ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 12:02:45 pm »

 :13:  อนุโมทนาครับพี่มด
ผมชอบดูอิ๊กคิวซังเหมือนกัน ตอนดึกๆจะเปิดช่อง cartoonclub เป็นเพื่อนไม่ให้หลับครับ เลยไม่หลับจริงๆ :42:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 09:59:24 am »




เด็กน้อยอิคยุ

ในญี่ปุ่นมีเรื่องที่ชอบเล่าอย่างชื่นชมยินดีมาทุกยุคนับแต่สมัยอาชิคากะมาจนทุกวันนี้ คือ เด็กน้อยอิคยุ ติดตามมารดาไปวัดตั้งแต่ยังเล็ก หลวงพ่อเจ้าวัดท่านก็เรียกไปใช้สอยใกล้ชิด

วันหนึ่งเช็ดพื้นไปปัดเอาถ้วยชาอย่างดีราคาแพงของอาจารย์ตกแตกอิคยุเด็กน้อยรู้สึกตกใจมากเพราะรู้แน่ว่าถ้วยอย่างนี้แพง หาไม่ได้อีกแล้ว ในเมื่อขาดชุดไป ในจิตใจของเด็กๆ ก็เหมือนๆ กับเราท่านทุกคนเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก คือ เคยทำของมีค่าตกแตกเสียหายมาบ้างแล้ว

ลองนึกดูเถิดว่า ในคราวอย่างนั้นเด็กธรรมดาก็ย่อมจิตใจว้าวุ่น คิดอุบายหลบเลี่ยงหรือหนี ปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ทำแตกเหมือนๆ กันหมด แต่เด็กชายอิคยุคนนี้ ไม่มีโอกาสนิ่งอึ้งคิดหาหนทางแก้ตัวนานนัก เพราะขณะนั้นได้ยินเสียงฝีเท้าของอาจารย์เดินเข้าห้องมาพอดี

ถ้าเป็นเด็กอื่น หากถึงคราวจวนตัวไม่รู้จะทำประการใดเช่นนั้นก็จะร้องไห้โฮล่วงหน้าเพื่ออุทธรณ์ให้ถูกเฆี่ยนน้อยหน่อย แต่เด็กชายอคิยุคนนี้ กลับกระวีกระวาดลุกขึ้นยืน มือทั้งสองถือชิ้นกระเบื้องถ้วยชาซ่อนไว้ข้างหลัง ตาจ้องอยุ่ที่อาจารย์ผู้กำลังนั่งบนอาสนะ ก่อนที่อาจารย์จะสังเกตอะไรผิดปกติ เด็กชายอิคยุ ก็เข้าคุกเข่าต่อหน้าขัดจังหวะเอาไว้ก่อนทีท่านอาจารย์จะเอื้อมไปรินชาขึ้นซด ทั้งๆ ที่มือทั้งสองก็ยังซ่อนอะไรไว้ข้างหลังไม่ให้อาจารย์เห็น

ท่านอาจารย์ชะงักเหลียวมาดูไอ้หนูน้อย ด้วยใบหน้าละไมเป็นปกติ เด็กชายอิคยุเห็นหน้าอาจารย์ ก็แน่ใจว่าอาจารย์ไม่ได้ยินเสียงถ้วยชาแตกเมื่อครู่นี้ ทำให้เกิดปฏิภาณขึ้นบัดนั้น เรียนถามปัญหาธรรมะต่อท่านอาจารย์ทันใดว่า

“หลวงพ่อฮะ! ทำไมคนเรานี่น่ะ ต้องตายทุกคน ไม่เว้นใครเลยฮะ?”

“ลูกเอ๋ย! นั่นมันเป็นธรรมชาติธรรมดา” หลวงพ่อตั้งต้นชี้แจงโดยซื่อ ไม่เฉลียวว่าเด็กทำไมเกิดจะมาถามธรรมะเอาตอนนี้ ท่านกล่าวเรื่อยไปอีกว่า

“บรรดาสรรพสิ่ง ไม่ยกเว้นสิ่งใดถึงที่ถึงคราว ย่อมล่วงหล่นม้วยมรณ์ตายไปอย่างเที่ยงแท้ มิได้ตั้งอยู่นาน”

เด็กชายอิคยุ-จ้องดูตาท่านอาจารย์อยู่ไม่วาง ฟังอาจารย์ชักนำให้รู้ความเป็นไปของสังขารอยู่จนจบ เลยยื่นแบเศษถ้วยชาแตกในมือให้อาจารย์ดู พร้อมกับทำหน้าเศร้าเอ่ยว่า

“ถ้วยชาของหลวงพ่อ นี้ก็เหมือนกันฮะ ถึงคราวมันตายเสียแล้ว!”

