ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 02, 2010, 05:08:09 am »

 
 
 
 
                                  อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอบคุณ คุณมดนะคะ
 
                                                               :13:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 10:46:40 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 12:56:57 pm »

อนุโมทนาค่ะ  :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2010, 10:01:54 am »




        ปริเฉทที่ ๕
        คิลานปุจฉาวรรค

ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพุทธบรรหารให้พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ไปเป็นผู้เยี่ยมไข้วิมลเกียรติคฤหบดี พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ จึงกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระสุคตเจ้า อันอุดมบุรุษผู้นั้นหนอ ยากที่จักมีใครโต้ตอบปุจฉาวิสัชนาด้วย เหตุด้วยท่านเป็นผู้เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงในยถาภูตสัตยธรรมมีความเชี่ยวชาญเจนจบในการแสดงธรรม มีปฏิภาณโกศลปราศจากที่ขัดข้องอีกทั้งปรัชญาญาณอันแหลมลึกทะลุปรุโปร่งไม่มีที่กีดขวาง และเป็นผู้แตกฉานรู้รอบในสรรพโพธิสัตว์ธรรม ทั้งยังเป็นผู้เข้าถึงรหัสยครรภ์อันสุขุมลุ่มลึก แห่งปวงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกโสตหนึ่ง คฤหบดีนั้น เป็นผู้ชนะมาร บริบูรณ์ด้วยอภิญญากรีฑา มีปรัชญาอุบายให้สำเร็จกิจในการโปรดสรรพสัตว์ แต่ถึงแม้กระนั้น ข้าพระองค์ก็ขอรับพระพุทธบัญชา จักไปเยี่ยมไต่ถามอาการไข้ของคฤหบดีนั้น พระพุทธเจ้าข้า.”

ครั้งนั้นแล ในธรรมมหาสันนิบาต อันมีปวงพระโพธิสัตว์ พระมหาสาวก ท้าวพรหมราช ท้าวศักรินทร์ ท้าวจาตุมมหาราช ต่างก็เกิดมนสิการในใจว่า บัดนี้มหาบุรุษทั้งสองคือพระมัญชุศรีโพธิสัตว์กับท่านวิมลเกียรติคฤหบดีจักร่วมสนทนาปราศรัยกัน จักต้องมีการแสดงคัมภีรธรรมอันลึกซึ้งต่อกันเป็นแม่นมั่น ครั้นแล้วจึงพระโพธิสัตว์ ๘,๐๐๐ องค์ พระอรหันตสาวก ๕๐๐ องค์ และเทวบริษัทนับด้วยร้อยเป็นอเนก นับด้วยพันเป็นอเนก ต่างพากันมีสมานฉันท์ในอันจักติดตามไปด้วย ลำดับนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พร้อมด้วยหมู่แห่งพระโพธิสัตว์ พระมหาสาวกและทวยเทพนิกรแวดล้อมติดตามแล้วก็พากันยาตราเข้าไปสู่นครเวสาลี.

ก็โดยสมัยนั้นแล วิมลเกียรติคฤหบดีมีความปริวิตกในใจว่า บัดนี้พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ พร้อมทั้งบริษัทหมู่ใหญ่จักมาสู่เคหสถานนี้พร้อมกัน จึงบันดาลด้วยอิทธาภิสังขารยังเคหาสน์ของตนให้สำเร็จแปรเปลี่ยนเป็นเคหาสน์ว่างเปล่า ปราศจากสิ่งประดับตกแต่งใด ๆ ปราศจากบริวารผู้อุปัฏฐากรับใช้ได้ ๆ มีเหลือแต่เตียงอยู่เตียงเดียว ซึ่งตนนอนเจ็บอยู่เท่านั้น ลำดับนั้น พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้ย่างกรายเข้ามาสู่คฤหาสน์ของคฤหบดีนั้นแล้ว ได้ยลแต่คหาสน์อันว่างเปล่าปราศจากเครื่องแต่งบ้านใด ๆ ทั้งสิ้น มีแต่วิมลเกียรติคฤหบดีนอนอยู่บนเตียงโดดเดี่ยวอยู่ ครั้งนั้น วิมลเกียรติคฤหบดีจึงทักพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ขึ้นว่า

