ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 09:31:57 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 05:25:16 pm »




ศรัทธา
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


ศรัทธา การที่อินทรีย์แก่กล้าหรือศรัทธาพละแก่กล้าก็จะต้องอาศัยเรานี่แหละทำไม่ใช่แก่กล้ามาแต่ก่อนแล้วเราจะไม่ทำเลยอย่างนั้นเป็นไปไม่ได้ แก่กล้าแล้วมันต้องรีบเร่งขยันหมั่นเพียรประกอบ พยายามจนสำเร็จมรรคผลนิพพาน อย่างพระพุทธเจ้าของเราเป็นต้น ท่านบำเพ็ญบารมีมามากมาย ถึงขนาดนั้นแล้วพระองค์ยังบำเพ็ญทุกข์กิริยาอยู่ตั้ง ๖ พรรษากว่าจะสำเร็จมรรคผลนิพพาน นับประสาอะไรกับพวกเรา ไม่รู้ว่าบำเพ็ญมากี่มากน้อยหรือไม่ได้บำเพ็ญมาเลยก็ไม่ทราบ แต่เข้าใจว่าคงจะบำเพ็ญกันมาบ้างแล้วทุก ๆ คน จึงค่อยมีศรัทธาเลื่อมใสและตั้งใจปฏิบัติ จงรีบเร่งทำเข้าชีวิตไม่คอยท่า กาลเวลาไม่ค่อยใคร หมดไป ๆ วันหนึ่ง ๆ ชีวิตมันกัดกร่อนกินไปทุกวัน หมดไป ๆ ทุกวัน

ศรัทธาที่จะกล่าวถึงนี้ ท่านเรียกว่า สทฺธีธ วิตฺตํ ปุริสสฺส เสฏฐํ ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของมนุษย์ท่านจึงได้เรียกว่าพลัง หรืออินทรีย์ ก็อันเดียวกันศรัทธาอันหนึ่ง ปสาทะอันหนึ่ง เราเรียก ควบคู่กันไปว่า “ ศรัทธาปสาทะ ” ความเชื่อความเลื่อมใส มีแต่ศรัทธาแต่ปสาทะไม่มี หรือมีปสาทะ แต่ไม่มีศรัทธาก็มี ศรัทธา คือความเชื่อมั่นในใจของตนว่าทำสิ่งนี้ถูกต้องแล้ว ทำสิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นความเชื่อมั่นในใจของตนเรียก ศรัทธา ส่วนปสาทะนั้นกล่าวถึงวัตถุสิ่งของ อย่างเห็นพระพุทธรูป เห็นเจดีย์ เกิดเลื่อมใส หรือเห็นพระภิกษุที่มีศีลธรรม มีสัมมาอาจารวัตรเกิดเลื่อมใส นั้นเรียกปสาทะ แต่ว่าไม่เกิดศรัทธา

มีหลายเรื่องหลายอย่างที่กล่าวถึงศรัทธา เช่น กล่าวว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ จะข้ามพ้นมหารรณพภพสาสารได้ก็เพราะศรัทธา ศรัทธาเป็นของภายใน มีเฉพาะจิตใจของทุก ๆ คน ศรัทธามีแล้ว วิริยะมันก็ไปด้วยกัน อย่างเชื่อมั่นว่าขุดน้ำที่ตรงนี้มันจะต้องมีน้ำแน่นอนก็ขุดลงไป การขุดนี้เรียกว่าวิริยะ ความเพียร ขุดจนไปถึงน้ำ ศรัทธาเชื่อมั่นว่าหาเงินอย่างนี้มันจะรวยก็ตั้งใจพยายามหา เช่น ซื้อบัตรเบอร์ ซื้อจนหมด เชื่อว่าจะได้อยู่ร่ำไป อันความเชื่อย่างนั้นแหละพยายามหาเงินหาทองมาซื้อ นั่นก็เป็นวิริยะ นี่แหละความเชื่อภายใน แต่ก็ความเชื่อนี่อีกแหละที่ทำให้เหลวไหลผิดลู่ผิดทางนอกลู่นอกทางไป ก็ศรัทธานี่แหละทำให้เชื่องมงายในสิ่งที่ไร้เหตุไร้ผล

