ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 08:17:16 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 04:05:59 pm »

     ปุจฉา
       อยากปฏิบัติธรรมก้าวหน้า
        มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่จะช่วยให้การปฏิบัติธรรมก้าวหน้า
       
       วิสัชนา
        ประการแรก ขอกล่าวถึง เพื่อนสหธรรมิก
        เพื่อนสหธรรมิก ก็คือ เพื่อนปฏิบัติธรรมร่วมกัน ยังให้เกิดความแช่มชื่น ความศรัทธา พูดให้เกิดสัจธรรม พูดให้จริง ปลงให้ตก ไม่ฟุ้ง ไม่ฟู ทำให้จิตใจซาบซ่าน ดื่มด่ำ และก็ดิ่งลงในคำว่าสงบ สันติ เหล่านี้ คือ คุณสมบัติของคำว่า เพื่อนสหธรรมิก
        แต่ถ้าเรามีเพื่อนแล้ว เพื่อนมีคำพูด มีกิริยาที่แสดง มีวิธีการที่บอกไปในทางที่หูฟังแล้วจิตใจเราไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอย เหล่านี้ไม่ใช่เพื่อนสหธรรมิก ไม่ใช่บุคคลผู้ให้ความสันติสุขร่มเย็น ไม่ใช่คนที่แนะนำประโยชน์สุข และเพื่อนสหธรรมิก ที่ดูว่าจะดีและใกล้ชิดกับเรามากที่สุด คือ ตัวเราเอง ระหว่างเพื่อนหลวงปู่กับตัวหลวงปู่ก็ไม่ได้สนิทสนมอะไรกันนัก แต่ถามว่า เราเป็นเพื่อนกันได้อย่างไร ก็เป็นเพื่อนกันโดยการปฏิบัติธรรม รู้ธรรม สอบถามธรรม และก็ชี้แจงการปฏิบัติธรรม เมื่อเรารู้จักคำว่าพระธรรม ปฏิบัติธรรม สอบถามธรรม ชี้แจงในอรรถในธรรม ก็ถือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้บอกธรรม เป็นสหธรรมิกต่อเรา เป็นผู้ยังให้เกิดพรหมจรรย์อันประเสริฐ เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแพร่ไม่ใช่เพื่อน กลายเป็นบุคคลที่ฟุ้งกระจาย ทำให้จิตใจเราสับสนวุ่นวาย
        ขอให้เข้าใจกันด้วยว่า คำว่า สหธรรมิก ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น เพราะการทำหน้าที่ ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ถือว่าเป็นสหธรรมิก ผู้สร้่างให้เกิดความสัปปายะ สร้างให้เกิดสถานที่สัปปายะ สร้างให้เกิดสังคมสัปปายะ และก็สร้างให้เกิดสภาวะอันสัปปายะได้ ดังนั้น บุคคลทั้งหลายผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ดังกล่าว ล้วนคือ ผู้ยังให้เกิดคุณประโยชนต่อผู้ปฏิบัติธรรม ถือเสมือนหนึ่ง คือ สหธรรมิก เช่นกัน
        ประการที่สอง ก็คือ ความสัปปายะ ทั้งปวง อันประกอบด้วย ข้อปฏิบัติสัปปายะ สังคมสัปปายะ ที่อยู่สัปปายะ บรรยากาศสัปปายะ ธรรมะสัปปายะ และก็ข้อสุดท้ายสำคัญ อาหารสัปปายะ
