ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 08:37:37 pm »

 :13:  อนุโมทนาครับพี่แป๋มพี่มด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:47:52 pm »

อนุสัยกิเลสเหมือนกับไฟที่ถูกขี้เถ้ากลบดูประหนึ่งว่าดับแล้ว แต่เขี่ยขี้เถ้าถ่านเก่าออกก็คุ นี่ฉันใดกิเลสที่แฝงอยู่ในใจของเราก็เหมือนกัน เราอาจกำลังหัวเราะด้วยความชื่นบาน เราอาจจะทำฌานสมาบัติด้วยความสงบ แต่นั่นแหละก็ยังถูกกิเลสเผาอยู่ แต่อาการเผาอย่างประณีตเผาโดยที่เราไม่รู้สึก อย่างเวลาเราโกรธ ไม่ได้โกรธ ๒๔ ชั่วโมง มีบางเวลาผ่องใส บางเวลาร้องไห้ สลับกัน หลักอย่างนี้เป็นอนุมานได้ว่าในขณะที่เราใจคอผ่องใสโดยว่างจากกิเลสบางเหล่าได้ เรายังมีสุขถึงเพียงนี้เลย จะป่วยกล่าวไปใย ถ้าเราสามารถขุดคุ้ยกิเลสอาสวะที่มีอยู่ในใจของเราออกหมด เราจะสุขถึงเพียงไหน เพราะอาศัยหลักอนุมานอย่างนี้จึงทำให้เรารู้จักเปรียบเทียบว่า ความสุขของนิพพานเป็นอย่างไร ความสุขอย่างโลกเป็นอย่างไร เราจึงได้ปรารถนานิพพานกัน

ตัวอวิชชาอยู่ที่ไหน ตัวอวิชชาอยู่ในใจทุกๆ ขณะ ในขณะที่เรายังมีวิญญาณอยู่ อวิชชาคืออะไร อวิชชาคือความไม่รู้ในอริยสัจ จิตเราที่ไม่รู้อริยสัจเป็นอวิชชา เพราะฉะนั้น อวิชชาอยู่ที่ไหน อยู่ในใจ รู้อยู่ที่ใจ ไม่รู้ก็อยู่ที่ใจเรา อวิชชาไม่ได้แปลว่าไม่รู้ธรรมดา ไม่รู้อริยสัจต่างหาก คือจิตรู้ว่าไม่รู้อริยสัจ จิตรู้ว่าตัวไม่รู้ รู้ว่าไม่รู้อวิชชา จิตนี้เป็นธาตุรู้ แต่ว่าอวิชชาเป็นธาตุไม่รู้ ไม่รู้อะไร ไม่รู้อวิชชา เมื่ออวิชชาอยู่กับจิต ก็แปลว่าจิตรู้ตัวเอง แต่ว่ารู้ว่าไม่รู้ในอวิชชา คล้ายๆ เราไม่ได้เรียนหนังสือ คล้ายๆ นาย ก. โง่ ไม่ได้อ่านหนังสือ แต่รู้ว่าตัวโง่ อ่านหนังสือไม่ออก รู้ตัวว่าไม่รู้

อาคันตุกะกิเลสได้บอกแล้ว สรุปแล้วคือนิวรณ์ ๕ มาจากภายนอก แล้วเกิดจากอายตนะสัมผัส เป็นเวทนา เป็นตัณหา เป็นลำดับทีเดียว เพราะฉะนั้นใน สติปัฏฐาน ๔ ท่านจึงสอนให้กำจัดศัตรูของเราอยู่ตรงที่ อายตนะ กระทบ อายตนะ ให้กำหนดอยู่ตรงนี้ พอถึงผัสสะแล้วย่อมเป็นเวทนา สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ให้เรามีสติ เรารับสุขก็รู้ว่าสุข เรารับทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ เมื่อกำจัดอย่างนี้ได้แล้ว อาคันตุกะกิเลสก็หมดโอกาสแย้มพรายเรา ต้องกันอย่างนี้

