ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:17:15 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:32:55 am »

วัด Dubdi


วัดนี้คือวัดที่เก่าแก่ที่สุดของสิกขิม ตั้งอยู่บนเนินเขา ของเมือง Yuksom ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของสิกขิม  โดยมีพิธีสถาปนาแต่งตั้งกษัตริย์พระองค์แรกของสิกขิม ขึ้นที่เมืองนี้  และวัด Dubdi ก็ถูกสร้างขึ้นบนเนินเขาโดยลามะอาวุโสหนึ่งในสาม  ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของกษัตริย์ราชวงค์แรกของสิกขิม 
 
 

 
วัด Tashiding  ( สาย Nyingma )


ในบรรดาวัดของสิกขิมทั้งหมด  ข้าพเจ้าสนใจจะไปวัด Tashiding มากที่สุด เพราะก่อนไปสิกขิมนั้น  ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องราวของพระลามะระดับปรมาจารย์ หรืออาจารย์ของอาจารย์ท่านหนึ่งของธิเบต ที่มาละสังขารที่สิกขิม  และสถูปอัฐิธาตุของท่าน อยู่ที่วัด Tashiding แห่งนี้  เรื่องราวการละสังขารของท่านน่าสนใจมากทีเดียว  ( มีเขียนกล่าวถึงไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า ประตูสู่สภาวะใหม่ ซึ่งเขียนโดยโซเกียว รินโปเช แปลเป็นไทยโดยพระไพศาล วิศาโล  )
 
 


 
 
แต่จากเรื่องเล่าและตำนานความเป็นมา กล่าวว่า สถานที่แห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก และเล่าต่อเนื่องกันมาว่า กูรู รินโปเช  ได้หาสถานที่เหมาะสมในการทำสมาธิภาวนา  ท่านได้ยิงธนูขึ้น และมันมาตกลงที่นี่ จุดนี้คือจุดที่ท่านเลือกเป็นสถานที่นั่งสมาธิภาวนาอะไรทำนองนั้น  จนภายหลังมีการสร้างวัดขึ้นยังที่แห่งนี้  และอัฐิธาตุของบุคคลสำคัญของสิกขิม จะนำมาไว้ที่นี่
 
 







วัด Pemayangtse ( สาย Nyingma )


วัดนี้เป็นวัดสำคัญที่สุดของสาย Nyingma ในสิกขิม  ที่นี่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสพบลามะอาวุโสรูปหนึ่ง  ท่าทางท่านมีเมตตามากทีเดียว และพวกเรายังได้สนทนากับลามะวัยกลางคน ที่บอกเล่าเรื่องราว ว่าท่านเคยมาประชุมสังฆะชาวพุทธ  ที่เมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้
 
 




 
ที่วัดนี้ข้าพเจ้าและกัลยาณมิตรได้มีโอกาส นั่งฟังพระลามะธิเบตสวดมนต์ทำวัตรเช้า  เสียงสวดมนต์แบบธิเบต ให้ความสงบเย็นและผ่อนคลายได้มากทีเดียว

 
 
http://gotoknow.org/blog/sunmoola/208249
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:30:34 am »

วัด Rumtek   (  สาย Kagyu  )


วัดนี้เป็นวัดใหญ่ที่สุดของสิกขิม และมีความสำคัญมาก เพราะเคยเป็นที่ประทับขององค์ Karmapa ที่ 16  ประมุขของพุทธวัชรยานสาย Kagyu  และที่นี่มีสถูปบรรจุพระธาตุขององค์karmapa ที่ 16 ด้วย
 
 

 
 
Karmapa ที่ 16
 
 

