ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: NATACHAI
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 11:46:42 pm »

 :39:  :39:  :39:  :46:  :46:  :46:
อนุโมทนาสาธุ
ข้อความโดย: rain....
« เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 06:41:53 pm »

 :07: :07: :07: :07:อ่านยังมะจบเลย  แต่ขอ  อนุโมทนา  สาธุ   :07: :07: :07:ไว้ก่องละจามาอ่านใหม่งับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:35:25 pm »

ขอขอบพระคุณ หนังสืออ้างอิงที่ผมนำมารวบรวม

ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยผมพิมพ์ในบางบท

ขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่ได้อ่าน

เพื่อเป็นธรรมทาน

โมทนาบุญครับ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:34:17 pm »

คำแนะนำ   “ โคจร  -  อรุณ  -  พินทุ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่ 10 กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   คำว่า “ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาฎิโมกข์ ”  นั้น  หมายความสำรวมเพียงในสิกขาบทที่มาในพระปาฎิโมกข์คือ  ศีล  ๒๒๗  ข้อ  แคบเข้ามา  มรรยาทหมายถึงกิริยาวาจาที่เรียบร้อยตามสมณวิสัย  แต่ไม่ได้ตั้งใจไว้เป็นวินัย  เพราะบางอย่างไม่ผิดวินัย  แต่ผิดมารยาทสังคมก็มีโทษต้องติเตียน  พระนั้นไม่ใช่แต่อยู่ในวินัยแต่อย่างเดียว  ยังต้องอยู่ในมารยาทดีงามด้วย  โคจรหมายถึงสถานที่ควรไปไม่ควรไป
   สถานที่ไม่ควรไปเรียก  อโคจร  มีทั้งที่เป็นสถานที่เช่น  ร้านสุรา  สถานที่ที่มีบุคคลพลุกพล่าน  เช่น  ตลาดนัดสวนจตุจักร  พระจะไปเดินเบียดเสียดกับเขาไม่ควร  ยังมีสถานเป็นอโคจรอื่นๆอีก  ส่วนบุคคลนั้น  คือสำนักหญิงเพศยา  หญิงม่าย  สาวเทื้อ ( สาวแก่ )  ภิกษุณี ( เวลานี้ไม่มี สำนักนางชีโดยอนุโลม )  บัณเฑาะก์ ( คือกระเทย )  ท่านห้ามไม่ให้ไปคลุกคลี  ไปเป็นกิจจะลักษณะเช่น  เขาทำบุญนิมนต์ไปสวดไปฉันได้  ในปัจจุบันเกิดมีการแปลงเพศผู้ชายทำให้เป็นผู้หญิงก็ได้  บุคคลประเภทนี้ท่านก็ห้ามมิให้ไปคลุกคลีเช่นกัน  ไม่ระวังเรื่องโคจรย่อมทำให้คนอื่นพบเห็นติเตียนได้  ภิกษุที่ชื่อว่ารักษาตัวดีต้องถึงพร้อมด้วย  ศีล  อาจาระ  โคจร  อย่างนี้  ท่านว่าเป็นศรีสง่าของพระศาสนา  เหมือนเครื่องประดับอันมีค่า  ควรแก่การยกย่องนับถือบูชา
   คำว่า  “ อรุณ ”  เป็นชื่อเรียกแสงอาทิตย์แรกขึ้นสีแดงเรื่อๆ  อรุณมีความเกี่ยวข้องกับวินัยหลายข้อ  เช่น  การรักษาผ้าไตรจีวรครอง  มิให้ล่วงราตรี  รักษาอดิเรกจีวรมิให้ล่วง  ๑๐  วัน  การนอนร่วมกับอนุสัมปันเกิน  ๓  คืน  การรักษาเขตจำพรรษา  การเก็บอดิเรกบาตรมิให้เกิน  ๑๐  วัน  และยังมีอีกหลายสิกขาบทที่เกี่ยวแก่การนับราตรี  ถือเอาสำคัญตอนอรุณขึ้น
   อรุณนั้นมี  ๔  คือ 
๑.ที่แรกสีขาวเหมือนสีเงินยวง  สียังสลัวชื่อ เสตารุณ 
๒.ต่อมาสีแดงเจือสีเหลืองทองคำ  ค่อยชัดขึ้นชื่อ ตัมพารุณ
๓.ต่อมาสีทองคำขาว  สีผ่อง  ค่อยหายสลัวชื่อ โอทาตารุณ
๔.สว่างกระจ่างแจ้งเห็นหน้ากันชัดเจน  จนเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าได้แม้อยู่ห่างกัน  ๑๒  ศอกชื่อ นันทมุขี
   จึงชื่อว่าเป็นวันใหม่  การปลงกรรมก็ดี  สำหรับผู้อยู่ปริวาสกรรม  การฉันอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งตามวิกาลโภชนสิกขาบทก็ดี  ให้อรุณที่  ๔  ขึ้นเสียก่อนไม่เช่นนั้นยังไม่พ้นวันเก่า  ต่อถึงข้อที่สี่เห็นหน้ากันปรากฎตามกำหนดใกล้ไกลชั่ว  ๑๒  ศอก  เป็นกาลเข้าเขตวันใหม่อย่างภิกษุผู้รักษาผ้าครอง  ต้องให้อรุณดังกล่าวขึ้นเสียก่อน  จึงเปลื้องผ้าให้พ้นกายออกไปนอกเขตรักษาได้  ภิกษุที่อยู่ในอุโบสถที่ผูกสีมาแล้ว  ถือเอาสีมานั้นเป็นเขตอยู่ปราศจากไตรจีวรได้  แม้จะห่างตัวก็ไม่เป็นไร  เพราะสงฆ์สมมติพื้นที่สีมาเป็นแดนจีวราวิปลาส  คือไม่ถือว่าเป็นแดนอยู่ปราศจากไตรจีวรเหมือน
   นอกจากนี้  พระที่จะออกไปบิณฑบาตนอกวัด  ต้องสังเกตุอรุณให้ดีคอยจนได้อรุณ  ดังกล่าวจึงออกไปจากเขตจำพรรษา  มิฉะนั้น  พรรษาขาด  ถูกปรับอาบัติทุกกฎ  ถ้ารับบาตในเวลานี้  คือยังไม่ได้อรุณตามนี้  ถูกปรับอาบัติปาจิตตีย์  เพราะยังเป็นวิกาลอยู่ในวันเก่า  เป็นการรับไว้ค้างคืน  พระที่ออกไปรับบิณฑบาตดึกๆ  ต้องระวัง  แต่การกำหนดอรุณนี้  ไม่สะดวกเสมอไป  บางวันอากาศมืดครึ้มใช้านาฬิกาดี
   ต่อไปเป็นเรื่องการพินทุ  อธิษฐาน  เกี่ยวกับเรื่องผ้า  เพราะสมัยนี้พระมักจะได้ผ้าบ่อย  พระใหม่ก็อาจได้  จึงควรรู้  จะได้ป้องกันตนให้พ้นอาบัติโทษ
   คำว่า  “ พินทุ ”  แปลว่า  หยดน้ำเป็นเม็ดกลมๆ  ขนาดเท่าถั่วเขียว  ไม่มีอากาศอยู่กลาง  ถ้ามีหยดน้ำเช่นนี้มีแวว  พิธีทำพินทุท่านทำให้เฉพาะผ้าสังฆาฎิ  อุตตราสงค์ ( จีวร )  อันตรวาสก ( สบง )  ซึ่งเป็นผ้ามีขอบ  เรียกผ้าอนุวาด  คือขอบชายผ้าที่มีผ้าประกบ  การพินทุต้องทำนอกขอบผ้านั้น  บัดนี้นิยมทำตรงมุมที่พ้นขอบผ้านั้นออกมา  จะทำบนพื้นผ้าสี่เหลี่ยมที่เขาเย็บไว้ทำรังดุมไม่ได้  พื้นที่นอกจากนั้นตามที่กล่าวมาแล้ว  จะทำที่ไหนก็ได้  ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำตรงมุมผ้า
   สิ่งที่ใช้ทำพินทุตามวินัยบัญญัติ  คือสีดำ  สีตม  และสีเขียว  สีอื่นไม่นิยมใช้จำใช้ดินสอดำ  หรือปากกาหมึกดำ  ก็ได้  ดินสอดำดีกว่าหมด  เหตุที่ต้องทำพินทุ  ก็เพราะพระถูกโจรลักผ้าจีวรไปแล้ว  ภายหลังเจ้าหน้าที่จับผู้ร้ายได้พร้อมของกลาง  จึงให้ภิกษุเจ้าของผ้าที่หายไป  ดูของๆตน  แต่ภิกษุต่างจำผ้าของตนไม่ค่อยได้  ปะปนสับสนกัน  พระพุทธองค์ทรงทราบจึงทรงบัญญัติเป็นวินัย  ให้ภิกษุทำเครื่องหมายที่เครื่องนุ่งห่มของตน  คือพินทุเสีย  ถามว่าทำไมจึงไม่ให้เขียนชื่อของตนแทนพินทุ  คงเป็นด้วยสมัยนั้นหาพระที่รู้หนังสือยาก  จึงทรงให้กระทำเพียงเครื่องหมาย  ถ้าจะแบบแกงไดคือ  ตีนกาขีดกากบาทก็คงได้
   นอกจากนี้  การทำพินทุ  มีความประสงอีกอย่างหนึ่งเป็นการทำให้เสียสี  คือขาดความงาม  ต่อไปขโมยจะได้ไม่เอา  แม้การที่ทำจีวรเย็บเป็นกระทงเหมือนคันนาตัดผ้าออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  ก็มุ่งมิให้เป็นที่โจรปราถนา  แต่เวลานี้ก็ไม่แน่  เพราะจีวรใหม่ขายได้ราคา
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:33:51 pm »

