http://youtu.be/KVrK91Y-ikE bacc education - อบรมครูสอนศิลปะ รุ่นที่2 (1/4)
prbacc Published on Oct 17, 2012bacc education - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูสอนศิลปะ
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 2
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ได้เชิญครูสอนศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเรียนรู้ รวม 480 คน เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ตลอดเดือนตุลาคม 2555
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และเพิ่มพูนความรู้ทางด้านศิลปะ ให้เกิดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ การนำเทคนิคทางศิลปะไปปรับใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอน และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับการบรรยายพิเศษ โดยศิลปินอาวุโส และศิลปินแห่งชาติ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการครูสอนศิลปะโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2555 มีการบรรยายพิเศษ โดย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ที่ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปกรุงเทพฯต่อค่ะ“ผมขึ้นมาถึงมหาวิหารแล้ว ผมได้พบความพิศวงแห่งจิตในทุกมุม ผมไม่เสาะแสวงหาแล้ว ผมพบแล้ว ฉะนั้นเวลามีคนนัดแนะว่า ให้มาเจอตรงนั้นตรงนี้ ผมบอกว่า อย่าเพิ่งพูด เพราะเมื่อวานผ่านไปแล้ว พรุ่งนี้ยังไม่มา เราจะพูดกันวันนี้และเดี๋ยวนี้ “เรื่องราวบางเศษเสี้ยวของอาจารย์ถวัลย์ที่ทำให้หลายคนฉุกคิด แม้กระทั่งการซื้อกล้วยสักหวี
“ทุกวันนี้เวลาผมจะซื้อกล้วย ผมยังไม่กล้าซื้อทั้งหวี ผมไม่แน่ใจว่าจะอยู่จนกล้วยสุกทั้งหวีหรือเปล่า”
แม้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่หลายประโยคเต็มไปด้วยเรื่องของธรรมะสอนใจ เมื่อหลายคนเดินเข้ามาในห้องที่ตกแต่งด้วยรูปทรงอินทรีย์จากธรรมชาติ อาจารย์ถวัลย์ บอกว่า บางครั้งก็นำพวกจิ้งเหลน จิ้งจอกมาเป็นองค์ประกอบ นี่เป็นความงามทางสุนทรียะภาพของสิ่งที่ตายแล้ว
“ผมไม่ได้คิดอะไรมากมาย ผมถึงชอบวิธีการสอนของท่านว.วชิรเมธี สอนกันง่ายๆ ไม่ต้องไปพูดถึงนรก สวรรค์ ผมเป็นลูกศิษย์ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป คนเขียนวรรณกรรมเรื่องกามนิต ผมระลึกได้ว่า งานที่เขาเขียน ตอนกามนิตนั่งสนทนากับพระพุทธเจ้า มีการพูดถึง ใบไม้ในมือกับใบไม้ในป่าอะไรมากกว่ากัน เหมือนเช่นท่านว.วชิรเมธี บอกว่า ใบไม้ในมือจะนำเราไปสู่ความเข้าใจเรื่องอริยมรรค8"
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม อาจารย์ถวัลย์บอกว่า เขาเป็นนักวาดรูปธรรมดาๆ คนหนึ่ง สิ่งที่พูดออกมา ก็เพื่อสอนตัวเอง
“ทั้งหมดผมเป็นแค่แสงหิ่งห้อยส่องก้นตัวเอง ผมไม่เที่ยวไปสอนใคร ผมแค่สอนตัวเอง”
แสงหิ่งห้อยที่ปราดเปรื่องเช่นนี้ เมื่อมีคนถามเรื่องการศึกษาธรรมตามแนวทางท่านอาจารย์พุทธทาส อาจารย์ถวัลย์บอกว่า เคยอ่านหนังสือธรรมะเกือบทุกเล่มที่ท่านพุทธทาสเขียน ตั้งแต่คู่มือมนุษย์ ซึ่งจำได้ทุกบรรทัดที่ท่านเขียน ในบ้านอาจารย์ถวัลย์จึงมีตู้หนังสือของท่านพุทธทาสไว้หนึ่งตู้ เขาบอกว่า สมัยหนุ่มๆ ชีวิตยังมีความกระหายอยากอ่านหนังสือ แต่พอเป็นผู้ใหญ่ก็วาดรูปเป็นหลัก ชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการวาดรูป
เมื่ออาจารย์ถวัลย์เห็นว่า กลุ่มที่เข้าเยี่ยมชม โดยมีท่านว.วชิรเมธีนำทีมเป็นกลุ่มปฏิบัติธรรม อาจารย์ถวัลย์ย้อนถามว่า ปฏิบัติธรรมนี่ทำยังไง
“อย่างผมนั่งเฉยๆ ผมหายใจเข้า นั่ง นอน ยืน เดิน ผมคิดว่านี่...ปฏิบัติธรรมแล้ว ผมทำกายานุปัสสนา หายใจเข้า หายใจออก สำรวมกาย จิตและวาจา และผมก็เขียนรูป ผมมีดำริชอบ ผมคิดว่า นี่แหละคือหัวใจของการปฏิบัติธรรม เพราะปฏิบัติธรรมไม่ใช่ว่าเพ่งลงไป มองเห็นดวงแก้วใส ผมไม่รู้ปฏิบัติแบบนั้นทำไม" อาจารย์ถวัลย์ บอก และแหย่ว่า บางเรื่องพูดเล่นๆ ซึ่งเป็นอุปนิสัยของเขา เพราะสิ่งที่ท่านว.วชิรเมธีทำถูกต้องแล้ว เพราะท่านชักจูงพวกคุณมา เหมือนอาจารย์ของเขาเคยจูงพวกเขามาเหมือนควาย
"เมื่อจูงมาถึงแล้ว จะกินหรือไม่ เป็นเรื่องของควาย เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ พาคนมาฟังแล้วคิด อย่างนี้เป็นการปฏิบัติธรรมแล้ว ผมไม่อยากบอกว่า ให้ไปเข้าแคมป์หรือเข้าค่าย เคยมีคนถามผมว่า ทำไมไม่ทำบ้านรัดหน้าท้อง
อาจารย์ถวัลย์ถามว่า พวกคุณรู้จักบ้านรัดหน้าท้องไหม...ก็โฮมสเตย์ไง
“ผมไม่ใช่นักบวช นักพรต ผมเป็นนักวาดรูป ผมมุ่งวิถีแห่งอริยมรรค พวกสมบัติบ้าเหล่านี้ ผมไม่จำเป็นต้องเอาเรือแบกข้ามไป ผมข้ามสังสารวัฏ จากนั้นผมเอาเรือทิ้งไว้ให้ลูกศิษย์หรือคนที่ยังไม่ข้ามใช้ แต่ไม่ว่าอย่างไรศรัทธาจริตต้องมี” http://www.puansanid.com/forums/showthread.php?t=11692