ความข้อนี้ คนทั้งวัดเสสรวลเฮฮากันไปทั่ว เมื่อเล่าสู่กันฟังทุกคนได้เห็นแววปฏิภาณของเด็กเล็กๆ รู้จักนำความรู้ที่ได้ยินได้ฟังผู้ใหญ่เขาพูดจาสนทนาธรรมกัน มาใช้แสดงเชาว์ไวไหวพริบเข้ากับเหตุการณ์จวนตัวเห็นปานนั้น แต่ในสมัยแรกๆ ก็ยังไม่มีใครคาดฝันว่า เด็กน้อยๆ นี้ในเวลาต่อมาจะกลับกลายเป็น ท่านธยานาจารย์อิคยุ ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายเซ็น

ในสมัยที่ท่านโตบวชเป็นพระแล้ว ตัวลูกศิษย์องค์นี้กลายเป็นผู้บรรลุธรรมก่อนอาจารย์ผู้เฒ่าเสียอีก ใช่แต่เท่านั้น ตัวหลวงพ่อผู้เฒ่าเองก็ไม่เคยนึกมาก่อน ว่าเด็กน้อยที่ทำถ้วยชาของท่านตกแตกนี้จะกลายเป็นครูสอนวิธีตายให้ท่านเอง ขณะที่ท่านกำลังจะดับจิต เรื่องที่เล่าต่ออีกในกาลเวลาระยะหลัง ตอนใกล้สิ้นอายุขัยของหลวงพ่อผู้เฒ่าว่า...

ครั้งนั้นขณะที่หลวงพ่อสำรวมจิต จวนจะทำกาลกิริยาอยู่นั้น ท่านอาจารย์ใหญ่อิคยุก็คลานเข้าไปกราบ เรียนถามหลวงพ่อว่า

"กระผมต้องบอกหนทางให้หลวงพ่อไหมครับ!"

หลวงพ่อ ยังมีสติดีอยู่ ตอบแผ่วๆ ว่า

“ฉันมาก็มาแต่ลำพังผู้เดียว เวลาจะไปก็ไปแต่ลำพังผู้เดียว เจ้าจะมาช่วยอะไรได้เล่า!”พอดี ท่านอาจารย์อิคยุก็ตอบขึ้น ด้วยถ้อยคำว่า

“หากหลวงพ่อนึกว่าหลวงพ่อเกิด,แล้วหลวงพ่อต้องตายจริงๆ แล้วนั่นยังถูกบดบังห่อหุ้มด้วยความไม่รู้อยู่อีกนะครับ! ถ้าอย่างนั้นผมจะบอกทางให้หลวงพ่อละ! ทางที่ไม่ต้องเรียกว่าเกิด ไม่ต้องเรียกว่าตายไงล่ะ หลวงพ่อ!”
พอสิ้นประโยคถ้อยคำสำคัญยิ่งของลูกศิษย์ หลวงพ่อก็พริ้มดับไป นิทานก็จบ

จากเรื่องราวที่เล่ามานี้ เราท่านย่อมทราบแล้วว่านิทานเรื่องนี้ทั้งหมด มันมาขมวดปมคมคายที่ คำบอกหนทาง ให้แก่คนใกล้จะตายนิดเดียว แต่ถึงกระนั้นก็ถือว่าเป็นคำพูดที่มีค่าแท้จริงสำหรับอาจารย์ผู้เฒ่า ผู้จะลาลับโลกไป ถ้อยคำที่พูดให้ถูกกาละไม่กี่คำ ในสภาพการณ์นั้นๆ ต่อบุคคลนั้นๆ ขณะฉับพลันนั้นๆ ย่อมไม่อาจเกิดผลแก่คนอื่น ที่อยู่ในสภาพอื่นเวลาอื่น แต่ก็เป็นข้อความที่น่าสนใจ ฟังไว้บางทีจะเกิดประโยชน์อย่างน้อยก็เพียงรู้ว่ามันลึกก็ยังดี ที่จะลึกไปแค่ไหนนั้น เราควรมาวิเคราะห์กัน ตามแต่กำลังความคิดเห็น...

ที่ศิษย์เสนอตัวเข้าไป ถามหลวงพ่อ ทำนองหยั่งความรู้ในขณะท่านใกล้จะตายเสียก่อนนั้น เป็นวิธีทั่วๆ ไปของอาจารย์เซ็น เพราะคนเราระยะหนึ่งๆ มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงสิ่งเดียวเป็นอารมณ์ ศิษย์จึงถามนำเพื่อหยั่งสภาวะจิตดูก่อนว่า...

