ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 07:46:45 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 04:15:14 pm »

อาจารย์กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ น่าจะเป็นผู้มีความรู้เรื่องเกียวกับทิเบต และวัชรยานมากที่สุดคนหนึ่งของไทยเรา อาจารย์เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิพันดารา ซึ่งดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องของทิเบต เป็นนักภาษาศาสตร์ จบจากคณะอักษรจุฬา และเป็นอาจารย์ที่อักษรอยู่หลายปีจนลาออกเมื่อเดือนตุลาคม 2550 เพื่อมาทำงานมูลนิธิและสถานปฏิบัติธรรมเกี่ยวกับวัชรยานอย่างเต็มตัว อุทิศชีวิตและความรู้ความสามารถเพื่อสิ่งที่อาจารย์ศรัทธา
อาจารย์บอกว่าอยู่สถานปฏิบัติธรรมสามารถช่วยคนในวงกว้างได้มากกว่าที่มหาวิทยาลัย ผมคิดว่านี่คือความมุ่งหมายของผู้มีใจเป็นพระโพธิสัตว์

ความสนใจในทิเบตของอาจารย์กฤษเริ่มจากการเรียนและทำวิจัยภาษาทิเบตในฐานะนักอักษรศาสตร์ ได้สัมผัสชีวิต วัฒนธรรม นิสัยใจคอชาวทิเบตแล้วประทับใจอย่างยิ่ง อาจารย์คงเป็นหนึ่งในคนไทยไม่กี่คนที่พูด-อ่าน-เขียน ภาษาทิเบตได้ และเคยถวายงานเป็นล่ามให้สมเด็จพระเทพฯ มาแล้วขณะเสด็จเยือนนครลาซา

เวลาอยู่กับอาจารย์แล้วจะสนุกสนาน เย็นสบายใจ ถึงอาจารย์จะมีความมุ่งมั่นแรงกล้า แต่ก็ไม่ค่อยเร่งรัดหรือกดดันใคร (เท่าที่ตัวผมสัมผัสมานะครับ กับคนอื่นไม่ทราบ)

ยังจำที่คุยกับอาจารย์เมื่อรู้จักกันใหม่ๆได้
อาจารย์ - “ไปอินเดียมาสองสามหน ได้ไปแดนพุทธภูมิ เยือนสังเวชนียสถาน ( พุทธคยา and around ) หรือยังคะ?”
ผม - “อ๋อ...ยังเลยครับ” ( ตอบอย่างหน้าชื่นตาบาน )
อาจารย์ ( นิ่งอึ้งไปหนึ่งวิ.) - “ไม่เป็นไรค่ะ งั้นมาช่วยมูลนิธิเรื่องงานช่าง ขีดๆเขียนๆก่อนแล้วกันนะคะ โฮะ โฮะ”
อาจารย์คงฟังคำตอบแล้วพบว่าระดับจิตใจของผมยังไม่ถึง


ช่วงเดือน พฤษภา-มิถุนา 2550 อาจารย์กฤษเดินทางไปกราบอัษฎางคประดิษฐ์แบบทิเบต เริ่มต้นจากวัดพระแม่ตาราในนครลาซา ไปสิ้นสุดยังวัดซัมเย่ ซึ่งห่างไปราวๆ 80 กม. ใช้เวลาทั้งหมด 18 วัน มี ‘เยินเต็น’ชาวทิเบตผู้น่ารักซึ่งอาจารย์มีความผูกพันเหมือนดังน้องชาย คอยดูแล ลากรถ ตั้งเต็นท์ ทำอาหาร ไล่หมา ไล่แพะ ฯลฯให้ เยินเต็นบอกว่าผู้ดูแลก็ได้บุญกุศลเสมอดังผู้กราบเช่นกัน งานนี้เคยออกรายการเรื่องจริงผ่านจอ อาจารย์ตั้งใจจะกราบมาตั้งนานแล้ว เมื่อทางรายการทราบจึงขอติดตามไปถ่ายทำ

มีน้องๆลูกศิษย์ของอาจารย์มาถามความเห็นของผมในเรื่องเกี่ยวกับมูลนิธิพันดารา ตลอดจนถึงการไปกราบของอาจารย์กฤษดาวรรณ ขออนุญาตนำคำตอบมาโพสต์นะครับ

