาตรในพระราชนิเวศน์ พอออกมา ก็ให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อจะทดลองกำลังฤทธิ์ของท่านพระอุปคุตว่า จะสู้กับช้างของพระองค์ได้หรือไม่ เพราะถ้าหาก ต่อสู้กับช้างไม่ได้แล้ว ไฉนเลยจะต่อสู้กับพญามารได้
และแล้ว พระเจ้าอโศกก็ได้เห็นประจักษ์ เมื่อช้างตกมันได้วิ่งไปหมายจะบดขยี้ท่านพระอุปคุต…แต่ช้างนั้นต้องพลัน ชะงักงันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ร่างกายด้วยอำนาจฤทธิ์ของท่านอุปคุต

กำเนิด ประวัติ เรื่องราวความเป็นมา พระอุปคุต - คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์

ตำนานใน คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีเนื้อความดังนี้
ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกว่า แต่เดิมนั้นพระเจ้าอโศกทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แต่พอมาได้ฟังธรรม จากสามเณรนิโครธ ก็เกิดพระศรัทธา ในพุทธศาสนาอย่างมาก จนถึงขนาด ทรงนำหลักธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้า มาเป็นนโยบายในการปกครองไพร่ฟ้า ประชาราษฎร์ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบธรรมาธิปไตย คือการถือเอาธรรมะเป็นใหญ่