  องค์คุณ  ๕  เครื่องวัดพระธรรมวินัย
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๘  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   การปฎิบัติพระธรรมวินัยนั้นต้องมีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้าง  ถ้ามิฉะนั้นจะเกิดความอึดอัดใจเบื่อหน่าย  เห็นเป็นการขัดต่อความสะดวกสบายของตน  ซึ่งเคยมาแต่คราวเป็นคฤหัสถ์  ถ้ามีธรรมเป็นกำลังอยู่บ้างจะช่วยผ่อนคลายความเคร่งเครียด  อึดอัดใจลงได้บ้าง
   ข้อสำคัญในการปฎิบัติในพระวินัยของพระบวชใหม่นั้น  ขั้นต้นควรตั้งใจถือศีล  ๒  อย่างก่อน  คือรู้ว่าเป็นอาบัติไม่ทำอย่างหนึ่ง  ก็พอรักษาตัวได้กว่าจะรู้ในข้อที่ทรงห้ามและข้อที่ทรงอนุญาตดีแล้ว  ผู้บวชแล้วถือวินัยอย่างเดียวไม่ได้  อึดอัดใจเหมือนมัดมือมัดเท้า  ต้องถือธรรมด้วยกลมเกลียวกันไป  จะได้ช่วยทำใจให้ดี  เมื่อใจดีแล้ว  แต่นั้นกายวาจาก็ดี   พระวินัยนั้นสอนให้ปฎิบัติดี   ทางกายวาจา  ทางใจ  เป็นหน้าที่ของธรรมปฎิบัติ
   มีธรรมอยู่หมวดหนึ่งซึ่งช่วยในการปฎิบัติพระธรรมวินัยได้ดี  มี  ๕  อย่าง  เป็นเครื่องวัดการปฎิบัติพระวินัย  ถ้าคุณ  ๕  บกพร่องมากนัก  ก็แสดงว่าการปฎิบัติพระวินัยของผู้นั้นย่อหย่อนมาก  ถ้าองค์คุณเหล่านี้มีบริบูรณ์ดี  ก็แสดงว่าผู้นั้นปฎิบัติในพระวินัยสมบูรณ์ดี
   องค์ธรรมเครื่องประกอบ  ได้แก่
   “ อัปปิจฉตา ”   ความเป็นผู้มักน้อย  เช่น ภิกษุมีปัจจัยลาภมาก  ก็แบ่งปันให้ผู้อื่นกินใช้บ้าง  เอาไว้แต่พอกินพอใช้  ไม่มักมากอยากใหญ่  ความมักมากเมื่อสะกดไว้ไม่อยู่  จะกลายเป็นปาปิจโฉ  ความอยากลามก  โดยอยากได้  อยากดี  อยากรวย  อยากเด่น  อยากดัง  ในทางที่ผิดวินัย  ทำให้สมณวิสัยผุกร่อน  เพราะอิจฉาปะกะโต  ความอยากครอบงำ  จิตใจก็มืดและเต็มไปด้วยความอยากอันลามก  เพียงเพื่อประสงค์ลาภสักการะเป็นต้น  ออกวิธีตลกลวงโลกด้วยความเป็นผู้วิเศษต่างๆ  เหมือนลูกโป่งเต็มไปด้วยลม  เมื่อมีมากเกินขนาด  อำนาจแห่งความอยากย่อมทำให้ถึงความพินาศแห่งสมณเพศ  ดุจลูกโป่งต้องแตกโพละ  ฉะนั้น
   “ สันตุฏฐิตา ”  ความเป็นผู้สันโดษ  ก็คือความยินดีพอใจตามที่มีที่เป็นได้  ถ้าเป็นพระก็คือเรื่องปัจจัยสี่  จะมีจะได้อย่างไร  มากน้อยเท่าไร  ก็ยินดีพอใจเท่านั้น  ไม่ทะเยอทะยานแสวงหาในทางที่ผิดวินัย  ถ้าในทางที่วินัยห้ามแล้ว  แม้จะทำให้ได้มี  จะดีจะมากสักเพียงใรก็ไม่ยินดี  ความไม่สันโดษ  เป็นเหตุให้พระประพฤติผิดวินัยได้ต่างๆ  ตั้งแต่ที่มีโทษอย่างเบาจนถึงที่มีโทษอย่างหนักได้  ในวินัยบัญญัติปรากฎว่า  พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้หลายข้อ  เพราะความไม่สันโดษของพระ
   “ หิริมตา ”  ความเป็นผู้ละอาย  เป็นดุจเกราะที่หุ้มกำบังมิให้สมณภาพต้องเป็นอันตรายเพราะศีลวิบัติ  เสียความเป็นสมณะ  ท่านว่าหิริ  ความละอายเป็นสมุฏฐานที่ตั้งแห่งศีล  ศีลจะอยู่ก็เพราะความละอาย  ศีลจะไปก็เพราะความไม่ละอาย  ลงได้ไม่ละอายเสียอย่าง  ความชั่วอะไรก็ทำได้  ศีลเล็กศีลใหญ่ถูกย่ำยีได้ราบเป็นหน้ากลอง  เหมือนรถบดถนน  ก้อนอิฐก้อนหินใหญ่น้อยก็ถูกบดราบไปฉะนั้น  พระเถระแต่ปางก่อนมีพระมหากัสสปเถระเป็นต้น  เมื่อสิ้นเสร็จการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว  ได้ประกาศในที่ประชุมว่า  ในอนาคตภิกษุลัชชี(ผู้มีความละอาย)  จักรักษาพระธรรมวินัย  ภิกษุอลัชชี(ผู้ไม่มีความละอาย)  จักทำลายพระธรรมวินัย  ข้อนี้จะมีจริงหรือไม่  มีตัวอย่างให้ดูได้แม้ในปัจจุบันนี้แล้ว
   “ กุกกุจจปกตตา ”  ความเป็นผู้มักรังเกียจสงสัย  การรักษาพระธรรมวินัยเป็นของยาก  เหมือนประคองน้ำบนใบบัว  เงื่อนไข  ข้อแม้  ในวินัยเล่าก็มีมากสลับซับซ้อน  สุขุม  ละเอียดอ่อน  จะควรไม่ควรอย่างไร  ต้องระวังใส่ใจมักง่ายไม่ได้  ความรังเกียจสงสัยในที่นี้  มิได้หมายถึงรังเกียจคนหรือปัจจัย  แต่รังเกียจสงสัยในการปฎิบัติตามพระวินัยว่าจะผิดหรือไม่  เมื่อไม่แน่ใจให้สอบถามผู้รู้ก่อน  อย่าเพิ่งทำลง  เช่น  รับประเคนน้ำชาไว้แล้ว  ภายหลังสงสัยว่าจะมีใครมาจับต้องหรือเปล่า  ท่านให้ประเคนเสียใหม่  ถ้าสงสัยแล้วขีนทำลงไป  ถึงไม่ผิดวินัยจริง  ก็ถูกปรับอาบัติฐานสงสัยแล้วขืนทำ  คุณข้อนี้จึงช่วยให้การปฎิบัติวินัยรอบคอบดีขึ้น  ไม่มักง่ายตามใจตัวหรือความเคยตัว  พระบวชใหม่ยังไม่รู้วินัยทั่วถึง  เมื่อมีคุณข้อนี้จะช่วยให้รักษาวินัยรอบคอบดี  อย่าตีความหมายพระวินัยเข้าข้างตัว  ด้วยมุ่งมั่นความสะดวกสบายของตัว  จะกลายเป็นพระชั่วไปเสียง่ายๆ
   “ สิกขากามตา ”  ความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา  หมายความว่า  สนใจในการหาความรู้ในพระวินัยอยู่เนืองนิตย์พร้อมกับการปฎิบัติตามไปด้วย  คำว่า  ศึกษาในที่นี้  จึงต้องรวมถึงการเรียนให้มีความรู้ด้วยและประพฤติตามด้วย
   เพราะฉะนั้น  พระใหม่ที่บวชเข้ามาด้วยศรัทธา  พึงปลูกความยินดีเต็มใจที่จะรับปฎิบัติตามพระวินัยดุจรับพวงมาลัยทองคำที่เขามอบให้ฉะนั้นเถิด  อย่าได้อิดหนาระอาใจ  การที่สามารถรักษาพระวินัยได้ดี  เป็นเครื่องแสดงคุณธรรมในใจของตน  คือ  ขันติ  ความอดทน  วิริยะความเป็นผู้กล้า  เสียสละความที่เคยสุขสะดวกสบายของตนมาแต่ก่อน  อุทิศแรงกาย  แรงใจ  อุตสาหะ  ปฎิบัติตามไม่ท้อถอยไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นชายชาวพุทธ  ได้มีโอกาศบรรพชาอุปสมบท
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:33:24 pm »