เพราะฉะนั้นเวลาที่เรารู้อย่างนี้คือกิเลสประเภทกลาง ประเภทหยาบหามาจากข้างนอก แต่ที่หามาจากข้างนอกได้ก็เพราะเชื้อข้างในมี ถ้าเชื้อข้างในไม่มีแล้ว ตัวกิเลสข้างนอกมากระทบก็ไม่เป็นพิษแก่คนคนนั้น เมื่อสรุปหลักใหญ่ใจความก็ต้องพูดว่า ข้างในเป็นเหตุที่มาของเดิม ที่มาคู่กับใจนี้แหละเป็นตัวการใหญ่ทั้งหมด ถ้าเราไม่มีแล้ว อารมณ์ข้างนอกมากระทบ ปิดประตูไม่รับเสีย อารมณ์ข้างนอกทำอะไรไม่ได้ นี่เพราะโง่เห็นโจรเป็นมิตร รับเข้ามาในเรือนถึงเดือดร้อน เพราะฉะนั้นก็ต้องโทษตัวข้างในที่เป็นสมุฏฐานใหญ่

อารมณ์ของโลกตั้งอยู่ตามประสาโลก จะเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษอยู่ที่ฉันทราคะของบุคคลผู้เสพย์ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงบอกว่า อารมณ์ทั้งหลายอันวิจิตรในโลกต้องรู้เท่าทัน นี่ตัวสังกัปปะ ความดำริของบุคคลเป็นใหญ่ที่ทำให้อารมณ์เหล่านั้นเป็นกิเลสขึ้นมา ที่ฟุ้งขึ้นมาก็เพราะ รูป รส กลิ่น เสียง มากระทบข้างนอก ถ้าหากว่า รูป รส กลิ่น เสียง ไม่มากระทบมันก็สงบอย่างนั้น อยู่เนื่องในขันธสันดาน แต่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง มากระทบ อนุสัยก็เกิดขึ้นมารับอารมณ์ที่เป็น รูป รส กลิ่น เสียง กลายเป็นนิวรณ์ ๕ กลายเป็นหยาบขึ้นมา เป็นอาคันตุกกิเลส เพราะเหตุนั้นอาคันตุกกิเลสนั้นถ้าจะว่าไปแล้วก็คือกิเลสภายในต่างๆ เกิดขึ้นโดยอาศัยเครื่องอุปกรณ์จากรูป รส กลิ่น เสียง อันเป็นภายนอกมาเป็นสิ่งกระตุ้น เมื่อไม่มีสิ่งกระตุ้นแล้วอาคันตุกกิเลสก็ไม่มี

ทีนี้บางท่านถือเอาว่าความเป็นประภัสสรของจิตคือสภาพของนิพพาน ผิดหลักเถรวาท แต่ว่าถูกหลักนิกายเซน เถรวาทว่าจิตไม่ใช่นิพพาน ใครถือว่าจิตเป็นนิพพานคนนั้นเป็นสัสตฏฐิ พวกที่เรียนอภิธรรมในฝ่ายเถรวาทก็ดี อภิธรรมในนิกายสรวาสติวาทหรือรวมทั้งนิกายในมหายานที่ชื่อว่านิกายมาธยมิกะก็ดี บอกว่าพวกที่ว่าอย่างนี้ว่า “จิตเดิมแท้” เป็นปรัชญาพราหมณ์ เป็นสัสตทิฏฐิ

อนุสัยกิเลสเป็นไฟเย็น คำว่าร้อนมีหลายระดับ ความรู้สึกว่าร้อนของคน เช่น ถ้ากระวนกระวายหรือขุ่นหมอง แต่ว่าร้อนอนุสัยไม่รู้สึกเผา จนหลงว่าโลกีย์เป็นของเที่ยง จึงยังรักชาติ รักชรา ตายแล้วอยากเกิดอีก ความรู้สึกว่าตายแล้วอยากเกิดอีกคืออาการกลัวตาย แต่ยังเกิดเป็นอนุสัย อาการนี้ร้อนหรือไม่ พระอริยบุคคลถือว่าร้อน เพราะฉะนั้นมีพุทธภาษิตบอกว่า สิ่งใดที่พระอริยเจ้าเห็นว่าเป็นความสุข ปุถุชนเห็นว่าเป็นทุกข์ แต่ปุถุชนเห็นว่าเป็นความสุข พระอริยะเห็นเป็นความทุกข์ ในแง่นี้และสิ่งที่พระอริยะเห็นว่าร้อน เราบอกว่าเย็น นี่เป็นเสียอย่างนี้ เพราะเราไม่มีอริยปัญญาอย่างท่าน เราจึงหลงว่าไฟเย็นที่เผาเรานี้เย็นสบาย.......

