ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 08:08:39 pm »

 :13: อนุโมทนาสาธุครับพี่มด ขอบคุณครับ^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 04:00:47 pm »

       ปุจฉา
       นั่งภาวนาแล้วง่วงนอน
        ทำอย่างไรจะชนะความขี้เกียจได้ตลอดไป และทำอย่างไรจะชนะความโกรธได้ตลอดกาล ดิฉันชอบนอนมากๆ ทำอย่างไรถึงจะแก้ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการภาวนามาก นั่งภาวนาไม่คอยปวดเมื่อยแต่ง่วงนอนอย่างเดียว แล ะไม่ชอบเดินจงกรมด้วย เมตตาตอบด้วยเจ้าค่ะ
       
       วิสัชนา
        ขอตอบว่า เจริญสติ ฝึกสติ ทำให้เกิดสติทุกลมหายใจ รายละเอียดในการฝึกสติ ขอให้หาอ่านดูในหนังสือ 'วิถีแห่งพุทธะ' เพราะถ้าจะตอบตรงนี้คงจะใช้เวลามากพอสมควร
        สำหรับคำถามที่ว่า ภาวนาทีไรง่วงนอนทุกที แสดงว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะคุณไม่ได้ภาวนา ถ้าภาวนาอยู่จักไม่ง่วง ที่ง่วงเพราะไม่ได้ภาวนา เหตุที่ไม่รู้ว่า ภาวนา หรือไม่ เพราะคุณขาดสติ
        อยากจะแนะนำคุณว่า ถ้านั่งอยู่แล้วมันง่วงก็ลุกขึ้นยืน ในขณะที่ยืนก็มีสติรับรู้ รูปยืน กิริยาที่ยืน สำรวจตรวจดูว่า คุณยืนตรงหรือไม่ ยืนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งหรือเปล่า
        ถ้ารับรู้ได้ว่า คุณยืนด้วยอาการลักษณะเช่นไร นั่นแหละคือตัวสติแล้วละ คุณจักหายง่วงเอง
       
       ปุจฉา
       สติ อนุสสติ กับ มหาสติ
        สติ อนุสสติ (เช่น พุทธานุสสติ มรณานุสติ) มหาสติ แตกต่างกันอย่างไร ?จะใช้สติที่แตกต่างกันเหล่านี้ มากำกับจิตที่แตกต่างกันหรือไม่? การมีสติมากำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ คือสติตัวไหน? ทำได้อย่างไร ?
       
       วิสัชนา
        สติ คือ ความระลึกได้ อนุสติ คือ อารมณ์ที่ควรระลึกถึง เหตุปัจจัยที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ ตลอดเวลามี 10 อย่าง พุทธานุสต คือ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
       ธรรมานุสต ิคือ ระลึกถึงคุณของพระธรรม สังฆานุสติ คือ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ สีลานุสติ คือ ระลึกถึงศีล จาคานุสติ คือ ระลึกถึงประโยชน์ในการบริจาคทาน เทวตานุสติ คือ ระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา มรณานุสติ คือ ระลึกถึงความตายที่จะเกิดขึ้นกับตน และคนอื่นสัตว์อื่น กายคตานุสติ คือ ระลึกถึงความจริงแท้มีอยู่ในกายนี้ อานาปานุสติ คือ ระลึกถึงลมหายใจที่เข้าและออก อุปสมานุสติ คือ ระลึกถึงธรรมที่เป็นเหตุทำให้กิเลสระงับ
        ส่วน มหาสติ คือ สติที่กำกับจิตทุกดวงที่เกิดดับ มีสติรู้สภาวะตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในกาย เวทนา จิต และธรรม ให้เกิดสติรับรู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออกทำให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการฝึกปรือ อบรม บ่มเพาะ อย่างจริงจัง ตั้งใจ จดจ่อ และจับจ้อง
       
       ปุจฉา
       แสงมาจากไหน
        บางครั้งหลังจากสวดมนต์แล้ว ดิฉันก็ลองนั่งสมาธิเพื่อสำรวจใจตนเอง และเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น ในการนั่งสงบจิตสงบใจนี้ บางครั้งรู้สึกว่าสว่างไสวมาก ไม่ทราบว่าแสงมาจากไหน ในครั้งต่อไป ถ้าเห็นแสงสว่างนี้อีก ดิฉันควรที่จะกำหนดจิตอย่างไรหรือไม่ หรือควรปล่อยให้เป็นเช่นนั้นเอง?
       
       วิสัชนา
        แสง มาจากจิตที่สงบ ไม่ควรใส่ใจ เพราะแสงนั้น เป็นเพียงแค่มายา การแห่งจิตที่สงบชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น คุณควรจะรับรู้ในสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความสงบอันนั้นต่อไปอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน และจริงจังโดยไม่สนใจต่อเหตุปัจจัยอื่นใดทั้งหมด
       
       ปุจฉา
       วิธีปฏิบัติตนเมื่อห่างไกลครู
        กราบนมัสการองค์หลวงปู่ที่เคารพรัก ตั้งใจที่จะเป็นฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม เจริญสติ ฝึกจิต ให้ สะอาด สว่าง สงบ ในขณะที่ต้องทำงานอยู่ในปัจจุบันท่ามกลางสิ่งแวดล้อมอัน แตกต่างที่ฉุดดึงออกไปให้ห่างครู เนื่องจากยังไม่เข้มแข็งพอ และจะมีวิธีใดบ้างที่จะน้อมนำให้สามารถปฏิบัติได้ดีเหมือนตอนที่อยู่ไกล้ครู
       
       วิสัชนา
        เป็นธรรมชาติของจิตแหละคุณ จิตนี้เหมือนกระแสน้ำย่อมไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ จิตนี้เหมือนน้ำมันบรรจุลงในหม้อดิน บุคคลผู้นำพาหม้อดินที่มีน้ำมันบรรจุอยู่เต็มย่อมต้องพยายามประคับประคองมิให้น้ำมันในหม้อกระฉอกกระเพื่อมหกฉันใด การฝึกจิตนี้จะต้องพยายามประคับประคองมิให้กระฉอกกระเพื่อมไปตามกระบวนการหลอกล่อ ทั้งภายในภายนอก ฉันนั้น
        คุณต้องหาทางสร้างแรงจูงใจสร้างกำลังใจให้เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดเดี่ยวพร้อมที่จะฝึกหัดดัดจิตนี้ให้ซื่อตรง มีสติระลึกได้อยู่เสมอ ต้องค่อยทำค่อยไป ไม่รีบร้อน ทำบ่อยๆ ทำแบบเต็มใจทำ อย่าทำแบบจำใจ
        เพราะอย่างนี้แหละบรรดา พระมหาโพธิสัตว์เจ้าจึงจำเป็นต้องบำเพ็ญบารมีทั้ง 10 คือ ทานบารมี ศีล เนกขัม ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจอธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เพื่อเป็นเครื่องพยุงจิตให้กล้าแข็งต่อการฝึกหัด ค่อยๆบำเพ็ญบารมีไปสักวันหนึ่งชัยชนะจะเป็นของคุณ
 

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000065322