ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 09:32:42 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 05:40:46 pm »

             


มรรคแท้มีอันเดียว โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรค อันเอกอุกฤษฏ์เดินทางนี้ตรงไปสู่ความดับทุกข์ได้แน่


อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น ได้ดำเนินมาสำเร็จตามปรารถนามาแล้วทุกๆ พระองค์
มรรค ๘ เป็นทางดำเนินด้วยใจ
ถึงแม้จะแสดงออกมาให้เป็นศีล ก็แสดงศีลในองค์มรรคนั่นเอง มรรคแท้มีอันเดียว คือ สัมมาทิฏฐิ
อีก ๗ ข้อเบื้องปลายเป็นบริวารบริขารของสัมมาทิฏฐิทั้งนั้น
 
หากขาดสัมมาทิฏฐิตัวเดียวเสียแล้ว สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
เช่น ปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ตามเป็นจริงว่า
มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ย่อมถูกทุกข์คุกคามอยู่ตลอดเวลา โลกนี้จึงเป็นที่น่าเบื่อหน่ายเห็นเป็นภัย
แล้วก็ดำริตริตรองหาช่องทางที่จะหนีให้พ้นจากกองทุกข์ในโลกนี้

การดำริเช่นนั้นก็เป็นผลสืบเนื่องมาจาก สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบนั่นเอง
การดำริที่ชอบที่ถูกนั้นก็เป็นสัมมาวาจาอยู่แล้ว เพราะวาจาจะพูดออกมาก็ต้องมีการตริตรองก่อน
การตริตรองเป็นศีลของอริยมรรค การพูดออกมาด้วยวาจาชอบเป็นศีลทั่วไป

การงานของใจ คือ ดำริชอบ วาจาชอบ อยู่ภายในใจ

เป็นการงานของอริยมรรคผู้ไม่ประมาท ดำเนินชีวิตเป็นไปในอริยมรรคดังกล่าวมาแล้วนั้น
ได้ชื่อว่าความเป็นอยู่ชอบของผู้นั้น
ผู้พยายามดำเนินตามอริยมรรคดังกล่าวมาแล้ว โดยติดต่อกันตามลำดับไม่ขาดสายได้
ชื่อว่ามีความเพียรชอบในมรรคทั้งแปด 
๖ ข้อเบื้องต้นมีความเห็นชอบเป็นต้น  มีความพยายามชอบเป็นที่สุด
หากขาดสัมมาสติ ตั้งสติชอบเสียแล้ว จะเดินไปให้ถึงสัมมาสมาธิไม่ได้เลย
เหมือนทางที่ไม่ติดต่อเชื่อมกัน จะนำยานพาหนะไปตลอดทางได้อย่างไร

องค์สุดท้ายคือสัมมาสมาธิ

 ยิ่งเป็นกำลังใหญ่สนับสนุนให้องค์มรรคนั้นๆ มีกำลังกล้าหาญที่จะไม่ท้อถอย
ในหน้าที่ของตนๆ พึงสังเกตดูเถิดว่า นักปฏิบัติโดยมาก
หากสมาธิไม่มั่นคงแล้วมักไปไม่รอด ปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นผู้ส่องทางให้เห็นทางเดินก็จริง
แต่เมื่อสติกับสมาธิอ่อนกำลังลงแล้ว ปัญญาอาจกลายเป็นสัญญาเป็นสังขารไปโดยไม่รู้ตัวก็ได้

พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี



 :45:  http://www.sookjai.com/index.php?topic=4546.0