1.แนะนำตัวเอง

ผมเรียนจบมาทางศิลปะ แม้จะเป็นสาขาออกแบบแต่หลังจากนั้นก็ทำงานเกี่ยวกับวาดภาพมาโดยตลอด ประมาณเจ็ดแปดปีก่อนเกิดสนใจศิลปะทิเบตขึ้นมา เป็นความสนใจแบบตื้นเขิน ผิวเผินที่สุด เห็นรูปเทพดุๆ มือยุ่บยั่บในกองไฟแล้วรู้สึกประทับใจ รู้สึกว่าชาวทิเบตเขาวาดไฟได้ร้อนแรง ลักษณะท่าทางของเทพเหล่านั้น ( ซึ่งมาทราบภายหลังว่าคือยิดัมและธรรมบาล) ก็ทั้งน่ากลัวและน่าหลงใหล

ในเดือนพฤศจิกาปี 2547 ก่อนเกิดสึนามิ ผมออกจากงานประจำ และอยากทำอะไรสนุกๆ จึงจัดกระเป๋าไปอยู่กับช่างเขียนภาพชาวทิเบตลี้ภัยที่เมืองธรัมศาลา อินเดีย แม้ตอนกลับจะได้ภาพพระแม่ตาราขาว ที่วาดเองด้วยความภูมิใจกลับมาภาพหนึ่ง แต่จะว่าไปเรียนเขียนทังกาก็ไม่กล้าพูดเต็มปาก เพราะอยู่กับเขาแค่สองเดือน ในขณะการเขียนทังกาจริงๆนั้นต้องเรียนกันห้าหกปี เรียกว่าไปสังเกตการณ์วิธีเขียน และชีวิตช่างเขียนทางโน้นมากกว่า

ถามว่าตั้งใจไปเพื่อเรียนเป็นช่างเขียนทังกาหรือเปล่า? ก็บอกตรงๆว่าไม่คิดขนาดนั้นแต่แรก เพราะทราบก่อนไปแล้วว่า ถ้าจะเอาจริง มุ่งเป็นช่างเขียนทังกา ต้องเรียน 5-6 ปี ผมอายุมากเกินที่จะเริ่มต้น และที่สำคัญคือผมอยู่กับรูปแบบศิลปะที่ freeform มาโดยตลอด ชอบรูปเขียนแบบ Impressionism และวาดการ์ตูน ในขณะทังกาเป็นศิลปะแนวประเพณี และเป็นหนึ่งเดียวกับศาสนา จนมีรูปแบบกฏเกณฑ์เคร่งครัด ( ยิ่งไปอยู่ด้วยกับเขายิ่งรู้ซึ้ง ) สิ่งที่ผมต้องการรู้คือ elements ต่างๆของศิลปะทิเบต โดยลองชิมลางเขียนทังกาสักรูปเป็นพื้นฐาน

รูปแบบงานที่ผมอยากทำจริงๆ คือการนำองค์ประกอบต่างๆของทิเบตมาผสมผสานกับการวาดรูปแบบปกติธรรมดาที่ผมชอบ เช่นถ้าได้ทำภาพประกอบหนังสือเด็กทิเบต ภาพเกี่ยวกับสุภาษิตคำพังเพยของเขา รวมถึงชีวประวัติลามะคุรุต่างๆเช่นท่านมิลาเรปะ หรือน่าสนุกไปกว่านั้น คือการวาดการ์ตูนสักเรื่องนึง ที่มีภูมิภาคหิมาลัยเป็นฉากหลัง มีกลิ่นอายทิเบตและอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แบบหลังคาโลก ผสานอยู่อย่างเข้มข้น และนำประสบการณ์ที่ได้สัมผัสคนทิเบต รู้จักนิสัยใจคอ หน้าตา การแสดงออกซึ่งอารมณ์ต่างๆ มาประยุกต์เป็นภาพและเรื่องราว ทั้งหมดนี้เข้ากับธรรมชาติของผมมากกว่าการวาดทังกา

