ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 11:36:20 pm »

 :42: หนีปัญหากับอกหักรักคุดประชดแฟนครับ
เพราะไม่มีกัลยาณมิตรที่คอยชี้นำ และพื้นฐานจิตใจอ่อนบางเกินไปครับ

แก้ด้วยการสอนพื้นฐานธรรมะตั้งแต่เด็กๆจะเข้าใจได้ในระดับนึง พอถึงเวลาจริงๆจะพอคิดถึงบ้างครับ ว่าสิ่งนั้นไม่ถูกต้อง น่าจะช่วยได้ในระยะยาวครับ
อนุโมทนาครับพี่แทน
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 08:29:57 pm »


เข้าใจจิตใจผู้ฆ่าตัวตาย

          การศึกษาของศาสตราจารย์ Schneidmanพบว่าคนเราไม่ได้ฆ่าตัวตายเพราะเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง จริงๆ แล้ว มีหลายๆ สิ่งเกิดขึ้นกับเขา รวมๆ กันจนถึงจุดๆ หนึ่งที่เขาทนรับต่อไปอีกไม่ได้ เขาได้เสนอปรากฏการณ์ทางจิตใจที่มักพบในผู้ฆ่าตัวตาย ว่ามีดังต่อไปนี้

          1. จุดมุ่งหมายของเขา คือ เพื่อหาทางออกต่อปัญหา
          2. เป้าหมาย คือ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้อะไรอีกต่อไป
          3. ปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจที่ยากจะทนได้
          4. ปัจจัยบีบคั้น (stressor) ได้แก่ ความผิดหวัง ไม่สมหวัง
          5. ภาวะอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง
          6. ความรู้สึกภายใน ได้แก่ ความรู้สึกสองจิตสองใจ
          7. สภาวะความคิดอ่าน (cognitive state) ได้แก่ คือ ความคิดหรือการมองสิ่งต่างๆ คับแคบลง
          8. พฤติกรรม ได้แก่ การพยายามหนีไป ณ ขณะนั้น
          9. พฤติกรรมที่มีกับผู้อื่น คือ การบ่งบอกถึงเจตนาสิ้นสุดชีวิต
          10. สิ่งที่พบบ่อย ได้แก่ รูปแบบการปรับตัวต่อปัญหาที่เป็นเช่นนี้มาตลอด

คำอธิบายเพิ่มเติม

          1. การฆ่าตัวตาย ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย มันเป็นวิธีการเป็นทางเลือกที่เขาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากลำบาก ความกดดัน การที่จะเข้าใจว่า การฆ่าตัวตาย เป็นอย่างไรนั้น จะต้องเข้าใจว่าการกระทำของเขา เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอะไร
          2. เป้าหมายของคนที่ทำ ไม่ใช่เพื่อการตาย หากแต่เพื่อหยุดการรับรู้ หยุดความทุกข์ใจ ความปวดร้าว การฆ่าตัวตายเกิดขึ้นขณะที่ความคิดเช่นนี้แว๊บขึ้นมา ในขณะที่ผู้ป่วยมีปัจจัย 3 ประการที่พร้อม คือ ความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก การมองสิ่งต่างๆ ตีบแคบลง และการมีสิ่งเกี่ยวข้องกับ การฆ่าตัวตาย อยู่ใกล้ตัว
          3. การฆ่าตัวตาย เป็นเพื่อมุ่งไปสู่การหยุดการรับรู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการหนีไปจากความทุกข์ทรมานใจ
          4. ความต้องการอาจมีหลายๆ ประการ การฆ่าตัวตาย อาจดูเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล แต่ไม่มีการฆ่าตัวตายไหนที่เป็นไปโดยไม่ต้องการอะไรมาเกี่ยวข้อง หากความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง การฆ่าตัวตาย ก็จะไม่เกิด
          5.เรามักจะเคยชินกับความคิดแบบ dichotomous ตัวอย่างเช่น คำตอบต่อปัญหาถ้าไม่ถูก ก็ผิด ไม่ค่อยคิดว่าคำตอบนั้นเป็นได้ทั้งถูกและผิดในขณะเดียวกัน แต่จิตใจของคนเราจริงๆ แล้วมีได้แบบนั้น เราอาจจะทั้งรักและทั้งเกลียดในเวลาใกล้เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในทำนองเดียวกัน คนที่ฆ่าตัวตายอาจเชือดคอตัวเองและใขณะเดียวกันก็เรียกให้คนช่วย

ความต้องการด้านจิตใจของผู้คิดฆ่าตัวตาย

          • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการความเห็นอกเห็นใจ และต้องการผู้เข้าใจในปัญหาและความรู้สึกของเขา แต่ไม่ต้องการถูกซ้ำเติมจากคนรอบข้าง
          • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่หวังดี ยินดีรับฟังและช่วยเหลืออย่างจริงใจ
          • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการระบายความทุกข์ออกมา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การพูด เขียน ร้องไห้ หรือทำร้ายตนเอง
          • ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่มีเวลาให้กับเขา ให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากเขาจะมีความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเดียวดายมากกว่าปกติ
          • ผู้ที่บางครั้งมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เรียกร้องความสนใจ วุ่นวาย หวาดระแวง แสดงถึงความต้องการความเข้าใจเหตุผลของการกระทำ ท่าทีของผู้ช่วยเหลือที่มีต่อผู้คิดฆ่าตัวตาย ควรเป็นไปในลักษณะที่แสดงความเข้าใจถึง

          ความทุกข์ใจของเขา เห็นใจไม่ตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป การสนทนากับเขาควรทำในที่ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว สนใจใส่ใความสะดวกสบายของเขาขณะสนทนา เขาจะรับรู้ความเห็นใจ ห่วงใย เอาใจใส่ของผู้ช่วยเหลือ ทำให้เกิดความไว้วางใจ สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ออกมาได้โดยไม่รู้สึกอึดอัดหรือพยายามปิดบัง


--------------------------------------------------------------------------------

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

(คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)


http://variety.teenee.com/foodforbrain/29004.html