IMG_00000000914463 by
arnocha2002, on Flickr
ไม่มีที่ลับสำหรับคนทำบาป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๔๐๙
พระโพธิสัตว์(เมื่อครั้งที่เป็นมาณพ เกิดในตระกูลพราหมณ์)กล่าวคาถา ๒
คาถานี้ว่าข้อว่า ที่ลับในโลกย่อมไม่มีแก่คนผู้กระทำบาปกรรม
ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมีคนเห็น
คนพาลย่อมสำคัญบาปกรรมนั้นว่าเป็นความลับ
ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับหรือแม้ที่ว่างเปล่าก็ไม่มี
ในที่ใดว่างเปล่าข้าพเจ้าไม่เห็นใคร
ที่นั้นก็ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้าจาก...................พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายชาดกสีลวีมังสชาดก
บัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้มีความละอายมีความเกรงกลัวต่ออกุศลจึงไม่กระทำบาป
แม้ในที่ลับด้วยคิดว่าชื่อว่าที่ลับในการทำบาปย่อมไม่มี ดังนั้น.............จึงกล่าวได้ว่า
แม้ในที่ลับไม่มีคนเห็นยังไม่ทำแล้วในที่แจ้งย่อมจะเป็นไปไม่ได้เลยที่บัณฑิตจะ
เป็นผู้กระทำบาปกรรมจึงเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีเพราะเหตุว่า บาปกรรม แม้จะปกปิด
ทำหรือทำในขณะที่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นก็ไม่ควรทั้งสิ้น(ถึงคนอื่นไม่รู้ตัวเองก็ย่อมรู้
อยู่แก่ใจว่าทำอะไร)บาปกรรมที่ทำแล้วนั่นเองย่อมตามเผาผลาญในภายหลัง
คิดถึงตอนไหนก็ไม่สบายใจตอนนั้นเมื่อถึงคราวที่จะให้ผล - ผลย่อมเกิดขึ้นทำให้ได้
รับความทุกข์ในชาติปัจจุบันบ้างให้ผลในภพหน้ามีการเกิดในอบายภูมิได้รับความ
ทุกข์ความเดือดร้อนมากมายบ้างตามควรแก่กรรมเพราะฉะนั้นแล้วดีที่สุด คือไม่
ทำความชั่ว ละเว้นจากความชั่วแล้วเพิ่มพูนความดีในชีวิตประจำวันถอยกลับ
จากความชั่ว(อกุศล)ยิ่งเร็วเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น