พรั่งพรูเสียยืดยาว แต่เอาเข้าจริงๆ นอกจากภาพพระแม่ตาราแล้ว ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับมาก็ไม่ได้ผลิดอกออกผลอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กลับมาก็ยังทำงานแบบเดิมๆ จนกระทั่งมาเจออาจารย์กฤษและมูลนิธิพันดารา

2.เล่าความเป็นมาของการเข้ามาช่วยงานมูลนิธิ

เป็นเรื่องมหัศจรรย์ครั้งหนึ่งในชีวิต คือผมเจออาจารย์กฤษครั้งแรกในงานภาพยนตร์มิลาเรปะ ตอนนั้นกลับมาจากธรัมศาลาราวปีนึงเห็นจะได้ ในแวดวงคนสนใจเรื่องทิเบตก็ต้องได้ยินได้อ่านหนังสือของอาจารย์ และอยากเจอตัวจริงอยู่แล้ว พอดีผมมีหนังสือการ์ตูนมิลาเรปะที่เพื่อนชาวทิเบตให้เป็นที่ระลึก ภาพสวยมากแต่อ่านไม่ออกเพราะเป็นภาษาทิเบต รู้สึกว่าเก็บอยู่กับตัวคงไม่ได้อะไร เลยขอทำความรู้จักอาจารย์ที่หน้าโรงหนัง และวันถัดมาก็นำหนังสือไปให้ที่จุฬา อาจารย์บอกว่าเป็นของขวัญปีใหม่ เพราะวันนั้นเป็นวันโลซาร์ ปีใหม่ทิเบตพอดี

จากนั้นผมและอาจารย์ก็ไม่ได้ติดต่อกันเลยประมาณปีครึ่ง จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนา 2550 วันนั้นผมไปรอเพื่อนที่อัมรินทร์โซโก้ แล้วเขายกเลิกนัดกะทันหัน ผมเลยเดินมาขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีชิดลมกลับบ้าน แล้วจู่ๆ ก็เจออาจารย์กับอาจารย์โสรัจจ์ (สามีของอาจารย์) บนสถานีนั่นแหละ ทักทายกันแล้วอาจารย์ก็บอกให้ไปหาที่จุฬาฯวันรุ่งขึ้น มีงานให้ช่วยและต้องการช่างเขียนรูปพอดี คือทำภาพร่างของพระศานติตารามหาสถูป ซึ่งอาจารย์มีดำริจะสร้างไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมขทิรวัณ หัวหิน

จำได้ว่าวันนั้นอาจารย์ดูเหนื่อยๆ เกรียมๆ ผมคิดว่าอาจารย์ไปเล่นกอล์ฟซะอีก มาทราบวันรุ่งขึ้นว่าอาจารย์ไปกราบที่ทิเบตมา และตอนที่เจอบนสถานีรถไฟฟ้านั้นอาจารย์ก็เพิ่งกลับมาหมาดๆ แค่วันเดียวเอง อีกทั้งโดยปกติอาจารย์ก็ไม่ค่อยได้เดินไปแถวชิดลมด้วย จึงถือเป็นเรื่องน่าประหลาดที่ได้มาเจอ เหมือนมีใครชักใยที่มองไม่เห็นอยู่

และหลังจากนั้น ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อน ผมก็ได้แนะนำพี่จุ่น ( คุณชลทิศ ตามไท) สถาปนิกใจดี ให้อาจารย์ได้รู้จัก เราสามคนไปขถิรวัณพร้อมกับพี่อารีรัตน์ ศิริคูณ มิตรคนหนึ่งของอาจารย์ คือเราสี่คนเนี่ยแทบไม่รู้จักกันมาก่อนเลย แต่ก็จูนเข้ากันได้ดีอย่างน่าพิศวง เมื่อผมวาดพระสถูปรูปที่สองเสร็จ ( ต่อยอดจากรูปแรกที่คุณศุภโชค ชุมสายวาดไว้) เราจึงนำภาพนั้น พร้อมคำถามต่างๆ ขึ้นเครื่องบินไปเมืองเฉินตู ไปขอคำวิจารณ์และคำปรึกษาจากลาร์เซย์ริมโปเช พระอาจารย์ลามะที่อาจารย์กฤษดาวรรณนับถือ โดยงานนี้พี่จุ่นก็พาพี่เล็กพี่กลาง ( คุณศิษฏ์-คุณปรีชญา ธีระโกเมน) ครอบครัวสถาปนิกซึ่งสนใจในความเป็นทิเบตไปด้วย เพราะหลังจากภาพร่างผ่านความเห็นจากอาจารย์ลามะทิเบตแล้ว ทางพี่ๆสถาปนิกจะได้รับช่วงต่อ นำไปขึ้นแบบทำพิมพ์เขียวให้เป็นจริงเป็นจัง

