ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 09:49:36 pm »

 :13: ทุกคนคือกัลยาณมิตรที่แสนดีอ่ะครับ ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 08:08:00 pm »

 :07: :07: :07: :07:ขอบคุณงับ  เพราะเราคือพี่-น้องกัน
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 07:29:07 pm »

5 วิธี ชวนพี่-น้อง ปรองดองกัน

5 วิธี ชวนพี่-น้อง ปรองดองกัน (Mother & Care )

            พี่ขัดใจ น้องแย่งของพี่ จนกลายเป็นเรื่องระหว่างพี่น้อง แม้เป็นเรื่องปกติที่พบเห็นและเกิดขึ้นได้ก็จริงค่ะ แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าคุณสามารถรับมือกับความขัดแย้ง ทำให้ความรู้สึกและพฤติกรรมระหว่างพี่กับน้อง กลายเป็นเรื่องปรองดองต่อกันค่ะ

 ที่มาของปัญหา

            พัฒนาการด้านสังคมในช่วงนี้สำหรับเด็กเล็กวัยเรียนรู้ กำลังเป็นช่วงที่ลูกก่อเกิดความรู้สึกต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง เช่น ความเป็นตัวของตัวเอง การมองตัวเองเป็นใหญ่ และรวมถึงภาวะทางอารมณ์ ที่ยังระงับอารมณ์ตัวเองไม่ได้มาก จึงทำให้เกิดการเอาชนะ โต้เถียง หรือทะเลาะได้บ่อย ๆ ในครอบครัวที่มีเด็กมากกว่าหนึ่งคน โดยเฉพาะถ้าคุณมีลูกน้อยช่วงวัยที่ไล่เลี่ยกัน

            ฉะนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจและยอมรับ ก็คือธรรมชาติตามวัยดังกล่าว พร้อมกับให้ความช่วยเหลือและพยายามปรับความรู้สึก พฤติกรรม ด้วยการบอกกล่าวและสอนลูกค่ะ

 แผนปรองดอง อย่างสร้างสรรค์

1. สอนลูกให้เรียนรู้ถึงการอยู่ร่วมกัน

            การช่วยเหลือกันในครอบครัว เช่น คุณอาจให้พี่คนโตช่วยงานครัวทำอาหาร ส่วนน้องคนเล็กก็ช่วยงานคุณพ่อ คอยรดน้ำต้นไม้ หรือพี่ช่วยน้อง น้องช่วยพี่ เช่น เมื่อเล่นด้วยกันเสร็จแล้วพี่อาจเป็นคนเก็บให้ พอครั้งต่อไป น้องก็เป็นคนเก็บ โดยมีคนในบ้านทำให้ลูกเห็นเป็นประจำสม่ำเสมอค่ะ

2. การแบ่งปัน

            เช่น แม่ให้หนู หนูให้แม่ หรือชวนลูก ๆ เอาของไปฝากญาติ โดยมีของติดไม้ติดมือไปฝาก หรือชวนเพื่อนข้างบ้านมาเล่นด้วยกัน โดยให้ทุกคนนำของเล่นมาแบ่งกันเล่น

3. ต้องเสมอภาค

            เวลาซื้อของใช้ หรือขนมควร ซื้อให้มีลักษณะเหมือนกัน ลูกจะได้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง เช่น น้องได้มากกว่าหรือดีกว่าคนพี่

4. ควรชมและบอกถึงความภูมิใจในตัวลูก

            ที่ได้มีส่วนช่วยดูแลน้อง เล่นกับน้อง เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีต่อพี่คนโต

5. ให้ลูกได้แก้ปัญหาความขัดแย้งกันเอง

            คุณไม่จำเป็นต้องเข้าไปตัดสินทุกครั้ง ในช่วงที่ลูกมีปัญหาขัดแย้ง แต่คอยสังเกตว่า ลูกใช้วิธีการที่เหมาะสมหรือไม่ ถ้าเริ่มเปิดศึกเมื่อไรค่อยเข้าไปห้ามทัพ

เทคนิคตัดสินความขัดแย้ง

            การจะตัดสินว่าใครถูกใครผิด ใครควรได้สิ่งนั้น เช่น การแย่งของเล่น ต้องอาศัยหลักที่ว่า ฟังความทั้งสองฝ่าย ไม่ตัดสินแบบรีบด่วนสรุป เห็นด้วยตาเราเพียงชั่วขณะ หรือฝ่ายไหนร้องไห้ อีกฝ่ายต้องผิด จะนับว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ถูกต้อง เพราะมูลเหตุแห่งการทะเลาะกันอาจมีเรื่องราวมากกว่านั้น ดังนั้นต้องฟังความทุกฝ่าย และให้พี่น้องช่วยกันสรุปหรือยอมรับกัน รู้จักขอโทษและคืนดีกัน ส่วนเรื่องการทำโทษ ก็ต้องทำโทษแบบสร้างสรรค์ จุดที่สำคัญคือ ลูกต้องรู้ว่าตนเองโดนทำโทษเพราะเหตุผลใด และเขาต้องรับผลนั้นทำไม
.

http://women.kapook.com/view16040.html