        ในความสบายของนักปฏิบัติ พระศาสดาทรงกำหนดการมีชีวิตแบบสบาย สังคมสัปปายะ ที่อยู่สัปปายะ สังคมนี้เราไม่ต้องพูดถึงอยู่แล้ว เรารู้เข้าใจกันอยู่แล้วว่า คำว่า สังคมสัปปายะ คือ สังคมที่ยังให้เกิดความสบาย คือเราสบายต่อการดำรงอยู่ สบายที่นี้ไม่ได้หมายถึง สบายแบบกินๆ นอนๆ แต่มันเย็นใจ สบายใจ แช่มชื่นเบิกบานใจ ที่อยู่สัปปายะ ความหมายของมัน คือ อยู่แล้วสะอาดใจ อยู่แล้วก็สบายใจ อยู่แล้วก็สะดวกใจ อยู่แล้วก็ได้ปัญญาญาณหยั่งรู้ใดๆ เจริญรุ่งเรืองขึ้นได้ เหล่านี้ถือว่าเป็นที่อยู่
       สัปปายะ ธรรมะสัปปายะ ก็คือ สถานที่ที่เราอยู่ มีผู้บอกธรรม เรียนรู้ธรรม ชี้แจงธรรมและแสดงธรรม เราผู้ฟังก็จะเข้าใจกระจ่างชัดในธรรม อันนี้ถือว่า เป็นธรรมะสัปปายะ แล้วก็ข้อสุดท้าย อาหารสัปปายะ อาหารที่ยังให้เกิดประโยชน์ อาหารที่ยังให้ร่างกายทรงอยู่ด้วยอัตภาพ คงไว้ซึ่งพลังกาย พร้อมที่จะนำไปใช้เป็นพลังงาน พระศาสดาทรงแสดงเรื่องอาหาร มันเป็นเรื่องที่เราไม่ได้ยึดถือว่า
       มันป็นเรื่องที่มีความสำคัญ แต่มันเป็นเครื่องช่วยให้ชีวิตมีสุขภาพ
        ความสัปปายะทั้งหลาย พระองค์ทรงบัญญัติไว้ในธรรมวินัย และจากสังคมสัปปายะ สถานที่สัปปายะ ธรรมะสัปปายะ อาหารสัปปายะ คำว่าสัปปายะ คือ ที่ยังให้เกิดความสบาย ภิกษุทั้งหลาย เธอจงไปในที่ที่ยังให้เกิดความสบาย นั่นก็คือ เธอจงไปในที่ที่เป็นสัปปายะ
        พระนักบวชยุคก่อนๆ เขาแสวงหาสถานที่สัปปายะ ตัวอย่างเช่น เวลารู้ว่าที่ใดมีที่สัปปายะ เขาก็จะพาไปอยู่ที่ตรงนั้น เราจะศึกษาได้จากคัมภีร์พระไตรปิฎก มีบางที่ที่เป็นสัปปายะ มีพระเณรจำนวนมากถึง ๕๐๐ รูป ๑,๐๐๐ รูป ขึ้นไป เพราะเป็นสถานที่สัปปายะ เป็นที่ยังให้เกิดความสงบและสันติ และคนเข้าไปแล้วอยู่สบาย คำว่าสุขสบายนี้ไม่ได้หมายถึงว่า กินจนอ้วนพี หัวหลิม นอนหลับพุงพลุ้ย เดินพุงกระเพื่อม ไขมันกระเพื่อม ไม่ใช่ ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่าสบายในที่นี้ คือ พอยังให้เกิดความสบาย เหมือนกับเราร้อนแล้วมีลมพัดต้องกายพอรู้สึกสบาย ลักษณะเช่นนั้น ก็เรียกว่า สัปปายะ แต่ถ้าร้อนแล้ววิ่งเข้าห้องแอร์ นอนหลับในห้องแอร์ นั่นเกินสัปปายะ
        พูดเรื่องสัปปายะและสหธรรมิก เพื่อให้รู้ว่า เราหาไม่ได้มากนัก สำหรับสังคมสัปปายะ เราหาไม่ได้มากนัก สำหรับสถานที่สัปปายะ แล้วเราก็หาไม่ได้ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่่ง ธรรมสัปปายะ