อย่างเขาพูดว่าเวลานี้เรามีกรรมมีเคราะห์ ทำไงจึงจะหายไปหาหมอสะเดาะเคราะห์ให้เขาสะเดาะเคราะห์ สะเดาะเคราะห์มันจะหายยังไง มันก็ของมีเคราะห์อยู่แล้ว นี่ก็เชื่องมงาย พระพุทธเจ้าท่านว่า กรรมที่คนทำมาแล้ว ความเชื่อที่ตนทำมาแล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่หาย ต้องติดตัวอยู่ร่ำไปกว่าจะหมดเวรหมดกรรม แต่ว่าทำดีนั้นคนละอย่างกับทำชั่ว อย่างเราเห็นว่าทุกข์อยากลำบากตรากตรำอย่างนี้แหละ เราอุตส่าห์พยายามรักษาศีล ทำบุญ ทำทาน ทำสมาธิ ภาวนา เราสร้างความดีต่อไป ความชั่วเราจะไม่ทำอีกต่อไปอันนั้นเป็นการตัดกรรมตัดเวรโดยเฉพาะ แต่กรรมที่ทำแล้วมันก็ยังอยู่ ท่านจึงว่า กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา คนทำกรรมใดแล้วต้องได้รับกรรมนั้นแน่นอน คนอื่นรับให้ไม่ได้

นี่แหละ ไม่มีสติไม่มีปัญญาจึงเป็นเหตุให้นับถือเหลวไหลไปต่าง ๆ ถ้ามีสติ มันต้องมีปัญญารอบคอบสิ่งที่พูดและสิ่งที่เขาพูดนั้นมีเหตุมีผลอะไรจริงหรือไม่ มันต้องมีปัญญาในพละ ๕ หรืออินทรีย์ ๕ ที่ว่านั้น มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา พร้อมกันในตัว จึงสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ในตอนนั้น

ความเชื่อนั้นเป็นของมีจริงและเป็นของมีประจำตัวอยู่แล้ว เป็นทรัพย์อันประเสริฐประจำตัวอยู่แล้ว จะมีสติมีสมาธิแน่วแน่ในใจ และมีปัญญาหรือไม่เท่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เรื่องมันจะสำเร็จสมความปรารถนาของตนหรือไม่สำเร็จนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก แต่ศรัทธาตัวนี้เป็นของมีประจำอยู่ในใจของทุกคน จะไปไหน ๆ ก็มีศรัทธาฝังไว้ในใจ อย่างเราจะเดินไปมาไหน เราเชื่อมั่นว่าไปนี่ต้องถูกจุดประสงค์แน่นอน จึงตั้งหน้ามุ่งปรารถนาที่จะถึงนั้น มันจึงค่อยไป ถ้าไม่เชื่อในความสามารถของตนแล้วก็ไปไม่ถึงเหมือนกัน
 
ส่วนปัญญานั้นอีกอย่างหนึ่งต่างหาก จะบริสุทธิ์ได้ก็เพราะปัญญา ต้องอาศัยศรัทธาจึงค่อยเกิดปัญญาขึ้น เกิดปัญญาขึ้นแล้วจึงค่อยพิจารณาเหตุผลเรื่องราว อันนั้นจึงจะบริสุทธิ์ได้ พวกเรามีศรัทธาอยู่แล้ว จงใช้ศรัทธาให้เป็น ใช้ศรัทธาให้ถูกต้อง ถ้าไม่อย่างนั้นก็หลงเหลวไหลหมด อย่างบางคนมีศรัทธาเต็มที่ทำการทำงานสักแต่ว่าทำ ไม่รู้จักที่ได้ที่เสีย ทำมันอยู่อย่างงั้น คงจะเห็นกันทั่วไปที่อยู่ในบ้านเมืองของเราอันนั้นแหละศรัทธา ศรัทธามากเกินไป ผู้ที่ทำน้อย ๆ แต่ว่ามีความรู้รอบคอบรอบตัว มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาในตัว รู้จักพิจารณาเหตุผลของเรื่องอันนั้นพอสมพอควร ย่อมได้รับผลสำเร็จตามความประสงค์ สมความปรารถนา
 
 
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับที่ 48 พฤศจิกายน 2547
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย



  :45:  http://onab1.2testonline.com/web/index.php?option=com_content&view=article&id=188:2008-10-25-18-12-07&catid=99:7&Itemid=556