ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 10:08:26 pm »

อนุโมทนาค่ะ :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 11:06:41 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แทน
ธรรมะออกมาจากหัวใจ^^
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 08:09:39 pm »

อนุโมทนาค่ะ   :13:
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 06:53:49 pm »

ศิษย์ “ อาจารย์ครับเราควรมองชีวิตของเรานี้อย่างไรจึงจะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่าที่สุดครับ”

อาจารย์ “เออ วันนี้มาแปลก ถามแปลกๆ เจ้ามีอะไรในใจหรือเปล่า?”

ศิษย์ “คือว่าพออายุผมเลยวัยหนุ่มสาวมา หน้าตาก็มีริ้วรอย มีตีนกา เส้นผมก็เริ่มหงอกเริ่มบางลงทุกที ส่องกระจกทีไรใจมันหดหู่ชอบกล อยากให้อาจารย์ช่วยให้แง่คิดดีๆ เผื่อว่าจะทำให้สบายใจขึ้นสักหน่อยน่ะครับ”

อาจารย์ “มีความจริงประการหนึ่งก็คือ เราจะเห็นคุณค่าของสิ่งใด ก็ต่อเมื่อเราได้สูญเสียสิ่งนั้นไปแล้วเสมอ

ในวัยเด็กเราก็มีทุกข์บ้าง มีสุขบ้าง
ในวัยหนุ่มสาว เราก็มีทุกข์บ้าง มีสุขบ้าง
ในวัยชรา เราก็มีทุกข์บ้าง มีสุขบ้าง
ไม่มีวัยใดเลยที่เรามีแต่ความสุข
ไม่มีวัยใดเลยที่เรามีแต่ความทุกข์
แต่เพราะความเป็นคนช่างคิดช่างฝันออกไปนอกตัวเอง
จากภาพในจินตนาการที่วาดไว้ ความคาดหวังจากความไม่รู้จริง
เราจึงไม่เคยมีความสุขในปัจจุบัน

ในวัยเด็ก เราอยากเป็นผู้ใหญ่
ในวัยผู้ใหญ่เราก็อยากกลับไปเป็นเด็ก

เราจะรู้ว่าวัยเด็กสดใสเพียงใด ก็ต่อเมื่อ
เราเข้าสู่วัยหนุ่มสาว
เราจะรู้ว่าวัยหนุ่มสาว มีค่าเพียงใด
ก็ต่อเมื่อเราเข้าสู่วัยชรา
เราจะรู้ว่าวัยชรานั้นสำคัญเพียงใด
ก็ต่อเมื่อเรา ใกล้จะต้องออกเดินทางอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อไปสู่ภพหน้าเสียแล้ว

เจ้าลองคิดดูสักนิดซิว่า จะมีประโยชน์อะไรที่จะมีความสุขมาทั้งชีวิต เพื่อที่จะต้องทุกข์ระทมในเมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้จะมาถึง
เปรียบเสมือนการสอบไล่ที่ใกล้จะมาถึง เพื่อนฝูง ความสนุกสนานเพลิดเพลินตลอดทั้งเทอม ย่อมเทียบไม่ได้กับความรู้ทั้งหมดที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบให้ผ่าน
นี่คือวาระสำคัญที่สุดในชีวิตที่เราจะใช้ประสบการณ์การผ่านความสุขและความทุกข์ในชีวิต มาใช้ในการศึกษาธรรมเพื่อที่จะเตรียมเสบียงเพื่อเดินทางต่อ หรือจะเตรียมพละกำลังเพื่อที่จะฝ่าให้พ้นออกจากความทุกข์ในสังสารวัฏ ให้ได้ ในชาตินี่เอง
ศิษย์ “ผมเริ่มมีกำลังใจขึ้นบ้างแล้ว เริ่มรู้สึกว่าวัยชรานี่ก็สำคัญไม่น้อยเลยครับ ”
อาจารย์ “ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการมองให้ตรงกับสภาพที่เป็นจริง ถึงบทบาทและคุณค่าที่สังคมเขามองในคนหนุ่มสาวและคนชรา

เมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว สิ่งที่คนมองว่ามีคุณค่าคือรูปลักษณ์ภายนอกอันคือ หน้าตา รูปร่าง ท่าทางที่สวยงาม
เมื่อเข้าสู่วัยชรา สิ่งที่คนมองในคนๆนั้น คือ คุณค่าทางจิตใจอันได้แก่ ความเมตตา ความมีน้ำใจ และความดีที่บุคคลคนนั้น กระทำต่อคนรอบข้าง และสังคมส่วนรวม
ผู้สูงวัยแต่ไร้ความดี ย่อมไม่มีผลต่อการสร้างจิตสำนึกที่ดีของคนรุ่นหลังเพื่อที่จะจดจำเป็นเยี่ยงอย่าง และจรรโลงให้สังคมให้งดงามและร่มเย็นต่อไปจะมีคุณค่าสิ่งใดเหลืออยู่เมื่อตายจากไป

ชีวิตนี้เป็นของไม่คงทน เสมือน แม่น้ำที่มีน้ำเต็มฝั่งย่อมมีแต่จะไหลเรื่อยไปไม่ย้อนกลับชีวิตก็ล่วงจากวัยเยาว์ สู่หนุ่มสาวและแก่ชรา เสมือนหยาดน้ำค้างบนใบหญ้ายามรุ่งอรุณเมื่อพระอาทิตย์สาดแสงส่องมาก็หายไป เสมือนเกลียวคลื่นที่ทยอยกันแตกสลายเมื่อพัดเข้าสู่ฝั่ง เราไม่ควรประมาทในอายุและวัยที่ยังเหลืออยู่ว่า ยังไม่ใกล้ต่อความตาย สิ่งที่เหลือไว้ในชีวิตคนๆหนึ่งเมื่อตายจากกัน ก็มีแต่ความดีงามที่พอจะเหลือให้คนรู้จักหรือญาติสนิทมิตรสหาย ได้จดจำก่อนลืมเลือนไปตามกาลเวลาเท่านั้นเอง สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติที่แท้จริง ก็คือบุญกุศลและการภาวนา เมื่อเราได้ผลของการภาวนาอันนำความสุขสงบมาสู่จิตใจของเรา ชนิดไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาความสุขจากสิ่งนอกกายอีก สิ่งนั้นแหละคือที่พึ่งที่แท้จริงในชาติปัจจุบัน เราจึงจะปล่อยวางร่างกาย อันเสมือนเรือไม้รั่วใกล้จมจากการผุพัง เพราะเราได้ขึ้นสู่เรือแห่งธรรมอันมั่นคงแน่นหนา โดยสารไปสู่ความสงบเย็นแล้วนั่นเอง

ศิษย์ “อาจารย์พูดได้ดีมากครับ ผมจะจดจำนำไปใช้เพื่อไม่ให้เสียทีที่เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง มิได้ปล่อยวันเวลาในชีวิต ให้สูญไปโดยไร้ประโยชน์เลยครับ”
 

http://www.dhammathai.org/dhammastory/view.php?No=231