        ธรรมสัปปายะ คือ ธรรมอันยังให้เกิดความสบาย เช่น ผู้พูดพูดออกไปแล้วด้วยความรู้สึกสบาย ผู้ฟังรับฟังด้วยความรู้สึกว่าจิตใจสบาย ผ่อนคลายความตึงเครียด ธรรมที่ยังให้เกิดความสบายมันต้องก้ำกึ่ง อยู่ในวงเล็บของคำว่าฉลาดและก็สงบ นี้คือ คำจำกัดความของคำว่า ธรรมสัปปายะ แต่ถ้าธรรมะอันใดที่ทำให้เราโง่ ฟังเขาพูดแล้วเราโง่กว่าเก่า เราเป็นคนโง่ที่หัวมึน จบแล้วยังไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องอะไร ถือว่าธรรมอันนั้นไม่สัปปายะ เราไม่ได้สบายจากการฟังธรรม เราไม่ได้ฉลาดขึ้น เราไม่ได้สงบขึ้น นั่นมันไม่ใช่ธรรมะมันเป็นธรรมเมา ผู้ที่ยังให้เกิดธรรมสัปปายะ ก็คือผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนถึงคำว่าสบาย
        เมื่อปฏิบัติธรรมจนถึงคำว่าสบาย เวลาแสดงธรรม ผู้ฟังก็จะสบายตาม แต่ถ้าหากว่าผู้ปฏิบัติธรรมไม่ถึงคำว่าสบาย เพียงแค่จำเอามางูๆปลาๆ จำตำราหรือขี้ปากชาวบ้านมา ลอกเลียนแบบคนอื่นเขามา แล้วก็มาถ่ายทอดกันฟัง มาเล่าสู่กันฟัง มาพูดให้ฟัง คนฟังก็จะอึ้ง งง ปวดหัว เครียด ถือว่าไม่สบาย ถึงจะเป็นคำที่บทพระพุทธพจน์ที่หลุดออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งจำพระองค์มา ก็ไม่ยังให้เกิดคำว่าธรรมสัปปายะได้ เพราะผู้ฟังฟังแล้วมึนงงไม่เข้าใจ
        เพราะฉะนั้นข้อนี้ก็สำคัญ เราหาไม่ได้ง่ายนักกับ สถานที่ที่พร้อมองค์ประกอบทั้ง ๔ นั่นคือ สัปปายะทั้ง ๔ ประการ หลวงปู่จำไม่ได้หมดว่า สัปปายะมันมีกี่ประการ แต่ในชีวิตหลวงปู่ที่มีอยู่ ทำอยู่ แสวงหา และปรากฏอยู่ มีแค่ ๔ อย่าง
       พระพุทธเจ้าอาจจะกำหนดสัปปายะอันวิเศษพิสดารพันลึกขึ้นไปอีกก็ได้ หลวงปู่ไม่ได้ค้นคว้า
        สำหรับหลวงปู่ ที่ทำได้คือ สร้างสังคมสัปปายะขี้น ให้เป็นสังคมที่เราอยู่แล้วเราสบายใจ เป็นสังคมที่เปิดใจแก่กันฟัง เราไม่มีลับลมคมใน ไม่มีหลอกลวงกัน ช่วยกันคนละไม้คนละมือ คนละแรงกายแรงใจ สร้างสรรค์สังคมอันดีงามให้เกิดขึ้น สร้างสรรค์สถานที่อันสวยงามให้เกิดขึ้น อันเหมาะสมแก่ตน แก่จริต แก่ความต้องการของตน ถือว่าเหล่านี้เป็นการทำให้สถานที่สัปปายะ
        การเข้าสังคมดี ก็ทำให้ดีตามสังคม เมื่อสถานที่ได้รับการอนุเคราะห์พัฒนาจากสังคมที่ดี เป็นสังคมที่ร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ ทุกคนก็จะช่วยกันทำความสะอาด จะช่วยกันจัดระเบียบ และช่วยกันชำระล้างกิจกรรม จะช่วยกันแก้ไขปัญหา จะช่วยกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม สถานที่จึงเป็นสิ่งที่สบาย และที่จะละเลยเสียไม่ได้กับ การที่เรามีสังคมอันดี สถานที่อันสะอาด ก็เพราะเรามีธรรมะอันประเสริฐ เราเป็นผู้มีธรรมะอันยังให้เกิดความสบาย
