ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 07:47:09 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 04:35:16 pm »

ข้อมูลเพิ่มเติม

ซกเช็น

ซกเช็น (Dzogchen) ซก แปลว่า อุดม หรือ สมบูรณ์​ และ เช็น แปลว่า ใหญ่  เป็นคำสอนว่าด้วยการเข้าถึงสภาวะจิตเดิมแท้หรือในภาษาทิเบตเรียกว่า “ริกปะ” สภาวะจิตเดิมแท้นี้ไม่มีความเป็นทวิลักษณ์ ไม่มีการประเมินค่าหรือปรุงแต่งว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรงาม ไม่งาม เป็นความบริสุทธิ์กระจ่างใสดุจท้องฟ้าในยามไร้เมฆหมอก

ซกเช็นเป็นคำสอนสูงสุดในพระพุทธศาสนาวัชรยานที่ฝึกปฏิบัติในนิกายยุงตรุงเพิน (Yungdrung Bon) และนิกายญิงมาปะ (Nyingmapa) แม้จะเร่ิมจากทิเบต ซกเช็นเป็นคำสอนสากลสำหรับทุกคนที่ปรารถนาความสุขที่ยั่งยืนและมีจิตมุ่งมั่นที่จะฝึกฝนจนหลุดพ้นในชาติเดียวเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์


สามมรรควิถีในวัชรยาน

แบบพระสูตรเน้นการสะสมบุญบารมี ค่อยๆปฏิบัติธรรมจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน หัวใจหลักของสายนี้การสละโลก (renunciation path)

แบบตันตระและซกเช็นจะเน้นการเข้าถึง โดยฉับพลัน โดยตันตระ เป็นการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าจากภายใน เน้นการเปลี่ยนสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์ เปลี่ยนโลก (transformation path) และซกเช็นเป็นการปฏิบัติที่เข้าถึงภาวะจิตกระจ่างโดยตรง เป็นวิถีแบบการปล่อยให้ทุกอย่างสลายไปด้วยตัวเอง (self libaration path)

ในสายซกเช็น ปัจจัยสำคัญในการตรัสรู้ธรรม ได้แก่

1. การได้รับพรจากครู ปราศจากครูโอกาสที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้มีน้อยมาก
ข้อนี้เป็นเรื่องแรกที่จะต้องทำความเข้าใจว่า พรของพระพุทธเจ้า พระมหาโพธิสัตว์ พระอาจารย์ มีอยู่จริง แม้ว่าเราจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เหมือนลมที่มีอยู่หนทุกแห่งแต่เราไม่สามารถจับต้องได้

2. บุญบารมีที่สั่งสมมาในอดีตชาติจนถึงปัจจุบัน

3. การเข้าถึงภาวะดั้งเดิมของจิตตนเอง โดยไม่มีการปรุงแต่ง

 
ริมโปเช ผู้นำภาวนา

พระอาจารย์ลาตรี เคนโป ญีมา ทรักปา ริมโปเช เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธทิเบต นิกายยุงตรุงเพิน ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา โปแลนด์ ออสเตรีย รัสเซีย และเบลารุส ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดลาตรีในทิเบต ริมโปเชเติบโตในชุมชนทิเบตอพยพในเนปาล ท่านเป็นบุตรของพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงข
องทิเบตตะวันออก ในวัยเยาว์ท่านใช้ชีวิตเหมือนชาวทิเบตอพยพทั่วไป ขายเสื้อ ทอพรม แต่เมื่อโตขึ้น ท่านได้รับการอุปสมบทที่วัดแมนรีในอินเดียภายใต้การอุปการะของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 33 จนจบการศึกษาพุทธปรัชญา ได้ปริญญา เกเช เทียบเท่ากับปริญญาเอก ริมโปเชมีเป้าหมายที่จะอนุรักษ์ภูมิปัญญาโบราณของทิเบตและให้ความช่วยเหลือเด็กๆในทิเบตและหิมาลัยเพื่อให้พวกเขามีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง ท่านจึงได้ก่อตั้ง “บ้านเด็กเพิน” ในอินเดีย ท่านได้รับเชิญไปบรรยายตามที่ต่างๆทั่วโลก หัวข้อที่ท่านเคยบรรยาย เช่น ซกเช็น การบำบัดรักษาโรค การฟื้นฟูจิตใจ การฝึกพระฑากินี กายกับใจ การนั่งสมาธิ รวมทั้งการปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้าการแพทย์ ริมโปเชเป็นครูทางจิตวิญญาณชั้นนำของโลกและเป็นที่ปรึกษาของมูลนิธิพันดารา หนังสือของท่านเรื่อง Opening the Door to Bon ได้รับการแปลเป็นหลายภาษาทั่วโลก


http://krisadawan.wordpress.com/
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 04:33:17 pm »



โครงการก่อสร้าง “พระศานติตารามหาสถูป” มูลนิธิพันดารา ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมอบรม
“เปลี่ยนแปลงจิตใจบนวิถีซกเช็น”

ณ ศูนย์ขทิรวัน (กุนเทรอลิง) ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์

วันที่ 21-24 กันยายน 2553

บรรยายภาษาอังกฤษ แปลเป็นไทยโดย รศ.​ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์

4 คืน 4 วัน กับ การเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อความสุขที่ยั่งยืน และเรียนรู้วิธีฝึกสมาธิ “อาทริ” จากคำสอนล้ำค่า “ซกเช็น” หรือ “ความอุดมอันยิ่งใหญ่” ในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