 
และในสมัยต่อมา พระเจ้าอโศกก็ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป โดยพุทธวิหาร ที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้น ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ มหาวิหารที่ชื่อว่า “อโศการาม” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ ส่วนพระสถูปเจดีย์นั้น โปรดให้สร้างขึ้นถึง 84,000 องค์ และเมื่อพระสถูปเจดีย์ได้สร้างสำเร็จ สมพระราชประสงค์แล้ว พระเจ้าอโศกก็จึงได้ตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า จะสามารถหาพระบรมสารีริกธาตุ แต่ที่ใดมาบรรจุ ในพระสถูป ให้ถ้วนทั่วทั้ง 84,000 องค์ พระภิกษุทั้งหลาย ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาภาพเคยได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า การกระทำพิธีฝัง พระบรมสารีริกธาตุ นั้นมีอยู่ แต่มิทราบว่าสถานที่กระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตินั้นอยู่ที่ไหน” เมื่อพระเจ้าอโศก ทรงทราบเช่นนั้น จึงรับสั่งให้รื้อทำลาย พระสถูปเจดีย์ใน เมืองราชคฤห์ เพื่อค้นหา พระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็ไม่ทรงพบ จึงทรงรับสั่งให้ก่อขึ้นไว้เป็นปกติดังเดิม
แต่มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ตอนที่ไปขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุ ที่รามคาม ปรากฎได้เกิดเหตุชนิดที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึง คือหมู่นาค ไม่ยอมให้รื้อทำลายพระเจดีย์ โดยบันดาลทำให้ จอบเสียม สิ่ว ขวาน แตกหัก เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ไม่สามารถขุดรื้อได้ดังใจปรารถนา
ในเมื่อการค้นหาพระบรมสารีริกธาตุไม่พบ ดังพระราชประสงค์ พระองค์จึงเสด็จนิวัติสู่กรุงราชคฤห์อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เข้าร่วมประชุม แล้วจึงตรัสถามว่า “ใครเคยได้ยิน มาบ้างว่า มีการกระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่ ไหน” ในที่ประชุมนั้น ปรากฎว่า มีพระมหาเถระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง อายุ 120 ปี บอกว่าสมัยที่มีอายุได้ 7 ขวบนั้น พระมหาเถระ ผู้เป็นบิดา ได้เคยพาท่านไปบูชาสถูปศิลาองค์หนึ่ง และสั่งย้ำว่า จงจำสถานที่นี้เอาไว้ให้ดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ที่นั่น จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุหรือไม่
เมื่อพระเจ้าอโศกได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ดำริว่า ที่นั้นชะรอยจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นแน่แท้ จึงมีรับสั่ง ให้พระมหาเถระนำเสด็จไปยังสถานที่แห่งนั้น เมื่อขุดลงไปก็ปรากฎว่าได้พบพระบรมสารีริกธาตุจริง ๆ ทำให้ พระเจ้าอโศก ทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อกลับมาถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว ก็ได้ทรงกระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุโดยวิธีอเนกประการ หลังจาก ทรงทำพิธีสักการะบูชาเสร็จ พระองค์ก็ทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้ง 84,000 แห่ง ทั่วชมพูทวีป
เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ทั้งหลายทุก ๆ พระนครเสร็จแล้ว ต่อจากนั้น จึงทรงรับสั่ง ให้ก่อสร้าง พระมหาสถูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ ประดับประดาด้วยแก้วต่าง ๆ และแสงแห่งแก้วเหล่านั้น ก็สว่างรุ่งเรืองประดุจเขาไกรลาศ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้กับ กรุงปาฏลีบุตร นั่นเอง ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่ 1 ส่วน ไปบรรจุไว้
ในกาลต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช มีพระราชประสงค์ ที่จะทำาการฉลองพระสถูปเจดีย์ เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงนำความไปปรึกษากับหมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระโมคคัลลีบุตรเถระเป็นประธาน พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมกับ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย ได้เล็งญาณดูแล้วเห็นว่า ในการทำพิธีฉลองครั้งนี้จะมีพญามาร มาทำลายพิธี จึงได้ทำการเฟ้นหาพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ที่จะมาทำการป้องกันภัย อันจะพึงเกิด ขึ้นในครั้งนี้
แต่ปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะทำการนี้ได้ จะเห็นมีอยู่ก็แต่ ท่านอุปคุต ซึ่งไปเนรมิตปราสาทแก้ว 7 ประการ จำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร เพื่อหลบหนีความวุ่นวาย โดยท่านไปนั่งเข้าฌาณสมาบัติ อยู่บนรัตนบัลลังค์ใน ท่ามกลางปราสาทแก้วนั้น โดยไม่ได้ฉันภัตตาหาร มาเป็นเวลานาน พระอุปคุตนี้แหละ หากได้นิมนต์มา ก็จะสามารถ ปราบพญามารได้ จึงตกลงใจที่จะไปนิมนต์พระอุปคุตมา สำหรับการไปนิมนต์ ครั้งนั้นก็ได้มอบหมาย ให้พระภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ ได้อภิญญาสมาบัติ 2 รูป เป็นผู้ไปนิมนต์
เมื่อไปถึงที่อยู่ของท่านอุปคุต และได้แจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่ได้แสดงความขัดข้องแต่ประการใด บอกให้พระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาก่อน แล้วท่านจะตามมาทีหลัง แต่ที่ไหนได้ …พอพระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาถึง ก็เห็นท่านอุปคุตมาถึงก่อนแล้ว….นี่แสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านพระอุปคุต
ก่อนที่จะถึงกำหนดการฉลองพระสถูปเจดีย์ พระเจ้าอโศกต้องการจะดูตัวว่าพระเถระไหนหนอ ที่จะมาทำหน้าที่ ป้องกันภัย จากพญามาร พอประธานสงฆ์ชี้ให้ดูว่ารูปนี้ไง ที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ป้องกันภัยจากพญามาร พระเจ้าอโศก ก็ชักไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะรูปร่างของพระอุปคุตนั้นผอมมาก จะทำการป้องภัยจากพญามารผู้มีฤทธิ์มากได้อย่างไร ในเมื่อไม่เชื่อก็ต้องทดสอบ
วิธีการทดสอบของพระเจ้าอโศกก็คือ ในตอนเช้า ขณะที่ท่านอุปคุตเข้าไปบิณฑบาตรในพระราชนิเวศน์ พอออกมา ก็ให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อจะทดลองกำลังฤทธิ์ของท่านพระอุปคุตว่า จะสู้กับช้างของพระองค์ได้หรือไม่ เพราะถ้าหาก ต่อสู้กับช้างไม่ได้แล้ว ไฉนเลยจะต่อสู้กับพญามารได้
และแล้ว พระเจ้าอโศกก็ได้เห็นประจักษ์ เมื่อช้างตกมันได้วิ่งไปหมายจะบดขยี้ท่านพระอุปคุต…แต่ช้างนั้นต้องพลัน ชะงักงันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ร่างกายด้วยอำนาจฤทธิ์ของท่านอุปคุต