        พระพุทธเจ้ามักชี้ให้พระภิกษุผู้บวชใหม่ เธอทั้งหลาย จงไปสู่ที่สัปปายะ ภิกษุทั้งหลายนั่นคือสัปปายะ เธอจงไป ก็แสดงว่าพระองค์ทรงเห็นว่าผู้บวชใหม่ยังจำเป็นต้องอาศัยสถานที่ สังคม ธรรมะ และอาหารที่สบายอยู่เหมือนกับเด็กอ่อนที่ออกจากท้องแม่ จำเป็นต้องอาศัยแม่นม หรือมารดาเกิด หล่อเลี้ยงให้นม ป้อนข้าว ป้อนน้ำ อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงดูจนสามารถมีกำลังชีวิตปีกกล้าขาแข็ง และเจริญรุ่งเรือง เดินออกไปสู่สังคมข้างนอกได้ ฉันใด การบวชเข้ามาใหม่ในพระธรรมวินัยก็คือ ยังไร้เดียงสาต่อการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ใหม่เพราะว่าเพิ่งบวช ถึงจะบวช ๑๐๐ ปี แต่ถ้าไม่ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติไม่รู้ผลก็ยังถือว่ายังใหม่อยู่ พระพุทธเจ้าเรียกเถระ พระเถระคือผู้แก่ผู้เฒ่า คือ แก่โดยคุณธรรม มิใช่แก่เฒ่าตามอายุขัย มันคนละเรื่องกัน
        เพราะฉะนั้น เธอภิกษุผู้ใหม่ เธอจงไปในที่สัปปายะ ก็คือ ผู้ที่ยังไม่เข้าถึงคุณธรรม ยังไม่รู้จัก ไม่มีดวงตาเห็นธรรม ยังไม่รู้แจ้งในธรรม ก็ยังถือว่าเป็นผู้ใหม่จึงจำเป็นต้องอาศัยที่สัปปายะ สังคมสัปปายะ ธรรมสัปปายะ และก็อาหารสัปปายะ ผู้ที่ทำให้เกิดสัปปายะทั้ง ๔ ประการนี้ พระองค์ทรงเรียกว่า แม่นม มารดาเลี้ยง มารดาให้เกิด มีอานิสงส์ปานนั้น
        สมัยโบราณนางวิสาขา มหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐี และจิตตคหบดี ผู้มีดวงตาเห็นธรรม ปวารณาตัวเองให้เป็นแม่นมแก่ภิกษุใหม่ทั้งหลาย บริจาคทรัพย์อันมาก สร้างสถานที่สัปปายะ บริจาคทานเป็นอันมาก สร้างอาหารสัปปายะ และก็พยายามทำตัวเองให้เข้าไปสู่สังคม และเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นสังคมสัปปายะ พระศาสดาทรงยกย่องบุรุษสตรีเหล่านี้ว่าเป็นแม่นมเกิด เป็นมารดาเกิด เป็นแม่นมผู้เลี้ยงดูลูกอ่อนให้เจริญรุ่งเรือง เป็นผู้อุปถมภ์บำรุงพระศาสนาให้อยู่ใน
       วัฒนาถาวร มีอานิสงส์มาก มีบุญอันมาก และก็มีธรรมอันมาก เป็นผู้่มีวาสนาอันมาก เพราะฉะนั้นการที่เราสนับสนุนให้เกิดกระบวนการสัปปายะทั้งหลาย ถือว่าเป็นการสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ ยิ่งพระสงฆ์องค์เจ้าปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ยิ่งมีอานิสงส์มาก
        และที่ปฏิบัติกันอยู่นี้ แม้ยังไม่เรียกว่าเคร่งครัด เพราะอย่างที่พวกเรานั่งอยู่นี้ ไม่จัดว่าผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด รวมทั้งหลวงปู่ด้วย เพราะถ้าเคร่งครัดตาม พระอริยวินัยจริงๆ แล้ว มันต้องทุ่มทั้งชีวิตให้กับการชำระล้าง แต่เรานี้ยังมีบางเวลาที่เรายังต้องพัฒนา ต้องถากถาง ต้องขุดดิน ฟันหญ้า ยังมีบางเวลาที่ยังต้องสนุกเฮฮาพูดแหย่กันเล่น