หนังสือที่ใช้ประกอบในการเรียบเรียง
ปาฐกถา “สุญญตา” อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ๒๕๑๐
โดย... มดเอ๊กซ์

http://www.sookjai.com/index.php?topic=3131.0
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:17:42 pm »

คำว่าผุดผ่องกับผ่องใส ไม่ได้หมายความว่าไม่มีกิเลส ทีนี้วิเคราะห์พุทธภาษิตต่อไปว่า จิตเศร้าหมองไปเพราะอาคันตุกะกิเลสจรมา อาคันตุกะกิเลสคืออะไร อุปกิเลส ๑๖ ในอุปกิเลส ๑๖ นี้ไม่มีคำว่า อวิชชา ไปดูได้ ดูในวัตถุปมสูตรบาลีมัชฌิมนิกายท่านแสดงลักษณะอุปกิเลส ๑๖ แบ่งไว้เป็นคู่ๆ ทีเดียวในนั้น ไม่มีอวิชชา เรื่องนี้แสดงว่าจิตประภัสสรมีอวิชชาอยู่ ที่ว่าผ่องใส ก็เพียงแต่ว่าไม่มีอุปกิเลส ๑๖ แต่หาได้หมายความว่าจะไม่มีอวิชชาไปด้วยหามิได้ เพราะในอุปกิเลส ๑๖ นั้นไม่มีคำว่าอวิชชาในนั้นเลย นั้นก็คือแปลว่าในจิตประภัสสรนั้นยังมีอวิชชาอยู่ แต่ที่เรียกประภัสสรหรือผุดผ่องเพราะไม่มีอุปกิเลส ๑๖ อุปกิเลส ๑๖ ถ้าโดยย่อแล้วก็ได้แก่นิวรณ์ ๕ นี่แหละอยู่ในหมู่นิวรณ์ ๕ ทั้ง ๑๖ ข้อลงไปแล้วรวมในนิวรณ์ ๕ มีกามฉันท์ เป็นต้น

เพราะฉะนั้นเราต้องแยกเอาวาทะนิกายไหนมาพูด ถ้าหากว่าวาทะนิกายเซน ไม่เถียง เป็นจริงตามนั้น ว่าจิตเดิมแท้บริสุทธิ์ จิตคือนิพพาน จิตเดิมแท้ไม่มีกิเลส กิเลสเป็นของแปลกปลอมเข้ามาภายหลัง จิตเดิมแท้เป็นของ “ว่าง” นี่ว่าตามนิกายถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ตามนิกายเซน แต่ถ้าว่าตามนิกายเถรวาทแล้วผิด นิกายเถรวาทไม่ใช่เป็นอย่างนี้



ถ้าจิตเดิมบริสุทธิ์แล้วพระอรหันต์ก็กลับเป็นปุถุชนได้ซิ ถ้าจิตเดิมบริสุทธิ์แล้วว่าตามเถรวาท พระอรหันต์ก็กลายเป็นปุถุชนได้ เมื่อบริสุทธิ์แล้วจะมาเวียนว่ายตายเกิดอีกทำไมเล่า เพราะฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จิตเดิมบริสุทธิ์ไม่มีในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทไม่เคยสอนว่า “จิตเดิม” คำว่า “จิตเดิม” ไม่มีแม้คำว่า “เดิม” หาไม่เจอแล้วตามนิกายเถรวาท มีแต่คำว่า “จิตประภัสสร” จิตนี้เป็นธรรมชาติผ่องใส พูดไว้เท่านี้ ก็ไม่มีคำว่า “เดิม” กับ “แท้”