  คำแนะนำ  “ การปลงอาบัติสงฆ์ ”
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปจะว่าด้วยเรื่อง  “ ปลงอาบัติ ”  คำว่าอาบัติ  แปลว่า  ล่วงละเมิด  หมายความว่า  ภิกษุทำความผิดละเมิดต่อวินัยบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งอันเป็นโทษ  เรียกว่าต้องอาบัติ  อาบัติมีลักษณะต่างๆกัน  คือ  หนัก  และ  เบา  โดยลำดับ
   ๑.  ปาราชิก     มี  ๔  อย่าง  คือ   -เสพเมถุน   -ลักของเขาราคาตั้งแต่ห้ามาสกขึ้นไป   -ฆ่ามนุษย์นอกครรภ์ในครรภ์   -อวดธรรมอันสูงถึงฌานสมาบัติ  เมื่อภิกษุต้องแล้ว   แก้ไขไม่ได้  มีอันต้องสึกโดยส่วนเดียว  แม้สึกแล้วไปบวชใหม่ก็บวชไม่ขึ้น
   ๒.  สังฆาทิเสส   มี  ๑๓  อย่าง  ยกขึ้นพูดเฉพาะที่ภิกษุอาจต้องเข้าง่ายๆ  เช่น  ตั้งใจหรือแกล้งให้น้ำอสุจิเคลื่อน  จับต้องกายหญิงด้วยราคะกำหนัด  ไม่มีเจตนาบังเอิญไปถูกการหญิงเข้าไม่เป็นอาบัติ  พูดเกี้ยวหญิงกระทบถึงเมถุนธรรม  นอกจากนี้มีอยู่แล้วในหนังสือนวโกวาท  สังฆาทิเสสต้องเข้าแล้ว  จะปลงกันอย่างปกติไม่ได้  ต้องอยู่กรรม  เมื่อต้องเข้าแล้วต้องแจ้งให้ภิกษอื่นทราบทันที  เมื่อมีโอกาสจึงไปอยู่กรรม  ถ้าแจ้งช้าไปกี่วันต้องอยู่กรรมเป็นพิเศษเท่าจำนวนวันที่ไม่แจ้ง
   ๓.  ถุลลัจจัย   ปาจิตตีย์   ปาฎิเทสนียะ  ทุกกฎ  ทุพภาษิต  ทั้งห้าอย่างนี้  ต้องเข้าแล้ว  ให้ปลงอาบัติกับภิกษุด้วยกัน  ก็เป็นอันพ้น  ส่วนอาบัติ  ปาจิตตีย์ที่เป็นนิสสัคคีย์ด้วย  ต้องทำพิธีเสียสละก่อน  จึงปลงอาบัติตก  เช่น  ผ้าไตร  จีวร  ครองเป็นนิสสัคคีย์  ถ้ายังไม่ได้สละ  เอาผ้าที่เป็นนิสสัคคีย์ไปใช้  ต้องอาบัติทุกกฎทุกครั้งที่ใช้
   การปลงอาบัติ  เป็นการแสดงความชั่วที่พระได้ละเมิดวินัยมานั่นเอง  พระถ้าทำอะไรผิดต้องแจ้งให้เพื่อนภิกษุทราบและรับว่าจะสังวรต่อไป
   การปลง  คือ  พระที่ต้องอาบัติแจ้งแก่ภิกษุ  แล้วภิกษุนั้นถามว่า  เธอเห็นหรือ  พระรูปนั้นรับว่าเห็น  ภิกษุนั้นก็เตือนว่า  อย่าทำต่อไป  อันนี้เป็นการเปิดเผยความชั่ว  คนเราถ้าทำอะไรอันเป็นความชั่วแล้วสารภาพเสีย  ย่อมถือว่าเป็นผู้ซื่อตรง
   การปลงอาบัติไม่มีเงื่อนไขว่า  จะต้องปลงกะภิกษุกี่รูป  จะปลงกะสงฆ์กะคณะคือพระ  ๒-๓  รูปก็ได้  หรือจะปลงกันตัวต่อตัวก็ได้  แต่การที่จะปลงต่อสงฆ์มักเป็นเรื่องที่ภิกษุละเมิดวินัยอันมีความไม่สมควรมาก  ตามธรรมดาก็ปลงกันตัวต่อตัว  ผู้ที่ปลงอาบัติต้องเป็นภิกษุด้วยกัน  คนอื่นห้าม  ภิกษุที่รับปลงอาบัติแล้ว  ก็ต้องไม่เปิดเผยแก่คนอื่น  นอกจากในหมู่ภิกษุด้วยกัน  หากไปเปิดเผยแก่คนที่ต้องห้าม  เป็นอาบัติอีกต่อหนึ่ง
   ในกรณีที่ภิกษุหลายรูปต้องอาบัติในเรื่องเดียวกัน  ดังเช่นที่กล่าวถึงมาแล้วเรื่องทำอุโบสถ  ภิกษุในวัดไม่ทำอุโบสถสวดปาฎิโมกข์ทั้งวัด  ถูกปรับอาบัติหมดทุกรูปเหมือนกัน  ในวัตถุอันเดียวคือไม่ทำอุโบสถ  เช่นนี้  ท่านห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  อาบัติอย่างนี้เรียกว่า  “ สภาคาบัติ ”  แปลว่า  อาบัติมีส่วนคือความผิดเหมือนกันต้องปลงในสำนักภิกษุอื่นผู้ไม่ต้องอาบัติเช่นนั้น  ครั้นแล้วจึงให้ภิกษุรูปอื่นที่ต้องสภาคาบัติแสดง  คือปลงในสำนักของภิกษุนั้นอีกต่อหนึ่ง  ที่แรกห้ามไม่ให้ปลงในพวกเดียวกัน  คงถือว่าเป็นกรณีที่คนมากทำผิดร่วมกัน  ถ้าปล่อยให้ปลงง่ายนักจะเคยตัว
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:32:51 pm »