“ข้าแต่พระมัญชุศรีผู้เจริญ การมาของพระคุณเป็นการมาดีแล้ว แต่ว่ากันตามเป็นจริง พระคุณก็ไม่มีลักษณะใดที่จะมาแต่ก็ได้มา กระผมเล่าก็ไม่มีลักษณะใดจะพึงเห็นแต่ก็ได้เห็น.”

พระมัญชุศรีตอบว่า “ถูกละ คฤหบดี ! ถ้ามาแล้วก็ย่อมไม่มีการมาอีก หรือหากไปแล้วก็ย่อมไม่มีการไปอีก ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? เพราะโดยความจริงแล้ว ย่อมปราศจากแห่งหนในการมา แลย่อมปราศจากแห่งหนในการไป อันสรรพสิ่งที่เห็นนั้นเล่า ก็ย่อมปราศจากสภาวะอันจักพึงเห็นได้ ปัญหาเรื่องนี้เชิญงดไว้ก่อน อาพาธของท่านน่ะยังพออดทนได้อยู่ฤๅ? การบำบัดรักษาเปล่าจากผลถึงกับอาการโรคทวีขึ้นหรือไม่เล่า? พระผู้มีพระภาคมีพระมหากรุณาให้อาตมภาพมาเยี่ยมเยือนถามถึงความเป็นไปของท่าน อนึ่ง อาพาธของท่านนั้นก็สมุฏฐานมาจากอะไร? เกิดขึ้นเป็นไปอยู่นานเท่าไร? แลจักดับหายไปได้อย่างไร ?”

ท่านวิมลเกียรติตอบว่า “เพราะอาศัยโมหะเป็นสมุฏฐานจึงมีตัณหานี้เป็นการอุบัติขึ้นแห่งอาพาธของกระผม เพราะเหตุที่สรรพสัตว์เจ็บป่วยกระผมจึงต้องเจ็บป่วย ถ้าหากสรรพสัตว์พ้นจากความเจ็บป่วย ความเจ็บป่วยของกระผมก็ย่อมดับสูญไปเอง ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ? เพราะว่าพระโพธิสัตว์ย่อมอาศัยสรรพสัตว์เป็นที่ตั้ง จึงมาสู่ความวนเวียนแห่งชาติมรณะ ครั้นเมื่อยังมีชาติมรณะอยู่ ก็ย่อมมีความเจ็บป่วยอยู่ตามธรรมดา ก็ถ้าว่าสรรพสัตว์พ้นจากความเจ็บป่วยได้ พระโพธิสัตว์ย่อมปราศจากอาพาธใด ๆ รบกวนอีก อุปมาดั่งคฤหบดีผู้มีบุตรแต่เพียงคนเดียว เมื่อบุตรนั้นล้มเจ็บ บิดามารดาก็ย่อมพลอยเจ็บตามไปด้วย ครั้นบุตรนั้นหายเจ็บ บิดามารดาก็พลอยหายเจ็บไปด้วยฉันใด พระโพธิสัตว์ ก็มีอุปไมยดุจเดียวกับแม้ฉันนั้น กล่าวคือมีความกรุณาเมตตาต่อสรรพสัตว์เช่นบุตรในอุทร เมื่อสรรพสัตว์เจ็บ ก็เท่ากับพระโพธิสัตว์ท่านเจ็บ เมื่อสรรพสัตว์หายเจ็บ ความเจ็บของพระโพธิสัตว์ก็ย่อมสูญหายไป.”