เรามาคิดกันง่ายๆ ถ้าเดิมแท้บริสุทธิ์แล้วทำไมให้กิเลสจับง่ายๆ เล่า ก็เพราะยังมีอวิชชา เมื่อรับว่ายังมีอวิชชาก็แปลว่ายังไม่บริสุทธิ์นะซิ ถึงรับว่ายังมีอวิชชาอยู่ นั่นก็คือคำว่า “เดิมแท้” ไม่มีแล้ว เพราะยังรับว่ามีอวิชชาอยู่ แต่ปล่อยให้กิเลสเข้ามาจับง่ายๆ อาคันตุกะกิเลส กิเลสอย่างกลาง อย่างหยาบเป็นแขกแปลกหน้า พระพุทธองค์ใช้คำว่า “อาคันตุกะ กิเลโส” แขกที่จรมา ถ้าเจ้าบ้านเป็นคนรู้ถึงการณ์ พวกนี้เป็นโจรแล้วเจ้าบ้านจะยอมรับหรือ นี่เพราะไม่รู้เท่าทันจึงยอมรับเขาเข้ามาใช่ไหม ให้เขาครอบงำใช่ไหม นั่นแสดงว่าเจ้าบ้านยังโง่ คือมีอวิชชานั่นเอง


ในหลักการพิจารณาปฏิจจสุปบาท แบ่งเป็น อัทธา ๓ อวิชชา สังขาร เป็นอติตอัทธา และตั้งแต่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา เป็นปัจจุบันอัทธาซึ่งจะยังผลให้เกิดภพ ชาติ อันเป็นอนคตอัทธา คุณต้องแบ่งเป็น อดีต ปัจจุบัน อนาคต ที่ว่า ผัสสะ มากระทบเกิด เวทนา เวทนาเกิด ตัณหา นี่แสดงปัจจุบันอัทธา นี่หมายถึงรับกิเลสปัจจุบัน ซึ่งก็ให้เกิดกิเลสอนุสัยในส่วนสันดานของจิตต่อไปในอนาคต แต่อย่าไปพูดถึงอดีต เขามีมาแล้วอวิชชา สังขาร ถ้าไม่มีอวิชชา สังขารในอดีตแล้ว วิญญาณในชาตินี้ก็มีไม่ได้ ปฏิสมธิวิญญาณก็มีไม่ได้

เพราะฉะนั้นต้องแยกประเด็นว่าอะไรเป็น อดีตอัทธา อะไรเป็นปัจจุบันอัทธา อะไรเป็นอนาคตอัทธา ถ้าไม่อย่างนั้นท่านจะแยกเป็น ๓ ห้วง ๓ เปลาะทำไมเล่า เรื่องของภวจักรนี้เป็น ๓ กาล อดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล จะว่าปัจจุบันกาลอย่างเดียวโดยลืมอดีตกาลไม่ได้ อวิชชามีอยู่ในอดีตจึงตามมาในใจถึงปัจจุบัน มันอยู่ในอารมณ์ในใจของเรานี้ และเราพูดง่ายๆ ว่าอวิชชาเป็นพื้นเพของอารมณ์ในใจ คือในขณะที่ใจผ่องใส อย่างคำว่า ประภัสสรก็ยังมีอวิชชาอยู่ ถ้าไม่มีอยู่จะไม่ปล่อยให้กิเลสจรเข้ามาถึงได้ ที่ยอมให้กิเลสเข้ามาได้ แสดงว่าอวิชชาเป็นพื้นเพอยู่ ถึงโง่พอที่จะเปิดประตูรับกิเลสเข้ามา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:10:31 pm »





[wma=250,50]http://www.fungdham.com/download/song/allhits/10.mp3[/wma]
ขอบคุณ เสียงธรรม จาก น้อง"บางครั้ง"ค่ะ

เพราะฉะนั้น เมื่อความเห็นในทางทรรศนะและตีความหมายคำว่า ว่าง ของบรรดาเกจิอาจารย์แตกต่างกันเช่นนี้ ข้อโต้แย้งจึงมีขึ้น ถ้าหากว่าเราเป็นนักศึกษาเข้าใจพุทธศาสนาทุกลัทธิ ทุกนิกาย ทุกแขนงปรัชญาแล้ว เราจะไม่ต้องเสียเวลาโต้แย้งกับใครเลย เพราะเราเข้าใจว่า อ้อ...มติอย่างนี้เป็นของนิกายเซน มติอย่างนี้เป็นของนิกายเถรวาท มติอย่างนี้เป็นของนิกายมาธยมิกะ มติอย่างนี้เป็นของนิกายสราวาสติวาท เราชี้สู่จุดเดิมที่ว่าเป็นวาทะของนิกายใด แล้วก็ไม่ต้องโต้กันเพราะว่าวาทะทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแต่คำอรรถาธิบายขยายความพุทธมติ เป็นคำตีความพุทธมติของบรรดาเกจิอาจารย์ ภายหลังที่ศึกษาพุทธวัจนะแล้ว ต่างอาจารย์ก็ต่างแต่งขยายความ ตีความอธิบายออกมา