นอกจากนี้ คณะเรายังมีคุณจิ๊กRyan ( คุณปรัชวัน เกตวัลห์) ร่วมทางไปอีกคน คุณจิ๊กเป็นนักเขียนผู้มีความรักและอุทิศตนให้ทิเบตอย่างมากมาย เธอเป็นแรงกำลังสำคัญอย่างยิ่งของมูลนิธิตราบจนปัจจุบัน

เยินเต็นรอรับเราที่เฉิงตู หลังจากพบท่านริมโปเชแล้วก็ไปเที่ยวบ้านเยินเต็นที่อัมโด อยู่ 3-4 วัน ดูโครงสร้างพระสถูปตามก็อมปะ ( วัด) ต่างๆ ซึมซับความเป็นทิเบตในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลับมาเมืองไทยก็นำคำวิจารณ์ของท่านริมโปเชมาปรับปรุงแก้ไข และช่วยกันจัดนิทรรศการ ภายหลังอาจารย์กรุณาให้โอกาสผมขึ้นเวที พูดและสไลด์โชว์เรื่องประสบการณ์ในการไปวาดทังกาที่ธรัมศาลา ในห้องประชุม ม.จุฬา รู้สึกเป็นเกียรติมากๆ
ก็ได้ร่วมงาน และกลายมาเป็นสมาชิกของมูลนิธิแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ไม่เป็นทางการเช่นนี้แหละครับ


3. รู้สึกอย่างไรกับการไปกราบของอาจารย์กฤษ ประทับใจอะไรบ้าง

-ผมคิดว่าการกราบสำหรับอาจารย์คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากๆ บางคนอาจกล่าวว่าอาจารย์มีศรัทธาแรงกล้านั่นก็คงเป็นส่วนหนึ่ง แต่ตัวอาจารย์เองบอกว่านี่เป็นเพียงการปฏิบัติพื้นฐาน ก่อนไปไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาก แทบไม่ได้ออกกำลังกาย มีแต่ใจเท่านั้นที่คิดว่าอยากทำ และรู้สึกลึกๆตามสัญชาติญาณว่าตัวเองสามารถกราบอย่างคนทิเบตเขาได้

มองว่าอาจารย์ทำด้วยความรู้สึกจริงๆ ผมชอบตรงนี้ เพราะสำหรับคนที่ใช้เหตุผลในการทำโน่นทำนี่ ถ้าเขาคิดจะกราบ อาจลังเล กว่าจะกล้าไปกราบได้ก็คงต้องฟิตร่างกาย ตั้งอกตั้งใจอย่างหนักเหมือนเวลาจะไปเดินเขาไกลๆหรือไปแข่งกีฬา แต่อาจารย์ทำอย่างเป็นปกติวิสัย เรื่อยๆ เย็นๆ ระหว่างกราบก็ไม่ได้ฝืนดึงดัน เหนื่อยหรือป่วยก็หยุด ไม่เห็นว่าอุปสรรคใดๆ จะเป็นปัญหา ราวกับว่าเคยเผชิญมาก่อนแล้ว .และอันที่จริงผมแอบคิดเองว่าอาจารย์ต้องเคยเดินกราบทางไกลมาแล้วในชาติก่อนๆ ที่มาทำตอนนี้ก็เลยเหมือนทำต่อ รื้อฟื้นสักพัก เช่นช่วงวันแรกๆ ที่อาจารย์ว่าลำบากนิดๆ จากนั้นพอเข้าฝักก็ไปได้เองราวกับคุ้นเคย เคยทำมา สำหรับคราวนี้ก็มาสะสมไมล์ต่อ และต้องมีอีกแน่ๆ ในอนาคต มันคงเป็นอะไรประมาณนี้แหละที่ดลให้อาจารย์อยากกราบ และเป็นที่มาของความมั่นใจอันเร้นลับ ยากจะอธิบาย ว่าต้องทำได้