“อนึ่ง พระคุณถามว่า สมุฏฐานแห่งอาพาธเนื่องมาจากอะไร ? กระผมขอวิสัชนาว่า เหตุแห่งอาพาธของพระโพธิสัตว์นั้น มีพระมหากรุณาเป็นสมุฏฐานด้วยดั่งนี้แล.”
พระมัญชุศรีถามว่า “คฤหาสน์ของท่านคฤหบดี ไฉนจึงว่างเปล่าจากผู้คนบริวารเล่า?”

ท่านวิมลเกียรติตอบว่า “แม้แต่พระพุทธเกษตรแห่งพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็มีสภาพว่างเปล่าดุจกัน.”
ถามว่า “เพราะเหตุดังฤๅจึงว่างเปล่า?”
ตอบว่า “เพราะมีความว่างเปล่าเป็นสภาพดังนั้นจึงชื่อว่าว่างเปล่า”
ถามว่า “ก็เมื่อเป็นสภาพว่างเปล่าอยู่แล้ว ไฉนจึงต้องเพ่งพิจารณาว่าว่างเปล่าอีก ?”
ตอบว่า “ เพราะความที่ปราศจากวิกัลป์ปะในความว่างเปล่านั่นเอง จึงเป็นสุญญตา.”
ถามว่า “ก็สุญญตานั้นพึงวิกัลป์ปะได้ด้วยฤๅ”
ตอบว่า “แม้วิกัลป์ปะก็เป็นสุญญตา”
ถามว่า “จักหาสุญญตาได้แต่ไหน ?”
ตอบว่า “พึงหาได้จากทิฏฐิ ๖๒.”

ถามว่า “ก็ทิฏฐิ ๖๒ นั้น จักหาได้แต่ไหน ?”
ตอบว่า “พึงหาได้ในวิมุตติภาพแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวง.”

ถามว่า “ก็วิมุตติภาพแห่งพระสัมพุทธเจ้าทั้งปวงเล่า พึงหาได้แต่ไหน?”
ตอบว่า “พึงหาได้จากจิตจรรยาของสรรพสัตว์ อนึ่ง พระคุณท่านถามกระผมตอนต้นว่า ไฉนกระผมจึงไม่มีผู้คนบริวารเป็นอุปัฏฐากนั้น อันที่จริงสรรพมารกับทั้งปวงพาหิรชน ล้วนเป็นบริวารอุปัฏฐากของกระผม ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าสรรพมารทั้งปวงย่อมยินดีปรารถนาในความเวียนว่ายตายเกิด แม้พระโพธิสัตว์ก็ย่อมไม่สละคืนซึ่งความเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดียวกัน บรรดาพาหิรชนย่อมยินดีปรารถนาในปวงทิฏฐิ แต่พระโพธิสัตว์ย่อมไม่ไหวหวั่นด้วยทิฏฐิเหล่านั้น.”
พระมัญชุศรีถามว่า “อาพาธของท่านคฤหบดีมีลักษณาการโรคอย่างไร ?”
ตอบว่า “อาพาธของกระผมปราศจากลักษณาการอันจักพึงเห็นได้.”
ถามว่า “อาพาธของท่านคฤหบดี มันเกิดเป็นขึ้นกับกายหรือเกิดเป็นขึ้นกับจิต ?”
ตอบว่า “จักว่ากายก็มิใช่ เพราะห่างไกลจากกายลักษณะ และก็มิใช่จิต เพราะจิตนั้นเป็นดุจมายา.