อุปมาคล้ายๆ ว่าเรียนกฎหมายมาเล่มเดียวกัน แต่ทนายตีความกฎหมายข้อนี้ไปอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของโจทย์ ทนายจำเลยก็ตีความหมายข้อนี้ไปอีกอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของจำเลย แล้วศาลก็ตีความข้อนี้ไปอีกอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์ของความยุติธรรม ทั้ง ๓ ฝ่ายก็เรียนกฎหมายเล่มเดียวกัน ครูเดียวกัน วิทยาลัยเดียวกัน แต่ทำไมเกิดความแตกต่างกันได้ นี่เป็นมติของเกจิอาจารย์ฉันใด เรื่องธรรมะก็เหมือนกัน การที่ศาสนามีลัทธินิกายต่างๆ อีกมาก ก็เกิดจากการตีความของบรรดาเกจิอาจารย์รุ่นหลังนี้และขยายความเอา เพราะฉะนั้นนักศึกษาชาวพุทธจึงจะต้องมีใจกว้างขวางพอที่จะรับฟังมติต่างๆ ของอาจารย์เหล่านี้ โดยอย่าเพิ่งไปผูกพันกับคนใดคนหนึ่ง และไตร่ตรองชั่งด้วยโยนิโสมนสิการ


ส่วนพุทธพจน์ที่ว่า นิพพานังปรมังสุญญัง นิพพานสูญอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นถ้าอธิบายแล้ว สุญญตาคล้ายๆ กับจะเป็นคุณลักษณะของนิพพาน นิพพานว่างจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่างจากกิเลส เพราะฉะนั้นจึงเป็นคำอธิบายคุณสมบัติของนิพพานอีกที ว่าความนัยของนิกายเถรวาท นิพพานไม่ใช่สุญญตา สุญญตาเป็นคุณสมบัติของนิพพาน เพราะผู้ที่ถึงนิพพานแล้วย่อมว่างจากโลภ โกรธ หลง ว่างจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ว่าความสูญอย่างนี้ ไม่ใช่หมายถึงตัวนิพพานไม่มี เพราะฉะนั้นก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าคำว่า สุญญตา ไม่ได้แปลว่า ไม่มี อันนี้สำคัญที่สุด อย่าเพียงได้ยินชื่อคำว่า สูญ ก็เข้าใจว่า ไม่มี หรือ อันตรธาน ไม่มี หรือ อันตรธานใช้คำว่า “นัตถิตา” จะไม่ใช้คำว่า สุญญตา

มติที่บอกว่า จิตเดิมว่างอยู่นั้น กิเลสมาภายหลัง หรือว่าจิตเดิมนั้นบริสุทธิ์ มติอย่างนี้ไม่ใช่นิกายเถรวาท แต่เป็นมติของนิกายเซน อย่างนี้คือ จิตเดิมแท้ บริสุทธิ์ จิตเดิมแท้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จิตเดิมแท้นั้นเป็นนิพพาน จิตเดิมแท้นั้นว่างเปล่าจากกิเลส กิเลสต่างๆ เพิ่งมากอบโกย มาเป็นอาคันตุกะแขกหน้าใหม่แปลกปลอมจรเข้ามา นิกายเซนสอนอย่างนี้ หลักเดิมของนิกายเซน เขาสอนอย่างนี้ทั้งนั้น เป็นวาทะนิกายเซนฝ่ายมหายาน

แต่ว่าถ้ากล่าววาทะนิกายเถรวาทแล้วคำว่า “จิตเดิม” ไม่มี ไม่เจอในบาลีเลย คำว่า เดิม เวลาคนแปลภาษาไทยเติมเอาเอง “ประภัสสระมิทัง ภิกขเว จิตตัง” ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร ไม่มีในบาลี หาคำว่า “เดิม” ไม่มี ที่นี้นักเลงบาลีที่แปลเป็นไทยไปคว้าคำว่า “เดิม” มาจากไหนก็ไม่รู้ มาใส่เข้าไปจึงได้หลงผิดเข้ารกเข้าพงเป็นการใหญ่ “จิตเดิม” แล้วยังมีคำ “แท้” มาอีก ในบาลีไม่มีคำว่า “แท้” มาจากไหนเลย “เดิมแท้” ๒ คำนี้ไม่มีในบาลี