ที่บางคนรู้สึกฉงนปนทึ่ง เมื่อทราบว่าผู้หญิงไทยบอบบางอย่างอาจารย์สามารถไปกราบได้นั้น สำหรับผม ซึ่งรู้จักชาวทิเบตมาก่อน รู้สึกว่าเป็นไปได้แน่นอนที่ใครบางคนซึ่งรักและศรัทธาในวัชรยานจะอุทิศตนเช่นนี้ และยิ่งมารู้จักอาจารย์ ได้พูดคุยจนสนิท ก็ยิ่งไม่แปลกใจ เพราะอาจารย์มีความเป็นทิเบตอยู่ในตัวมากๆ จนผมมองว่าในขณะที่อาจารย์เป็นผู้หญิงไทย อีกตัวตนหนึ่งก็เป็นผู้หญิงทิเบตด้วย และการที่ผู้หญิงทิเบตคนหนึ่งซึ่งมีศรัทธาอุทิศตนจะออกกราบ ก็ไม่ใช่เรื่องพิสดารแปลกประหลาดอยู่แล้ว ที่อาจารย์ทำจึงเป็นสิ่งน่านับถือมากกว่าน่าทึ่ง

ผมเคยดูสารคดีเรื่องการกราบ หนุ่มคนหนึ่งออกกราบจากชนบทมาสู่ลาซา โดยมีน้องสาวคอยจัดแจงสัมภาระ แบกหาม ทำกับข้าว ตั้งกระโจม ฯลฯ ทำอะไรจิปาถะให้ คิดไปถึงเยินเต็น อาจารย์กับเยินเต็นก็คงไม่ต่างกับพี่น้องคู่นั้น พระกำหนดมาให้ช่วยกันปฏิบัติและค้ำจุน บางที ในครั้งกระโน้น อาจารย์อาจต้องเป็นฝ่ายรุนรถให้เยินเต็นก็ได้ มาปัจจุบันนี้เลยต้องทำหน้าที่สลับกัน พูดอย่างนี้ ชักอยากเห็นอาจารย์เป็นฝ่ายรุนรถให้เยินเต็นบ้างซะแล้ว


ปล. อาจารย์ได้อ่านคำตอบของผมแล้วบอกว่าชอบมากๆ แต่คนที่ชอบกว่าใครคือเยินเต็น เขาหัวร่อใหญ่เมื่ออาจารย์แปลความให้ฟัง
อาจารย์เล่าอีกว่าระหว่างกราบมีบางครั้งที่ป่วย เหนื่อย ท้อแท้ หงุดหงิด เยินเต็นต้องถามว่าเอางี้มั๊ย สลับหน้าที่กัน เขากราบเองแล้วให้อาจารย์ไปรุนรถ อาจารย์รีบส่ายหน้าปฏิเสธบอกว่าไม่อาววว...ไม่มีวัน การรุนรถ ( ที่จริงคือเข็น ) เป็นเรื่องหนักหนาสาหัสมาก

ระหว่างที่เล่าย้อนหลังให้ฟัง ทั้งอาจารย์และเยินเต็นหัวเราะกันยกใหญ่ แต่รู้ได้เลยว่าในสถานการณ์จริงนั้นขำไม่ออกแน่

ภาพอาจารย์กฤษดาวรรณภาพนี้ ถ่ายที่เมือง Aba ภูมิภาค Amdo ( ตะวันออกเฉียงเหนือ) ของทิเบต Aba เป็นบ้านเกิดของเยินเต็น
ถ่ายด้วย Leica M6 เลนส์ Summicron 50 DR ฟิล์ม Kodak Tri-X
[รู้สึกใบหน้าของอาจารย์จะแปลกไปจากภาพจริง อาจเป็นเพราะไฟล์เดิมมันใหญ่แล้วบีบอัด ย่อลงมากเกิน ขออภัยด้วยครับ]






 

 
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=buttertea&date=18-02-2010&group=1&gblog=5