พระเจ้าอโศกเห็นดังนั้น จึงได้เข้าไปขอขมาต่อท่านพระอุปคุต ที่ได้ทำการลองดี ท่านอุปคุตก็ได้คลายฤทธิ์ ทำให้ช้างนั้น สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และกลับไปสู่โรงช้างอันเป็นที่อยู่ของตน เหตุการณ์ในวันนั้น ทำให้พระเจ้าอโศก มีความมั่นใจในฤทธานุภาพของท่าน พระอุปคุตว่าจะสามารถ ป้องกันภัยจากพญามารได้
และแล้ววันสำคัญก็มาถึง นั่นคือวันที่จัดให้มีการฉลองพระมหาสถูปเจดีย์พระเจ้าอโศกพร้อมด้วยข้าราช บริพาร และประชาขนได้พร้อมใจกันจัดเครื่องบูชาอย่างมโหฬาร ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีการจุดประทีป เป็นอเนกอนันต์ นับไม่ถ้วน จนทำให้บริเวณนั้นโชติช่วง มองดูแล้วสว่างไสวคล้ายเวลากลางวัน ขณะที่ทุกคนกำลังปีติอยู่กับ การบูชาพระมหาเจดีย์ นั้น เหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่ได้คาดคิดก็เกิดขึ้น คือได้เกิดลมพายุใหญ่พัดมา ชนิดที่ไม่มีเค้ามาก่อนเลย
ท่านพระอุปคุตเห็นดังนั้น ก็จึงได้ใช้ฌาณอภิญญาตรวจดูเหตุที่ทำให้เกิดพายุใหญ่ ก็จึงได้ทราบว่า ที่แท้เป็นเพราะอำนาจ แห่งพญามารที่หวังจะมาทำลายพิธีนี่เอง ในเมื่อรู้ชัดเช่นนั้นแล้ว ท่านพระอุปคุตก็ไม่รอรี รีบใช้ฤทธิ์ปัดเป่า ให้พายุใหญ่ของพญามาร อันตรธานหายไปในบัดดล

เมื่อพญามารเห็นว่าใช้พายุใหญ่เพื่อทำลายพิธีไม่ได้ผล ก็รู้สึกโกรธแค้น จึงใช้วิธีการอย่างอื่น ๆ แต่ท่านพระอุปคุต ก็สามารถจะเอาชนะได้ทุกอย่าง จนผลที่สุด พญามารก็ได้ถูกพระอุปคุตปราบ โดยวิธีเนรมิตซากสุนัขเน่า ซึ่งมีกลิ่นเหม็น คละคลุ้ง และเต็มไปด้วยหมู่หนอนมองดูแล้วน่าขยะแขยง แล้วเอาผูกติดไว้ที่คอของพญามาร ผูกไม่ผูกเปล่า พระอุปคุตยังได้อธิษฐานจิตลงไปอีกว่า “ไม่ว่าเทพยดา พรหมหรือใครก็ตาม ถ้าจะแก้ ก็ขอให้แก้ไม่ออก”

พญามารพยายาม จะแก้เอาซากสุนัขนั้นออกจากคอของตนแต่ก็จนปัญญา ไม่สามารถจะแก้ออกได้ จึงจำใจ ต้องไปไหว้วอนท้าวจาตุมหาราช ให้ช่วยแก้ให้ แต่ท้าวจาตุมหาราชก็ไม่สามารถจะช่วยได้ พญามาร จึงขึ้นไปขอร้องเทพยดา ในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปอีก จนถึงชั้นพรหม แต่ก็ได้ผลอย่างเดิมคือไม่มีใครช่วยได้