ถ้าจะมีก็มีเฉพาะนิกายเซน นิกายเซนเขาว่าอย่างนั้นจริงๆ จิตเดิมแท้จริงๆ เขาเรียกว่า “ปึงแซ” ปึง แปลว่าเดิม แซ แปลว่าสภาวะดั้งเดิม ตรัสรู้ในภาวะดั้งเดิมของตัวมันเอง นี่คำว่า “เดิมแท้” นิกายเซน ภาคจีนมีคำว่า “เดิมแท้” ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่านิกายเถรวาทภาคบาลีคำว่า “เดิมแท้” นั้นไม่มี และคำว่า ประภัสสรแปลว่า ผุดผ่องหรือรัศมี คำนี้แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส จิตนี้ผุดผ่อง ประภัสสรแปลอย่างนี้ แปลว่าผุดผ่อง มีแสงในตัว ผ่องใส


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 06:02:27 pm »

แต่ถ้าจะว่าตามหลักของนิกายเถรวาทที่เราสังกัดอยู่แล้ว ถือว่าจิตจะว่างไม่ได้ จิตไม่มีว่าง จิตว่างจากอารมณ์เด็ดขาดนั้นไม่มีเลย นี่มตินิกายเถรวาท นิกายเถรวาทบอกว่าจิตว่างจากอารมณ์บางเหล่าได้ เช่นว่างจากกิเลสบางเหล่าว่างได้ แต่ที่บอกว่าว่างจากอารมณ์ทุกสิ่งว่าดีว่าเลวไม่ได้ เพราะอะไร เพราะธรรมชาติของจิตนั้นจะต้องรู้อารมณ์ นี่หลักนิรุกติศาสตร์ ในด้านอภิธรรมของนิกายเถรวาท จึงได้จำกัดความหมายของคำว่าจิตลงไปว่าธรรมชาติชื่อว่าจิตนั้น เพราะรู้อารมณ์ “อารมฺมณํวิชานาติ” ธรรมชาติของจิตจะต้องรู้อารมณ์เป็นนิจ แม้แต่ในขณะที่อยู่ในผลสมาบัติก็ดี อยู่ในมัคคจิตก็ดี ผลจิตก็ดี ในขณะนั้นก็มีนิพพานเป็นอารมณ์ แม้ในขณะที่นอนหลับไม่มีฝันก็ดี

ในพื้นเพภวังคจิตนั้นก็ต้องเอาอารมณ์ในอดีตชาติหรือเอาอารมณ์ในปฏิสนธิขณะเป็นอารมณ์ จะต้องมีการกำหนดอารมณ์ของจิต พูดง่ายๆ ว่าจะต้องถือเอาอารมณ์ในขณะปฏิสนธิเป็นอารมณ์ของจิต จิตจะว่างจากอารมณ์ไม่ได้เลย นอกจากว่างจากอารมณ์บางเหล่า แต่คว้าอารมณ์อีกอย่างหนึ่งขึ้นมา เช่นผู้ได้ฌาณ จิตก็ย่อมว่างจากปริยุฏฐานะกิเลสอันเป็นกิเลสชั้นกลาง แต่อนุสัยกิเลสยังเหลืออยู่ อย่างน้อยจิตก็ยังถือเอาอารมณ์ในฌาณนั้น เช่น กสิณนิมิตเป็นอารมณ์ พวกที่ได้อรูปฌาณ จิตว่างจากกามอารมณ์ทั้งหมด แต่ในขณะนั้นก็ต้องเอาอารมณ์ที่เป็นอรูปฌานที่ตัวได้ฌานสมาบัตินั้นแหละเป็นอารมณ์ ผู้ที่มีโลกุตรจิตเป็นอารมณ์ผู้นั้นก็เอานิพพานเป็นอารมณ์


เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่าจิตแล้วจะเรียกว่าว่างจากอารมณ์ไม่ได้ แต่ถ้าว่างจากกิเลสโดยสิ้นเชิงละก็ได้ อาการที่จิตว่างจากกิเลสโดยสิ้นเชิงอย่างนี้เป็นจิตของพระอรหันต์และเกิดขึ้นเพียงชั่วหนึ่งแห่งมรรคจิตผลจิต ต่อไปจิตของพระอรหันต์นั้นก็เป็นกิริยาจิตหมด ต้องลงสู่ภูมิกามาวจรบ้าง รูปาวจรบ้าง แต่ว่าเป็นจิตที่ไม่มีอนุสัย จิตพระอรหันต์นั้นถือเอากามะเป็นอารมณ์ก็ได้ เอารูปเป็นอารมณ์ก็ได้ แต่ว่าจิตขณะนั้นเราไม่เรียกว่า กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต เราเรียกกันว่ากิริยาจิต เพราะว่าพระอรหันต์ท่านถือเอาอารมณ์อย่างปุถุชนถือ แต่ปุถุชนถือเอาอารมณ์เหล่านั้นด้วยฉันทราคะ พระอรหันต์ท่านถือเอาอารมณ์เหล่านั้นโดยไม่มีฉันทราคะ นี่เป็นข้อแตกต่างระหว่างอารมณ์ของพระอริยเจ้ากับของปุถุชน

แต่ว่าพระอริยเจ้าก็เห็นอย่างปุถุชนเห็น รู้อย่างปุถุชนรู้ ลิ้มรสอย่างปุถุชนลิ้มรส สัมผัสอย่างปุถุชนสัมผัส อารมณ์ทางใจอย่างปุถุชนเสพย์ แตกต่างกันจากปุถุชนก็ตรงที่ว่าในใจของพระอริยเจ้านั้นไม่มีฉันทราคะคือความพอใจความติดใจความเสน่หาในอารมณ์นั้น นั่นผิดกับปุถุชน ปุถุชนเสพย์อารมณ์ใดๆ แล้วก็ติดใจพอใจ หรือถ้าเสพย์ซึ่งเป็นปฏิฆะไม่พอใจ ก็พยายามปัดเป่าออกไปเพื่อจะดิ้นรนไปสู่อารมณ์ที่ชอบใจ พูดง่ายๆ ว่ายังมีความกระวนกระวายแส่ดิ้น ผละอารมณ์อันหนึ่งแส่ดิ้นไปหาอารมณ์อีกอันหนึ่ง แต่จิตของพระอริยบุคคลนั้นไม่มีอาการแส่ดิ้นอย่างนั้น ต่างกันเพียงแค่นี้


เพราะฉะนั้นตามมติของนิกายเถรวาทคำว่า “จิตว่าง” จึงหมายถึงว่างจากอารมณ์บางเหล่า ไม่ใช่ว่าว่างทั้งหมด ไม่ใช่ว่าว่างจนไม่มีอะไรเลย ว่างจากอารมณ์บางเหล่าเท่านั้นเอง

ส่วนอีกนิกายหนึ่งในทางมหายานคือนิกายเซน เซนก็ถือแบบนิกายโยคาจาระกลายๆ คือถือว่า จิตว่างจากอารมณ์เด็ดขาดได้ ธรรมชาติจิตเดิมบริสุทธิ์ไม่มีกิเลสเลย กิเลสเป็นของจับภายหลัง จิตเดิมถือเป็นของบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเลยแม้แต่นิดหนึ่ง เป็นภูตะเป็นของว่างเปล่าจากอารมณ์โดยสิ้นเชิง ผู้ใดสามารถทำจิตให้ปลอดจากอารมณ์โดยสิ้นเชิงได้ผู้นั้นก็บรรลุถึงโพธิ คติอย่างนี้เป็นคติของนิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของมหายาน
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 05:45:10 pm »

         

<a href="https://www.youtube.com/v/PxilOTZDbEQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/PxilOTZDbEQ</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/8INzaUBpzkI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/8INzaUBpzkI</a>
 
