ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 07:50:01 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 30, 2010, 05:15:55 pm »

พระมัญชุศรีโพธิสัตต์ หรือ บุ้นซู้พู่สระ

พระองค์มีชื่อเรียกมากมาย อาทิ พระมัญชุโฆษ (ผู้มีเสียงเพราะ) , พระมัญชุนาถ , พระวาคีศวร คนจีนเรียกบุ้นซู้พู่สะ เป็นพระโพธิสัตต์แห่งมหาปัญญา ในประเทศธิเบตให้ความเคารพต่อพระโพธิสัตต์องค์นี้มาก ฉายาของพระองค์เรียกแตกต่างกันไป อาทิ ไต้ตี่ (มหามติ - มีปัญญาใหญ่) , ไทจือ (ราชกุมาร) , เชยปี่ก๊าจู๊ (ธรรมราชผู้มีแขนหนึ่งพัน) ทรงประสูติเมื่อวันที่ 4 เดือน 4 ทางจันทรคติแบบจีน

พระนามเต็มของพระองค์ คือ พระมัญชุศรีกุมารภูติโพธิสัตต์ ทรงประทับบนหลังราชสีห์ อันราชสีห์นั้นเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อสัตว์ใดๆ เปรียบเป็นเช่นกับพระพุทธเจ้าและโพธิสัตต์ ไม่หวาดหวั่นท้อถอยต่อการประกาศสัจธรรม และเมื่อราชสีห์คำราม บรรดาสรรพสัตว์ใหญ่น้อยต่างก็หลีกไป เฉกเช่นพุทธองค์ประกาศธรรม ทำให้คำสอนของเดียรถีย์ทั้งหลายด้อยรัศมีไปฉันนั้น ราชสีห์นี้ บางครั้งเรียก " สิงหอาสน์ "

บุ้นซู้พู่สะ เป็นพระมหาโพธิสัตต์ ที่มักได้รับการเอ่ยถึงในพระสูตร และตั้งองค์พระปฏิมาให้อยู่คู่กับ " โผวเฮี้ยงพู่สะ " หรือ "โผวเฮี้ยงผ่อสัก " หรือ " พระสมัตภัทรมหาโพธิสัตต์ " ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าของบรรดาพระโพธิสัตต์นับร้อยนับพันที่มาเฝ้าชุมนุมพระศากยมุนีพุทธเจ้า ทรงเป็น " พระฌานิโพธิสัตต์ " ที่ถือกำเนิดก่อนสมัยพุทธกาล ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถในการแสดงธรรม ทรงมุ่งมั่นให้สัตว์โลกได้พ้นทุกข์ และบรรลุธรรมอย่างไม่ทรงเกรงกลัวต่อความยากลำบาก กำเนิดของมัญชุศรีโพธิสัตต์นั้น มีตำนานเล่ากันไปต่างๆนาๆที่เมืองจีนว่า เกิดจากพระนลาฎของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ด้วยลำแสงที่พุ่งออกไปนั้นตัดต้นไม้ต้นหนึ่งที่ภูเขาอู่ไถ่ แล้วบังเกิดดอกบัวมารองรับพระมัญชุศรีขึ้นมา ดังนั้นพระโพธิสัตต์พระองค์นี้จึงไม่แปดเปื้อนครรภ์มลทินแต่อย่างไร

อีกเรื่องหนึ่งเล่าว่า คหบดีจีนท่านหนึ่ง ต้องการเลี้ยงพระทั้งวัดบนภูเขาอู่ไถ่ พระจึงชักชวนคนยากจนมารับทานด้วย เพราะพระโพธิสัตต์มัญชุศรีมักจะสอนเน้นให้คนทั้งหลายมีความเสมอกัน ไม่แบ่งแยกระหว่างคนรวยกับคนจน ไม่แบ่งแยกระหว่างพระกับฆราวาส ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงใคร่อยากรู้ใจมนุษย์ จึงจำแลงร่างเป็นหญิงขอทานที่กำลังตั้งครรภ์ คหบดีรำคาญใจมากที่เห็นชาวบ้านพวกนี้

เพราะตั้งใจมาทำบุญเลี้ยงพระเพียงอย่างเดียว ครั้นมาถึงคิวหญิงขอทาน นางบอกว่า ต้องการข้าว 2 จาน จานหนึ่งสำหรับตนเอง อีกจานหนึ่งสำหรับลูกในท้อง เจ้าของงานไม่ยอม นางจึงไม่ยอมกินอาหารนั้นและเดินออกจากวิหารไป กลายเป็นพระมัญชุศรีโพธิสัตต์เหาะขึ้นท้องฟ้าด้วยเทพบริวารตระการตา เป็นเหตุให้เจ้าของงานและทุกคนที่อยู่สถานที่นั้นก้มกราบขมาลาโทษต่อพระโพธิสัตต์กันถ้วนหน้า ตั้งแต่นั้นมา ถือเป็นนโยบายของเขาอู่ไถ่ว่า หากต้องการเลี้ยงพระก็ต้องทำทานต่อผู้ยากไร้ด้วย