“กระผมต้องบอกหนทางให้ไหมครับ หลวงพ่อ?”

พอหลวงพ่อ ตอบมา จึงเหมือนกับทำให้ศิษย์รู้ว่าหลวงพ่อกำลังคิดนึกรู้สึกต่อสิ่งทั้งปวงในขณะใกล้จะตายว่าอย่างไร (เมื่อรู้ภาวะการณ์แล้ว ศิษย์ก็เริ่ม บอกทาง เอาจริงๆ แต่บอกแบบทันควัน ถ้าฟังเผินๆ ก็เหมือนโต้ตอบธรรมดา หรือไม่เป็นการสอนชี้บอกแต่อย่างไร)

หลวงพ่อตอบออกมาว่า “ฉันมาก็มาแต่ตัว ขาไปก็จะไปแต่ตัว จะให้ใครมาช่วยได้”
คำพูดอย่างนี้ตรงกับความรู้ธรรมมะที่สอนๆ สวดๆ กัน สำหรับเหล่าชาววัด ใครก็ถือว่าเป็นวิธีบริกรรมคราวพยายามจะปลงทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ฝ่ายเถรวาทในเมืองไทยเราก็สอนกันอยู่ทั่วไป คือสอนมิให้เป็นห่วงเป็นใยจนเป็นเรื่องรบกวนต่อการตั้งสมาธิจิตเวลาใกล้จะตาย

ส่วนพวกพุทธศาสนาอย่างเซ็นนั้น เขายังถือว่าขณะดับจิตถ้ายังมีตัวคนสำหรับจะมาตั้งปรารถนาใคร่จะปลงว่าไม่ใช่ของเรา-ไม่ใช่ของกู นั้นยังไม่พอ ยังไม่ถึงขั้นปลอดภัย ท่านอาจารย์อิคยุจึงรู้ว่า ภายในดวงความคิดของหลวงพ่อผู้เฒ่าขณะนั้น ยังมีตัวตนที่ได้เกิดมา มีตัวที่พยายามจะปลงเมื่อตนเองต้องตายฉะนั้นท่านจึงฟื้นพลิกความรู้สึกริบหรี่ของหลวงพ่อ ให้จับเหง้าแห่งความรู้สึกเสียใหม่ คือ หนทาง อีกลักษณะหนึ่งโดยเตือนว่า ไม่ใช่ทางที่มีคนเกิดมา-มีคนกำลังเดินอยู่-และกำลังจะไป แต่เป็นทางที่ไม่ถือว่ามีการเกิดและแน่ละ ถ้าไม่มีการเกิดก็ไม่ต้องมีการตาย คือ ตาย เสียก่อนแล้ว ก่อนที่มันจะดับจิตตายไป

เมื่อหลวงพ่อถอนความรู้สึกภายในเสียทัน สับหัวประแจเข้ารางใหม่ เรื่องมันก็เป็นอันเสร็จกิจ ภาระจะต้องพะวงอะไรมิได้มี ด้วยประการฉะนี้

ดูเอาเถิดท่านทั้งหลาย ข้อความเป็นไปในนิทานนี้ เขาชี้นิดเดียวตรงความหมายอันสำคัญยิ่ง คือที่ว่า ให้ ตาย เสียก่อนตาย ซึ่งนิทานนี้คงจะให้ความกระจ่างมากอยู่ คือ ตาย คำแรก หมายถึงดับความรู้สึกส่วนลึกประจำใจที่ว่าเรานั้น (ซึ่งอาจเรียกชื่อว่า “ว่างจากตัวตน” หรือใช้คำพูดว่ามีสุญญตาเป็นอารมณ์ของจิต) ก่อนที่จิตจะดับวิบไปเป็นครั้งสุดท้ายก็ได้ ด้วยอาการหลุดพ้นไม่ต้องกลับมาเกิดมีภพมีชาติอีกของคนที่ทำได้เช่นนี้ ก็คือพระอรหันต์ประเภทชีวิตะสมะสีสีนั่นเอง


จากหนังสือ เล่านิทานเซ็น
เล่าเรื่องโดย อ.อภิปัญโญ
เผยแพร่โดย ธรรมสภา

 
http://bluebellandalice.diaryclub.com/20060602/0/0/%CD%D4%A4%A4%D4%C7%AB%D1%A7_%A8%D2%A1%CB%B9%D1%A7%CA%D7%CD_%E0%C5%E8%D2%B9%D4%B7%D2%B9%E0%AB%E7%B9.html