ถามว่า “ในบรรดามหาภูตรูป ๔ กล่าวคือ ปฐวีมหาภูต อาโปมหาภูตเตโชมหาภูต วาโยมหาภูตนั้น มหาภูตใดของท่านหนอที่เกิดอาพาธขึ้น ?”
ตอบว่า “ อาพาธของกระผมมิใช่เป็นที่ปฐวีมหาภูต อาโปมหาภูต เตโชมหาภูต วาโยมหาภูต แต่ก็ไม่เป็นอื่นไปจากมหาภูตทั้ง ๔ นั้น ก็แต่ว่าอาพาธสมุฏฐานแห่งปวงสัตว์ ย่อมเกิดมาจากมหาภูตรูป ๔ เมื่อสรรพสัตว์ยังอาพาธอยู่ตราบใด กระผมก็ยังต้องอาพาธอยู่ตราบนั้น.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ได้ถามท่านวิมลเกียรติคฤหบดีว่า “พระโพธิสัตว์ผู้ไปเยี่ยมเยียนพระโพธิสัตว์ผู้อาพาธอยู่ จักพึงปลอบโยนให้โอวาทด้วยประการฉันใดหนอ ?”
ท่านวิมลเกียรติตอบว่า “พึงให้โอวาทถึงความอนิจจังแห่งสรีระแต่อย่ากล่าวให้เกิดความรังเกียจเอือมระอาในสรีระ พึงให้โอวาทพึงความเป็นทุกขังแห่งสรีระ แต่อย่ากล่าวให้เกิดความยินดีในพระนิพพาน* (* เพราะถ้ารีบด่วนเข้า อนุปาทิเสสนิพพาน ก็ไม่มีโอกาสมาว่ายเวียนโปรดสัตว์ได้อีก.) พึงให้โอวาทพึงความเป็นอนัตตาแห่งสรีระ แต่ให้กล่าวให้เกิดวิริยะในการโปรดสรรพสัตว์ พึงให้โอวาทถึงความเป็นสุญญตาแห่งสรีระ แต่อย่ากล่าวว่าโดยที่สุด สิ่งทั้งปวงเป็นสภาพดับรอบไม่เหลือ พึงให้โอวาทถึงการขมาโทษก่อน แต่อย่ากล่าวโทษเหล่านั้น ว่าเป็นสิ่งที่ได้กระทำมาแล้วในอดีต พึงอาศัยความเจ็บป่วยของตนเอง เปรียบเทียบไปถึงความป่วยเจ็บของสรรพสัตว์ แล้วแลเกิดความกรุณาต่อสัตว์เหล่านั้น พึงย้อนระลึกพึงความทุกข์ที่ตนได้เสวยมาแต่เบื้องอดีตชาตินานไกล นับด้วยหลายอสงไขยกัปกัลป์แล้วตั้งจิตให้มั่นอยู่ในกิจ ที่จักบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์โปรดสรรพสัตว์พึงระลึกถึงกุศลสมภารที่ตนได้สร้างสมมา ตั้งจิตอยู่ในวิสุทธิสัมมาอาชีวปฏิปทา อย่าให้เกิดความทุกข็โทมนัส พึงตั้งอยู่ในวิริยภาพดำรงตนเป็นจอมแพทย์ในอันจักรักษาบำบัดพยาธิภัยแก่ปวงสัตว์ พระโพธิสัตว์จึงปลอบโยนให้โอวาทแก่พระโพธิสัตว์ผู้อาพาธ ยังพระโพธิสัตว์ผู้อาพาธนั้นให้มีธรรมปีติบังเกิดขึ้นเป็นอยู่ ด้วยประการดังกล่าวนี้.”

พระมัญชุศรีถามว่า “ดูก่อนคฤหบดี ก็พระโพธิสัตว์ผู้อาพาธอยู่จักพึงฝึกฝนอบรมจิตใจอย่างไรหนอ ?”