เรื่องเล่าจากอินเดียว่า เมื่อครั้งที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าจะเสด็จไปแสดงธรรมนั้น พระมัญชุศรีประกาศว่า ขอให้คอยสดับพระธรรมจากพระธรรมราชา (พระพุทธเจ้า) พระธรรมของพระธรรมราชาเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาแล้วประทับ ณ พุทธอาสน์ ไม่ทรงแสดงธรรมอันใดเลย เพราะพระมัญชุศรีแสดงธรรมไปหมดแล้ว ทั้งสั้นและได้ใจความ " พระธรรมเป็นเช่นนั้นเอง ในประเทศธิเบตยังมีการสร้างภาคดุร้ายของพระมัญชุศรีด้วย ปางนั้นคือ ยมานตกะ โดยสร้างตำนานขึ้นสนับสนุนว่า พระมัญชุศรีลงไปยังยมโลก พระยมมีศีรษะเป็นกระบือ พระมัญชุศรีจึงต้องแปลงร่างเป็นเช่นนั้น เพื่อให้พระยายมกลัว

ทั้งที่พระยมเป็นเจ้าแห่งความตาย แต่ยังเกรงในพระบารมี จนแลเห็นความไม่สิ้นสุดของพระโพธิสัตต์พระองค์นี้ ชาวธิเบตนิยมเพ่งรูปยมานตกะเพื่อเอาชนะความตาย

นอกจากนี้ยังทรงแบ่งภาคออกเป็นปางต่างๆมากมาย อาทิ ธรรมธาตุวาคีศวร , ไภรวัชร , พระวัชรนังคอารยมัญชุโฆษ , พระยมานตกะ มหาบุรุษโพธิสัตต์ที่ชาวธิเบตให้การยกย่องนั้นมี อวโลกิเตศวร , มัญชุศรีและวัชรปาณี ด้วยเหตุที่เป็นสัญลักษณ์ของกรุณา ปัญญาและพละ ตามรูปศัพท์แล้ว มัญชุศรี แปลว่า ผู้มีเสียงไพเราะ และมีความสามารถพิเศษในการเทศนาให้คนเกิดปัญญาได้

ตามคติในฝ่ายมหายานนั้น ยกย่องให้พระองค์เป็นพระโพธิสัตต์แห่งปัญญาและคุ้มครองนักปราชญ์ ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของวิทยาศาสตร์ และการแสวงหาสัจจะทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ การบูชาพระโพธิสัตต์พระองค์นี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความชาญฉลาด มีความจำดี และสามารถจดจำคัมภีร์ต่างๆได้อย่างแม่นยำ

พระโพธิสัตต์มัญชุศรีได้รับการยกย่องและนับถือกันมากในเมืองสารนาถ แคว้นมคธ เบงกอล เนปาลและธิเบต คัมภีร์ซึ่งทรงถือนั้นคือ ปรัชญาปารมิตา ซึ่งถือเป็นคัมภีร์ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่จะมาตรัสรู้

พระนามของพระองค์ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์อมิตยุสสูตร เพราะพระองค์เป็นหัวหน้ากลุ่มพระโพธิสัตต์บนเขาคิชฌกูฎ และในคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร กล่าวว่า ความยิ่งใหญ่ของพระองค์นั้นเทียบเท่ากับพระอวโลกิเตศวร ผู้ใดที่จะบรรลุพระสัมมาสัมพุทธะ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์เสียก่อน

ในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตรนั้น พระศากยมุนีพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงฐานะของพระมัญชุศรีโพธิสัตต์ว่า เป็นผู้รักษาพระสูตรนี้ และเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองพุทธศาสนาในช่วง 500 ปีสุดท้าย เหตุที่ชาวเนปาลนับถือพระมัญชุศรีโพธิสัตต์ มีเรื่องบรรยายอยู่ในคัมภีร์สวยัมภูปุราณะว่า ราวศตวรรษที่ 8 พระโพธิสัตต์มัญชุศรีเดินทางจากเมืองจีน เพราะแต่เดิมนั้นทรงสถิตย์ ณ ยอดเขาโหงวไท้ซัว (ภูเขา 5 ยอด) แล้ววันหนึ่งพระองค์ทราบด้วยญาณทิพย์ว่า พระอาทิพุทธแบ่งภาคลงมาเป็นเปลวไฟบนดอกบัว ในทะเลสาปกาลีหรัท ที่เนปาล ดังนั้นพระองค์จึงเสด็จมาพร้อมด้วยสานุศิษย์ และสร้างวัดครอบไฟนั้นไว้ เรียกว่า สวยัมภูเจดีย์ ทั้งยังได้กำจัดสัตว์ร้ายที่ทะเลสาปนั้น และสถาปนาผู้ติดตามคือ พระเจ้าธรรมกรเป็นกษัตริย์ปกครองเนปาล

ท่านสงกะปะ อันเป็นต้นตอของนิกายแห่งองค์ทาไลลามะ ถือว่าเป็นนิรมาณกายของพระมัญชุศรีแบ่งภาคมาเกิด


ไม่ได้นั่งเทียน นะ มีที่มา จาก

http://www.buddhakun.com/index.php?topic=5916.0