ในที่สุดก็กลับไปอ้อนวอนขอร้องท่านพระอุปคุตให้ช่วยแก้ให้ เพราะมีท่านอุปคุตเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่สามารถ จะช่วยแก้ให้ได้ แต่ก่อนจะแก้ให้ ท่านพระอุปคุตก็ได้สั่งให้พญามารไปทีภูเขา แล้วจึงตามไปแก้ให้ เมื่อแก้ให้แล้ว ท่านพระอุปคุตพิจารณาเห็นว่า ถ้าขืนปล่อยไปตอนนี้ พญามารอาจจะไปรังควาญ การทำพิธีของพระเจ้าอโศกอีก ก็จึงได้มัดพญามาร ไว้ที่ภูเขา บอกว่ารอให้พิธีฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกผ่านพ้นไปเสียก่อน แล้วจึง จะมาแก้มัดให้ พญามารจึงเป็นอันต้องถูกผูกมัดติดกับภูเขาเป็นการประจานด้วยโทษฐานเป็นผู้ มีใจบาปคอยขัดขวาง และทำลายการทำความดีของผู้อื่น
เมื่องานฉลองพระสถูปเจดีย์ผ่านพ้นไป ท่านพระอุปคุตก็ได้ไปยังภูเขา เพื่อจะไปปลดปล่อยพญามารตามสัญญา เมื่อไปถึง แทนที่พระอุปคุตจะแสดงตัวให้พญามารได้เห็น ท่านก็กลับซ่อนเร้นอยู่ทางเบื้องหลัง เพื่อว่าจะฟังว่า พญามารจะว่ากล่าวอย่างไรบ้าง

พญามารเมื่อละพยศหมดความดุร้ายแล้ว ก็ได้หวนระลึกไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในวันที่พระองค์จะตรัสรู้นั้น ตนได้เคยไปรังควาญต่าง ๆ นานา แต่ทว่าพระองค์ก็ไม่เคยโต้ตอบเลยแม้แต่น้อย พญามารรู้สึกสำนึก ถึงโทษ ที่ตัว ได้กระทำ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกเลื่อมใสในคุณของพระพุทธเจ้า จึงได้เปล่งวาจาอุทานออกมาว่า “ถ้าหากข้าพเจ้า มีกุศลที่ได้เคยสร้างสมไว้แล้ว ดังที่พระผู้มี่พระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญบุญมารมีไว้ เพื่อการตรัสรู้ ในอนาคตกาล ฉันใด ก็ขอให้ข้าพเจ้าจงได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลกนี้ฉันนั้น เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ และกระทำ ประโยชน์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวงในสากลโลก”

เมื่อพญามารได้เปล่งวาจาปรารถนาพุทธภูมิจบลง ท่านพระอุปคุต ก็ได้แสดงกาย ให้ปรากฎแล้วเดินเข้าไปแก้มัดให้ ในทันที ต่อจากนั้นท่านก็ได้ให้โอวาทแก่พญามาร ให้ละจิตอันเป็นบาปเสีย อย่าได้กระทำกรรม อันหยาบช้า ต่อไปอีกเลย และนับตั้งแต่นั้นมา พญามารก็มีจิตอ่อนน้อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่มีความดุร้าย เหมือนดังแต่ก่อน นี่เป็นเพราะฤทธานุภาพของท่านพระอุปคุตโดยแท้ จึงทำให้พญามารได้ละพยศหมดความดุร้าย และกลับใจมาปรารถนาพุทธภูมิ
บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พญามารจึงไม่ได้สำนึก ทำไมมาได้สำนึก ในสมัยของพระอุปคุต เรื่องนี้มีเหตุผลอยู่ว่า พระอุปคุต กับพญามาร เคยเป็นคู่ปรับกันมา และพระพุทธเจ้า ก็เคยพยากรณ์ไว้แล้ว ว่า หลังจากพระองค์ดับขันธ์ไปแล้วจะมีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์รูปหนึ่ง เป็นผู้มาปราบพญามารตนนี้

ตรงนี้แหละ จึงเชื่อกันว่า อุปสรรคใด ๆ จะไม่ยิ่งไปกว่าพญามาร เมื่อพระอุปคุตสามารถปราบพญามารได้ มารอื่น ๆ ย่อมไม่มีฤทธิ์เหนือพญามาร ผู้ที่ต้องการชนะอุปสรรค ชนะมารที่มาผจญชีวิต หรือธุรกิจการค้าขายของตน ก็มักบูชาพระอุปคุตอยู่เป็นประจำ