คำแนะนำการรับประเคนที่ถูกต้อง
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ต่อไปนี้จะว่าด้วยเรื่อง  “ การประเคน ”  ผู้ที่บวชเป็นภิกษุเสร็จ  การที่ต้องปฎิบัติตามพระวินัยก็มาถึงทันที  การประเคนมีบัญญัติไว้ในสิกขาบทที่ ๑๐  แห่งโภชนวรรคว่า  ภิกษุกลืนกินอาหารที่ยังไม่มีผู้ให้ ( ประเคน ) ต้องอาบัติปาจิตตีย์  เว้นไว้แต่น้ำกันไม้สีพัน  หมายถึงน้ำเปล่าที่ไม่มีอะไรเจือปน  ถ้ามีอามิสเจือ  เช่น  น้ำส้ม  น้ำชา  น้ำยาอุทัย  ต้องประเคน  ไม้สีพันเป็นก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้  เช่น  ก้านโสม  เปลือกข่อย  แต่ก่อนยังไม่มีแปรงสีพัน  พระก็เอาก้านไม้อ่อนๆ  หรือเปลือกไม้ดังกล่าวมาเคี้ยวให้แหลก  แล้วใช้สีพันแทนแปรงและยาสีฟันไปในตัว  ได้ยินว่าทำให้ฟันสะอาดและได้รับการบริหารฟันเป็นอย่างดีมีคุณ  สีเสร็จแล้วก็คลายทิ้ง  ไม่ได้กินเหมือนอาหาร  แต่ยาสีฟันอย่างปัจจุบันนี้ที่เป็นหลอดหรือเป็นห่อต้องประเคน  เข้าในลักษณะเภสัชอย่างหนึ่ง  เพราะเป็นยาเครื่องรักษาฟัน
   คำว่า  “ ประเคน ”  เป็นภาษาเขมร  แปลว่า  “ ให้ ”  แต่คำว่าประเคนนี้  การใช้ของเราเป็นที่เข้าใจและใช้กันเฉพาะในวงการพระ  ไปใช้ในพวกคฤหัสถ์ด้วยไม่เคยมี  ข้อบังคับเฉพาะที่ต้องให้ด้วยมือรับด้วยมือ  หรือเรียกกันว่าประเคนนั้น  จำกัดเฉพาะประเภทอาหารและหมากพลูบุหรี่  อย่างอื่น  เช่น  ผ้า  จาน  ช้อนส้อม  เป็นต้น  ไม่ต้องประเคน  เพราะไม่ใช่อาหารที่เกี่ยวกับการกลืนกินให้ล่วงลำคอ  เข้าให้ด้วยวาจา  ว่านิมนต์หยิบเอาใช้ได้  เช่นนี้ภิกษุหยิบเอาใช้ได้ไม่ต้องประเคน  แต่มีข้อยกเว้นว่า  เนื้อดิบ  ปลาดิบ  รับประเคนไม่ได้
   การรับบิณฑบาตต้องรับเมื่อได้อรุณแล้ว  ถ้าอรุณยังไม่ได้เป็นอาบัติปาจิตตีย์  ที่เป็นเช่นนี้ถือว่าเมื่อเวลายังไม่ได้อรุณ  ยังไม่เป็นวันใหม่  การบิณฑบาตเป็นการรับอาหารไว้ค้างคืน  จึงเป็นอาบัติ
การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง
   ๑.  น้ำหนักสิ่งของที่ถวาย  ต้องพอแก่กำลังของผู้ถวาย  ถ้าเป็นสิ่งของมีน้ำหนักเกินไป  เช่นต้องใช้คน  ๒-๓  คนยก  เช่นนี้รับประเคนไม่ขึ้น  แต่ถ้าเป็นสตรีอ่อนแอจะให้บุรุษช่วยยกบ้างก็ได้  เคยพบตัวอย่างคือการประเคนอาหารเวลาทำบุญเลี้ยงพระ  วางอาหารบนโต๊ะใหญ่ๆ  จนยกไม่ได้หรือยกไม่ไหว  หรือบางทีวางไว้บนผ้าขาวที่เรียกว่าผ้าปูโต๊ะเสร็จแล้ว  มีคนจับมุมโต๊ะหรือที่มุมชายผ้า  ให้พระจับโต๊ะหรือผ้า  ถือว่าเป็นการประเคนให้พระ  เช่นนี้ไม่ถูก  ประเคนไม่ขึ้นใข้ไม่ได้  ยังมีวิธีประเคนอีกอย่างหนึ่ง  คือให้พระรับประเคนเสียจานหนึ่ง  ถ้วยหนึ่ง  หรือชามหนึ่ง  แล้วจับจาน  ถ้วย  หรือชามอื่นๆ  ที่ใส่อาหารเลื่อนเอามาให้ติดกันไปกับภาชนะที่พระจับ  ถือว่าเป็นการประเคนแล้ว  เช่นนี้ไม่ถูก  เพราะการประเคนไม่ใช่กระแสไฟฟ้าจะแล่นไปถึงกันได้  เป็นความเข้าใจผิดหรือมักง่ายของคนประเคน เพราะการยกของนั้นไม่เป็นกิจจะลักษณะ
   ๒.  ผู้ให้กับผู้รับต้องอยู่ในหัตถบาส  คำว่า  หัตถบาส  แปลตามศัพท์ว่า  บ่วงมือ  ดูจะใช้เป็นการวัดขนาดยาว  คือระหว่างผู้ให้กับผู้รับห่างกัน  ถ้าคะเนตั้งแต่หัวไหล่แขนขวาถึงหัวไหล่แขนซ้าย  โดยเอามือประสานกัน  นับแต่หัวไหล่มือขวาถึงหัวไหล่มือซ้ายกางออกตามด้านตรง  ก็คงจะได้ราวสองศอกคืบ  ฉะนั้นท่านจึงกำหนดเป็นมาตราไว้ในระยะสองศอกคืบ  ถ้ากะให้พอเหมาะแล้ว  ผู้ถวายนั่งกินเนื้อที่เสีย  ๑  ศอก  เหลือนับระยะห่างกับผู้ถวาย  ๑  ศอกกับ  ๑  คืบ  ผู้ถวายเข้ามาอยู่ในระยะนี้พอเหมาะ  ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป  ถือว่าเป็นการสมควร  ระยะดังกล่าวนี้คิดตามมาตราช่างไม้  ยังเหลือระยะห่างจากผู้รับกับผู้ถวายอีก  ๗๕  เซนติเมตร
   ๓.  อาการที่ให้ของต้องน้อมลงและยกให้ปรากฏ  คือ  หมายความว่าของที่ให้นั้น  ต้องถูกน้อมลงและยกให้ปรากฏ  ให้เป็นกิจจะลักษณะในเชิงยกให้  ไม่ใช่จับเสือกๆ  ส่งๆ  ให้  การถือของจะถือจับสองมือ  หรือมือเดียวก็ได้  เคยพบในหนังสือธรรมบท  นิยมจับสองมือยกให้  การยกของอย่ายกให้สูงเกินไปนัก  ต้องยกให้พอเหมาะแลดูงาม  เคยพบตัวอย่าง  เช่นในเวลาถวายของพระสวดแจงหรือถวายเครื่องดื่ม  น้ำชาแก่พระมากๆ  ผู้ประเคนมักจะยกถาดหรือสิ่งของไปตรงหน้าพระแล้วส่งให้เฉยๆ  บางทีพูดว่านิมนต์ขอรับ  เช่นนี้พระจะรับไปยังไม่ได้  เพราะเข้ายังมิได้น้อมของให้  ต้องให้เขาน้อมหรือยกของเฉพาะอันหนึ่งให้เป็นกิจจะลักษณะ  เช่น  เขายกเครื่องดื่มที่ใส่แก้วไปส่งให้ทั้งถาด  พระต้องจับถาดแล้วหยิบเอาแก้วหนึ่งหรือให้เขาวางถาดลงหยิบเอามาให้เฉพาะแก้วหนึ่ง  จึงจะได้  การประเคนของให้พระแบบมักง่ายของคนให้  และพระก็มักง่ายรับเช่นกัน  ไม่ถูกไม่ดีทั้งนั้น
   ๔.  ผู้ประเคน  เป็นสตรีก็ได้เป็นบุรุธก็ได้  ประเคนให้ด้วยกายก็ได้  ด้วยของเนื่องด้วยกายก็ได้  ถ้าเป็นสตรีประเคนให้  พระรับด้วยของเนื่องด้วยกาย  เช่น  ผ้า  บาตร  ปิ่นโต  เป็นต้น  ส่วนบุรุธเอามือรับได้ทีเดียว
   ๕.  การรับ  รับด้วยตนเอง  หรือของเนื่องด้วยตน  หมายความว่าเราจะรับด้วยมือเราก็ได้  สตรีประเคนบังคับว่าต้องรับด้วยผ้า  จะรับด้วยมือไม่ได้  ผ้าที่จะใช้รับ  ใช้ผ้ากราบเป็นดีที่สุด  เพราะสะอาดดี  แต่ถ้าจำเป็นใช้ผ้าเช็ดหน้า  หรือแม้ที่สุดชายจีวรก็ได้  การจับผ้ากราบต้องหงายมือ  วางผ้าทางด้านหน้าที่ถูกพับไปข้างหน้า  ปล่อยชายทบเข้ามาหาตัว  จับผ้าจะจับมือเดียวหรือสองมือก็ได้  แต่ต้องให้เรียบร้อย  แต่การจับสองมือน่าดูกว่า  บุรุธต้องรับด้วยมือ
   การประเคนต้องประกอบด้วยองค์  ๕  ดังกล่าวมา  จึงจะถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง  การประเคนให้ซึ่งหมายในที่นี้จำเพาะอย่างยิ่งคืออาหาร  การชักบังสกุลไม่ใช่การประเคน  จึงใช้ของที่ไม่จัดเข้าในประเภทอาหารเช่นผ้าเท่านั้น  บางคราวเคยเห็นใช้ซองปวารณาก็มี  ไม่ตรงความหมายของคำว่าบังสกุล  เพราะคำนี้หมายถึงผ้าเท่านั้น
   สมมติว่ามีคนเอาใบชาไปวางให้พระชักบังสกุล  พระจะชักบังสกุลได้หรือไม่  ชักบังสกุลไม่ได้เพราะชาจัดเข้าในประเภทอาหาร  จึงชักบังสกุลไม่ได้  เพราะยังไม่มีการยกขึ้นน้อมประเคนตามที่กล่าวมาแล้ว  ของที่เขายังไม่ประเคนเช่นนี้  พระไปยกจับขึ้นเองเป็นอาบัติทุกกฎ  ดังนั้น  ต้องจำเวลาเข้าบ้าน  ถ้าที่คับแคบจะเดินไม่พ้น  อย่าไปจับของที่จะต้องประเคน  เช่นพานหมากเสียเองเป็นอาบัติ
   พูดง่ายๆ  ให้เข้าใจ  คำว่า  “ อาหาร ”  หมายถึงของที่พึงกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปได้  ไม่ใช่หมายแต่ข้าวปลา  ขนม  หรือผลไม้เป็นต้นเท่านั้น  ของกินอย่าไปยกขึ้นก่อนประเคนไม่ได้
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:32:20 pm »