หลวงปู่ยังไม่ถือว่า ชีวิตอย่างนี้เป็นชีวิตที่อยู่ในหนทางแห่ง อริยวินัย คือ วินัยของพระอริยเจ้า แต่หลวงปู่ถือแต่เพียงว่ามันเป็นเพียงแค่ประตูที่จะก้าวเข้าไปสู่คำว่าอริยวินัยเท่านั้น พร้อมเตรียมกายใจเข้าไปสู่เป้าหมายของ อริยวินัย ซึ่งมันเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มันเกิดความละอายขึ้นเอง มันเกิดความงดเว้นขึ้นเอง เกิดความพอเอง คนคนนั้นแหละก้าวเข้าถึงคำว่าอริยวินัย
        หลวงปู่จึงไม่บังคับว่า ท่านต้องเคร่งครัด ท่านต้องปฏิบัติธรรมปานนั้นๆ ท่านต้องมีเวลาให้กับมันปานนั้นๆ หลวงปู่ถือว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ย่อมจำแนกสัตว์ให้ดีชั่วเลวหยาบ ทุกคนมีกรรมอันพึงสร้างมาด้วยตนเอง อันตนพึงสร้างมาได้ มีวาสนาอันสะสมมาแต่อดีต
        การปฏิบัติธรรมของตน ถ้าจริงใจจริงจังกับมันก็คือว่า อดีตเราเคยสร้างสมกันมา ถ้าทำเหลาะแหละเลวร้ายลื่นไหลและล้อเล่นไปกับมัน ก็ถือว่า เราหลอกเล่นกับมันนิดๆ หน่อยๆ แล้วมันก็จะรอเวลาอีกนานแสนนานกว่าจะไปทำใหม่ ไม่รู้ว่าชาติไหนที่จะเข้ามารู้จักคำว่าพระธรรมอีก
        เพราะฉะนั้น หลวงปู่ได้แต่เพียงตะล่อมให้ลูกเป็ดน้อยอยู่ในกรอบ ส่วนจะบังคับให้มันกินหรือไม่กินนั้น อาหารมีอยู่แล้ว มันพอใจกินก็กิน ถ้าไม่พอใจกินจะเหยียบอาหารทั้งขี้รดก็ช่วยไม่ได้ เรามีหน้าที่เพียงให้อยู่ในกรอบเท่านั้น ก็ให้เข้าใจว่าการมีชีวิต
       เป็นผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงธรรมค่อนข้างจะหาได้ยาก
        เพราะฉะนั้น เมื่อพวกท่านมีโอกาสที่จะคบหาสหธรรมิก ก็พยายามจะรักษาโอกาสชนิดนั้นให้นานแสนนาน หลวงปู่กำลังจะบอกอะไรกับพวกท่าน มันเป็นบุญลาภที่ยิ่งใหญ่ของพวกท่าน เป็นบุญอันวิเศษที่พวกท่านแสวงหาไม่ได้จากโลกและสังคมที่ท่านจะก้าวเท้าไปสู่มัน
        ถามว่าทำไม ก็เพราะว่า เรายังคาดหวังไม่ได้ต่อโลกข้างหน้า ต่อวันข้างหน้า ต่อเวลาข้างหน้า ว่า มันจะเป็นสหธรรมิกแก่เราได้ มันจะเป็นที่สัปปายะแก่เราได้ สังคมสบาย ที่อยู่สบาย ธรรมสบาย อาหารสบาย มันคงจะคาดหวังไม่ได้ในโลกอนาคตข้างหน้า
        แหละเวลานี้ เราอยู่ในที่ที่สบาย เราอยู่ในสังคมที่สบาย หลวงปู่ก็ไม่ได้หมายยกตัวเองว่า เป็นผู้ให้ธรรมะที่สบาย เพียงแต่สิ่งใดที่หลวงปู่เข้าใจ หลวงปู่ก็จะถ่ายทอด พูดให้พวกท่านฟัง แต่ถ้าอะไรที่หลวงปู่ไม่เข้าใจ ไม่รู้แจ้ง ไม่กระจ่าง ก็จะไม่พูดให้ท่านฟัง ซึ่งก็ถือว่าหลวงปู่พยายามพูดให้ท่านสบาย หวังว่าคงเข้าใจกัน


http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9470000075258