             สุญญตา และ จิตว่างในพุทธศาสนา

เรื่อง “สุญญตา” นี้ เป็นเรื่องสำคัญของชาวพุทธฝ่ายเหนือ หรือมหายาน เช่นเดียวกับเรื่อง “อนัตตา” เป็นเรื่องสำคัญของชาวพุทธฝ่ายใต้หรือเถรวาทของเรา แต่ความจริงคำว่า “สุญญตา” ก็มีใช้ในคัมภีร์ฝ่ายใต้เป็นอันมาก ถึงกับจัดเป็นหมวดหมู่หรือวรรคหนึ่ง คือ “สุญญตวรรค” ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยสุญญตา อันเกี่ยวกับสมาบัติเป็นที่อยู่หรือเป็นวิหารธรรมของพระพุทธองค์ ดังที่ตรัสไว้ว่า พระองค์มีปกติอยู่ด้วยสุญญตสมาบัติ แท้จริงก็เป็นธรรมะทั่วไปในพระพุทธศาสนา เป็นแต่ว่าชาวพุทธฝ่ายมหายานยกเรื่อง “สุญญตา” ขึ้นมาเน้นเป็นพิเศษเช่นเดียวกับที่ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทเน้นเรื่อง “อนัตตา” เป็นพิเศษ ฉะนั้น


ก่อนอื่นควรจะเข้าใจว่า คำว่า “สุญญตา” นี้ไม่ได้แปลว่า “ไม่มีอะไร” “สุญญตา” กับ “นัตถิตา” มีความหมายแตกต่างกัน นัตถิตา หรือ อุจเฉทะ ในภาษาบาลี เป็นคำที่ปฏิเสธว่า “ไม่มีอะไร” “หรือขาดสูญอย่างสิ้นเชิง” ส่วน “สุญญตา” หมายเพียง ปฏิเสธวาทะที่มีอยู่เองโดยมิต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัย แต่มิได้ปฏิเสธสภาวะที่อาศัยเหตุปัจจัยปรากฏขึ้น


ตามหลักพระพุทธศาสนา ผู้มีทิฏฐิในเรื่อง “สุญญตา” ไม่จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะคำนี้เป็นศัพท์เฉพาะในวงของชาวพุทธ มิได้ใช้กันในหมู่พาหิรลัทธิ ในหมู่พาหิรลัทธิ เขาใช้ว่า “นัตถิตา” บ้าง “อุจเฉทะ” บ้าง เป็นคำปฏิเสธสภาวะอย่างเด็ดขาด ว่าไม่มีอะไรเลยหรือว่างเปล่าอย่างอากาศธาตุทีเดียว “สุญญตา” ตามแนวพระพุทธศาสนา มิใช่ หมายถึง เลขสูญ เลขว่าง เลขเปล่า ไม่มีค่าอะไรอย่างที่บางคนเข้าใจ เพียงแต่ปฏิเสธ “สิ่งที่เป็นนิจจสภาวะ คือเที่ยงอยู่เป็นนิตย์ เป็นอยู่ได้โดยลำพัง ไม่ต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัย” ส่วนความเป็นอยู่โดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งนั้น มิได้พลอยถูกปฏิเสธด้วย ใครก็ตามที่ปฏิเสธสภาวะที่อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้น มีขึ้นแล้ว ผู้นั้นก็ชื่อว่าฝ่าย “นัตถิตา” คือฝ่ายที่เห็นว่า ขาดสูญ ว่างเปล่า ซึ่งนับเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างไรก็ตามในภาษาไทยเราได้มีการนำคำว่า “สุญญตา” ในบาลี หรือ “ศูนยตา” ในสํสกฤต มาใช้ในทางที่ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง เป็นสูญเปล่าไม่มีอะไรเลย จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในความหมายของคำนี้ในทางพระพุทธศาสนา



ปัญหาก็มีอยู่ว่า ปัจจุบันนี้ในวงการชาวพุทธในประเทศไทยเราได้มีการโต้แย้งปัญหาเรื่อง “จิตว่าง” เป็นปัญหาใหญ่ ปัญหานี้ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะว่าเป็นเรื่องโต้แย้งมาตั้งแต่โบร่ำโบราณแล้ว และเป็นปัญหาซึ่งไม่สิ้นสุด เพราะว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็ไม่ได้เป็นอริยบุคคลกันทั้งนั้น เป็นแต่เพียงที่ลูบคลำหลักปรมัตถธรรมแล้วก็อาศัยโลกียปัญญามาแยกแยะ อธิบายพุทธภาษิตตีความเอา จึงได้เกิดการโต้แย้งกันเช่นนี้ขึ้น