คำแนะนำการกราบไหว้พระ
หนังสือนวกานุศาสนี อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พุทธศักราช ๒๕๒๒    พระธรรมเจดีย์  อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ  กรุงเทพฯ
(  หนังสือพิมพ์ข่าวสด  คอลัมน์ รายงานพิเศษ  วันที่  ๕  กรกฎาคม  ๒๕๔๒  )
   ในเวลานั่งสวดสรรเสริญพระคุณพระรัตนตรัยนั้น  เป็นการสวดเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า  พระธรรมเจ้า  พระสงฆ์เจ้า  เพราะพระคุณของพระรัตนตรัยนี้  เราจะพรรณนาสักเท่าใดก็ไม่มีหมด
   การไหว้พระพุทธ  ก็เพราะพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาผู้มีปรีชา  มีพระปัญญาเลิศ  พระองค์เป็นผู้เล็งรู้ความจริงของโลกทุกอย่าง  พระองค์เป็นผู้ปราศจากความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  พระองค์เป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยพระเมตตา  พระกรุณา  เราจึงพากันระลึกถึงพระคุณท่าน
   การไหว้พระธรรม  เพราะพระธรรมเป็นคำสั่งสอนอันดีเลิศ  คุณของพระธรรมคือความสงบ  ทำให้ใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์
   การไหว้พระสงฆ์  เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฎิบัติดี  ปฎิบัติชอบ  และเป็นผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  เป็นผู้นำศาสนามา
   การกราบไหว้ต้องตั้งใจด้วยความเคารพจริงๆ  นิยมกราบด้วย  เบญจางคประดิษฐ์  เบญจางคประดิษฐ์นั้น  ได้แก่  การกราบไหว้  โดยนั่งคุกเข่าทั้งสองลงห่างกันประมาณ  1  ฟุต  ประนมมือเสมออก  แล้วก้มลงยื่นฝ่ามือทั้งสองลงพื้น  ให้ข้อศอกทั้งสองข้างเสมอหัวเข่า  อย่าให้กางออกไปนอกหัวเข่า  และให้ชิดหัวเข่า  ฝ่ามือทั้งสองให้นิ้วมิดชิดกัน  อย่ากางนิ้ว  ฝ่ามือห่างกันประมาณ  4 - 5  นิ้วฟุต  เว้นช่องให้หน้าผากก้มลงถึงพื้น  แล้วเงยขึ้นตั้งต้นเหมือนเดิม  กราบไหว้นี้มีองค์ 5  คือ  หัวเข่า 2  ฝ่ามือ 2  กับหน้าผาก 1  จะให้เรียบร้อยตามแบบต้องดูตัวอย่าง  และทำจนตัวเวลากราบไหว้แบบนี้ร่างกายเป็นไปเอง  ไม่ต้องตั้งใจและเกร็งตัวเวลาทำ
   การสวดสรรเสริญและระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า  เป็นการอบรมหน่วงเหนี่ยวคุณงามความดีอันพระองค์ทรงสั่งสอนนั้น  มาล้างดวงใจที่ซ่านให้สงบ  ที่ขุ่นมัวให้ผ่องแผ้ว
   การทำวัตรค่ำก็เหมือนกัน  ทิ้งการสรรเสริญและระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเสียไม่ได้  การทำวัตรค่ำมีการหมอบกราบแล้วกล่าววาจาว่า “ กาเยนะ วาจายะวะ เจตะสาวา ”  เป็นคำกล่าวเพื่อขอขมาต่อพระพุทธ  พระธรรม  และพระสงฆ์  ในการที่หากว่าเราได้ล่วงละเมิดไปในวันหนึ่งๆ  คนเราถ้าได้ทำอะไรล่วงเกินละเมิดไป  ถ้าได้ขอขมาลาโทษเสีย  ก็เป็นการให้อภัยได้
   การไหว้พระสวดมนต์เป็นอุบายฝึกจิตให้สงบ  ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า  ใช่ไปออกเสียงเป็นภาษามคธ แล้วจะได้บุญ  ในขณะที่ออกเสียงก็ต้องสำรวมให้อยู่ในวงของบทที่ว่านั้นด้วย  นี่แหละ!  อุบายฝึกจิตให้เกิดสมาธิ  ยิ่งแปลรู้เรื่องชวนให้ใจเลื่อมใส  เกิดความพอใจในการสวด
   ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็นที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้แปลไว้แล้ว  ต้องการทราบเรื่องหาดูได้  ฉะนั้น  จึงควรอุตสาหะในการทำวัตรเช้า  เย็น  อย่าเกียจคร้าน  จะได้พอกพูนบุญกุศลให้เจริญยิ่งๆขึ้นในสันดาน
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:31:54 pm »