ข้อมูลจาก http://www.phuketvariety.com/buddhis...thom/index.htm
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:16:05 pm »

ตำนาน พระอุปคุต

จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น เราทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลัง พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปี แต่ไม่ทราบ ภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน 

   

จากการสันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล)   แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ ที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ

สรุปรวมความได้ว่า ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ

เรื่องราวก็มีอยู่ว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูป มากมายทั่วทั้งชมพูทวีป (เค้าว่ามากถึงแปดหมื่นสี่พันองค์) เป็นผู้รวบรวมและขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อจะนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภ ที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดนั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพ ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่าง ๆ

แต่พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีรูปใดที่จะสามารถ เป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ให้พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงได้ (โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย) นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์   มาช่วยรักษาความปลอดภัย ในงานสมโภชครั้งนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น


และในครั้งนี้เอง พระอุปคุตเถระ ถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ ชำแรกมหาสมุทร ลงมาถึงตัวท่านแจ้งว่า ให้ท่านจงเป็นธุระ ป้องกันพญามารอย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์ ก็เดินทางมานมัสการ และรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบเรื่อง ผู้จะที่จะมาทำหน้าที่รักษาการ งานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงทราบ ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระ   ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้น มีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ ก็ทรงไม่แน่ใจ เกรงจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

ครั้นรุ่งเช้าวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระ ออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ใคร่จะทดสอบฤทธิ์พระเถระ   จึงทรงปล่อยช้างซับมัน (ช้างตกมัน) ให้เข้าทำร้ายพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้น จึงสะกดช้าง ที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระ ก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสาร

เมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ มีฤทธิ์เดชมาก พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงวางพระทัย   ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพ และพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตร และต่างแดนจากจตุรทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน พร้อมเครื่องสักการบูชา เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์   และเจดีย์ ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

และในเวลานี้เอง พญามาร (พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร) ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงานกับเค้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่า และสัตว์หิมพานต์ แต่ทุกครั้งก็โดนพระอุปคุตเถระ กำราบได้หมด และสุดท้าย เพื่อให้พญามาร ออกไปจากบริเวณพิธี พระอุปคุตเถระ จึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น คล้องคอพญามารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตาม (นอกจากท่านเอง) จะเอาหมาเน่านี้ออก จากคอพญามารไม่ได้ แล้วขับพญามารออกไป จากบริเวณงานทันที

ด้วยความอับอาย พญามารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแก้ร่างสุนัขเน่า ออกด้วยฤทธานุภาพ แต่ทำอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเมื่อเอามือทั้งสอง ต้องสายประคตที่คล้องคอทีไร ต้องมีไฟลุกขึ้นไหม้คอ และมือทันที สุดจะแก้ไขด้วยตนเองได้ ก็ไปหาที่พึ่งอื่น (ที่คิดว่าน่าจะช่วยได้)

แต่ถึงแม้จะไปหาท้าวมหาราชทั้งสี่ พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำว่า ให้พญามารไปขอขมา และขอความเมตตา จากพระเถระผู้นั้นเสียดีกว่า

พญามารเห็นดังนั้น จึงจำใจต้องกลับไปหาพระเถระ อ้อนวอน ให้ช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้ แล้วจะไม่มารบกวน การจัดงานอีก พระอุปคุตเถระก็อนุโลมตาม แต่ยังไม่ไว้ใจพญามารนัก   เกรงพญามาร จะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงเดินนำพญามาร ไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาร่างหมาเน่าทิ้งลงเหว และเนรมิตให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญามาร ไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภช พระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว   จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ (7 ปี 7 เดือน 7 วัน)

เวลาผ่านไปตามที่ตกลงกัน การจัดงานสมโภชน์ ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ จึงกลับมาหาพญามาร โดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญามารว่า ละพยศร้ายหรือยัง