ท่านวิมลเกียรติตอบว่า “พระโพธิสัตว์ผู้อาพาธ พึงมนสิการในใจว่า ความเจ็บป่วยของเรานี้ แต่ละล้วนมีสมุฏฐานปัจจัยจากวิกัลปสัญญาพร้อมทั้งอาสวกิเลสในเบื้องอดีตชาติ โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะที่ยืนยงใด ๆใครเล่าที่เป็นผู้เสวยทุกข์จากความเจ็บป่วย (แท้จริงไม่มีผู้เจ็บป่วยเลย) ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? เพราะการประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ จึงบัญญัติเรียกว่าสรีระ มหาภูตรูป ๔ นี้ปราศจากผู้เป็นเจ้าของสรีระเล่าก็เป็นอนัตตา อนึ่ง ความเจ็บป่วยที่บังเกิดขึ้นเล่า ก็ล้วนมาจากความยึดถือใจตัวตนว่ามี (ฉัน) ดังนั้นจึงสมควรละความยึดถือในตัวตนเสียแลเมื่อรู้ถึงอาพาธสมุฏฐานเช่นนี้ ก็พึงละอัตตสัญญากับสัตวสัญญาพึงยังธรรมสัญญาให้บังเกิด กล่าวคือมนสิการว่า สรีระนี้เป็นแต่สภาวธรรมมาประชุมสำเร็จขึ้น มีแต่สภาวธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้น สภาวธรรมเท่านั้นที่ดับไป สภาวธรรมเหล่านี้ต่างไม่ได้นัดหมายรู้อะไรกันมา ในสมัยที่เกิดขึ้นก็มิได้พูดว่าฉันเกิดขึ้นแล้วจ้ะ ในสมัยที่ดับไปก็มิได้พูดว่า ฉันดับไปแล้วจ้ะ อนึ่ง พระโพธิสัตว์ผู้อาพาธพึงปฏิบัติต่อไปเพื่อดับธรรมสัญญานี้

พึงมนสิการว่า แม้แต่ธรรมสัญญาอย่างนี้ ก็ยังเป็นวิปลาสสัญญา ขึ้นชื่อว่าเป็นวิปลาสแล้ว ย่อมมีมหันตภัย เราจำต้องละเสีย ละอะไร ? ก็ละอหังการความยึดถือว่า “ตัวฉัน” ละมมังการ ความยึดถือว่า “ของของฉัน” การละอหังการมมังการนั้นละอย่างไร ? คือละธรรม ๒ อย่าง ธรรม ๒ อย่างนั้นคืออะไร ? กล่าวคือ ความไม่ยึดถือธรรมที่เป็นภายในกับธรรมที่เป็นภายนอก ดำรงอยู่สมธรรม ก็สมธรรมนั้นเป็นไฉน ? คือตัวของเราอย่างไร พระนิพพาน ก็เหมือนกันอย่างนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ ? ก็เพราะเหตุว่าธรรมเหล่านั้นเป็นสักแต่ว่าสมมติบัญญัติปราศจากสภาวะที่แน่นอนด้วยตัวของมันเอง จึงได้ชื่อว่าเป็นสมธรรมครั้นเห็นแจ้งโดยประการดั่งนี้ สรรพอาพาธก็ย่อมไปปราศสิ้น คงมีเหลือแต่สุญญตาพาธ กล่าวคือความเจ็บป่วยเพราะเหตุติดในสุญญตานั้นเพียงประเภทเดียว และดั่งนั้นจึงจำต้องสละความยึดมั่นสำคัญหมายในสุญญตานั้น กล่าวคือความรู้สึกยึดฉวยว่ามีสุญญตาก็ต้องให้สูญไปด้วย มาตรแม้ว่าบังเกิดทุกขเวทนาเป็นไปเนื่องในสรีระอยู่ไซร้ ก็พึงมนสิการถึงสรรพสัตว์ในทุคติภูมิ ซึ่งต้องเสวยทุกข์อยู่เป็นอันมาก พระโพธิสัตว์นั้นพึงยังมหากรุณาจิตให้อุบัติขึ้น กล่าวคือเมื่อตัวของตนสามารถบำราบกำจัดทุกข์ให้พ่ายแพ้สูญหายไปอย่างไรแล ก็พึงช่วยสงเคราะห์บำราบกำจัดทุกข์ภัยแห่งหมู่สัตว์ดุจเดียวกัน ฯลฯ