วิธีการอาบน้ำศพ
   การอาบน้ำศพนี้  ถือกันว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวระหว่างญาติสนิท  ไม่นิยมเชิญคนภายนอก  เป็นการอาบชำระร่างกายศพจริงๆ  โดยอาบน้ำด้วยน้ำอุ่นก่อนแล้วล้างด้วยน้ำเย็น  ฟอกสบู่ขัดถูร่างกายศพให้สะอาด
   เมื่ออาบน้ำศพเสร็จแล้ว  ก็เอาน้ำขมิ้นทาตามร่างกายตลอดถึงฝ่ามือฝ่าเท้า  และประพรมด้วยน้ำหอม  เอาผ้าขาวซับรอยหน้า  ฝ่ามือทั้งสองและฝ่าเท้าทั้งสอง  แล้วมอบให้แก่ลูกหลานของผู้ตายเก็บไว้สักการะบูชา
   เมื่ออาบน้ำชำระร่างกายศพเรียบร้อยแล้ว  ก็แต่งตัวศพตามฐานะของผู้ตาย  เช่น  เป็นข้าราชการ  ก็แต่งเครื่องแบบเป็นต้น  เครื่องแต่งตัวนั้น  นิยมใช้เสื้อผ้าที่สะอาดและใหม่ที่สุดเท่าที่มีอยู่แล้ว
   เมื่อแต่งตัวศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จึงอัญเชิญศพขึ้นนอนบนเตียงสำหรับรอรับการรดน้ำต่อไป