องค์ karmapa ที่ 16  เคยไปยังอเมริกา  มีผู้กล่าวว่าไปตามคำเชิญของท่านเชอร์เตียม ตรุงปะ รินโปเช   และท่านยังเดินทางไปยังประเทศทางตะวันตกอีกหลายประเทศ ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต ท่านล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง  และเสียชีวิตที่อเมริกา  มีกล่าวในหนังสือว่า เหตุการณ์ช่วงที่ท่านล้มป่วยและอยู่ในโรงพยาบาลนั้น มีเรื่องราวแปลกประหลาดหลายอย่างเกี่ยวกับตัวท่านที่ทำให้บรรดาแพทย์ชาวอเมริกันผู้รักษาต่างงุนงงสังสัยมาก   หลังการละสังขาร บรรดาลูกศิษย์ได้นำร่างของท่านกลับมายังสิกขิม และมาทำพิธีที่นี่  ในวันนั้นเกิดสายรุ้งพาดผ่านขอบฟ้า และมีผู้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ด้วยกล้องวิดีโอ
 
 

 
 
หลังจากนั้นก็มีเรื่องราวกล่าวถึง องค์ Karmapa ที่ 17 ซึ่งกล่าวกันว่าท่านคือ องค์ Karmapa ที่ 16 มาเกิดใหม่  แต่ปัจจุบันองค์Karmapa ที่ 17 ลี้ภัยอยู่ที่ธรรมศาลา กับท่านดาไล  ลามะ
 
 

 
Karmapa ที่ 17
 
 


 
 
ที่จริงแล้ววัด Rumtek เป็นวัดที่ประทับขององค์ Karmapa ที่ 16 สาย Kagyu โดยหลังจากที่ธิเบตแตก ท่านลี้ภัยมาอยู่ที่นี่  แต่ปัจจุบันวัดนี้มีทหารอินเดียเฝ้าอยู่ แต่ตัวองค์ Karmapa ที่ 17  ซึ่งมีผู้รับรองว่าคือองค์ Karmapa ที่ 16 มาเกิดใหม่ อยู่ที่ธรรมศาลา
 
 

 
 


วัด Phodong ( สาย Kagyu )


วัดนี้กล่าวว่า เป็นวัดแรกของสาย Kagyu ที่เริ่มมีการสร้างขึ้นในสิกขิม มีความเก่าแก่และเป็นวัดที่สวยงามอย่างมาก  หนังสือบางเล่มกล่าวว่าสวยงามที่สุด 
 
 


 
 
ที่วัดแห่งนี้ข้าพเจ้าพบเหตุการณ์ประหลาดอย่างหนึ่ง  นั่นคือเมื่อเข้าไปในตัววิหารของวัด  และขณะที่กำลังก้มลงกราบพระพุทธรูป  พอกราบครบสามครั้ง เมื่อเงยหน้าขึ้นมาก็รู้สึกว่าเหมือนกำลังเข้าสู่การนั่งสมาธิโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆที่กำลังนั่งคุกเข่าอยู่ และไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น  เป็นอาการที่เกิดขึ้นคล้ายๆกับตอนที่เดินเข้าไปในส่วนวิหารของวัดจอมทอง ที่เชียงใหม่ นับว่าเป็นเรื่องน่าแปลกใจมาก  จนข้าพเจ้าต้องถามกัลยาณมิตรที่ไปด้วยกันว่า วัดนี้มีความสำคัญอย่างไร และมีความเป็นมาอย่างไร พอกลับมาเมืองไทยก็มีข้อมูลเกี่ยวกับวัดนี้ไม่มากนัก   โดยทั่วไปนักท่องเที่ยวที่ไปสิกขิม ให้ความสำคัญกับวัด Rumtek มากกว่า 
 
 


 


วัด Labrang ( สาย Nyingma )


วัดนี้อยู่ไม่ห่างจากวัด Phodong มากนัก และสร้างภายหลังวัด Phodong ประมาณ 100 ปี  วันที่เราไปนั้น เป็นโอกาสดีที่ทางวัดเปิดส่วนวิหารไว้ให้เราเข้าไปชมได้ เพราะโดยปกติจะเปิดปีละไม่กี่ครั้ง แต่ช่วงเวลานั้น ดูเหมือนว่าจะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสิกขิมแวะมาเยี่ยมชมวัด  เราเลยได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมด้วย กัลยาณมิตรของข้าพเจ้าท่านหนึ่งชอบวัดนี้มาก
 
 



 
หมายเหตุ  ภาพจากกัลยาณมิตรร่วมทาง Sikkim Trip
 
 
http://gotoknow.org/blog/sunmoola/208217