“อนึ่ง พระโพธิสัตว์แม้จักอยู่ในท่ามกลางแห่งชาติมรณะ ก็มิได้แปดเปื้อนด้วยมลทินนั้น แม้จัก
ตั้งอยู่ในพระนิพพาน แต่ก็มิได้ด่วนดับขันธปรินิพพาน มิได้ดำเนินตามปุถุชนจริยา ฤๅดำเนินตามอายรชนจริยานี้

แลชื่อว่าจริยาแห่งพระโพธิสัตว์ จักนับเป็นมลจริยาก็มิได้ ฤๅจักนับเป็นวิมลจริยาก็มิได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักปฏิบัติผ่านมารจริยามาแต่ก็สามารถสำแดงการบำราบมารให้อยู่ในอำนาจได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักเพ่งพิจารณาปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ แต่ก็สามารถเข้าถึงบรรดามิจฉาทิฏฐิได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักสงเคราะห์สรรพสัตว์ แต่ก็ไม่บังเกิดฉันทราคะเพลิดเพลิน นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักบำเพ็ญสุญญตจริยา แต่ก็สร้างสมสรรพกุศลธรรมไว้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักปฏิบัติตามอัปปนิมิตธรรม แต่ก็โปรดสรรพสัตว์นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักปฏิบัติตามอกตธรรม แต่ก็สำแดงการเสวยภพชาติให้ปรากฏได้ แม้จักปฏิบัติตามอนุตรปาทธรรม แต่ก็ยังสรรพกุศลจริยาให้เกิดมีขึ้นได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักปฏิบัติในปารมิตา ๖ แต่ก็มีความรอบรู้แทงตลอดในจิตเจตสิกธรรมแห่งมวลสัตว์ชีพได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักบำเพ็ญตามฉฬภิญญา แต่ก็ไม่ยังอาสวะให้หมดจดสิ้นเชิงเลยทีเดียว นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักปฏิบัติในอัปปมัญญาจตุพรหมวิหาร ๔ แต่ก็ไม่มีความปรารถนาที่จักไปอุบัติในพรหมโลก นี้แลชื่อว่าโพธิสัตว์จริยา แม้จักปฏิบัติในฌานสมาบัติ วิโมกข์ สมาธิ แต่ก็ไม่หลงใหลเพลินเพลินในธรรมเหล่านั้น นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา ฯลฯ แม้จักปฏิบัติในปัญจพลธรรม ๕ แต่ก็ยินดีปรารถนาในทศพล ๑๐ ของพระสัมมาสัมุทธเจ้า ฯลฯ แม้จักสำแดงตนมีวัตรจริยาเป็นพระอรหันตสาวกหรือพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ก็ไม่ละเลยต่อพระสัพพัญญุตญาณธรรม นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักเพ่งพิจารณาเห็นพุทธเกษตรจนปราศจากสภาวะเป็นสุญญตา แต่ก็สำแดงภูมิแห่งความบริสุทธิ์หมดจดนานัปการในพุทธเกษตรนั้นได้ นี้แลชื่อว่าโพธิสัตวจริยา แม้จักสำเร็จพระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแสดงพระธรรมจักร แลดับขันธปรินิพพาน แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สละคืนซึ่งโพธิสัตวจริยา นี้แลชื่อว่าจริยาแห่งพระโพธิสัตว์.”

เมื่อวิมลเกียรติคฤหบดีกล่าวธรรมบรรยานนี้จบลง ในบรรดาประชาชนซึ่งติดตามมากับพรัอมพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ มีเทพบุตร ๘๐๐ องค์ ได้ตั้งจิตมุ่งต่อพระโพธิญาณแล.

ปริเฉทที่ ๕ คิลานปุจฉาวรรค จบ




http//www.mahayana.