สถานที่ตั้งเตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำ
   เตียงประดิษฐานศพสำหรับรดน้ำนั้น  นิยมจัดตั้ง  ณ  สถานที่กว้างๆ  กลางสถานที่นั้น  เพื่อความสะดวกแก่ผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมตั้งเตียงประดิษฐานไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  โดยตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยไว้ด้านบนศีรษะของศพ
   นิยมตั้งเตียงหันด้านขวามือของศพ  หรือด้านปลายเท้าของศพให้อยู่ทางผู้ที่มาแสดงความเคารพศพ
   ห้ามมิให้ผู้ใดเดินผ่านทางด้านศีรษะของศพ  เพราะถือกันว่าเป็นกิริยาอาการที่แสดงความไม่เคารพต่อศพนั้น
   นิยมจัดร่างศพให้นอนหงายเหยียดยาว  จัดมือขวาให้เหยียดยาวห่างจากตัวเล็กน้อย  โดยจัดมือขวาให้วางหงายแบเหยียดออกคอยรับการรดน้ำ  และเพื่อเป็นการแสดงปริศนาธรรมแก่ผู้มารดน้ำศพทั้งหลาย  ให้เห็นความจริงของชีวิต  คล้ายกับศพนั้นจะพูดว่า  “ นี่แน่ท่านทั้งหลาย  จงดูนะ  ฉันไปมือเปล่านะ  ฉันไม่ได้นำเอาสมบัติอะไร  ( ของมนุษย์ )  ติดมือไปเลยแม้แต่น้อย  และตัวท่านเองก็จักต้องเป็นเช่นเดียวกับฉันนี้เหมือนกัน ”
   นิยมมีผ้าห่มคลุมตลอดร่างศพนั้น  โดยเปิดหน้าและมือขวาไว้เท่านั้น  ผ้าที่ใช้คลุมศพนั้นนิยมใช้ผ้าใหม่ๆ  และโดยมากมักใช้ผ้าแพรห่มนอน
   นิยมจัดเตรียมขันโตก  คือขันพานรองขนาดใหญ่  ตั้งไว้คอยรองรับน้ำที่รดศพนั้น  พร้อมทั้งจัดเตรียมน้ำอบ  น้ำหอมผสมน้ำ  และมีภาชนะเล็กๆ  ไว้สำหรับตักให้แก่ผู้มารดน้ำศพด้วย  พร้อมกับมีบุคคลผู้ใกล้ชิดกับผู้ตาย  หรือลูกหลานคนใดคนหนึ่ง  คอยส่งภาชนะสำหรับรดน้ำให้แก่ผู้มารดน้ำศพที่มิได้เตรียมเครื่องรดน้ำมาด้วย