พญามารเอง เมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุข มารับทุกขเวทนาเช่นนี้ ก็ละพยศร้ายในสันดาน หวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดี ในความเมตตากรุณา ของพระพุทธเจ้า ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ว่า “ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง   ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์ โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบ แก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้ สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุต ไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย กระทำกับข้าพเจ้า ให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และได้รับความอับอาย เป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าข้ายังมีบุญกุศล ที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต ดังเช่นพระองค์ต่อไป”


กล่าวได้ว่า การตกระกำลำบากในครั้งนี้ ทำให้พญามาร ซึ่งความจริงแล้ว ในอดีตชาติ (ในยุคของพระกัสสปพุทธเจ้า) เคยมีจิตตั้งมั่น ที่จะบำเพ็ญเพียร ให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ที่ได้กระทำการขัดขวาง พุทธศาสดาของพระพุทธโคดม ก็ด้วยความริษยา พระพุทธโคดม (มีมิจฉาทิฐิ) เนื่องด้วยพระองค์ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนตน ทั้งๆ ที่ตนบำเพ็ญบารมี มามากพอสมควรเหมือนกัน แต่การกระทำในแต่ละครั้ง ก็มิได้ล่วงเกิน ทำบาปหนักแต่ประการใด

เมื่อพระอุปคุตเถระ ได้ยินคำปรารภดังนั้น ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ พร้อมทั้งขอขมาพญามาร และบอกว่า การกระทำครั้งนี้ ก็เพื่อให้พญามาร ระลึกได้ถึงพุทธภูมิ ที่ท่านเคยปรารถนาไว้เท่านั้นเอง มิได้มีเจตนา ที่จะล่วงเกินประการใด ซึ่งพญามารก็เข้าใจด้วยดี


ต่อจากนั้นพระเถระ ก็ได้ขอให้พญามาร เนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์ เพื่อจะได้เห็น เป็นพุทธานุสติบ้าง ซึ่งพญามารก็รับคำ แต่ขอร้องว่า เมื่อเห็นเขาเนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์แล้ว อย่าหลงกราบไหว้เป็นอันขาด เพราะจะให้เขาบาปหนัก

ครั้นเมื่อพญามารเนรมิตกาย เป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และฉัพพรรณรังสี อันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา แวดล้อมด้วย มหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวาร เสด็จเยื้องย่าง ด้วยพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง พระเถระ และบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเช่นนั้น ก็ลืมตัวพากันถวายนมัสการ ทำเอาพญามารตกใจ รีบคืนร่างเดิม และท้วงติงว่า ทำให้ตนมีบาปหนัก แต่พระเถระ ก็กล่าวให้พญามารสบายใจว่า ทุกคนกราบไหว้พระพุทธเจ้า และพญามารก็ไม่บาปหรอก จะได้กุศลมากกว่า



จากนั้นพญามาร ก็กลับคืนสู่สวรรค์ ชั้นที่ 6 วิมานของตน และนับแต่นั้นมา พญามารได้มีจิตอ่อนน้อมเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา หมดสิ้นน้ำใจริษยา และบำเพ็ญบารมี เพื่อพุทธภูมิต่อไป

หมายเหตุ
เนื้อเรื่องได้กล่าวถึง พระพระกัสสปพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อความเข้าใจ ในการอ่าน ขอเสริมว่าตามตำนาน โลกเรานั้น แบ่งช่วงเวลาเป็นกัลป์ ซึ่งแต่ละช่วง ในแต่ละกัลป์ ก็จะมีพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ โปรดบรรดาสัตว์โลก เป็นคราวไป ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงมีหลายพระองค์ ซึ่งเวลาหนึ่งกัลป์นั้นนานนัก (กัลป์ที่เราอยู่นี้ มีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้แค่ 5 พระองค์ และมีหลายๆ ช่วงในแต่ละกัลป์ ที่ปราศจากพระพุทธศาสนา โดยสิ้นเชิง ดังนั้นถือว่าเราโชคดีมาก ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาตินี้

ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์อโศกอวทาน

ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 07:14:17 pm »

พระอุปคุตเถระเจ้า



รูป ผมสงวนลิขสิทธิ์

.