นำภาวนา โดย พระอาจารย์ ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช พระธรรมาจารย์ซกเช็น ผู้ตั้งศูนย์ฝึกปฏิบัติในหลายประเทศทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา โปแลนด์ ออสเตรีย และเบลารุส

บริจาคร่วมอบรม 2,000-4,000 บาท ตามกำลังทรัพย์ เป็นค่ารถไปกลับ กรุงเทพ-หัวหิน ค่าเดินทางของพระอาจารย์ ค่าอาหารและอาหารว่างทุกมื้อ เครื่องดื่มร้อน-เย็น ค่าเอกสาร ค่าแรงคนงานและค่าสาธารณูปโภค รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายถวายพระอาจารย์ทั้งหมด

ลงทะเบียน ได้ที่ Email: 1000tara@gmail.com โทร. 0806100770 โทรสาร 025285308 วันสุดท้ายของการลงทะเบียน วันที่ 15 กันยายน 2553

การแต่งกาย แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ที่พัก มีทั้งที่พักเดี่ยวในเต็นท์ และที่พักรวมในศาลาปฏิบัติธรรม ซึ่งมีมุ้งลวดกันยุงและมุ้งครอบเพื่อความเป็นส่วนตัว

**ผู้ไม่เคยศึกษาเรื่องซกเช็นหรือภาวนาตามแบบพุทธวัชรยาน สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ริมปูเชจะบรรยายเกริ่นนำ และทางมูลนิธิจะมีเอกสารให้ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติม

**ขอเชิญผู้เข้าอบรมทุกท่านร่วมเป็นจิตอาสาและบำเพ็ญบุญกุศลในงาน “วันพระศานติตาราฯ” เสาร์ที่ 25 กันยายน และปล่อยปลา 100,000 ตัว เช้าวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน ณ เขื่อนแก่งกระจาน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จะมีรถตู้พาผู้ร่วมงานจากศูนย์ขทิรวันไปแก่งกระจานและจะพากลับถึงกรุงเทพ วันที่ 26 กันยายน ภายในเวลา 14.00 น.

โปรแกรมสำหรับการภาวนา

21 กันยายน 2553

06.30 น. พบกันที่บ้านมูลนิธิพั
นดารา ออกเดินทาง

11.00 น. ถึงศูนย์ขทิรวัน

11.30-13.00 น. ริมโปเชแนะนำเรื่อง ซกเช็น (Session 1)

13.00-15.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียน
จากพระอาจารย์

15.00-17.00 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 2)

17.00-18.30 น. รับประทานอาหารเย็น

18.30-19.30 น. ศึกษาบทเรียน (ต่อ) และฝึกการอยู่นิ่งๆอย่างผ่อนคลายและเบิกบาน

19.30-21.30 น. ซักถาม และฝึกสมาธิ “อาทริ” (Session 3)

21.30 น.         เข้านอน
 

22-23 กันยายน 2553

05.30 น. ตื่นนอน

05.45 น. กราบอัษฎางคประดิษฐ์​

06.00 น. ฝึก “ตุกลุง” และทำสมาธิ

06.45-07.15 น. เดินภาวนา

07.15-08.30 น. ทำธุระส่วนตัว

08.30 น. รับประทานอาหารเช้า

09.30-11.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 4)

11.30-14.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียนจากพระอาจารย์

14.00-16.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 5)

17.00-18.30 น. รับประทานอาหารเย็น
 

18.30-19.30 น. ศึกษาบทเรียน (ต่อ) และฝึกจิตใจให้ปล่อยทุกอย่างไปในวิถีที่ควรจะเป็น

19.30-21.30 น. ซักถาม และฝึกสมาธิ (Session 6)
21.30 น.         เข้านอน

24 กันยายน 2553

05.30 น. ตื่นนอน

05.45 น. กราบอัษฎางคประดิษฐ์​

06.00 น. ฝึก “ตุกลุง” และทำสมาธิ

06.45-07.15 น. เดินภาวนา

07.15-08.30 น. ทำธุระส่วนตัว

08.30 น. รับประทานอาหารเช้า

09.30-11.30 น. ฟังธรรมและฝึกปฏิบัติ (Session 7)

11.30-14.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ศึกษาบทเรียนจากพระอาจารย์

14.00-16.00 น. ซักถาม ริมโปเชสรุปคำสอนซกเช็น อุทิศบุญกุศลร่วมกัน (Session

16.30 น. เดินทางกลับ
 

หมายเหตุ: สำหรับผู้สนใจจะอยู่ที่ศูนย์ขทิรวันต่อเพื่อร่วมงาน “พระศานติตาราฯ” ในวันที่ 25 กันยายน เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลในการสร้างพระมหาสถูปและร่วมกิจกรรมต่างๆ อาทิ ถวายเครื่องบูชา 5000 ที่ ปั้นเจดีย์ดิน ฟังธรรมเรื่อง “พระสถูปกับสันติภาพ” ฝึกสมาธิถึง “พระแม่แห่งปัญญาผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตา” ถวายดวงประทีป 505 ดวง และภาวนาเพื่อผู้ล่วงลับกับริมโปเช สามารถช่วยเตรียมงานได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ของวันที่ 24 กันยายน โดยทางมูลนิธิจะมีอาหารเย็นแบบง่ายๆและที่พักบริการทุกคน