วิธีการรดน้ำศพ
   ก่อนจะเริ่มพิธีรดน้ำศพนั้น  นิยมให้เจ้าภาพศพจุดเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยก่อน  แล้วจึงเริ่มพิธีรดน้ำศพต่อไป
   นิยมให้พวกลูกหลานวงศาคณาญาติผู้ใกล้ชิดทำการรดน้ำศพเสียก่อนถึงเวลาเชิญ  เพื่อไม่ให้เกิดความคับคั่ง  ไม่เสียเวลารอคอยของท่านผู้มาแสดงความเคารพ
   นิยมมีลูกหลาน  หรือญาติฝ่ายเจ้าภาพ  คอยรับรองแขก  และเชิญเข้ารดน้ำศพ  พร้อมทั้งแนะนำเข้าไปรดน้ำและทางออก  เพื่อความสะดวกไม่คับคั่งกัน
   เมื่อผู้มีเกียรติมาแสดงความเคารพศพหมดแล้ว  นิยมเชิญท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดอยู่ในนั้นเป็นผู้แทนรดน้ำศพด้วยน้ำพระราชทาน  หรือเป็นผู้รดน้ำศพเป็นท่านสุดท้าย
   เมื่อท่านผู้มีอาวุโสสูงสุดที่อยู่ที่นั่น  ได้รดน้ำพระราชทานศพแล้วหรือได้รดน้ำศพแล้ว  ถือกันว่าเป็นเสร็จพิธีรดน้ำศพ  ไม่นิยมให้ผู้ใดผู้หนึ่งรดน้ำศพอีกต่อไป

วิธีการจัดศพลงหีบ
   การจัดศพลงหีบนั้น  นิยมมอบให้เป็นหน้าที่ของสัปเหร่อทำพิธีกรรมต่างๆ  ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ
   ฝ่ายเจ้าภาพนิยมติดต่อสอบถามตกลงกันไว้เรียบร้อยก่อนแล้วเพียงแต่คอยให้ความสะดวกแก่พวกสัปเหร่อเท่านั้น
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2010, 09:31:29 pm »

การพิมพ์การ์ดกำหนดการรดน้ำศพ
   ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่  หรือเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฎในสังคม  นิยมพิมพ์การ์ดและลงประกาศแจ้งความทางสื่อสารมวลชน  ซึ่งมีข้อความเพียงสั้นๆ  ดังนี้
หมายเหตุ     คำว่า  “ ได้ถึงแก่กรรม ”  นั้น  นิยมเปลี่ยนไปตามฐานะของผู้ตาย  คือ
   - ได้ถึงแก่อสัญกรรม     - ได้สิ้นชีพตักษัย     - ได้สิ้นพระชนม์  เป็นต้น

ระเบียบปฏิบัติการจัดสถานที่รดน้ำศพ
สถานที่สมควรจัดเป็นที่รดน้ำศพ
   #    การจัดสถานที่รดน้ำศพนั้น  ถ้าศพนั้นเป็นศพของท่านผู้ใหญ่แห่งตระกูล  และบ้านนั้นเป็นบ้านใหญ่โต  มีบริเวรกว้างขวางเพียงพอแก่การตั้งศพบำเพ็ญกุศลได้  ก็นิยมจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพที่บ้านเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว  ทั้งเป็นการแสดงความเคารพ  ความจงรักภักดีต่อท่าน  เมื่อยังมีชีวิตอยู่  ลูกหลานเคยมีความจงรักภักดี  มีความเคารพนับถืออย่างไรแม้เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ยังมีความจงรักภักดี  ความเคารพนับถือเป็นอย่างดีไม่เปลี่ยนแปลง  มิใช่ว่าเมื่อท่านสิ้นบุญแล้วพวกลูกหลานก็รีบหาทางเสือกไสไล่ส่งศพของท่านให้ออกไปพ้นเสียจากบ้านเรือนที่ท่านเคยอยู่อาศัย
   #   ถ้าที่บ้านเรือนนั้นไม่ใหญ่โต  ไม่กว้างขวางมีความขัดข้องไม่เหมาะสม  เพราะสถานที่ไม่อำนวย  ก็นิยมนำศพของท่านไปตั้งรดน้ำ  และตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดใดวัดหนึ่งซึ่งอยู่ไกล้บ้าน  หรือวัดที่เหมาะสมแก่ฐานะของท่าน  โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่แผนกฌาปนสถานของวัด  จะให้เขานำรถวอ  มารับศพที่ไหน  เมื่อไร  เป็นต้น  พร้อมทั้งมอบให้เขาจัดการโดยตลอดรายการ
   #   ถ้าจะจัดสถานที่รดน้ำศพและตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่บ้าน  จะต้องคำนึงถึงสถานที่จะใช้ตั้งศพรดน้ำนั้นว่า  โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย  และเตียงประดิษฐานศพ  จะตั้งที่ไหนจึงจะเหมาะสม  วงศาคณาญาติสนิทมิตรสหายและท่านที่เคารพนับถือทั้งหลายที่มาเคารพศพจะเข้าทางไหน  จะออกทางไหน  สถานที่กว้างขวางเพียงพอหรือไม่  เมื่อพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วเห็นว่าไม่ขัดข้องเหมาะสมโดยประการทั้งปวง  พึงจัดสถานที่นั้น  ดังนี้

สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัย
   #   สถานที่ตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมตั้งอยู่ด้านศีรษะของศพ  และนิยมตั้งพระพุทธรูปหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ถ้าสถานที่ไม่อำนวยก็นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศใดทิศหนึ่ง  แต่ไม่นิยมตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
   #   โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดตั้งไว้  ณ  ที่สูงกว่าเตียงประดิษฐานศพพอสมควร  ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ  ๕  ประการ
   ๑. พระพุทธรูป  ๑  องค์  ( นิยมนำพระพุทธรูปบูชาพระประจำตัวของผู้ตายมาตั้งบูชา  ถ้ามี )
   ๒. กระถางธูป  1  ลูก  พร้อมทั้งธูป  ๓  ดอก
   ๓. เชิงเทียน  1  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งเทียน  ๒  เล่ม
   ๔. แจกัน  ๑  คู่  ( เป็นอย่างน้อย )  พร้อมทั้งดอกไม้
   ๕. โต๊ะรอง  ๑  หมู่  นิยมใช้โต๊ะหมู่บูชามีขนาดใหญ่พอสมควร
   #   นอกจากนี้  นิยมจัดพานดอกไม้ตั้งประดับไว้ด้วย  จำนวนพานดอกไม้ตามความเหมาะสมแก่โต๊ะหมู่บูชานั้น  และเครื่องสักการะบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาพระรัตนตรัยนั้น  นิยมจัดให้ประณีตที่สุด  ดีที่สุด  เท่าที่สามารถจะหาสิ่งของมาจัดทำได้